WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2565 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2565 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2565

GOV3

รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2565 และแนวโน้มไตรมาสที่ 2/2565 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2565

        คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 1/2565 และแนวโน้มไตรมาส ที่ 2/2565 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนเมษายน 2565 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ดังนี้

        สาระสำคัญ 

        ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 1/2565 เมื่อพิจารณาจากดัขนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 1.4 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับในไตรมาสที่ 4/2564 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่อุปทานโลก ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัวในไตรมาสที่ 1/2565 อาทิ การกลั่นปิโตรเลียม เป็นผลจากนโยบายการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้ รวมถึงการผ่อนคลายนโยบายควบคุมการระบาดของเชื้อโควิดมากขึ้น หลังจากประชากรได้รับวัคซีนทั่วถึงและครอบคลุม ทำให้มีการเดินทางเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่รัฐยังคงนโยบายควบคุมการระบาดอย่างเข้มงวด น้ำตาล เนื่องจากปีนี้มีอ้อยเข้าโรงงานมากกว่าปีก่อน ยานยนต์ ปัจจัยหลักมาจากสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ทยอยคลี่คลาย และรายได้เกษตรกรในปีนี้ที่เพิ่มขึ้นกว่าปีก่อน ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เนื่องจากตลาดโลกยังคงมีความต้องการใช้ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การผลิตเบียร์ ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากภาครัฐผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดในภาคธุรกิจร้านอาหารและสถานบริการมากขึ้น ตั้งแต่ช่วงปลายปีก่อน รวมถึงผู้ผลิตได้ปรับขึ้นราคาเบียร์ ตามต้นทุนที่สูงขึ้น ทำให้ร้านค้ามีการสำรองสินค้าไว้มากขึ้น

        ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนเมษายน 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 0.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากสถานการณ์โควิด-19 ในหลายประเทศมีแนวโน้มคลี่คลาย ทำให้มีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด -19 ทั้งในประเทศและหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงการเปิดประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว

        อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนเมษายน 2565 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ

        1. ยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 12.82 ตามการขยายตัวของตลาดในประเทศ และตลาดส่งออก ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงคำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้น

        2. การกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 12.53 จากเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวดีขึ้นหลังมีการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ทำให้การขนส่งเดินทางในประเทศเพิ่มขึ้น

        3. ผลิตภัณฑ์ยางอื่นๆ ที่มิใช่ยางล้อ ขยายตัวร้อยละ 23.41 ขยายตัวจากยางแท่งเป็นหลัก เนื่องจากในปีก่อนมีแรงงานติดเชื้อทำให้มีการผลิตได้น้อยกว่าปกติ นอกจากนั้น ในปีนี้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักปรับตัวดีขึ้นทำให้มีคำสั่งซื้อกลับเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

        4. เครื่องประดับแท้ ขยายตัวร้อยละ 35.95 จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การเปิดเมืองของหลายประเทศ การผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวเดินทางและจับจ่ายใช้สอยในกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มมากขึ้น

        5. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 6.22 ตามความต้องการในตลาดโลกที่ยังขยายตัวต่อเนื่อง

 

EXIM One 720x90 C J

aia 720 x100

 

        แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 2/2565

        อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าจะหดตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากคาดว่าต้นทุนวัตถุดิบในไตรมาสที่ 2 ยังปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่มีแนวโน้มทรงตัวในไตรมาสที่ 3 ประกอบกับต้นทุนพลังงานและการขนส่งในไตรมาสที่ 2 ที่ยังมีแนวโน้มสูง ทำให้ราคาเหล็กในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง ผู้บริโภคจึงชะลอคำสั่งซื้อ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากสถานการณ์เงินเฟ้อที่ทำให้ราคาสินค้าเหล็กและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องเริ่มปรับตัวสูงขึ้น และต้นทุนการผลิตเหล็กในประเทศจีนที่ต่ำกว่าประเทศไทย อาจทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ต้องการนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กมากกว่าการซื้อในประเทศ

        อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าจะมีดัชนีผลผลิตและมูลค่าการส่งออกขยายตัวประมาณร้อยละ 3.0 และ 10.0 ตามลำดับ เนื่องจากตลาดโลกยังคงต้องการชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การผลิตสินค้าสมัยใหม่ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น รวมทั้งการขยายโครงข่ายและพัฒนาระบบเทคโนโลยี 5G ทำให้มีความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

        อุตสาหกรรมเยื่อกระดาษ กระดาษ และสิ่งพิมพ์ คาดว่า ผลิตภัณฑ์กระดาษที่ใช้ผลิตกล่อง บรรจุภัณฑ์ จะขยายตัวเพิ่มขึ้นตามการบริโภคในประเทศ ขณะเดียวกันบรรจุภัณฑ์กระดาษจะได้อานิสงค์ตามการใช้งานสำหรับซื้อขายสินค้าออนไลน์ ในส่วนการส่งออกจะขยายตัวต่อเนื่องในกลุ่มเยื่อกระดาษ

        อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมและมูลค่าการส่งออกจะขยายตัวเล็กน้อย เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจและการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการของรัฐ การมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในประเทศมากขึ้น และปัจจัยบวกจากเงินบาทอ่อนค่าที่ส่งผลดีต่อการส่งออก อย่างไรก็ตาม ราคาวัตถุดิบในการผลิตสินค้าอาหารและราคาพลังงานยังคงอยู่ในระดับสูงจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนภาคอุตสาหกรรมและกำลังซื้อของผู้บริโภค

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 28 มิถุนายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6920

 Click Donate Support Web

วิริยะ 720x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!