WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ (กลุ่มที่ 2 บทบัญญัติเกี่ยวกับการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของบริษัท)

GOV 12

ร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ..) .. .... และร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ..) .. .... รวม 2 ฉบับ (กลุ่มที่ 2 บทบัญญัติเกี่ยวกับการเสริมสร้างเสถียรภาพและความมั่นคงของบริษัท)

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ ..) .. .... และร่างพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ ..) .. .... รวม 2 ฉบับดังกล่าวที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติ รวม 2 ฉบับดังกล่าวตามที่กระทรวงการคลังเสนอ

        สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

        เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติประกันชีวิต .. 2535 และ พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย .. 2535 ตามลำดับ โดยได้แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของกฎหมายทั้งสองฉบับในเรื่องเดียวกัน เช่น ในส่วนที่เกี่ยวกับบทนิยาม การกำกับดูแลผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท การดำรงเงินกองทุนและการบริหารสินทรัพย์ของบริษัท การกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัย การคำนวณผลกำไรเพื่อจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น ข้อห้ามมิให้บริษัทดำเนินการกำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามและอำนาจหน้าที่ของกรรมการ ผู้มีอำนาจในการจัดการและนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ระบบการกำกับดูแลกิจการ การจัดทำบัญชี สมุดทะเบียน การจัดทำและยื่นงบการเงิน ข้อมูล รายงาน เอกสาร หรือคำชี้แจง กำหนดหน้าที่ของผู้สอบบัญชี การจัดทำรายงานการคำนวณความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย การตรวจสอบ วิเคราะห์ ประเมินผล เกี่ยวกับฐานความพร้อมของบริษัท การตรวจสอบการดำเนินธุรกิจของบริษัท และบทกำหนดโทษ รายละเอียด ดังนี้

 

ประเด็นที่แก้ไข

 

สาระสำคัญ

1. การกำหนดให้บริษัทสามารถรับประกันภัยอื่นนอกเหนือจากการรับประกันชีวิต (สำหรับบริษัทประกันชีวิต) และนอกเหนือจากการรับประกันวินาศภัย (สำหรับบริษัทประกันวินาศภัย) (กฎหมายปัจจุบันไม่มี)

 

• เพิ่มเติมให้บริษัทสามารถจัดให้มีการประกันภัยเพื่อคุ้มครองความเสียหายต่อตัวบุคคลอันเนื่องมาจากการประกันชีวิต

     - บริษัทประกันชีวิตสามารถขายกรมธรรม์ประกันวินาศภัยซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความเสียหายต่อตัวบุคคลเป็นสัญญาเพิ่มเติมได้ (เช่น ประกันชีวิตที่มีประกันสุขภาพเป็นสัญญาเพิ่มเติม)

     - บริษัทประกันวินาศภัยสามารถขายกรมธรรม์ประกันชีวิตซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความเสียหายต่อตัวบุคคล (เช่น ประกันอุบัติเหตุที่คุ้มครองกรณีเสียชีวิตด้วย) เพื่อให้สอดคล้องกับการประกอบธุรกิจประกันชีวิตในปัจจุบันที่บริษัทมีการรับประกันภัยลักษณะอื่นซึ่งมิใช่การประกันชีวิตด้วยแต่มีความเกี่ยวเนื่องกับการประกันชีวิต

2. การกำกับควบคุมธุรกิจประกันภัย (กฎหมายปัจจุบันไม่มี)

 

• เพิ่มเติมการกำหนดขอบเขตของนิยามคำว่ากรรมการของบริษัทให้รวมถึงผู้จัดการสาขาและคณะกรรมการบริหารสาขาของบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศด้วย เพื่อให้การควบคุมบริษัทประกันชีวิตของไทยและบริษัทประกันชีวิตต่างประเทศที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันชีวิตในราชอาณาจักรเป็นไปในมาตรการเดียวกัน

3. หลักเกณฑ์การรายงานการถือหุ้น (กฎหมายปัจจุบันไม่มี)

 

• เพิ่มเติมเกี่ยวกับการนับจำนวนหุ้นที่บริษัทได้ทำการจำหน่ายหุ้น โดยให้รวมถึงหุ้นของผู้ที่เกี่ยวข้องด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจน รวมถึงการกำหนดให้เป็นหน้าที่ของบริษัทในการระบุหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดในกรณีที่มีการชี้ชวนให้เข้าชื่อซื้อหุ้น รวมทั้งปรับปรุงเกี่ยวกับการดำเนินการของบริษัทกรณีที่พบการมีหุ้นเกินกว่าจำนวนที่กฎหมายกำหนด

4. การดำรงเงินกองทุน (กฎหมายปัจจุบันไม่มี)

 

• เพิ่มเติมมาตรการดำรงเงินกองทุน โดยปรับปรุงมาตรการในการดำรงเงินกองทุนเพื่อเป็นหลัก ประกันในการประกอบธุรกิจของบริษัทและความน่าเชื่อถือของผู้เอาประกัน และธุรกิจประกันภัย โดยกำหนดหลักเกณฑ์ในการดำรงเงินกองทุนให้เกิดความชัดเจนที่จะทำให้เกิดความคล่องตัวและสอดคล้องกับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น บริษัทต้องดำรงเงินกองทุนขั้นต่ำตามที่คณะ กรรมการกำหนด คณะกรรมการมีอำนาจกำหนดให้บริษัทดำรงเงินกองทุนเพิ่มได้ โดยอาจกำหนดเป็นการทั่วไปหรือการเฉพาะก็ได้ ในกรณีที่พบว่าบริษัทมีความเสี่ยงสูงหรือคาดว่าจะมีความเสี่ยงสูงในอนาคต

• ปรับปรุงการกำหนดอัตราส่วนในการดำรงเงิน กองทุนให้สอดคล้องกับการปฏิบัติในปัจจุบันที่จะคำนวณมาจากสินทรัพย์ หนี้สิน ภาระผูกพัน ความเสี่ยง และตัวแปรอื่นๆ โดยได้กำหนดให้อำนาจคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประกาศกำหนดประเภทและชนิดของเงินกองทุนด้วยเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา

5. อัตราเบี้ยประกันภัย (เดิม ต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน)

 

• แก้ไขเพิ่มเติมโดยให้อำนาจบริษัทในการกำหนดอัตราเบี้ยประกันภัยแบบกลุ่มได้เอง โดยมิต้องขอความเห็นชอบจากนายทะเบียน แต่ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่นายทะเบียนกำหนด โดยความเห็นชอบของ คปภ. เพื่อให้เกิดความรวดเร็วในการประกอบธุรกิจประกันภัยที่บริษัทสามารถดำเนินการได้เองและรองรับการเปิดเสรีอัตราเบี้ยประกันภัย

6. การออกกรมธรรม์ประกันภัยเป็นเงินตรา

ต่างประเทศ

(เดิม ห้ามมิให้บริษัทประกันชีวิตออกกรมธรรม์ประกันภัย โดยระบุจำนวนเงินอันพึงใช้ให้เป็นเงินตราต่างประเทศแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์) หมายเหตุ ... ประกันวินาศภัยฯ ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้

 

• แก้ไขเพิ่มเติมให้บริษัทสามารถระบุการใช้เงินตราต่างประเทศได้ หากได้มีการตกลงไว้ในสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัย เพื่อให้รองรับสัญญาประกันภัยและกรมธรรม์ประกันภัยที่ชาวต่างประเทศมุ่งประสงค์ที่จะให้มีการใช้เงินตราต่างประเทศ และเพื่อให้สอดคล้องกับกรณีที่ กค. ได้หารือกับ European Association for Business and Commerce (EABC) ที่มุ่งประสงค์ให้การประกันภัยของไทยสามารถให้บริการกับชาวต่างประเทศที่พำนักอยู่ในประเทศไทยได้

7. หลักเกณฑ์การจ่ายเงินปันผล

(เดิม การคำนวณผลกำไรของบริษัทว่ามีหรือไม่เท่าใดเพื่อประโยชน์ในการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้นบริษัทต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน)

 

• แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับการให้อำนาจ คปภ. กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่บริษัทจะดำเนินการจ่ายเงินปันผลแก่ผู้ถือหุ้น กรณีมีเหตุจำเป็นที่ต้องชะลอหรืองดจ่ายเงินปันผลเพื่อรักษาสถานะและเสถียรภาพของบริษัท

8. ปรับปรุงข้อห้ามในการดำเนินการของบริษัท

 

 

(เดิม ฝากเงินไว้ที่อื่นนอกจากที่ธนาคาร บริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์)   • กำหนดให้บริษัทสามารถฝากเงินไว้ที่อื่นนอกเหนือจากสถาบันการเงินได้ในกรณีที่บริษัทลงทุนในต่างประเทศ
(เดิม ให้ประโยชน์พิเศษแก่ผู้เอาประกันภัย/ผู้รับผลประโยชน์)   • ปรับปรุงการห้ามให้ประโยชน์ที่นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยแก่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์ โดยสามารถทำได้ตามหลักเกณฑ์ที่นายทะเบียนกำหนด
(เดิม ไม่มีบทบัญญัติการกู้ให้กู้ยืม ค้ำประกัน)   • กำหนดธุรกรรมที่ต้องห้ามกระทำให้มีความชัดเจนเพื่อเป็นการกำกับควบคุมธุรกิจประกันภัยให้มีประสิทธิภาพและสามารถตรวจสอบการทำธุรกรรมที่มีการโอนต่อหลายๆ ทอดได้ เช่น ให้กู้ยืม ค้ำประกันแก่กรรมการและบุคคลในบริษัทเว้นแต่เป็นการให้กู้เพื่อสวัสดิการ

9. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของกรรมการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการ

(คงหลักการเดิม และปรับปรุงให้สอดคล้องกับปัจจุบัน)

 

• เพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดคุณสมบัติของกรรมการ และผู้มีอำนาจในการจัดการเกี่ยวกับคุณวุฒิทางการศึกษาและความรู้หรือประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัย และส่วนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น แก้ไขการกำหนดระยะเวลาในกรณีที่เป็นหรือเคยเป็นกรรมการ หรือผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัทจากที่กำหนดระยะเวลาไว้สามเดือนเป็นหนึ่งปีเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาในทางปฏิบัติที่จะดำเนินการตามกระบวนการควบคุมหรือการสั่งหยุดรับประกันภัยไม่เกิน 1 ปี

10. การแต่งตั้งกรรมการหรือผู้มีอำนาจในการจัดการของบริษัท

(กฎหมายปัจจุบันไม่มี)

 

• เพิ่มเติมการแต่งตั้งกรรมการบริษัทต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน

 

(เดิม ให้อำนาจคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประกันภัยต่อ)   • ให้อำนาจคณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับความเสี่ยงภัยไว้เองและการประกันภัยต่อและการดำเนินการของบริษัทให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล

11. การควบคุมหรือกำกับธุรกิจประกันภัย

(คงหลักการเดิม แต่ปรับปรุงลำดับขั้นตอนการสั่งให้ยื่นและประกาศรายงานต่างๆ ให้ชัดเจน และเปลี่ยนอำนาจการกำหนดแบบรายงานงบการเงินจากคณะกรรมการเป็นนายทะเบียน)

 

• เพิ่มเติมอำนาจนายทะเบียนในการสั่งให้บริษัทจัดทำ รวบรวม ส่ง ข้อมูล รายงาน หรือเอกสาร ต่างๆ จะต้องเป็นไปเฉพาะในกรณีที่จำเป็นและเพื่อประโยชน์ในการควบคุมหรือกำกับธุรกิจประกันภัยเท่านั้น มิใช่กรณีการใช้อำนาจในการควบคุมบริษัท

12. การแก้ไขฐานะเงินกองทุน

(เดิม เมื่อปรากฏหลักฐานต่อนายทะเบียนว่าบริษัทมีฐานะหรือการดำเนินการอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้เอาประกันภัยหรือประชาชน นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้บริษัทนั้นถอดถอนกรรมการหรือบุคคลที่รับผิดชอบผู้เป็นต้นเหตุดังกล่าวออกจากตำแหน่งได้)

 

การดำเนินการ กำหนดกรณีที่ถือว่าบริษัทมีฐานะหรือการดำเนินงานอันอาจก่อให้เกิดความเสียหาย ให้อำนาจนายทะเบียนสั่งแก้ไขฐานะการดำเนินงาน สั่งห้ามขยายธุรกิจ สั่งเพิ่มทุน/ลดทุน สั่งถอดถอนกรรมการ

• ฐานะการเงิน กรณีที่บริษัทมีเงินกองทุนต่ำกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ให้สามารถเข้าแทรกแซงได้ 3 ระดับ ได้แก่ <100% เสนอโครงการเพื่อแก้ไขฐานะเงินกองทุน <60% บริษัทประกันชีวิตสั่งควบคุมบริษัท/บริษัทประกันวินาศภัยสั่งหยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว และ <35% สั่งปิดกิจการ

13. การสั่งปิดกิจการบริษัท

(เดิม ไม่มีบทบัญญัติการหาบริษัทอื่นมารับโอน)

 

• กำหนดให้โอนเฉพาะหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัย ทั้งนี้ เพื่อให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในทางปฏิบัติที่บริษัทที่ถูกควบคุมจะมีการโอนเฉพาะหนี้สินเท่านั้นไม่มีการโอนทรัพย์สิน และให้นายทะเบียนมีหน้าที่รายงานเกี่ยวกับการโอนหนี้สินและภาระผูกพันตามสัญญาประกันภัยให้รัฐมนตรีทราบด้วย (บริษัทอื่นที่รับโอนจะเป็นเจ้าหนี้ มีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัย)

14. นักคณิตศาสตร์ประกันภัย

(เดิม ไม่มีบทบัญญัตินักคณิตศาสตร์ประกันภัยแต่งตั้ง)

 

 

• กำหนดให้บริษัทต้องมีนักคณิตศาสตร์ประกันภัยแต่งตั้งตลอดเวลาที่ประกอบธุรกิจ เพื่อทำหน้าที่รับรองการวิเคราะห์ทางการเงินและแสดงความเห็นต่อคณะกรรมการบริษัท

• ปรับปรุงคุณสมบัติของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยและบทบาทอำนาจหน้าที่ของนักคณิตศาสตร์ประกันภัยให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล เช่น แก้ไขอายุใบอนุญาตจากเดิม “...ให้มีอายุ 2 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตเป็น “...ให้มีอายุ 5 ปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาตเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง

15. บทกำหนดโทษและการเปรียบเทียบ

 

• ปรับสัดส่วนโทษปรับให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน เช่น กรณีนักคณิตศาสตร์ประกันภัย ดำเนินการเกี่ยวกับเอกสารตามพระราชบัญญัตินี้ อันเป็นเท็จ จากเดิม “...ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท ...” เป็น “...ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท ...”

• แก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเรื่องการเปรียบเทียบโดยกำหนดให้สามารถเปรียบเทียบปรับได้ทุกความผิดเพื่อจะได้ไม่ต้องส่งดำเนินคดี อันเป็นการลดการนำคดีขึ้นสู่ศาล เว้นแต่ความผิดที่มีผลกระทบต่อผู้เอาประกันภัยและประชาชนในวงกว้างที่ไม่สามารถเปรียบเทียบได้

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกรัฐมนตรี) 30 สิงหาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A81173

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!