ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 2/2565
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 09 August 2022 22:56
- Hits: 2529
ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 2/2565
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐเสนอ ผลการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ความคืบหน้าการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2565 เช่น
1.1 กรมบัญชีกลางได้ซักซ้อมความเข้าใจการเตรียมการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปด้วยความรวดเร็ว และสามารถก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายเงินได้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
1.2 คณะกรรมการฯ ได้จัดสัมมนาผู้แทนกระทรวงการคลัง (กค.) ในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ บริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ และกิจการที่รัฐถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 โดยขอความร่วมมือให้รัฐวิสาหกิจปรับปรุงกระบวนการต่างๆ เช่น การเตรียมความพร้อมของโครงการล่วงหน้า การกำกับให้การดำเนินโครงการเป็นไปตามแผนงาน การปรับแผนการลงทุนให้สามารถเบิกจ่ายได้เร็วขึ้น และการกำกับติดตามการเบิกจ่าย งบลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ร้อยละ 95
2. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
2.1 ภาพรวมการเบิกจ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 มีการเบิกจ่ายแล้วจำนวน 2,464,723 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ |
วงเงินงบประมาณ/ แผนการใช้จ่าย |
เบิกจ่ายแล้ว |
ร้อยละเบิกจ่าย |
งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 25651 |
3,100,000 |
1,849,332 |
59.66 |
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี1 |
237,475 |
147,065 |
61.93 |
เงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมเงินงบประมาณ) 2 |
309,091 |
133,534 |
43.20 |
โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (กรอบวงเงิน 1 ล้านล้านบาท) 3 |
106,909 |
79,056 |
73.95 |
โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท) 3 |
307,207 |
255,736 |
83.25 |
รวม |
4,060,682 |
2,464,723 |
60.70 |
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่มูลค่าโครงการตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป รวม 103 โครงการ มูลค่าโครงการทั้งหมด 2.51 ล้านล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 83,508 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 43.36 ของแผนการใช้จ่ายเงิน (1 ตุลาคม 2564-30 เมษายน 2565)
2.2 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน
2.2.1 กระทรวงที่มีผลการเบิกจ่ายสูงสุด เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ส่วนกระทรวงที่มีผลการเบิกจ่ายต่ำสุด เช่น กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงแรงงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงยุติธรรม
2.2.2 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่สำคัญ ได้แก่
รายการ |
จำนวน (รายการ) |
วงเงิน (ล้านบาท) |
เบิกจ่ายแล้ว (ล้านบาท) |
คิดเป็น (ร้อยละ) |
รายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินต่อรายการเกิน 1,000 ล้านบาท |
18 |
30,055 |
16,033 |
53.35 |
รายจ่ายลงทุนรายการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณใหม่ที่มีวงเงินรวม 1,000 ล้านบาทขี้นไป |
8 |
3,524 |
- |
- |
หน่วยงานที่ได้รับรายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท และ มีผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 39 (ไม่รวมงบกลาง) |
20 |
147,849 |
39,049 |
26.41 |
(ข้อมูล ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2565)
2.2.3 ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินการและการเบิกจ่ายงบประมาณล่าช้า ดังนี้ (1) การเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินโครงการ เช่น มีการปรับแบบรูปรายการหรือแบบแปลนงานก่อสร้างให้สอดคล้องกับพื้นที่จริงเนื่องจากไม่มีกรรมสิทธิ์ในพื้นที่หรืออยู่ระหว่างขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่ (2) การดำเนินงาน เช่น หน่วยรับงบประมาณต้องหารือกับหน่วยงานต้นสังกัดหรือทบทวนราคากลางเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ หรือกรณีมีผู้เสนอราคารายเดียวหรือไม่มีผู้เสนอราคา ทำให้ต้องยกเลิกการประกวดราคาและประกาศเชิญชวนใหม่ และ (3) ความล่าช้าของโครงการที่เกิดจากผู้รับจ้างสามารถขยายเวลาดำเนินการและการคิดค่าปรับในอัตราร้อยละ 0 ตามมาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวร้สโคโรนา 2019 (โควิด-19) ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางได้แจ้งมาตรการและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องให้หน่วยงานถือปฏิบัติ ดังนี้ (1) ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อให้หน่วยงานเตรียมการในขั้นตอนที่เป็นเรื่องภายในของหน่วยงานไว้ก่อนและเมื่อได้รับการจัดสรรงบประมาณจะสามารถดำเนินการได้ทันทีและสามารถก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายเงินได้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ (2) กรณีมีผู้เสนอราคารายเดียวหรือมีผู้ยื่นข้อเสนอหลายรายแต่ถูกต้องตามเงื่อนไขเพียงรายเดียว คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ดุลยพินิจให้ดำเนินการต่อไปได้และกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอหรือมีแต่ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข หัวหน้าส่วนราชการสามารถใช้ดุลยพินิจให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจง และ (3) แก้ไขระยะเวลามาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงโควิด-19 ในอัตราค่าปรับร้อยละ 0 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 25654 ส่วนสัญญาฯ ที่ได้ลงนามภายหลังวันที่ 30 มิถุนายน 2565 จะไม่ได้รับความช่วยเหลือและให้อัตราค่าปรับเป็นไปตามเงื่อนไขเดิมในสัญญาก่อนได้รับความช่วยเหลือ
2.3 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
2.3.1 รัฐวิสาหกิจมีกรอบลงทุนปี 2565 ณ สิ้นเดือนเมษายน 2565 จำนวน 338,126 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายสะสม 99,703 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 100 ของแผนเบิกจ่ายสะสม (99,478 ล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของกรอบลงทุนทั้งปี โดยแบ่งเป็น (1) รัฐวิสาหกิจปีงบประมาณ มีผลการเบิกจ่ายสะสม 7 เดือน (เดือนตุลาคม 2564-เมษายน 2565) จำนวน 56,981 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99 ของแผนเบิกจ่ายสะสม (57,629 ล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของกรอบลงทุนทั้งปี และ (2) รัฐวิสาหกิจปีปฏิทินมีผลการเบิกจ่ายสะสม 4 เดือน (เดือนมกราคม-เมษายน 2565) จำนวน 42,722 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 102 ของแผนเบิกจ่ายสะสม(41,849 ล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ของกรอบลงทุนทั้งปี
2.3.2 รัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาการเบิกจ่ายงบลงทุนล่าช้า ณ สิ้นเดือนเมษายน 2565 ได้แก่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) และองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ซึ่งเป็นผลมาจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
2.3.3 การดำเนินการตามมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่มีงบลงทุนขนาดใหญ่ (จำนวน 17 แห่ง) เช่น
มาตรการ |
การดำเนินการ |
ข้อจำกัด |
||
(1) การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการลงทุนโดยเฉพาะที่ส่งผลให้กรอบวงเงินลงทุนลดลง ควรเป็นผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยภายนอกหรือที่รัฐวิสาหกิจไม่สามารถควบคุมได้หรือเป็นการดำเนินการเชิงนโยบายเท่านั้น |
มีการปรับปรุงกรอบวงเงินลงทุนที่เกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น ไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณ ผลกระทบจากโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลง/ยกเลิกการดำเนินนโยบายของรัฐ |
ไม่มี |
||
(2) การจัดหาโครงการลงทุนอื่นทดแทนการปรับลดกรอบการลงทุน |
ดำเนินการได้บางส่วน |
การปรับลดกรอบการลงทุนของโครงการที่มีขนาดใหญ่ไม่สามารถหาโครงการลงทุนอื่นมาทดแทนได้ |
||
(3) การปรับแผนการลงทุนให้สามารถเบิกจ่ายได้เร็วขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี 2565 |
ดำเนินการได้บางส่วน |
สามารถดำเนินการได้เฉพาะรายการครุภัณฑ์หรือที่มีวงเงินไม่สูงส่วนงานก่อสร้างจะมีการวางแผนการเบิกจ่ายตามงวดงาน จึงไม่สามารถเบิกจ่ายให้เร็วขึ้นได้ |
||
(4) การให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายงบลงทุน โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีกรอบงบลงทุนสูงและมีปัญหาการเบิกจ่ายล่าช้าในปี 2564 |
• แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อติดตามเร่งรัดและรายงานต่อผู้บริหารระดับสูง รวมทั้งจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงจากการก่อสร้าง • กำหนดมาตรการเร่งรัดเพื่อให้ผู้รับจ้างสามารถดำเนินการได้ตามแผน |
ไม่มี |
||
(5) การเตรียมความพร้อมในการดำเนินการ เช่น การจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดโครงการ การเตรียมความพร้อมของพื้นที่ก่อนเริ่มดำเนินการจริง การเตรียมรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการจัดทำร่างขอบเขตและร่างสัญญาโดยคำนึงถึงความเกี่ยวเนื่องกับโครงการอื่นหรือหน่วยงานของรัฐอื่น |
• จัดเตรียมร่างขอบเขตงานเพื่อให้สามารถเริ่มลงนามในสัญญาได้เมื่อเริ่มปีบัญชีถัดไป • เมื่อคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจอนุมัติงบประมาณแล้ว ให้ดำเนินการด้านพัสดุโดยยังไม่ก่อหนี้ผูกพันสัญญาก่อนปีงบประมาณได้ • จัดทำการออกแบบรายละเอียดและเสนอขออนุมัติรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการเสนอโครงการต่อ สศช. • วางแผนบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
ไม่มี |
ทั้งนี้ โครงการสำคัญส่วนใหญ่สามารถลงนามผูกพันสัญญาได้ยกเว้นแผนงานขนาดเล็กหรือบางสัญญาภายใต้โครงการขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ความคืบหน้าในบางโครงการยังมีความล่าช้าซึ่งอาจส่งผลให้รัฐวิสาหกิจปีงบประมาณบางแห่งมีการเบิกจ่ายต่ำกว่าเป้าหมายที่ร้อยละ 95 ของกรอบลงทุนปี 2565 เช่น โครงการพัฒนา ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิของ ทอท. และแผนการก่อสร้างคลังยาและเวชภัณฑ์แห่งใหม่ ของ อภ.
2.4.3 ข้อเสนอแนะ (1) กระทรวงเจ้าสังกัดกำกับติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกรอบวงเงินอนุมัติให้เบิกจ่ายลงทุน และ (2) กระทรวงเจ้าสังกัดกำกับติดตามรัฐวิสาหกิจที่ยังไม่สามารถลงนามผูกพันสัญญาได้ครบถ้วนหรือมีความคืบหน้าของงานล่าช้า หรือคาดว่าจะไม่สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ เพื่อให้สามารถลงนามผูกพันสัญญาให้แล้วเสร็จโดยเร็วและเบิกจ่ายงบลงทุนได้ตามเป้าหมาย
2.4 การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป
2.4.1 โครงการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่มีจำนวน 103 โครงการ มูลค่า 2.51 ล้านล้านบาท และมีมูลค่าการลงทุนในปี 2565 จำนวน 192,602 ล้านบาท (ไม่รวมโครงการที่ใช้เงินงบประมาณทั้งหมดของส่วนราชการ) โดยแหล่งเงินลงทุนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป สรุปได้ ดังนี้
หน่วย:ล้านบาท
หน่วยงาน |
แหล่งเงิน |
||||||
การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน |
เงินกู้ต่างประเทศ |
เงินกู้ในประเทศ |
เงินรายได้ |
งบประมาณ |
กองทุน |
รวม |
|
ส่วนราชการ |
24,876 |
14,048 |
- |
- |
31,123 |
- |
70,047 |
รัฐวิสาหกิจ |
296,031 |
84,282 |
1,495,981 |
365,229 |
139,938 |
43,537 |
2,424,998 |
รวม |
320,907 |
98,330 |
1,495,981 |
365,229 |
171,061 |
43,537 |
2,495,045 |
(ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2565)
2.4.2 สถานะการดำเนินการของโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป มีดังนี้
โครงการ |
จำนวน (โครงการ) |
มูลค่า (ล้านบาท) |
โครงการที่รัฐดำเนินการเอง |
82 |
2,090,000 |
- ลงนามในสัญญาแล้ว |
36 |
846,592 |
- ลงนามในสัญญายังไม่ครบหรือยังไม่ได้ลงนามในสัญญา |
46 |
1,240,000 |
โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน |
21 |
424,339 |
- ลงนามในสัญญาแล้ว |
4 |
125,390 |
- ยังไม่ลงนามในสัญญา |
17 |
298,949 |
(ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2565)
2.5 การเบิกจ่ายโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 (กรอบวงเงิน 1 ล้านล้านบาท) ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 จำนวน 1,108 โครงการ วงเงิน 982,343 ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น วงเงิน 948,691 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 97 ของวงเงินอนุมัติ โดยในปีงบประมาณ 2565 มีแผนการเบิกจ่ายสะสม (เดือนตุลาคม 2564-18 พฤษภาคม 2565) วงเงินรวม 106,431 ล้านบาท และมีผลการเบิกจ่ายสะสม (เดือนตุลาคม 2564-18 พฤษภาคม 2565) จำนวน 714 โครงการ วงเงินรวม 79,056 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 74 ของแผนการเบิกจ่ายปีงบประมาณ 2565 และร้อยละ 74 ของแผนการเบิกจ่ายสะสมโดยการดำเนินการดังกล่าวมีปัญหา/อุปสรรค และแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น
ประเด็น |
ปัญหา/อุปสรรค |
แนวทางแก้ไขปัญหา |
||
(1) แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาโควิด–19 |
• ความล่าข้าในการก่อสร้าง เนื่องจากอาคารเก่าไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการติดตั้งครุภัณฑ์ที่มีน้ำหนักมาก เช่น โครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย • ความล่าช้าในการส่งมอบครุภัณฑ์ เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดอุปกรณ์ของบริษัทคู่สัญญา เช่น เครื่องเขย่าหลอดทดลองซึ่งต้องผ่านการพิจารณา ขอคณะกรรมการตรวจรับพัสดุก่อน |
เร่งรัดการปรับปรุงงานก่อสร้างและจัดเตรียมเอกสารให้พร้อมต่อการเบิกจ่าย ทั้งนี้ ได้เสนอคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาโครงการออกไปสิ้นสุดในเดือนกันยายน 2565 แล้ว เร่งรัดการพิจารณาของคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ |
||
(2) แผนงานหรือโครงการเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด–19 |
• กลุ่มโครงการระดับจังหวัดภายใต้โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 6 บางโครงการยังไม่เริ่มเบิกจ่ายและสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการแล้ว โดยมีสาเหตุจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 การได้รับจัดสรรงบประมาณจากแหล่งอื่น5 และการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างล่าช้า |
ได้เร่งรัดการดำเนินโครงการฯ ที่มีปัญหาให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2565 แล้ว |
2.6 การเบิกจ่ายโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท) ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการภายใต้ พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 จำนวน 69 โครงการ วงเงิน 425,961 ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น วงเงิน 365,533 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 86 ของวงเงินอนุมัติ โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีแผนการเบิกจ่ายวงเงินรวม 307,207 ล้านบาท และมีแผนเบิกจ่ายสะสม (เดือนตุลาคม 2564 - 18 พฤษภาคม 2565) วงเงินรวมจำนวน 280,067 ล้านบาท และมีผลการเบิกจ่ายจำนวน 69 โครงการ วงเงินรวม 255,736 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 83 ของแผนการเบิกจ่ายปีงบประมาณ 2565 และร้อยละ 91 ของแผนเบิกจ่ายสะสมตามลำดับ โดยการดำเนินการดังกล่าวมีปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น
ประเด็น |
ปัญหา/อุปสรรค |
แนวทางแก้ไขปัญหา |
||
(1) แผนงานหรือโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด–19 |
แนวโน้มความต้องการวัคซีนของประเทศลดลง ส่งผลให้วัคซีนที่จัดหาตามแผนและวัคซีนที่ได้รับจากการบริจาคมีจำนวนมากกว่าความต้องการ จึงต้องชะลอการสั่งซื้อวัคซีน AstraZeneca |
พิจารณาจัดหาสารภูมิต้านทาน (แอนติบอดี้) ชนิดออกฤทธิ์ยาวทดแทนการจัดหาวัคซีน AstraZeneca บางส่วนภายใต้กริบวงเงินเดิม |
||
(2) แผนงานหรือโครงการเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โควิด-19 |
• ความล่าช้าและความซ้ำซ้อนของการตรวจสอบรายชื่อผู้รับสิทธิ์ส่งผลให้ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามแผน เช่น โครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 • จำนวนผู้รับสิทธิ์ของโครงการ ต่ำกว่า เป้าหมาย ส่งผลให้ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ตามแผน เช่น โครงการให้ความช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายย้ายไปศึกษาต่อที่อื่น |
ได้โอนเงินช่วยเหลือเสร็จสิ้นแล้วและอยู่ระหว่างส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายไปยัง สบน. |
___________________
1ข้อมูลจากการรวบรวมของกรมบัญชีกลาง ณ วันที่ 13 พฤษภาคม 2565
2ข้อมูลจากการรวบรวมของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจและจากการประสานกับรัฐวิสาหกิจและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ณ วันที่ 17 พฤษภาคม 2565
3ข้อมูลจากการรวบรวมของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2565
4จากการประสานข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 สบน. แจ้งว่า มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงโควิด-19 ในอัตราค่าปรับร้อยละ 0 เดิมที่มีกำหนดสิ้นสุดจนถึงวันก่อนวันที่มีการประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามหนังสือคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและบริหารพัสดุภาครัฐ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 693 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2564 เรื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
5จากการประสานข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565 สบน. แจ้งว่า หน่วยงานได้มีการของบประมาณจากแหล่งอื่นด้วย จึงทำให้ไม่มีการเบิกจ่ายงบประมาณจากกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากพระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 9 สิงหาคม 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A8354