การปรับปรุงแนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรม
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 09 August 2022 23:06
- Hits: 2457
การปรับปรุงแนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรม
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ ดังนี้
1. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 (เรื่อง การมอบอำนาจการแบ่งส่วนราชการภายในกรม) และวันที่ 2 มกราคม 2562 (เรื่อง การทบทวนข้อเสนอให้จัดตั้งหน่วยงานของรัฐตามแผนการปฏิรูปประเทศ)
2. เห็นชอบแนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรม และขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 (เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ) ในกรณีการขอจัดตั้งส่วนราชการระดับต่ำกว่ากรม โดยไม่เพิ่มจำนวนกองในภาพรวมของส่วนราชการ (rearrange) ให้ส่วนราชการดำเนินการตามขั้นตอนที่ ก.พ.ร. กำหนด
3. ให้สำนักงาน ก.พ. นำข้อเสนอของ ก.พ.ร. เกี่ยวกับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งประเภทอำนวยการ กรณีที่ส่วนราชการมีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการใหม่เสนอต่อคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เพื่อพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์ฯ (ตามที่กำหนดในหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 5 ลงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562) ต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรมเพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐที่มุ่งให้ภาครัฐมีขนาดเล็กลง เหมาะสมกับภารกิจ รวมทั้งรองรับภารกิจใหม่ๆ ที่ตอบสนองทิศทางการพัฒนาประเทศตามแผนการปฏิรูปประเทศ และนำมาผนวกกับหลักการใหม่ที่ ก.พ.ร. ได้กำหนดขึ้นเพื่อให้เกิดความชัดเจนในทางปฏิบัติแก่หน่วยงาน สรุปได้ ดังนี้
แนวทางการแบ่งส่วนราชการภายในกรม |
||||||||||||||||||
กรณีการมอบอำนาจการแบ่งส่วนราชการภายในกรม โดยไม่เพิ่มจำนวนกอง (rearrange) |
กรณีการเสนอจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มใหม่ |
|||||||||||||||||
1. หลักการและเหตุผล |
|
|||||||||||||||||
เป็นการปรับปรุงเงื่อนไขหลักการมอบอำนาจการแบ่งส่วนราชการภายในกรมให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดย ก.พ.ร. จะมอบอำนาจให้ส่วนราชการพิจารณาจัดโครงสร้างส่วนราชการระดับต่ำกว่ากรมได้เอง โดยไม่เพิ่มจำนวนกองในภาพรวมของส่วนราชการ และจำนวนกองที่ปรากฏในกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการยังเท่าเดิม [ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2561 ที่เดิมกำหนดให้สามารถยุบรวมหรือยุบเลิกได้เฉพาะภารกิจหลักและไม่สามารถ rearrange ข้ามประเภทหน่วยงานได้ เป็น สามารถนำภารกิจหลัก/ภารกิจสนับสนุน/หน่วยงานราชการในส่วนภูมิภาคมายุบเลิกหรือยุบรวมเพื่อจัดตั้งกองใหม่ในส่วนกลางได้ (ไม่รวมถึงหน่วยงานภายในที่ส่วนราชการจัดตั้งตามคำสั่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เช่น ท่าอากาศยาน)] |
ต้องเป็นกรณีที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนทั้งในด้านภารกิจและงบประมาณ รวมทั้ง การนำ Digital Technology มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานหรือนำมาทดแทนเพื่อลดภาระงานที่มีอยู่เดิม [ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2562 (เรื่อง การทบทวนข้อเสนอให้จัดตั้งหน่วยงานของรัฐตามแผนการปฏิรูปประเทศ) และนำหลักการข้อเสนอการยุบเลิกหรือยุบรวมภารกิจของส่วนราชการอื่น (X-In, Y-Out) ของมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2564 (เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสำนักงบประมาณ) มารวมไว้เป็นหลักการเดียวกันสำหรับการขอจัดตั้งหน่วยงานเพิ่ม)] |
|||||||||||||||||
2. เงื่อนไขในการแบ่งส่วนราชการ |
|
|||||||||||||||||
|
ส่วนราชการสามารถจัดทำข้อเสนอให้ยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยงานที่มีอยู่เดิม หรือถ่ายโอนภารกิจเพื่อประกอบคำขอกรณีการเสนอขอจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มใหม่ได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ 1) ข้อเสนอให้ยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยงานในสังกัดที่มีอยู่เดิม (One-In, X-Out) เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนทั้งในด้านภารกิจและงบประมาณ 2) ข้อเสนอการถ่ายโอนภารกิจหลัก (core function) ให้ภาคส่วนอื่นรับไปดำเนินการแทน หรือข้อเสนอการถ่ายโอนภารกิจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการ (ต้องไม่เพิ่มอัตรากำลังภายในระยะเวลา 3 ปี) 3) ข้อเสนอยุบเลิกภารกิจหรือยุบรวมหน่วยงานของส่วนราชการอื่น (X-In, Y-Out) สำหรับกรณีภารกิจที่มี Value Chain เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงหลายส่วนราชการ ซึ่งไม่อาจพิจารณาเฉพาะส่วนราชการใดส่วนราชการหนึ่งได้ |
|||||||||||||||||
3. การจัดทำคำขอและขั้นตอน |
|
|||||||||||||||||
กรณีที่หน่วยงานดำเนินการภายใต้เงื่อนไขข้างต้น (ในข้อ 2.1 - 2.3) ซึ่งไม่เป็นการเพิ่มจำนวนกอง สามารถดำเนินการตามขั้นตอนที่ ก.พ.ร. เสนอมาในครั้งนี้ [เป็นการขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 (เรื่อง การซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการจัดตั้งหน่วยงานของรัฐ) เนื่องจากต้องการปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินการให้สั้น กระชับขึ้น (ลดระยะเวลาได้ 2 เดือน)] ดังนี้ 1) ลดระยะเวลาการรอหนังสือตอบความเห็นจากหน่วยงานกลาง โดยให้ผู้แทนหน่วยงานกลางนำความเห็นของส่วนราชการมาในวันประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวง 2) ลดขั้นตอนการเสนอ ก.พ.ร. เพื่อพิจารณา โดยให้สำนักงาน ก.พ.ร. ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการแล้วให้แจ้งผลส่วนราชการดำเนินการต่อไปได้ คู่ขนานกันไปกับการรายงานให้ อ.ก.พ.ร. และ ก.พ.ร. ทราบต่อไป 3) การจัดทำคำชี้แจงประกอบการแบ่งส่วนราชการฯ : ยกเลิกการจัดทำเอกสารรายละเอียดคำชี้แจงการแบ่งส่วนราชการฯ จากเดิม 7 หัวข้อ และให้ส่วนราชการจัดทำคำชี้แจงเฉพาะสาระสำคัญในรูปแบบบทสรุปผู้บริหาร โดยตอบคำถามสำคัญใน 3 ประเด็น เช่น ส่วนราชการต้องแสดงให้เห็นถึงการทบทวนภารกิจโดยภาพรวมเพื่อระบุให้เห็นถึงผลกระทบ สถานการณ์ และ/หรือ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่แสดงถึงเหตุผลความจำเป็นในการแบ่งส่วนราชการ |
กรณีการจัดตั้งกองซึ่งเป็นการเพิ่มจำนวนกองทั้งกองที่เป็นภารกิจหลัก/ภารกิจสนับสนุนในราชการส่วนกลาง/การจัดตั้งหน่วยงานของราชการบริหารส่วนกลางที่ตั้งในภูมิภาค/ราชการส่วนภูมิภาค/หน่วยงานในต่างประเทศ (ตามเงื่อนไขข้างต้น) ส่วนราชการจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2550 และหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กำหนด (ตามข้อ 2.1) เช่น 1) ส่วนราชการถามความเห็นหน่วยงานกลางเพื่อให้จัดทำความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรประกอบการพิจารณาของคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการของกระทรวง 2) รัฐมนตรีส่งข้อเสนอการแบ่งส่วนราชการและรายละเอียดตามคำชี้แจงพร้อมแนบรายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาโครงสร้างระบบราชการของกระทรวง มายังสำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อเสนอ ก.พ.ร. พิจารณา 3) การจัดทำคำชี้แจงประกอบการแบ่งส่วนราชการฯ : ประกอบด้วย 7 หัวข้อ ได้แก่ (1) การทบทวนบทบาทภารกิจภาพรวมของส่วนราชการ (2) เหตุผลความจำเป็นในการขอจัดตั้ง (3) ภารกิจของส่วนราชการที่จะมีการแบ่งส่วนราชการใหม่ (4) อัตรากำลังเจ้าหน้าที่ (5) ปริมาณงาน (6) แสดงตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายที่เป็นผลจากการดำเนินงานปรับปรุงโครงสร้างและภารกิจของส่วนราชการ/ส่วนราชการระดับต่ำกว่ากรมใหม่ และ (7) ค่าใช้จ่าย |
|||||||||||||||||
4. อื่นๆ |
|
|||||||||||||||||
- ให้คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกำหนดตำแหน่งประเภทอำนวยการ กรณีที่ส่วนราชการมีกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการใหม่ เพื่อให้ส่วนราชการสามารถคงตำแหน่งประเภทอำนวยการ ตามจำนวนตำแหน่งและระดับตำแหน่งที่ส่วนราชการมีอยู่ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการมอบอำนาจดังกล่าว - ส่วนราชการจะต้องนำเสนอผลสัมฤทธิ์ที่คาดว่าจะได้รับจากการมีหน่วยงานนั้นๆ รวมทั้งตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์ภายในกรอบระยะเวลา 1 - 5 ปี เพื่อให้ ก.พ.ร. พิจารณา หากผลการประเมินปรากฏว่าไม่เกิดผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าต่อราชการ ให้ ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อยุบหน่วยงานดังกล่าวต่อไป |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 9 สิงหาคม 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A8355