WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การประชุม International Tiger Forum ครั้งที่ 2 ณ สหพันธรัฐรัสเซีย

GOV 13

การประชุม International Tiger Forum ครั้งที่ 2 สหพันธรัฐรัสเซีย

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาวลาดิวอสต็อกว่าด้วยการอนุรักษ์เสือโคร่ง (The Vladivostok Declaration on Tiger Conservation) ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำกลับไปเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย ให้การรับรองร่างปฏิญญาวลาดิวอสต็อกว่าด้วยการอนุรักษ์เสือโคร่ง (The Vladivostok Declaration on Tiger Conservation) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ

       สาระสำคัญของเรื่อง

       การประชุม International Tiger Forum ครั้งที่ 2 จะมีการพิจารณารับรองร่างปฏิญญาวลาดิวอสต็อกว่าด้วยการอนุรักษ์เสือโคร่ง (The Vladivostok Declaration on Tiger Conservation) มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้

        1. จัดเตรียมและนำแผนพื้นฟูประชากรเสือโคร่งโลกในอนาคต (2022 - 2034) มาปฏิบัติและทบทวนแผนฟื้นฟูเสือโคร่งแห่งชาติพร้อมตัวชี้วัดและกรอบเวลา

        2. ปรับปรุงพัฒนาแผนฟื้นฟูเสือโคร่งแห่งชาติในอีก 12 ปี สำหรับประเทศที่ต้องการ

        3. สร้างความเข้มแข็งการมีส่วนร่วมของชุมชนสำหรับการอนุรักษ์เสือโคร่ง โดยการสร้างนโยบายนำไปสู่กลไกการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม (รวมถึงการจ่ายค่าบริการทางระบบนิเวศ) การบรรเทาและจัดการความขัดแย้งระหว่างเสือโคร่งและมนุษย์ โดยการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสร้างอาชีพทางเลือก รวมถึงการพัฒนาทักษะทางด้านสิ่งแวดล้อมและป่าไม้ (Green skills developing) เพื่อเสริมสร้างสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม

        4. การวิเคราะห์จัดการปัญหาช่องว่างทางการเงิน ผ่านการสร้างกลไกจูงใจและใช้ประโยชน์จากแหล่งเงินทุนทั้งแบบดั้งเดิมและแบบนวัตกรรมใหม่ รวมถึงทุนจากรัฐบาล/ทุนจากผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ทุนจากทวิภาคี ทุนจากเอกชน เงินบริจาค พันธบัตรเสือโคร่ง และอื่นๆ เพื่อการอนุรักษ์เสือโคร่งในระยะยาว

        5. สนับสนุนการเตรียมจัดทำแผน South East Asia Tiger Recovery Action Plan (STRAP) ภายใต้การมีส่วนร่วมกันจัดลำดับความสำคัญ การกระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และจัดสถาบันที่มีทรัพยากรที่ดี

        6. ปกป้องถิ่นที่อยู่อาศัยของเสือโคร่งและป้องกันการสูญเสียและการทำลายพื้นที่ป่าไม้ไม่ให้เพิ่มมากขึ้น

        7. ให้ความปกป้องเหยื่อหลักของเสือโคร่งด้วยวิธีการที่ดี ฟื้นฟูถิ่นอาศัย ประชากรและการย้ายไปปล่อยในพื้นที่ที่สำคัญ

 

BANPU 720x100QIC 720x100

 

        8. ส่งเสริมการอนุรักษ์เสือโคร่งในระดับภูมิทัศน์ รวมถึงการบรรจุแนวแนวเชื่อมต่อทางธรรมชาติลงในนโยบายการใช้ประโยชน์ที่ดิน และเตรียมในเรื่อง Climate - smart practice and green infrastructure และโครงสร้างพื้นฐานสีเขียวในถิ่นอาศัยของเสือโคร่งและแนวเชื่อมต่อ

        9. บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มแข็งยกระดับจำนวนและความสามารถของเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติ ประสานงานกับผู้บังคับใช้กฎหมายอื่นๆ จัดทำระบบฐานข้อมูลระดับชาติ ผสานการใช้กฎหมายทั่วทั้งประเทศ ประสานกฎหมายระหว่างประเทศ และร่วมการลาดตระเวนตามแนวชายแดน

        10. สร้างความเข้มแข็งในความร่วมมือและแบ่งปันข้อมูล การค้าสัตว์ป่าที่ผิดกฎหมายระหว่างผู้รักษากฎหมายและเครือข่ายในภูมิภาค (SAVEN, ASEAN-WEN) อย่างมีศักยภาพและทรัพยากรที่พอเพียง

        11. นำหลัก One health มาปฏิบัติ เพื่อให้แน่ใจว่ามีการป้องกันโรคติดต่อในภูมิทัศน์เสือโคร่งได้

        12. สร้างกลไกและนโยบาย สนับสนุนเพื่อที่จะให้เกิดการริเริ่ม (เผยแพร่) นิเวศบริการในการพัฒนาวาระการประชุมต่างๆ

        13. ประเมินเสือโคร่ง เหยื่อหลัก และถิ่นอาศัยอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้วิธีและการฝึกอบรมที่ดี

รวมถึงการติดตามการบังคับใช้กฎหมาย ผ่านเครื่องมือต่างๆ เช่น SMART, M-STrIPES, MEE and CA|TS

        14. สถาบันและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินการวิจัย โดยใช้สหวิทยาการที่ล้ำสมัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อทำให้เห็นว่าการอนุรักษ์เสือโคร่งถูกขับเคลื่อนและมีความเข้มแข็งบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

        15. ส่งเสริมให้ความสำคัญกับการสื่อสาร การศึกษา จิตสำนึกสาธารณะ รวมถึงวิธีการทางสังคมให้เกิดการสนับสนุนการอนุรักษ์เสือโคร่ง

        ทั้งนี้ การเข้าร่วมประชุม International Tiger Forum ครั้งที่ 2 และการร่วมรับรองร่างปฏิญญาวลาดิวอสต็อกว่าด้วยการอนุรักษ์เสือโคร่ง (The Vladivostok Declaration on Tiger Conservation) จะส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยที่เป็นสมาชิกเครือข่ายการอนุรักษ์เสือโคร่งระดับโลก รวมถึงการแสดงเจตนารมณ์แสดงจุดยืนด้านการอนุรักษ์ ป้องกันลักลอบล่า สำรวจและประเมินนิเวศวิทยาที่เกี่ยวข้องและถิ่นอาศัยของเสือโคร่ง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกรัฐมนตรี) 30 สิงหาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A81151

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!