WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 7

GOV8 copy

ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 7

        คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 และให้กระทรวง การต่างประเทศรับความเห็นของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

        สาระสำคัญของเรื่อง

        กต. รายงานว่า

        เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2565 รองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 7 เมืองพุกาม สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

 

สาระสำคัญ/ผลการหารือฯ

1. ภาพรวมการประชุม

 

(1) ที่ประชุมยินดีกับความคืบหน้าของกรอบความร่วมมือฯ โดยเฉพาะการดำเนินโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนการขยายความร่วมมือสู่ระดับท้องถิ่น และการพัฒนาเครือข่ายพันธมิตรเมืองท่องเที่ยว

(2) ที่ประชุมหารือเกี่ยวกับวิกฤตการณ์และความท้าทายร่วมในปัจจุบันและทิศทางความร่วมมือในอนาคต โดยเห็นพ้องให้ประเทศสมาชิกเร่งส่งเสริมความร่วมมือในสาขาต่างๆ ได้แก่ การเชื่อมโยงทางยุทธศาสตร์กับจีน การรวมตัวทางเศรษฐกิจ การเกษตรเพื่อการส่งเสริมความมั่นคงทางอาหาร การพัฒนาสีเขียว การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาดิจิทัล การแลกเปลี่ยนระดับประชาชน สาธารณสุข และความ ท้าทายรูปแบบใหม่

2. ข้อริเริ่มใหม่ที่สาธารณรัฐประชาชนจีนเสนอ

 

จีนได้เสนอข้อริเริ่มสำคัญที่เป็นรูปธรรม 6 ประการ ได้แก่

(1) การเกษตร จะดำเนินโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยี 100 โครงการ และอบรมผู้ประกอบการเกษตร 1,000 คน รวมทั้งจัดตั้งแปลงเกษตรสาธิตในพื้นที่ 10,000 เฮกตาร์ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

(2) การบริหารจัดการน้ำ จะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลอุทกศาสตร์ จัดตั้งสถานีอุตุนิยมวิทยาอุทก ดำเนินโครงการระบบชลประทานพลังงานแสงอาทิตย์ การจัดส่งน้ำในชนบท การบริหารลุ่มน้ำขนาดเล็ก และการรักษาความปลอดภัยของเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ 20 แห่ง

(3) การพัฒนาดิจิทัล จะจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมคลาวด์คอมพิวดิ้ง (Cloud Computing Innovation Center) ส่งเสริมโทรทัศน์ดิจิทัล และเสริมสร้างขีดความสามารถด้านดิจิทัลในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง

(4) อวกาศ จะดำเนินโครงการร่วมมือกับประเทศลุ่มน้ำโขงในด้านดาวเทียมสำรวจ ดาวเทียมประเภทกู้คืนได้ การเพาะปลูกในอวกาศ และการติดตามสถานการณ์ในอวกาศ และเชิญชวนประเทศลุ่มน้ำโขงเข้าร่วมโครงการสำรวจดวงจันทร์และอวกาศห้วงลึกของจีน

(5) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ จะให้ทุนการศึกษาแก่อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง 2,000 ทุน ฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญ 2,000 คน ในสาขานิวเคลียร์เพื่อสันติ การเกษตร ระบบนิเวศและป่าไม้ และจะจัดตั้งสถาบันแม่โขง-ล้านข้าง มหาวิทยาลัยเหอไห่ มณฑลเจียงซู เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการบริหารจัดการน้ำ

(6) สาธารณสุข จะบริจาควัคซีน และส่งเสริมให้อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เป็นฐานอุตสาหกรรมผลิตยาแผนดั้งเดิม

3. แนวคิด “RISE” (together)

 

รองนายกรัฐมนตรี (นายดอนฯ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เสนอแนวคิด “RISE” (together) เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือ ดังนี้

(1) การส่งเสริมความยืดหยุ่น (Resilience) โดยการส่งเสริมความเข้มแข็งให้ระบบสาธารณสุข การใช้ประโยชน์จากการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) ในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความมั่นคงทางอาหาร พลังงานและน้ำ

(2) การรวมตัวทางเศรษฐกิจ (Integration and Interoperability) โดยการส่งเสริมความเชื่อมโยง และอำนวยความสะดวกการค้าข้ามแดน เช่น การส่งเสริมประสิทธิภาพ การตรวจโรค การเสริมสร้างขีดความสามารถของด่าน โดยเฉพาะด้านการตรวจโรคพืชและสัตว์ การจัดตั้งพื้นที่ควบคุมร่วมกัน การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษข้ามพรมแดนที่ครอบคลุมมากกว่า 2 ประเทศ และการพัฒนาแพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการจราจรบริเวณด่านและเวลาการทำการของด่าน

(3) การสอดประสาน (Synergy) โดยส่งเสริมการสอดประสานระหว่างนโยบายเศรษฐกิจของประเทศสมาชิก และระหว่างกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างกับกรอบความร่วมมืออื่นๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS)

 (4) ระบบนิเวศที่เอื้อต่อธุรกิจและนวัตกรรม (Enabling Ecosystem) ผ่านการพัฒนาระเบียงนวัตกรรม และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนในกรอบความร่วมมือฯ ผ่านสภาธุรกิจแม่โขง-ล้านช้าง

4. การรับรองเอกสารผลลัพธ์

 

ที่ประชุมได้รับรองเอกสารผลลัพธ์ รวมจำนวน 5 ฉบับ ได้แก่

(1) แถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกรอบความร่วมมือแม่โขง- ล้านช้าง ครั้งที่ 7 โคยมีสาระสำคัญในภาพรวมไม่แตกต่างจากร่างแถลงข่าวร่วม ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไว้แล้ว (ตามมติคณะรัฐมนตรี 28 มิถุนายน 2565) แต่มีการปรับแก้ถ้อยคำในย่อหน้าที่ 3 เพื่อให้ปรากฏเรื่องข้อริเริ่มความมั่นคงระดับโลกของจีน (Global Security Initiative: GSI) ในลักษณะที่เน้นการสนับสนุนเกื้อกูลกันระหว่างข้อริเริ่ม GSI และกรอบความร่วมมือฯ โดยไม่มีนัยว่าประเทศสมาชิกให้การสนับสนุน GSI โดยตรง เนื่องจากประเทศสมาชิกและไทยยังอยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียดของข้อริเริ่ม GSI นอกจากนี้ประเทศสมาชิกยังได้ขอให้ไม่กล่าวถึงเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือด้านการทหารและการป้องกันประเทศในย่อหน้าที่ 10 เนื่องจากสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามแจ้งว่า ยังไม่มีความพร้อมที่จะส่งสริมความร่วมมือด้านการทหารและ การป้องกันประเทศภายใต้กรอบความร่วมมือฯ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงทั้งสองประเด็นข้างต้นสอดคล้องกับท่าทีของหน่วยงานไทยที่เกี่ยวข้องและผลประโยชน์ของไทย

(2) แถลงการณ์ร่วม 4 ฉบับ ได้แก่

(2.1) แถลงการณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านการบริหารจัดการภัยพิบัติ ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง

(2.2) แถลงการณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง

(2.3) แถลงการณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมความร่วมมือด้านศุลกากรเพื่อการส่งเสริมการค้าและการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง- ล้านช้าง

(2.4) แถลงการณ์ร่วมเพื่อการส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและการเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างอารยธรรม ภายใต้กรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง

ทั้งนี้ แถลงการณ์ร่วม 4 ฉบับ มีสาระสำคัญไม่แตกต่างจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบไว้แล้ว (ตามมติคณะรัฐมนตรี 28 มิถุนายน 2565)

 

        ทั้งนี้ การประชุมฯ ในครั้งนี้เป็นการเตรียมการสำหรับการประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือฯ ครั้งที่ 4 ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงปลายปี 2565 สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา โดยรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกได้เห็นพ้องในหลักการในการเสนอร่างแผนปฏิบัติการของกรอบความร่วมมือฯ ฉบับใหม่ (.. 2023 - 2027) (.. 2566 - 2570) ต่อที่ประชุมผู้นำฯ เพื่อพิจารณารับรอง ทั้งนี้ ภายหลังการประชุมผู้นำฯ ดังกล่าว ไทยจะรับหน้าที่การเป็นประธานกรอบความร่วมมือฯ ร่วมกับจีน ต่อจากเมียนมา โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี จนถึงปลายปี 2567

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 23 สิงหาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A8898

 Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!