WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ

GOV 5

รายงานการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ

        คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการหน่วยงานของรัฐ ตามที่สำนักงานศาลปกครอง (ศป.) เสนอและให้หน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญกับรายงานการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีและรายงานแนวทางการปฏิบัติราชการจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองที่สำนักงานศาลปกครองได้เผยแพร่ให้แก่หน่วยงานของรัฐทราบเป็นประจำทุกปีด้วย

        ทั้งนี้ ศป. เสนอว่า

        1. ศาลปกครองมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 197 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันเนื่องมาจากการใช้อำนาจทางปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องมาจากการดำเนินกิจการทางปกครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ โดยมีสำนักงานศาลปกครองเป็นส่วนราชการที่เป็นหน่วยงานอิสระตามรัฐธรรมนูญมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 76 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง .. 2542 และมีอำนาจหน้าที่ตามมาตรา 77 (5) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ในการจัดทำรายงานวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีปกครองและแนวปฏิบัติราชการจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดนำเสนอในรายงานประจำปีของสำนักงานศาลปกครองมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้หน่วยงานของรัฐได้รับทราบแนวปฏิบัติจากคำวินิจฉัยของศาลปกครอง และปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติราชการที่ดีมีคุณภาพมีมาตรฐานเดียวกัน การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบต่างๆ ให้ทันสมัย เป็นธรรมอันนำไปสู่การสร้างหลักธรรมาภิบาลให้เกิดขึ้นแก่สังคมอย่างยั่งยืน

        2. ศป. ได้เผยแพร่รายงานการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีและรายงานแนวทางการปฏิบัติราชการจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองให้แก่หน่วยงานของรัฐทราบเป็นประจำทุกปี โดยจัดส่งหนังสือดังกล่าวให้แก่หน่วยงานของรัฐในระดับกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ องค์การมหาชน รวมถึงห้องสมุดมหาวิทยาลัย จำนวน 9,000 หน่วยงาน แต่ปรากฏว่ายังมีการนำคดีที่มีเหตุแห่งการฟ้องคดีลักษณะเดียวกันมาฟ้องต่อศาลปกครองเพิ่มขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าหน่วยงานของรัฐยังไม่ได้ถือปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติราชการจากคำวินิจฉัยของศาลปกครองหรือยังมิได้ศึกษาถึงเหตุแห่งการฟ้องคดีตามที่ ศป. ได้เผยแพร่ให้ทราบ ศป. จึงได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการหน่วยงานของรัฐ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา เพื่อให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติตามแนวทางการปฏิบัติราชการต่อไป

 

EXIM One 720x90 C J

aia 720 x100

 

        สาระสำคัญของรายงาน

        รายงานการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการของหน่วยงานของรัฐ ประกอบด้วยการวิเคราะห์เหตุแห่งการฟ้องคดีต่อศาลปกครอง และข้อเสนอแนะแนวทางในการปฏิบัติราชการ ดังนี้

        1. กรณีกฎหมายลำดับรองออกโดยขัดหรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ .7/2562) ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ว่าการออกระเบียบว่าด้วยการสืบสวนสอบสวนและการวินิจฉัยชี้ขาดในส่วนของการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาของผู้ถูกกล่าวหาโดยกำหนดห้ามมิให้ทนายความและหรือบุคคลที่ผู้กล่าวหาไว้วางใจ ซักถามแนะนำผู้กล่าวหาหรือตอบคำถามแทนผู้ถูกกล่าวหา เป็นการออกระเบียบที่มีหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง .. 2539 ซึ่งบัญญัติให้ในการพิจารณาทางปกครอง คู่กรณีมีสิทธินำทนายความของตนเข้ามาในการพิจารณาได้ และการใดที่ทนายความได้ทำลงต่อหน้าคู่กรณีให้ถือว่าเป็นการกระทำของคู่กรณี เว้นแต่คู่กรณีจะได้คัดค้านเสียแต่ในขณะนั้น ดังนั้น การออกระเบียบจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ในกรณีนี้เหตุแห่งการฟ้องคดีเกิดจากความเข้าใจกฎหมายคลาดเคลื่อนของฝ่ายปกครองหรือเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจในการออกระเบียบฉบับพิพาท โดย ศป. มีข้อเสนอแนะแนวทางในการปฏิบัติราชการ เห็นควรให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง .. 2539 ทบทวนกฎหมายที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ทั้งในระดับพระราชบัญญัติและกฎหมายลำดับรองว่ามีบทบัญญัติหรือข้อกำหนดใดที่มีข้อความขัดหรือแย้งต่อหลักการตามมาตรา 23 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง .. 2539 อันเป็นหลักเกณฑ์ที่ประกันความเป็นธรรมในการพิจารณาทางปกครองให้แก่คู่กรณีหรือไม่ หากมี เห็นควรสั่งการให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐเสนอเรื่องเพื่อให้มีการยกเลิกหรือแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือข้อกำหนดดังกล่าวให้สอดคล้องกับหลักการมาตรา 23

        2. กรณีกฎหมายลำดับรองออกโดยขัดหรือแย้งกับกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติฉบับบอื่นที่เกี่ยวข้อง (คำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดที่ .165/2562) ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ว่าการออกข้อบังคับมหาวิทยาลัยในส่วนที่กำหนดให้ประธานและกรรมการสภาคณาจารย์ และข้าราชการ ซึ่งเป็นข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาพ้นจากตำแหน่งเมื่อถูกลงโทษทางวินัยหรือจรรยาบรรณหรืออยู่ระหว่างถูกสอบสวนทางวินัย อย่างร้ายแรง นั้น เป็นการออกข้อบังคับที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากเป็นการออกกฎหมายลำดับรองขัดหรือแย้งกับมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา .. 2547 ซึ่งบัญญัติให้ในระหว่าง การสอบสวน จะนำเหตุแห่งการถูกสอบสวนมาเป็นข้ออ้างในการดำเนินการใดให้กระทบต่อสิทธิของผู้ถูกสอบสวนไม่ได้ ในกรณีนี้ ศป. มีข้อเสนอแนะแนวทางปฏิบัติราชการ ดังนี้

             2.1 การออกกฎหมายลำดับรองของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาเอกชนนั้น เห็นควรให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งเป็นรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา . 2547 และพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน .. 2546 กำชับให้สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาเอกชนทบทวนกฎหมายลำดับรองและหรือข้อบังคับของตนว่ามีบัญญัติใดขัดหรือแย้งต่อกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติทั้งที่เป็นกฎหมายแม่บทและกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ถ้ามี ให้ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้องและในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาเอกชนใดจะออกกฎหมายลำดับรองหรือข้อบังคับฉบับใหม่ให้ศึกษากฎหมายในระดับพระราชบัญญัติอย่างถี่ถ้วน เพื่อไม่ให้มีเนื้อหาขัดหรือแย้งหรือเกินไปกว่าที่กฎหมายกำหนด

             2.2 การออกกฎหมายลำดับรองของส่วนราชการอื่นๆ เห็นควรเสนอว่าในกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) จะนำกฎหมายลำดับรองฉบับใดมาทบทวนตามมาตรา 35 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี .. 2546 ที่บัญญัติให้ส่วนราชการมีหน้าที่ทบทวนกฎหมายลำดับรองที่อยู่ในความรับผิดชอบเพื่อดำเนินการยกเลิก ปรับปรุง หรือจัดให้มีขึ้นใหม่ ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ ซึ่งให้อำนาจไว้ สคก. ควรพิจารณาด้วยว่าเนื้อหาของกฎหมายลำดับรองมีเนื้อหาขัดหรือแย้งต่อกฎหมายในระดับพระราชบัญญัติที่ให้อำนาจหรือเกี่ยวข้องหรือไม่ ถ้ามีก็ให้เสนอแนะต่อส่วนราชการที่ออกกฎหมายลำดับรองเพื่อดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายลำดับรองดังกล่าว หรือหากเป็นกฎหมายลำดับรองที่ใช้บังคับกับส่วนราชการอื่นก็อาจเสนอแนะผ่านสำนักงาน ... อันจะเป็นการบูรรณาการในการทบทวนกฎหมายลำดับรองอย่างแท้จริง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 23 สิงหาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A8907

 Click Donate Support Web  

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!