WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน และอาเซียนกับคู่เจรจา

GOV 11

การเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน และอาเซียนกับคู่เจรจา

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้

        1. เห็นชอบร่างกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีของไทยภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียนและอาเซียนกับคู่เจรจา (ร่างกรอบการเจรจาฯ

        2. เห็นชอบร่างเอกสารข้อเสนอแนวทางการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (Guiding Principles for Negotiating the Upgrade of the ATIGA: Upgraded ATIGA) (ร่างเอกสารข้อเสนอฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าว ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ พณ. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก

        3. เห็นชอบร่างเอกสารขอบเขตการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน - อินเดีย (The Scope of the Review of the AITIGA) (ร่างเอกสารขอบเขตการทบทวนฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ พณ. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก

        4. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมประกาศหรือให้การรับรองเอกสาร คือ (1) ร่างเอกสารข้อเสนอแนวทางการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน และ (2) ร่างเอกสารขอบเขตการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียนอินเดีย ในการประชุมของอาเซียน

ที่เกี่ยวข้อง

        สาระสำคัญของเรื่อง

        1) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) แจ้งว่า ประเทศไทยร่วมกับประชาคมอาเซียนจัดทำความตกลงเขตการค้าเสรีมาตั้งแต่ปี 2535 รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ โดยความตกลงเขตการค้าเสรีดังกล่าวมีส่วนช่วยให้มูลค่าการค้าของประเทศไทยกับประเทศคู่ค้าอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.5 – 434.4 ในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2561 ได้มีมติให้มีการทบทวนและยกระดับความตกลงเขตการค้าเสรีของอาเซียนภายในปี 2565 ได้แก่ ความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน และความตกลงเขตการค้าเสรีที่อาเซียนทำกับประเทศคู่เจรจา รวม 5 ฉบับ ประกอบด้วย ความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับจีนอินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย - นิวซีแลนด์ ให้มีความทันสมัยตามรูปแบบการค้าที่เปลี่ยนแปลงไป

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

 

        2) ในครั้งนี้ พณ. (กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ) ขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ (1) ร่างกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีของไทย ภายใต้ความตกลงการค้าเสรีอาเซียนและอาเซียนกับคู่เจรจา (ร่างกรอบการเจรจาฯ) เพื่อเป็นจุดยืนของประเทศไทยสำหรับการเจรจาต่างๆ ภายใต้กรอบอาเซียน รวมทั้งขอความเห็นชอบ (2) ร่างเอกสารข้อเสนอแนวทางการเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (Guiding Principles for Negotiating the Upgrade of the ATIGA: Upgraded ATIGA) (ร่างเอกสารข้อเสนอฯ) ที่เป็นข้อสรุปที่ พณ. และประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมกันยกร่างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเจรจาเพื่อทบทวนและยกระดับความตกลง ATIGA (ASEAN Trade in Goods Agreement) ให้มีความทันสมัยมากขึ้น และ (3) ร่างเอกสาขอบเขตการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน - อินเดีย (The Scope of the Review of the AITIGA) (ร่างเอกสารขอบเขตการทบทวน ) ที่เป็นข้อสรุปที่ พณ. ประเทศสมาชิกอาเซียน และสาธารณรัฐอินเดียได้ร่วมกันยกร่างขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเจรจาเพื่อทบทวนและยกระดับความตกลง AITIGA (ASEAN-India Trade in Goods Agreement) 

        3) ร่างกรอบการเจรจาฯ ร่างเอกสารข้อเสนอฯ และร่างเอกสารขอบเขตการทบทวนฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

             (1) ร่างกรอบการเจรจาฯ เป็นกรอบภายในของประเทศไทยที่จะใช้สำหรับการเจรจาในการจัดทำหรือทบทวน/ยกระดับความตกลงต่างๆ ที่จะดำเนินการในระยะต่อไปทั้งหมด ทั้งภายในอาเซียนและอาเซียนกับคู่เจรจา โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนขอบเขต ประเด็นและสาระ ภายใต้กรอบการเจรจานี้ให้หมาะสมกับกรณีต่างๆ ซึ่งจะใช้แทนกรอบการเจรจาฯ เดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2552 รวมทั้งมีเป้าหมายให้การเจรจาในภาพรวมเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ โดยคำนึงถึงปัจจัยแวดล้อมทางการค้า พัฒนาการทางการค้าที่เปลี่ยนไป ความพร้อม ระดับการพัฒนาและภูมิคุ้มกันของประเทศไทย ตลอดจนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยร่างกรอบเจรจาฯ มีเนื้อหาครอบคลุม 25 หัวข้อ เปลี่ยนแปลงจากกรอบการเจรจาฯ เดิมเมื่อปี 2552 ดังนี้

 

เดิมมี 15 หัวข้อ (ปี 2552)

 

เพิ่มในครั้งนี้ (10 หัวข้อ)

(1) การเข้าสู่ตลาดการค้าสินค้า (2) มาตรการปกป้องและมาตรการเยียวยาด้านการค้า (3) มาตรการสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช (4) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (5) การค้าบริการ (6) การลงทุน (7) การระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ (8) ความร่วมมือและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (9) ทรัพย์สินทางปัญญา (10) พาณิชย์เล็กทรอนิกส์ (11) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (12) ความโปร่งใส (13) การแข่งขัน (14) สิ่งแวดล้อม และ (15) แรงงาน

 

(1) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (2) พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (3) การเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา (4) วิสาหกิจ ขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย (5) แนวทางปฏิบัติที่ดีด้านกฎระเบียบ (6) กลไกการจัดการเชิงสถาบัน (7) รัฐวิสาหกิจ (8) การคุ้มครองผู้บริโภค (9) การเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน และ (10) อื่นๆ

 

              (2) ร่างเอกสารข้อเสนอฯ เป็นแนวทางการเจรจายกระดับฯ เพื่อให้เป็นความตกลงที่มีลักษณะ เช่น (1) ครอบคลุมทั้งรูปแบบการค้าดั้งเดิมและประเด็นใหม่ในปัจจุบัน ทันสมัย และสอดคล้องกับการพัฒนาในภูมิภาคและระดับสากล (2) ก่อให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจที่สำคัญระหว่างประเทศสมาชิกทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้างที่มากขึ้น โดยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโต และการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน (3) อำนวยความสะดวกทางการค้า โดยป้องกันการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าและการมีส่วนร่วมของประเทศสมาชิกอาเซียนในห่วงโซ่อุปทานของโลกและภูมิภาค (4) เปิดกว้างสำหรับประเด็นใหม่ นอกเหนือจากประเด็นที่มีในปัจจุบัน โดยประเทศสมาชิกอาเซียนทุกประเทศต้องเห็นชอบร่วมกันและต้องคำนึงระดับการพัฒนาที่แตกต่าง

             (3) ร่างเอกสารขอบเขตการทบทวนฯ เอกสารฉบับนี้มุ่งเน้นการเปิดตลาดเพิ่มเติม และการปรับกฎระเบียบให้สอดคล้องกับสถานการณ์การค้าและเอื้อต่อการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ โดยการทบทวนฯ จะครอบคลุมในเรื่อง (1) การลดและยกเลิกมาตรการทางภาษีศุลกากรและมาตรการที่มิใช่ภาษี (2) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (3) พิธีการทางศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (4) มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (5) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (6) การเยียวยาทางการค้า (7) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการ และ (8) ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า

        ทั้งนี้ ร่างเอกสารข้อเสนอฯ และร่างเอกสารขอบเขตการทบทวนฯ มุ่งเน้นกำหนดองค์ประกอบจะใช้ในการเจรจา ซึ่งไม่ได้เป็นการกำหนดผลลัพธ์การเจรจาล่วงหน้า แต่มีเจตนาให้เกิดความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับขอบเขตที่จะมีการเจรจาในประเด็นต่างๆ ซึ่งสามารถเพิ่มหรือลดประเด็นการเจรจาได้ โดยขึ้นอยู่กับข้อตกลงร่วมกันระหว่างกระบวนการเจรจาหรือทบทวน โดยเค้าโครงดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศแต่อย่างใด ซึ่งเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ที่มีรองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบร่างเอกสารทั้ง 3 ฉบับดังกล่าวด้วยแล้ว

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกรัฐมนตรี) 30 สิงหาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A81152

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!