WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565

GOV4

มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565

        คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอมติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2565 (จำนวน 9 เรื่อง) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538 (เรื่อง มติ กก.วล. ให้ถือว่าการประชุม กก.วล. เป็นการประชุมคณะรัฐมนตรีเรื่องสิ่งแวดล้อม) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 (เรื่อง มติ กก.วล. ครั้งที่ 10/2548 ครั้งที่ 11/2548 และครั้งที่ 12/2548) รับทราบมติ กก.วล. ครั้งที่ 10/2548 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2548 ที่ให้นำมติ กก.วล. เฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายที่สำคัญ และเรื่องที่ กก.วล. พิจารณาได้ข้อยุติแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

 

 

เรื่อง

 

มติ กก.วล.

1. ผลการดำเนินการด้านการจัดการมลพิษทางอากาศในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดผ่านกลไกการปรับลดอัตราการระบายมลพิษทางอากาศ1 ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยพบว่า อัตราการระบายก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนและก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ มีค่าลดลงอย่างต่อเนื่องและมีนัยสำคัญ ทั้งนี้ ได้กำหนดแนวทางการดำเนินงานต่อไป เช่น ทบทวนและปรับปรุงข้อมูลอัตราการระบายมลพิษให้เป็นปัจจุบันจัดทำแนวทางในการจัดสรรอัตราการระบายมลพิษในพื้นที่ร่วมกับการพิจารณาค่าระดับผลกระทบที่มีนัยสำคัญ และผลักดันให้มีระบบฐานข้อมูลกลางเพื่อบริหารจัดการข้อมูลอัตราการระบายมลพิษทางอากาศของพื้นที่มาบตาพุด

 

รับทราบผลการดำเนินการด้านการจัดการมลพิษทางอากาศในพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดผ่านกลไกการปรับลดอัตราการระบายมลพิษทางอากาศฯ

2. แนวทางการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อ โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พัฒนาเป็นการจัดการแบบรวมศูนย์ สนับสนุนงบประมาณและเร่งรัดให้ อปท. จัดการมูลฝอยติดเชื้อตามหน้าที่ เช่น การจัดให้มีที่พักรวมมูลฝอยติดเชื้อและขนส่งไปยังโรงพยาบาลชุมชน เพื่อพักรอการเก็บขนไปกำจัด แก้ไขปัญหามูลฝอยติดเชื้อล้นระบบ โดยออกประกาศยกเว้นเงื่อนไขทำให้โรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าที่ใช้ขยะมูลฝอยเป็นเชื้อเพลิงสามารถรับมูลฝอยติดเชื้อมาเป็นเชื้อเพลิงในเตาเผาเป็นการชั่วคราวได้ ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 และการพัฒนาระบบกำจัดมูลฝอย ติดเชื้อแบบรวมศูนย์แห่งใหม่ โดยสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการมูลฝอย ติดเชื้อมากขึ้น

 

รับทราบแนวทางการบริหารจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ตามที่ ทส. โดยกรมควบคุมมลพิษเสนอ ทั้งนี้ ให้กรมควบคุมมลพิษรับความเห็นของ กก.วล. ไปประกอบการพิจารณา พร้อมทั้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการต่อไป เช่น (1) การส่งเสริมภาคเอกชนให้ลงทุนสร้างระบบกำจัดมูลฝอยติดเชื้อแห่งใหม่ในพื้นที่ที่ยังไม่มีระบบ รวมทั้งควรให้ดำเนินการในการเก็บขนด้วยเพื่อช่วยลดงบประมาณภาครัฐและควรให้การสนับสนุนด้านเทคนิคกับ อปท. และ (2) การจัดการขยะจากแหล่งกำเนิดสำหรับแหล่งกำเนิดขนาดเล็กหรือมูลฝอยติดเชื้อจากครัวเรือนที่ไม่ใช่สถานพยาบาล ควรกำหนดเรื่องสถานที่พักขยะติดเชื้อในแต่ละชุมชนก่อนทำการเก็บขนเพื่อนำไปกำจัดให้ชัดเจน

3. การแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วไหลกลางทะเลจังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 โดยได้มีการดำเนินการ เช่น การขจัดคราบน้ำมันในทะเลและชายฝั่ง การประเมินผลกระทบคุณภาพสิ่งแวดล้อม การฟ้องร้องดำเนินคดี การประเมินผลกระทบต่อสัตว์น้ำ และการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

 

รับทราบการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วไหลกลางทะเล จังหวัดระยอง และให้จังหวัดระยองแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อเร่งรัดติดตามการแก้ไขปัญหาของประชาชน

4. โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเทา ระยะที่ 1 วัชรพล-ทองหล่อ ของสำนักการจราจรและขนส่ง กรุงเทพมหานคร

5. โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ ตาก 2-แม่สอด (ส่วนที่พาดผ่านพื้นที่ชั้นคุณภาพ ลุ่มน้ำชั้นที่ 1) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

6. โครงการที่พักอาศัยผู้สูงอายุ รามา-ธนารักษ์ จังหวัดสมุทรปราการ ของบริษัท ธนารักษ์ พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด

7. โครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ของกองทัพเรือ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

 

เห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมทั้ง 4 โครงการ โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดไว้ในรายงานฯ รวมทั้งจัดตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการตาม มาตรการฯ ดังกล่าว และให้มีการดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้ 1) โครงการรถไฟฟ้ารางเดี่ยวสายสีเทาฯ เช่น ทบทวนการประมาณการผู้โดยสารและค่าตอบแทนให้ใกล้เคียงความเป็นจริง เพิ่มการตรวจวัดค่า PM2.5 ในระยะก่อสร้าง ติดตามการรายงานคุณภาพอากาศ และปรับปรุงช่วงระยะเวลาการก่อสร้าง

2) โครงการระบบโครงข่ายไฟฟ้าฯ เช่น ให้ทำการก่อสร้างที่มีเสียงดังในช่วงเวลา 08.00-17.00 . หลีกเลี่ยงการก่อสร้างในช่วงฝนตก และหลีกเลี่ยงการตั้งเสาส่งไฟฟ้าและกองวัสดุก่อสร้างในพื้นที่ที่มีการ ชะล้างพังหลายของดินสูง 3) โครงการที่พักอาศัยผู้สูงอายุฯ เช่น ให้ตรวจสอบความถูกต้องและปรับ แก้ไขข้อมูลด้านการระบายน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้ว โดยควรระบายออกสู่ทะเล เนื่องจากเป็นบริเวณที่ใกล้ที่สุดปรับขนาดของประตูและขนาดห้องพักขยะที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถขนถ่ายขยะได้สะดวกรวดเร็วและรองรับกรณีมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณขยะแต่ละประเภท และพิจารณาก่อสร้างคันดินเพื่อป้องกันน้ำท่วมและการจัดทำผังภูมิทัศน์ และ 4) โครงการก่อสร้างทางวิ่งและทางขับฯ เช่น กำหนดมาตรการชดเชยและเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้มีความชัดเจนและรวดเร็ว ทบทวนการคาดการณ์เที่ยวบินที่จะใช้สนามบินอู่ตะเภาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ ซึ่งจะมีผลต่อความคุ้มค่าของการลงทุน จัดการประชุมประชาชนและผู้นำชุมชนในพื้นที่รอบโครงการก่อนการก่อสร้าง 1 เดือน เพื่อทำความเข้าใจกับชุมชน และกำหนดให้มีตัวแทนภาคประชาชนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม

8. การกำหนดอัตราค่าบริการในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ อปท. ที่ได้รับการจัดสรรเงินกองทุนสิ่งแวดล้อม ตามมาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ .. 25352

 

เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าบริการในการจัดการ มูลฝอยติดเชื้อของ อปท. จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1) เทศบาลนครอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี 2) เทศบาลเมืองวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี 3) องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และ 4) องค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง จังหวัดระยองตามคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมมลพิษ และเห็นชอบร่างประกาศ กก.วล. เรื่อง การกำหนดอัตราค่าบริการในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของ อปท. ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2565

9. การกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล เพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 55 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมฯ และแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ

 

เห็นชอบการกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล ตามที่คณะกรรมการควบคุมมลพิษเสนอ และเห็นชอบร่างประกาศ ทส. เรื่อง การกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากสถานที่ฝังกลบมูลฝอยอย่างถูกหลักสุขาภิบาล .. .... ซึ่งอยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 

–––––––––––––––––––––––––

1กลไกการปรับลดอัตราการระบายมลพิษทางอากาศ คือ การกำหนดให้โครงการที่จะตั้งใหม่หรือขยายกำลังการผลิตในบริเวณพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุดสามารถมีอัตราการระบายมลพิษของก๊ซออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) และก๊าชซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ไม่เกินร้อยละ 80 ของปริมาณการลดการปล่อยมลพิษของโครงการเดิมที่ทำได้จริง เช่น บริษัท A สามารถลดการปล่อยก๊าชซัลเฟอร์ไดออกไซด์จากการปล่อยในปี 2564 ได้ 100 ตัน โดยจำนวน 20 ตัน บริษัท A จะต้องคืนให้กับรัฐบาลเพื่อนำไปจัดการวางแผนรองรับการลงทุนอื่นต่อไป ส่วนที่เหลืออีก 80 ตัน บริษัท A สามารถนำมาใช้ในการขยายการลงทุนหรือก่อสร้างโรงงานใหม่ต่อไปได้

2มาตรา 88 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 บัญญัติให้ในเขตควบคุมมลพิษหรือเขตท้องที่ใด ซึ่งได้จัดให้มีการก่อสร้าง และดำเนินการระบบบำบัดน้ำเสียรวม หรือระบบกำจัดของเสียรวมของทางราชการโดยเงินงบประมาณแผ่นดินหรือเงินรายได้ของราชการส่วนท้องถิ่น และเงินกองทุนซึ่งจัดสรรตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว ให้ กก.วล. โดยคำแนะนำของคณะกรรมการควบคุมมลพิษพิจารณากำหนดอัตราค่าบริการที่จะประกาศใช้ในแต่ละเขตควบคุมมลพิษหรือเขตท้องที่ที่เป็นที่ตั้งของระบบบำบัดน้ำเสียรวม หรือระบบกำจัดของเสียรวมดังกล่าว 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 14 มิถุนายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6399

 Click Donate Support Web

วิริยะ 720x100

EXIM One 720x90 C J

aia 720 x100PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!