WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การจัดทำบันทึกความเข้าใจในการจัดตั้งสถาบันวิทยาการศุลกากรเป็นศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลก (WCO Regional Training Center: RTC) ระหว่างกรมศุลกากรและองค์การศุลกากรโลก

GOV 13

การจัดทำบันทึกความเข้าใจในการจัดตั้งสถาบันวิทยาการศุลกากรเป็นศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลก (WCO Regional Training Center: RTC) ระหว่างกรมศุลกากรและองค์การศุลกากรโลก

        คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดทำบันทึกความเข้าใจในการจัดตั้งสถาบันวิทยาการศุลกากรเป็นศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลก [World Customs Organization (WCO) Regional Training Center] ระหว่างกรมศุลกากรและองค์การศุลกากรโลก (บันทึกความเข้าใจฯ) โดยหากมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิได้ทำให้สาระสำคัญในบันทึกความเข้าใจฯ เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมให้อยู่ในดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายที่จะดำเนินการได้ รวมทั้งมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมายให้เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ

        สาระสำคัญของเรื่อง

        1. กรมศุลกากรได้ดำเนินกิจกรรมเพื่อสนับสนุนกระบวนการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านศุลกากรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ผ่านการจัดโครงการฝึกอบรม การศึกษาดูงาน และการแลกเปลี่ยนทางวิชาการมาอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับโครงการก่อสร้างอาคารศูนย์ฝึกอบรมของสถาบันวิทยาการศุลกากรได้ดำเนินการแล้วเสร็จและเปิดใช้งานอย่างเต็มรูปแบบตั้งแต่เดือนมีนาคม 2564 โดยอาคารศูนย์ฝึกอบรมมีจำนวน 4 ชั้น มีพื้นที่ประมาณ 5,000 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้เข้าอบรมได้ประมาณ 500 คน รวมถึงมีอาคารพักอาศัยสำหรับผู้เข้าอบรม ตลอดจนมีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่มีความพร้อมรองรับการจัดกิจกรรมหรือโครงการฝึกอบรมสำหรับบุคลากรจากหน่วยงานศุลกากรในภูมิภาคเอเซียแปชิฟิก ซึ่งสอดคล้องกับคุณสมบัติเงื่อนไขที่จำเป็นและความพร้อมของกรมศุลกากรในการสมัครเข้าร่วมเพื่อดำเนินการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรม กรมศุลกากรจึงได้ประสานสำนักงานเสริมสร้างขีดความสามารถประจำภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (Asia/Pacific Regional Office for Capacity Building: ROCB A/P) ขององค์การศุลกากรโลก เพื่อเสนอให้มีการจัดตั้งสถาบันวิทยาการศุลกากรเป็นศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลก ซึ่งเป็นกลไกการดำเนินงานที่สำคัญขององค์การศุลกากรโลกในการเป็นตัวกลางประสานงานกับหน่วยงานศุลกากรในระดับภูมิภาคเพื่อดำเนินโครงการและกิจกรรมสำหรับการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรให้สอดคล้องกับมาตรฐานพิธีการทางศุลกากรและแนวทางในการปฏิบัติงานขององค์การศุลกากรโลก โดยมีภารกิจที่สำคัญ เช่น กำหนดแนวทางและกระบวนการพัฒนาหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม สนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะวิทยากร และดำเนินการจัดหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อส่งเสริมความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในงานศุลกากรแก่บุคลากรจากหน่วยงานศุลกากรในภูมิภาค เป็นต้น ทั้งนี้ ที่ประชุม WCO Asia Pacific Regional Heads of Customs Administrations Conference ครั้งที่ 23 ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤษภาคม 2565 เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ได้มีมติรับรองการจัดตั้งสถาบันวิทยาการศุลกากรเป็นศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลกอย่างเป็นทางการแล้ว ซึ่งถือเป็นศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลกลำดับที่ 9 ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก1

 

EXIM One 720x90 C J

aia 720 x100

 

        2. ประโยชน์ที่จะได้รับ

                2.1 เป็นโอกาสอันดีในการเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาขีดสมรรถนะของบุคลากรและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านศุลกากรระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินภารกิจด้านศุลกากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น

                2.2 ข้าราชการที่ปฏิบัติงานด้านการฝึกอบรมของกรมศุลกากรได้มีโอกาสเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการพัฒนาบุคลากรจากการประสานงานกับองค์การระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการจัดโครงการฝึกอบรมสำหรับข้าราชการกรมศุลกากรได้ต่อไปในอนาคต

                2.3 เป็นการยกระดับสถานะและบทบาทของกรมศุลกากรบนเวทีระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกตลอดจนเป็นการกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการเสริมสร้างขีดสมรรถนะของบุคลากรระหว่างกรมศุลกากรและองค์การศุลกากรโลก

        3. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ระหว่างกรมศุลกากรและองค์การศุลกากรโลก มีวัตถุประสงค์เพื่อยอมรับร่วมกันเกี่ยวกับการดำเนินการจัดตั้งสถาบันวิทยาการศุลกากร กรมศุลกากร ซึ่งตั้งอยู่ เขตบางคอแหลม กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลก เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาบุคลากร ยกระดับบทบาทของกรมศุลกากรบนเวทีระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ตลอดจนกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือกับองค์การศุลกากรโลกในด้านการพัฒนาขีดสมรรถนะของบุคลากรเพื่อสนับสนุนการดำเนินภารกิจด้านศุลกากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลมากยิ่งขึ้น

        ทั้งนี้การใช้บังคับ มีผลใช้บังคับเป็นเวลา 5 ปี ถัดจากวันที่มีการลงนามและสามารถขยายเวลาบังคับใช้โดยได้รับความยินยอมร่วมกันจากผู้เข้าทำความตกลงทั้งสองฝ่าย

_________________

1ศูนย์ฝึกอบรมระดับภูมิภาคขององค์การศุลกากรโลกในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกในปัจจุบัน ประกอบด้วย (1) สาธารณรัฐประชาชนจีน (2) สาธารณรัฐฟีจี (3) เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (4) สาธารณรัฐอินเดีย (5) ประเทศญี่ปุ่น (6) สาธารณรัฐเกาหลี (7) สาธารณรัฐมาเลเซีย และ (8) สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกรัฐมนตรี) 30 สิงหาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A81157

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!