ร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 และ ร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ.2565
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 06 September 2022 21:54
- Hits: 2080
ร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 และ ร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ.2565
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจประจำปี พ.ศ. 2565 (Ministerial WEF Statement 2022) และร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 (WEF Chair’s Statement 2022) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้งให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พิจารณารับรองร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรี เอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 (Ministerial WEF Statement 2022) หรือร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 (WEF Chair’s Statement 2022) ในการประชุมระดับรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 (ค.ศ. 2022) (APEC Women and the Economy Forum: WEF) ในวันพุธที่ 7 กันยายน 2565 ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม. ) เสนอ
สาระสำคัญ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ขอสรุปสาระสำคัญของร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 (Ministerial WEF Statement 2022) และร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 (WEF Chair’s Statement 2022) ดังนี้
1. ร่างแถลงการณ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 (Ministerial WEF Statement 2022) เช่น 1) การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกันอย่างมีความครอบคลุม สมดุล และยั่งยืน 2) การเน้นย้ำความมุ่งมั่นในการผลักดันความก้าวหน้าในด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ การเสริมพลังสตรี และระบบเศรษฐกิจที่มีความครอบคลุม ยั่งยืน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ปุตราจายา 2040 ของเอเปค และแผนปฏิบัติการอาทีโอรา ปณิธานที่จะประสบความสำเร็จในการเป็นสังคมเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง ยืดหยุ่น มีพลัง และสงบสุข ในปี 2040 เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของทุกคนและคนรุ่นต่อไปการตระหนักถึงสันติภาพและความมั่นคงซึ่งเป็นสิ่งที่พึงมีสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีและการเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสันติภาพ ความมั่นคง และกฎหมายระหว่างประเทศจะถูกยึดถือไว้ในภูมิภาคนี้ 3) การดำเนินการตามแผนลา เซเรนา เพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมความพยายามในการเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรีผ่านการเปิดช่องทางเข้าถึงแหล่งเงินทุนและตลาด ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีในภาคแรงงาน พัฒนาโอกาสในการเข้าถึงความเป็นผู้นำในทุกระดับการตัดสินใจสนับสนุนการให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการศึกษาที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ การฝึกฝนและพัฒนาทักษะสำหรับเด็กหญิงและสตรี ผลักดันความก้าวหน้าในการเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรีผ่านการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านการจำแนกเพศอย่างตรงเวลา เชื่อถือได้ และมีคุณภาพ ฯลฯ
2. ร่างแถลงการณ์ประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านสตรีและเศรษฐกิจ ประจำปี พ.ศ. 2565 (WEF Chair’s Statement 2022) ได้สะท้อนถึงความเห็นของเขตเศรษฐกิจเอเปคที่มีการหารือในที่ประชุม เช่น 1) การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจในภูมิภาคร่วมกันอย่างมีความครอบคลุม สมดุล และยั่งยืน 2) การเน้นย้ำความมุ่งมั่นในการผลักดันความก้าวหน้าในด้านความเสมอภาคระหว่างเพศ การเสริมพลังสตรี และระบบเศรษฐกิจที่มีความครอบคลุม ยั่งยืน สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ปุตราจายา 2040 ของเอเปค และแผนปฏิบัติการอาทีโอรา ปณิธานที่จะประสบความสำเร็จในการเป็นสังคมเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง ยืดหยุ่น มีพลัง และสงบสุข ในปี 2040 เพื่อความเจริญรุ่งเรืองของทุกคนและคนรุ่นต่อไปการตระหนักถึงสันติภาพและความมั่นคงซึ่งเป็นสิ่งที่พึงมีสำหรับความเป็นอยู่ที่ดีและการเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรี เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสันติภาพ ความมั่นคง และกฎหมายระหว่างประเทศจะถูกยึดถือไว้ในภูมิภาคนี้ 3) การดำเนินการตามแผนลา เซเรนา เพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมความพยายามในการเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรีผ่านการเปิดช่องทางเข้าถึงแหล่งเงินทุนและตลาด ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรีในภาคแรงงาน พัฒนาโอกาสในการเข้าถึงความเป็นผู้นำในทุกระดับการตัดสินใจ สนับสนุนการให้ความสำคัญกับการเข้าถึงการศึกษาที่ครอบคลุมและมีคุณภาพ การฝึกฝนและพัฒนาทักษะสำหรับเด็กหญิงและสตรี ผลักดันความก้าวหน้าในการเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรีผ่านการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ผ่านการจำแนกเพศอย่างตรงเวลา เชื่อถือได้ และมีคุณภาพ 4) การยินดีกับระบบเศรษฐกิจและสังคมที่มีความยั่งยืน ยืดหยุ่น ผ่านแนวคิดของแถลงการณ์ร่วมด้านสตรีและเศรษฐกิจ ปี 2565 “การเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรีผ่านระบบเศรษฐกิจชีวภาพ หมุนเวียน และสีเขียว” โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาช่วยในการสร้างมูลค่า ลดของเสีย และส่งเสริมระบบเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นความยั่งยืน การมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ และความเป็นผู้นำของสตรี ฯลฯ
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกรัฐมนตรี) 6 กันยายน 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A9252