WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานการขับเคลื่อนแผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2563-2565) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563-2564

GOV 5

รายงานการขับเคลื่อนแผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (.. 2563-2565) ประจำปีงบประมาณ .. 2563-2564

        คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอรายงานการขับเคลื่อนแผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (.. 2563-2565) ประจำปีงบประมาณ .. 2563-2564 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (18 สิงหาคม 2563) เห็นชอบร่างแผนฯ ซึ่งกำหนดให้ วธ. จัดทำสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวมระดับชาติประจำปีงบประมาณเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในทุกสิ้นปีงบประมาณ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

        1. สรุปภาพรวมผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ระยะที่ 1 (.. 2563-2565) ประจำปีงบประมาณ .. 2563-2564 คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน ได้ขับเคลื่อนแผนฯ โดยบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ซึ่งจากการประเมินผลสัมฤทธิ์สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มที่ดีเกี่ยวกับการรับรู้ของประชาชนที่มีต่อสถานการณ์สื่อในปัจจุบัน และการรับรู้เกี่ยวกับการดำเนินการของภาครัฐในการกำกับดูแลสื่อ ส่งผลให้ประชาชนมีความตระหนักรู้และสามารถปรับตัวเท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เกิดการบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นระบบ และมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเหมาะสม โดยสรุปภาพรวมผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ได้ ดังนี้

 

ยุทธศาสตร์

 

ผลการดำเนินงาน เช่น

ยุทธศาสตร์ที่ 1

การสนับสนุนการผลิตและเผยแพร่สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

- สนับสนุนการผลิตและเผยแพร่สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ครอบคลุมทุกพื้นที่ จำนวน 58,895 ชิ้นงาน จัดอบรมพัฒนาเครือข่ายและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับสื่อทั่วประเทศ จำนวน 20,066 ครั้ง จัดเวทีแลกเปลี่ยนและระดมสมองระหว่างผู้ผลิตสื่อและเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อร่วมกันกำหนดแนวทางที่เป็นแนวปฏิบัติเชิงจริยธรรมและวิชาชีพทั่วประเทศกว่า 1,511 ครั้ง รวมทั้งผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์หรือสื่อเชิงนวัตกรรมสำหรับประชาชนทุกกลุ่ม เช่น กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มคนพิการ รวมจำนวน 123,433 ชิ้นงาน

- ผลการดำเนินงานพบว่า ยังควรให้ความสำคัญกับการสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ผลิตสื่อมีความตระหนักรู้ถึงความสำคัญในการผลิตและเผยแพร่สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์โดยประกาศเป็นวิสัยทัศน์ แนวทาง หรือนโยบายของหน่วยงาน ทั้งนี้ สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แม้จะสามารถเข้าถึงผู้รับสารได้เป็นวงกว้างทุกกลุ่มได้ในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่อาจเกิดกระแสความนิยมอย่างแพร่หลาย เช่น การพูดถึงหรือบอกต่อกันแบบปากต่อปาก การแชร์ผ่านสื่อออนไลน์ประเด็นดังกล่าวจึงยังคงต้องได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องต่อไป

ยุทธศาสตร์ที่

การส่งเสริมความรู้เท่าทันสื่อ พฤติกรรมการใช้สื่อเชิงสร้างสรรค์ เฝ้าระวัง และตรวจสอบสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์

 

- จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ระหว่างภาคีเครือข่าย จำนวน 2,579 กิจกรรม กิจกรรมมุ่งสร้างวัฒนธรรมการใช้สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ผ่านกิจกรรมและสื่อต่างๆ จำนวน 2,015 กิจกรรม/ชิ้น และเพิ่มเครือข่ายการเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อไม่เหมาะสมให้มากขึ้นผ่านการฝึกอบรมและหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อ จำนวน 1,773 เครื่องมือ/หลักสูตร

- ผลการดำเนินงานพบว่า ประชาชนกลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักรู้ เท่าทัน สามารถแยกแยะในการเลือกรับและส่งต่อสื่อต่างๆ ในระดับดีมาก อย่างไรก็ตาม ยังต้องพัฒนาเสริมสร้างประชาชนให้มีบทบาทในการเฝ้าระวังและตรวจสอบสื่อที่ไม่เหมาะสมอย่างเป็นรูปธรรมให้มากขึ้น โดยเริ่มตั้งแต่เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ คนพิการ สถาบันครอบครัว และชุมชน ไปจนถึงหน่วยสังคมที่ใหญ่ขึ้นเพื่อให้ประชาชนเป็นทั้งผู้รับและผู้ส่งต่อที่รู้เท่าทันสื่อ

ยุทธศาสตร์ที่ 3

การบูรณาการกลไกการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนผ่านการสื่อสารสาธารณะ

 

- บูรณาการกลไกการทำงานผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนก่อให้เกิดเวทีหรือพื้นที่ในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการ จำนวน 582 แห่ง มีการเปิดพื้นที่ให้กับประชาชนทุกกลุ่มได้มีเวทีในการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากเครือข่ายสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จำนวน 621 ครั้ง และสร้างแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพในการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานเพื่อกำกับดูแลให้เกิดการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จำนวน 331 ฉบับ

- ผลการดำเนินงานพบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนตระหนักถึงการบูรณาการร่วมกันอย่างเป็นระบบ แต่ยังจำเป็นที่จะต้องผลักดันให้การบูรณาการดังกล่าวได้กำหนดเป็นนโยบาย แนวทาง หรือระเบียบปฏิบัติอย่างเปิดเผย ชัดเจนและตรวจสอบได้ในลำดับต่อไป

ยุทธศาสตร์ที่ 4

การพัฒนาและบูรณาการการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์

 

- พัฒนากลไกการประสานงานที่ชัดเจนระหว่างหน่วยงานผู้บังคับใช้กฎหมายกับสื่อ จำนวน 88 รูปแบบ มีผู้ปฏิบัติงานและผู้เกี่ยวข้องที่ได้รับการพัฒนาให้มีองค์ความรู้ด้านกฎหมายสื่อ จำนวน 16,609 ราย และมีการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อให้ครอบคลุมความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น การปรับปรุงและแก้ไขพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ .. 2551

- ผลการดำเนินงานพบว่า ประชาชนมีความเห็นว่าภาครัฐมีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์อย่างเหมาะสมในระดับมาก เทียบเป็นร้อยละ 71.25 อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการตรวจสอบติดตามผลเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการปฏิบัติงานของผู้บังคับใช้กฎหมาย ผู้ปฏิบัติงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนทุกกลุ่ม นอกจากนี้ ยังคงต้องสนับสนุนผลักดันเครือข่ายในการตรวจสอบสื่อและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสื่อให้มีความเข้มแข็งและทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในระยะยาวต่อไป

 

        2. แนวทาง/แผนการดำเนินงานต่อไป คณะกรรมการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์แห่งชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 เห็นชอบกรอบแนวทางในการจัดทำแผนฯ ระยะที่ 2 (.. 2566-2570) โดยให้มุ่งทำงานเชิงรุกและขยายผลการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการผลิตและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมและค่านิยมเชิงบวกสู่สังคมคุณธรรมในบริบทสังคมไทยและสังคมโลก ดังนี้ 1) การศึกษาทบทวนวรรณกรรม งานวิจัย และสถิติที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และผลการประเมินผลสัมฤทธิ์แผนฯ ระยะที่ 1 (.. 2563-2565) ประจำปีงบประมาณ .. 2563-2564 2) การศึกษาตัวอย่างที่ดีในการวางยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วทั้งในภูมิภาคตะวันตกและตะวันออก 3) การประชุมรับฟังความคิดเห็นและการวิพากษ์จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ 4) การวิเคราะห์สถานการณ์ 5) การศึกษาสภาพแวดล้อมภายนอกในด้านต่างๆ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เช่น สังคมและวัฒนธรรม เทคโนโลยี เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การเมืองและกฎหมาย และ 6) การกำหนดฉากทัศน์ในอนาคต

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 28 มิถุนายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6925

 Click Donate Support Web

วิริยะ 720x100

EXIM One 720x90 C J

aia 720 x100PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!