WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การต่ออายุความตกลงประเทศเจ้าภาพระหว่างไทยกับสหประชาชาติในรูปแบบของหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายระหว่างประเทศระดับภูมิภาคของสหประชาชาติ (United Nations Regional Course in International Law) ประจำปี 2565

GOV 11

การต่ออายุความตกลงประเทศเจ้าภาพระหว่างไทยกับสหประชาชาติในรูปแบบของหนังสือแลกเปลี่ยนสำหรับการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายระหว่างประเทศระดับภูมิภาคของสหประชาชาติ (United Nations Regional Course in International Law) ประจำปี 2565

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้

        1. เห็นชอบร่างหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อต่ออายุความตกลงประเทศเจ้าภาพระหว่างไทยกับสหประชาชาติ ปี 2560 สำหรับการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายระหว่างประเทศระดับภูมิภาคของสหประชาชาติ (United Nations Regional Course in International Law) ประจำปี 2565ระหว่างวันที่ 14 พฤศจิกายน - 7 ธันวาคม 2565

        2. อนุมตีให้เอกอัครราชทูต ผู้แทนถาวรไทยประจำสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก หรือได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ของฝ่ายไทยสำหรับการฝึกอบรมฯ ประจำปี 2565 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นจะต้องแก้ไขปรับปรุงหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญก่อนการลงนาม ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง และโดยที่ฝ่ายสหประชาชาติแจ้งว่าไม่จำเป็นต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ในกรณีนี้ จึงไม่ต้องจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็มให้ผู้ลงนาม

        สาระสำคัญของเรื่อง

        ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ มีเนื้อหาสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ผ่านมาของไทยในการจัดการฝึกอบรมและการประชุมระหว่างประเทศ โดยมีการเพิ่มข้อความที่เกี่ยวข้องกับการเลื่อนหรือยกเลิกการฝึกอบรมฯ ในกรณีที่มีสภาวการณ์และข้อห่วงกังวลที่เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

        1) การฝึกอบรมฯ จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 พฤศจิกายน - 7 ธันวาคม 2565 ที่กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมกฎหมายระหว่างประเทศให้กับผู้ที่มีภูมิหลังด้านกฎหมายหรือประสบการณ์ในการทำงานด้านกฎหมายระหว่างประเทศจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยการคัดเลือกจะกระทำโดยสหประขาชาติให้เหลือจำนวนผู้เข้าร่วมไม่เกิน 30 คน ซึ่งไทยสามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมการอบรมได้ 5 คน

 

AXA 720 x100

aia 720 x100

 

        2) สหประชาชาติจะรับผิดชอบในการเตรียมหลักสูตรการฝึกอบรมฯ ซึ่งครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายของวิทยากรและเจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายของสหประซาซาติ ค่าหนังสือ และสื่อการสอนอื่นๆ ที่ใช้ในการฝึกอบรมฯ รวมถึงจะรับผิดชอบค่าเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยงของผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมฯ ที่ได้รับการจัดสรรทุนอย่างน้อย 20 คน และค่าอาหารว่างและอาหากลางวันสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ ทั้งหมด ส่วนรัฐบาลไทยจะรับผิดชอบค่าที่พักสำหรับผู้เข้าร่วมที่ได้รับทุนอย่างน้อย 20 คน อาหารเช้าและอาหารค่ำสำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรมฯ ทั้งหมด รวมทั้งการจัดรถรับ - ส่งผู้เข้าร่วมและผู้บรรยายระหว่างโรงแรมที่พักกับสนามบิน และการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมให้แก่ผู้เข้าร่วม

        3) รัฐบาลไทยจะให้เอกสิทธิและความคุ้มกันแก่ผู้แทนจากประเทศต่างๆ ผู้บรรยายที่ได้รับเชิญจากสหประชาชาติ และพนักงานของสหประชาชาติที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับการฝึกอบรมฯ โดยจะให้เอกสิทธิและความคุ้มกันเท่าที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาว่าด้วยเอกสิทธิและความคุ้มกันของสหประชาชาติที่ได้รับรองโดยสหประชาชาติเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ .. 1946 ซึ่งไทยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานของสหประชาชาติและทบวงการชำนัญพิเศษในประเทศไทย .. 2504 เป็นกฎหมายรับรองอยู่แล้ว

        4) ในกรณีที่มีสภาวการณ์และข้อห่วงกังวลที่เกิดจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สหประชาชาติและรัฐบาลไทยอาจตกลงเลื่อนหรือยกเลิกการฝึกอบรมฯ หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจร้องขอให้มีการเลื่อนหรือยกเลิกการฝึกอบรมฯ ได้ ในระยะเวลาไม่ช้ากว่า 30 วันก่อนการเปิดการฝึกอบรมฯ โดยสหประชาชาติและรัฐบาลไทยจะปรึกษาหารือและตกลงร่วมกันเพื่อหาข้อยุติต่อประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เป็นผลจากการเลื่อนหรือการยกเลิกการฝึกอบรมฯ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ (รองนายกรัฐมนตรี) 30 สิงหาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A81150

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!