สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 13 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 – 30 เมษายน 2565)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Thursday, 30 June 2022 20:56
- Hits: 922
สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 13 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 – 30 เมษายน 2565)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและ ข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอ สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 13 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 – 30 เมษายน 2565) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. นโยบายหลัก 11 ด้าน ประกอบด้วย
นโยบายหลัก |
มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ |
|||||||||||||
1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ |
1.1) จัดงาน “ใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” ระหว่างวันที่ 20-24 เมษายน 2565 มีผู้รับชมกิจกรรมผ่านสื่อต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ19,778,800 คน และมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมตลอดการจัดงาน 314,500 คน ก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจและรายได้หมุนเวียนมูลค่ารวม 50.45 ล้านบาท 1.2) จัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติราชจักรีวงศ์ “ตามรอยพระยุคลบาททั่วหล้า สงเคราะห์ประชา สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน” มีผู้เข้าร่วมชมนิทรรศการและรับชมผ่านช่องทางสื่อประชาสัมพันธ์และสื่อออนไลน์อื่นๆ 20,161 คน |
|||||||||||||
2) การสร้างความมั่นคงความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ |
2.1) ขับเคลื่อนกลไกเชิงนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานไปสู่การปฏิบัติภายใต้กรอบนโยบาย 5P (Policy, Prevention, Prosecution, Protection และ Partnership) โดยจัดทำแผนบูรณาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และตรวจบูรณาการป้องกันการค้ามนุษย์และการบังคับใช้แรงงานหรือบริการในสถานประกอบการ 3,979 แห่ง แรงงานได้รับการตรวจเฝ้าระวัง 86,748 คน 2.2) ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้าย (กิจกรรม : ตรวจสถานประกอบกิจการที่เสี่ยงต่อการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ แรงงานขัดหนี้ และการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน) มีสถานประกอบกิจการผ่านการตรวจ 3,875 แห่ง ลูกจ้าง 132,737 คน โดยมีการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม 3,664 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลกระทบ 120,646 คน ทั้งนี้ ได้มีการติดตามให้นายจ้างปฏิบัติถูกต้องแล้ว 3,648 แห่ง 2.3) คุ้มครองสิทธิแรงงานประมงทะเล (กิจกรรม : บูรณาการตรวจคุ้มครองแรงงานในเรือประมงทะเลในพื้นที่ 22 จังหวัดชายทะเล) มีเรือประมงผ่านการตรวจ 829 ลำ ลูกจ้าง 12,150 คน ปฏิบัติถูกต้อง จำนวน 861 ลำ |
|||||||||||||
3) การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม |
ยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2564 โดยมีบุคคลที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ รวม 12 คน (สาขาทัศนศิลป์ 4 คน สาขาวรรณศิลป์ 2 คน และสาขาศิลปะการแสดง 6 คน) |
|||||||||||||
4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก |
4.1) เข้าร่วมประชุมเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศว่าด้วยโรคไม่ติดต่อและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2565 โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถ้อยแถลงกำหนดให้การแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเป็นวาระแห่งชาติ ส่งเสริมการลงทุนด้านการส่งเสริมสุขภาพ การบรรจุเรื่องการป้องกันและรักษาโรคไม่ติดต่อในแผนการเตรียมความพร้อมด้านภัยฉุกเฉินทางสาธารณสุขทั้งในระดับชาติ ภูมิภาค และระหว่างประเทศ และการมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่ครอบคลุมและเข้มแข็งจะช่วยสนับสนุนการจัดการและการเข้าถึงบริการสาธารณสุข พร้อมแบ่งปันประสบการณ์และส่งเสริมความร่วมมือกับประเทศต่างๆ 4.2) เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2565 โดยนายกรัฐมนตรีได้กล่าวถ้อยแถลง เช่น ไทยให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจัง สนับสนุนการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านน้ำภายในปี ค.ศ. 2030 บูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการทรัพยากรน้ำระดับพื้นที่ และนำระบบเตือนภัยล่วงหน้าเข้ามาใช้เพื่อลดความเสียหายจากภัยพิบัติทางน้ำ รวมทั้งเน้นย้ำนโยบายโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว |
|||||||||||||
5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย |
5.1) เศรษฐกิจมหภาค การเงินและการคลัง โดยมาตรการด้านการเงิน เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เช่น (1) โครงการสินเชื่อฟื้นฟูท่องเที่ยวไทยของธนาคารออมสิน วงเงิน 5,000 ล้านบาท อนุมัติสินเชื่อแล้ว 6,588 ราย วงเงิน 2,831 ล้านบาท (2) มาตรการสินเชื่อฟื้นฟู อนุมัติสินเชื่อ/ผ่านเกณฑ์ 49,758 ราย วงเงิน 163,435 ล้านบาท และ (3) โครงการค้ำประกันสินเชื่อ PGS 9 ของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) อนุมัติสินเชื่อ/ผ่านเกณฑ์ 23,802 ราย วงเงิน 103,300 ล้านบาท รวมทั้งได้ผลักดันโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โดยคณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนได้เห็นชอบโครงการแล้ว 4 โครงการ มูลค่าการลงทุน 24,028 ล้านบาท เช่น โครงการทางพิเศษสายกะทู้ -ป่าตอง จังหวัดภูเก็ต ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และโครงการศึกษาการบริหารจัดการท่าเทียบสาธารณะเพื่อขนถ่ายสินค้าทั่วไปของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย 5.2) พัฒนาภาคเกษตร เช่น (1) จัดทำโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและขยายกระท่อมพันธุ์ดีผ่านศูนย์ขยายพันธุ์พืช 10 แห่ง ในการผลิตต้นกล้ากระท่อมพันธุ์ดี 210,000 ต้น พร้อมองค์ความรู้ให้แก่สมาชิกศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) 882 ศูนย์ทั่วประเทศ (2) จัดงานมหกรรมอาหาร 2 ทะเล 3 น้ำ และการกระจายสินค้าประมงพื้นบ้านสู่ผู้บริโภคจังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 22-24 เมษายน 2565 (3) จัดงาน “Eastern Monthong Best Quality เปิดฤดูกาลทุเรียนหมอนทองตะวันออกดีเลิศที่คุณภาพดีเยี่ยมเพื่อส่งออก” พร้อมคุมเข้มมาตรการ Zero Covid ผลไม้ไทยทั้งระบบด้วยมาตรฐาน GAP Plus และ GMP Plus ณ จังหวัดจันทบุรี และ (4) ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เพาะปลูกต้นยาสูบและผู้บ่มอิสระที่ได้รับผลกระทบจากการลดปริมาณการรับซื้อใบยาสูบ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติ (19 เมษายน 2565) อนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 159.69 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เพาะปลูกต้นยาสูบและผู้บ่มอิสระที่ได้รับผลกระทบจากการ ลดปริมาณการรับซื้อใบยาสูบของการยาสูบแห่งประเทศไทยแล้ว 5.3) พัฒนาภาคการท่องเที่ยว เช่น จัดประชุมชี้แจงการจัดเก็บค่าธรรมเนียม การท่องเที่ยวภายในประเทศของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางโดยท่าอากาศยาน และพัฒนาแพลตฟอร์มเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติการออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาของประชาชน 5.4) พัฒนาการค้าการลงทุนเพื่อมุ่งสู่การเป็นชาติการค้าการบริการและ การลงทุนในภูมิภาค เช่น ลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-เตลังคานา (สาธารณรัฐอินเดีย) และไทย-กานซู่ (สาธารณรัฐประชาชนจีน) เพื่อ “บุกตลาด เมืองรอง” และเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย-เวียดนาม และไทย-ภูฏาน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมทั้งด้านการค้าและการลงทุน 5.5) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ เช่น ขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (โครงการเน็ตประชารัฐ) เพื่อให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไร้สายสาธารณะ 1 จุด/หมู่บ้าน 24,700 หมู่บ้าน มีผู้ลงทะเบียนใช้บริการสะสมกว่า 10.87 ล้านคน 5.6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรม เช่น จัดมหกรรมส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย (TRIUP Fair 2022) พัฒนา “ไวรัสตัวแทน” ทดสอบสูตรวัคซีนและยารักษาโรคโควิด-19 แบบ เชิงรุก ดำเนินโครงการ HACKaTHAILAND เพื่อยกระดับองค์ความรู้และทักษะในด้านเทคโนโลยีดิจิทัล และดำเนินโครงการ “ตรวจไว สู้ภัยมะเร็งปอด” เพื่อนำนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ในการตรวจหามะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น เพื่อเสริมศักยภาพการตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาผู้ป่วยให้มีความแม่นยำและรวดเร็ว |
|||||||||||||
6) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญ สู่ภูมิภาค |
มีการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ตั้งแต่ปี 2561-เดือนมีนาคม 2565 เกิดการลงทุนรวมมูลค่า 1.77 ล้านล้านบาท และมีการขอรับ การส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมมูลค่า 1.38 ล้านล้านบาท โดยเป็นการต่อยอด 5 อุตสาหกรรมเดิมร้อยละ 32 เพิ่มอุตสาหกรรมใหม่ New S-curve ร้อยละ 30 และอุตสาหกรรมอื่นๆ ร้อยละ 38 ทั้งนี้ การลงทุน ในกลุ่ม New S-cuve เริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น ได้แก่ กิจการอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ และอุตสาหกรรมการแพทย์ |
|||||||||||||
7) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก |
7.1) สนับสนุนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เพื่อเป็นแกนนำในการสร้างพลเมืองคุณภาพระดับชุมชน 7.2) จัดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่ยากจนแล้วเสร็จ 1,356 แปลง 1,010 ครัวเรือน (เป้าหมาย 2,100 แปลง 1,050 ครัวเรือน) 7.3) ขับเคลื่อนการดำเนินงานศูนย์ขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนด้วยระบบ TPMAP (Thai People Map and Analytics Platform) และพัฒนาระบบ Thai QM เพื่อใช้ในการสำรวจปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
7.4) ส่งเสริมวิถีชีวิตความเป็นไทย โดยส่งเสริมและสนับสนุนการใช้และสวมใส่ผ้าไทย เช่น ผ้าไทยและผ้าพื้นเมือง ผ้าลายขอเจ้าฟ้าสิริวัณณวรีฯ และผ้าไทยภายใต้โครงการ “ผ้าไทยใส่ให้สนุก” โดยมียอดจำหน่าย 22.90 ล้านบาท 735.89 ล้านบาท และ 15.63 ล้านบาท ตามลำดับ |
|||||||||||||
8) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย |
8.1) เตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โดยจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ On-Site หรือจัดการเรียนการสอนที่สถานศึกษาให้มากที่สุด ดำเนินการฉีดวัคซีนให้นักเรียนได้อย่างครอบคลุมทั่วถึงมากที่สุดและสถานศึกษาต้องปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยในการป้องกันโรคโควิด-19 ที่กำหนด 8.2) สร้างผู้สูงวัยและผู้ด้อยโอกาสให้เป็นกำลังคนดิจิทัลสู้ภัยไซเบอร์เพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล สื่อสารหรือแสดงความคิดเห็นอย่างปลอดภัย ภัยและการป้องกันภัยออนไลน์ และยกระดับองค์ความรู้และเสริมทักษะการใช้ดิจิทัลยุคชีวิตวิถีใหม่ |
|||||||||||||
9) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม |
องค์การอนามัยโลกให้ความเชื่อมั่นประเทศไทยเป็นประเทศลำดับที่ 3 เข้าร่วมจัดกิจกรรมนำร่องทบทวนการเตรียมความพร้อมกรณีภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและสุขภาพถ้วนหน้าในการรับมือการระบาดของโรคโควิด-19 เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างประเทศสมาชิกขององค์การอนามัยโลกและเพื่อพัฒนาเครื่อง มือรองรับวิกฤตด้านสาธารณสุขทั่วโลก |
|||||||||||||
10) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน |
โครงการชายหาดปลอดบุหรี่ของประเทศไทยเป็นตัวแทนภูมิภาคเอเชียเข้ารับรางวัล “World No Tobacco Day Awards 2022” กับองค์การอนามัยโลก ทั้งนี้ ได้มีการรับรางวัลฯ เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 แล้ว |
|||||||||||||
11) การปฏิรูปการบริหารจัดการภาครัฐ |
พัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลของรัฐ : พัฒนาระบบคลาวค์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud Service: GDCC) เพื่อรองรับการใช้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์และระบบประมวลผลของหน่วยงานภาครัฐ และขยายการให้บริการให้ระบบ GDCC รองรับการใช้บริการ Platform as a Service เพื่อให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานในการบริการประชาชนด้านต่างๆ โดยมีหน่วยงานภาครัฐใช้บริการ 283 กรม 868 หน่วยงาน 2,926 ระบบงาน เช่น แอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” และแอปพลิเคชัน ThailandPlus สำหรับนักท่องเที่ยว |
2. นโยบายเร่งด่วน 6 เรื่อง ประกอบด้วย
นโยบายเร่งด่วน | มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ | |
1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน |
1.1) ดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย โดยมีผลการอนุมัติสินเชื่อฯ รวม 1,394 ราย วงเงิน 903.49 ล้านบาท 1.2) แก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ครู 70 แห่ง ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงร้อยละ 0.05-1.0 มีครูได้รับประโยชน์ 460,000 คน และสหกรณ์ฯ 11 แห่ง ปรับลดดอกเบี้ยให้ลดลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 5 จัดตั้งสถานีแก้หนี้ครูระดับเขตพื้นที่และระดับจังหวัดทั่วประเทศ และประสานงานกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สถาบันการเงินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความรู้ด้านการเงินแก่ครู มีลูกหนี้ หน่วยงานและสถาบันการเงินลงทะเบียนเข้าร่วมทั้งหมด 41,128 ราย มูลค่าหนี้ 58,835.2 ล้านบาท 1.3) จัดที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่ยากจน โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีพื้นที่ดำเนินการรวม 17 พื้นที่ 9 จังหวัด (จังหวัดขอนแก่น เชียงราย ตรัง บุรีรัมย์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย สงขลา และสุรินทร์) สามารถรังวัดวางผังแนวเขตการครอบครอง 417 แปลง 295 ครัวเรือน (เป้าหมาย 1,300 แปลง 800 ครัวเรือน) และจัดที่ดินให้เกษตรกรได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน 12,175 ราย (เป้าหมาย 23,500 ราย) คิดเป็นร้อยละ 51.81 1.4) ให้การช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร มีสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้เงินกู้เพื่อการเกษตรได้รับการลดภาระดอกเบี้ย 976 แห่ง 353,274 ราย (เป้าหมาย 979 แห่ง 358,036 ราย) คิดเป็นร้อยละ 98.67 |
|
2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน |
2.1) โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ได้โอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-30 เมษายน 2565 รวมทั้งสิ้น 28,568.08 ล้านบาท แบ่งเป็นสวัสดิการที่ให้เป็นวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 25,951.51 ล้านบาท และสวัสดิการที่ให้ผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (e-Money) 2,616.57 ล้านบาท 2.2) จ่ายเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่นผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-30 เมษายน 2565 รวมทั้งสิ้น 80,565.18 ล้านบาท แบ่งเป็นประเภทเงินจ่ายต่อเนื่องรายเดือน (5 สวัสดิการ) 76,943.76 ล้านบาท และประเภทเงินจ่ายไม่ต่อเนื่อง (2 สวัสดิการ) 3,621.22 ล้านบาท 2.3) พัฒนาคุณภาพชีวิตกลุ่มเปราะบางรายครัวเรือน ได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลแล้ว 5,363 ศูนย์ ใน 76 จังหวัด ประชาชนได้รับบริการ 128,840 ราย และมีครัวเรือนเปราะบางที่ได้รับบริการ 22,863 ครัวเรือน |
|
3) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน |
3.1) พัฒนาศักยภาพแรงงานรองรับการท่องเที่ยวและบริการให้มีมูลค่าสูงในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เช่น จัดฝึกอบรมทักษะแรงงานหลักสูตรภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับพนักงานโรงแรม การยกระดับคุณภาพงานบริการที่เป็นเลิศ มีผู้เข้ารับการฝึก 415 คน และผู้ผ่านการฝึกร้อยละ 87.87 และมีงานทำและรายได้เฉลี่ย 12,567 บาท/คน/เดือน 3.2) พัฒนาศักยภาพแรงงานรองรับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 เช่น จัดฝึกอบรมหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบกิจการและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบสมองกลฝังตัวในอุตสาหกรรมมีผู้ผ่านการฝึกอบรมและมีงานทำ 40,655 คน (เป้าหมาย 73,004 คน) และมีรายได้เฉลี่ย 15,153 บาท/คน/ปี 3.3) ส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) โดยรัฐจ่ายเงินอุดหนุนในอัตรา 3,000 บาพคน/เดือน ระยะเวลา 3 เดือนให้แก่นายจ้าง 246,099 แห่ง สามารถรักษาการจ้างงานลูกจ้างสัญชาติไทย 3,039,214 คน เป็นเงิน 26,494.32 ล้านบาท และส่งเสริมการจ้างงานใหม่ นายจ้าง 66,201 แห่ง ลูกจ้างสัญชาติไทย 177,063 คน เป็นเงิน 531.19 ล้านบาท 3.4) ส่งเสริมแรงงานนอกระบบในการประกอบอาชีพ โดยฝึกอบรมหลักสูตรตามความต้องการของตลาดแรงงานในแต่ละพื้นที่ เช่น เทคนิคการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบโซลาเซลล์แสงอาทิตย์ ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบิน (Drone) เพื่อการเกษตร มีผู้ผ่านการฝึกอบรม 11,799 คน ผู้ผ่านการฝึกมีงานทำ ร้อยละ 79.80 มีรายได้เฉลี่ย 8,889 บาท/คน/เดือน 3.5) ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานให้กับผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน 2,546,138ราย เป็นเงิน 19,865.71 ล้านบาท และเพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานฯ โดยผู้ประกันตนได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ 2,301,032 ราย เป็นเงิน 54,198.06 ล้านบาท |
|
4) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 |
โครงการการส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) ได้ยกร่างหลักสูตรสมรรถนะสำหรับอบรมครูแกนนำระดับประถมศึกษาและจัดอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา 40,248 คน ได้แก่ หลักสูตร Scratch หลักสูตร Unplugged และหลักสูตร Coding for Teacher ระดับประถมศึกษา 2,544 คน และระดับมัธยมศึกษา 1,203 คน และจัดอบรมครูออนไลน์ด้านวิทยาการคำนวณ 36,501 คน |
|
5) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน |
โครงการ “บอกดิน 3” เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีสมาร์ทโฟนในการแจ้งตำแหน่งที่ดิน ทั้งนี้ ณ วันที่ 6 เมษายน 2565 มีประชาชนแจ้งตำแหน่งที่ดิน 99,440 ราย และเมื่อสิ้นสุดการรับแจ้งในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 จะมีการนำข้อมูลมาตรวจสอบว่า ตำแหน่งที่ดินของประชาชนอยู่ในเขตที่ดินของรัฐ/นอกเขตที่ดินของรัฐ/เขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อนำไปบริหารจัดการที่ดินตามนโยบายของรัฐบาลหรือจัดทำแผนงานโครงการเดินสำรวจต่อไป |
|
6) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย |
6.1) โครงการนักข่าวอาสาสาธารณภัย ได้ส่งเสริมให้ประชาชนและอาสาสมัครในพื้นที่ทุกหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการรายงานข่าวสาธารณภัยผ่านระบบออนไลน์ทางแอปพลิเคชันไลน์ @1784DDPM ปัจจุบันมีผู้สมัครเป็นนักข่าวอาสาสาธารณภัย 1,838 คน (เป้าหมายให้ทุกหมู่บ้านมีนักข่าวอาสาสาธารณภัยอย่างน้อยหมู่บ้าน/ชุมชนละ 1 คน) 6.2) ระบบติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำและภัยพิบัติต่างๆ เช่น พัฒนาเทคโนโลยีและระบบที่ทันสมัยมาสนับสนุนการปฏิบัติงานเชิงพื้นที่เพื่อติดตามเฝ้าระวัง วิเคราะห์ และคาดการณ์สถานการณ์ต่างๆ พัฒนาระบบพยากรณ์และจำลองเหตุการณ์ “ระบบรักษ์น้ำ” เพื่อบริหารจัดการปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็มสำหรับแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และรายงานสถานการณ์น้ำและแจ้งเตือนเฝ้าระวังภัยพิบัติจากสถานีโทรมาตรอัตโนมัติเมื่อตรวจพบข้อมูลปริมาณฝนตกหนักในพื้นที่ที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดภัยธรรมชาติผ่านเว็บไซต์ www.thaiwater.net และ แอปพลิเคชัน ThaiWater |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 28 มิถุนายน 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A6927