WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน สมัยพิเศษ (AEMs’ Special Meeting) ณ เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

GOV8 copy

 

 

ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน สมัยพิเศษ (AEMs’ Special Meeting) เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

        คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน สมัยพิเศษ (ASEAN Economic Ministers’ Special Meeting: AEMs’ Special Meeting) เกาะบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เมื่อวันที่ 17-19 พฤษภาคม 2565 โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ (นายสรรเสริญ สมะลาภา) เข้าร่วมประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

 

        1. ผลการประชุม AEMs’ Special Meeting มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็น

 

สาระสำคัญ

(1) สถานการณ์เศรษฐกิจโลก

 

เศรษฐกิจของอาเซียนมีการฟื้นฟูและมีแนวโน้มเติบโตร้อยละ 4.9 ในปี 2565 และร้อยละ 5.2 ในปี 2566 โดยมีประเทศสมาชิกเริ่มมีการเปิดประเทศและประชากรได้รับการฉีดวัคซีนประมาณร้อยละ 70 แต่เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจและการเมืองโลกยังมีความท้าทาย เช่น สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในสาธารณรัฐประชาชนจีน การชะงักของห่วงโซ่อุปทาน ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคและอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ที่ประชุมฯ จึงเห็นว่าอาเซียนต้องเพิ่มความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกภูมิภาคโดยเร่งดำเนินการข้อริเริ่มภายใต้กรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียนและพัฒนาภูมิภาคให้ก้าวไปสู่ทิศทางสำคัญในอนาคตทั้งในด้านความเป็นดิจิทัลและด้านความยั่งยืน

(2) ความร่วมมือในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก

 

หารือเกี่ยวกับกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework: IPEF)1 ของสหรัฐอเมริกาและยุทธศาสตร์เพื่อความร่วมมือในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นเวทีใหม่ที่ทั้งสองประเทศต้องการมีส่วนร่วมในภูมิภาคอาเซียน โดยเฉพาะในประเด็นใหม่ๆ เช่น การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พลังงานสะอาด ดิจิทัล ห่วงโซ่อุปทาน โดยที่ประชุมฯ ยืนยันหลักการของอาเซียนตามเอกสารมุมมองของอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก ที่มุ่งเน้นการเป็นภูมิภาคที่เปิดกว้าง โปร่งใส ยึดมั่นในหลักเกณฑ์และความเป็นแกนกลางของอาเซียน และในส่วนการเข้าร่วมประกาศความร่วมมือในกรอบ IPEF ขอให้ประเทศสมาชิกระมัดระวังท่าทีในการพิจารณาเข้าร่วมเพื่อรักษาความสมดุลในภูมิภาคและยึดหลักการเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มอบหมายให้สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat: ASEC) ประเมินโอกาสและประเด็นท้าทายของ IPEF และระบุสาขาที่อาเซียนจะได้รับประโยชน์จากกรอบดังกล่าว

(3) การให้สัตยาบันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย

 

ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียจะสามารถแจ้งการให้สัตยาบันความตกลง RCEP ได้ภายในไตรมาสที่สามของปีนี้และมีการตกลงท่าทีร่วมของอาเซียนแล้ว โดยประเทศสมาชิก RCEP สามารถพิจารณาวันที่ที่ความตกลงฯ จะมีผลใช้บังคับกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา2 แตกต่างกันได้และแจ้ง ASEC เพื่อให้แจ้งประเทศสมาชิกทราบต่อไป นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้เห็นชอบในหลักการให้มีการประชุมรัฐมนตรี RCEP และการประชุมสุดยอด RCEP ในปีนี้ (ครบรอบ 10 ปี การประกาศเริ่มเจรจาความตกลง RCEP) โดยราชอาณาจักรกัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนจะหารือในรายละเอียดร่วมกับ ASEC ต่อไป

(4) การประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 12 (the Twelfth Ministerial Conference of World Trade Organization: MC12)

 

หารือเพื่อเตรียมการสำหรับการประชุม MC 12 ที่จะจัดในเดือนมิถุนายน 2565 นครเจนีวา โดยเน้นย้ำข้อตกลงร่วมของประเทศสมาชิกที่จะต้องมีความโปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติและให้ความสำคัญกับระบบการค้าพหุภาคีที่เปิดกว้างและยึดถือกฎเกณฑ์ทางการค้าเป็นพื้นฐานสำคัญ

(5) การค้ากับมาตรการด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับมาตรการด้านสิ่งแวดล้องของสหภาพยุโรป ได้แก่ มาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน กฎหมายว่าด้วยการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและกฎหมายว่าด้วยสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งมาตรการดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน เช่น ภาระทางต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการตรวจวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในกระบวนการผลิตสินค้า การใช้เงินลงทุนในการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและห่วงโซ่อุปทานให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งเชื่อมโยงกับการค้าและเป็นประเด็นสำคัญในเวทีโลกโดยเน้นย้ำว่าการใช้นโยบายด้านการค้าที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและหลักการที่ยอมรับโดยทั่วไป รวมถึงหลักการภายใต้องค์การการค้าโลก ที่ประชุมจึงมอบหมายให้ ASEC ประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้มาตรการของสหภาพยุโรปเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับอาเซียนต่อไป

(6) ข้อริเริ่มโครงการพื้นฐานอาเซียนในอนาคต

 

หารือแนวทางพัฒนาความร่วมมือในโครงการอุตสาหกรรมของอาเซียนซึ่งเดิมมุ่งเน้นในอุตสาหกรรมพื้นฐาน เช่น ปุ๋ยยูเรีย เหมืองแร่ทองแดง โดยเสนอให้พิจารณาโครงการอุตสาหกรรมใหม่ๆ ที่อาเซียนจะสามารถเพิ่มการค้าภายในภูมิภาคและส่งเสริมห่วงโซ่มูลค่าโลก โดยเฉพาะในสาขาสำคัญที่จะช่วยรับมือกับประเด็นความมั่นคงทางอาหารและสาธารณสุข เช่น อาหาร วัคซีน ยา และเครื่องมือแพทย์ โดยคำนึงถึงความสนใจและความเชี่ยวชาญของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ ที่ประชุมมอบหมายให้ ASEC ศึกษาความเป็นไปได้ของอุตสาหกรรมที่อาเซียนจะสามารถจัดตั้งโครงการหรือข้อริเริ่มความร่วมมือร่วมกัน โดยคำนึงถึงประเด็นใหม่ๆ เช่น เศรษฐกิจหมุนเวียน เทคโนโลยี และการประเมินความพร้อมของประเทศสมาชิก

 

        2. พณ. มีความเห็น/ข้อสังเกตว่าอินโดนีเซียพยายามผลักดันสมาชิกอาเซียนให้มีท่าทีและยุทธศาสตร์ร่วมกันในเรื่องความร่วมมือในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกเพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับประเทศมหาอำนาจโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป ซึ่งสมาชิกอาเซียน 7 ประเทศได้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดตัวกรอบ IPEF ของสหรัฐฯ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล3

_____________________________________

1 กรอบความร่วมมือ IPEF เป็นแนวคิดริเริ่มของสหรัฐฯ ร่วมกับประเทศหุ้นส่วนในภูมิภาคเพื่อเป็นกรอบความร่วมมือระดับพหุภาคี มีจุดประสงค์หลักในการยกระดับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกันและเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อรับมือกับประเด็นท้าทายรูปแบบ ใหม่ๆ ภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ประกอบด้วยความร่วมมือ 4 เสาหลัก ได้แก่ (1) การค้า (2) ห่วงโซ่อุปทาน (3) พลังงานสะอาด การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และโครงสร้างพื้นฐาน และ (4) ภาษีและการต่อต้านการทุจริต

2 เมียนมาได้ให้สัตยาบันในความตกลง RCEP แล้ว แต่ ASEC ยังไม่มีการเวียนสัตยาบันของเมียนมาแก่ประเทศสมาชิก RCEP ครบทุกประเด็น เนื่องจากประเทศสมาชิก RCEP ยังมีข้อกังวลที่เมียนมายังไม่สามารถบรรลุฉันทามติอาเซียนทั้ง 5 ข้อในการจัดการปัญหาการเมืองภายในประเทศ

3 ประเทศที่เข้าร่วมการเปิดตัวกรอบ IPEF ประกอบด้วย 13 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐอินเดีย เครือรัฐออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สาธารณรัฐเกาหลี เนการาบรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์ ไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและเมียนมาไม่ได้รับเชิญ)

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 12 กรกฎาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A7451

 Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!