WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

GOV4 copy

ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต .. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) .. ....

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต .. .... และร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) .. .... รวม 2 ฉบับ ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ โดยร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตฯ เป็นการตรากฎหมายเฉพาะขึ้นเพื่อรองรับสิทธิและหน้าที่ของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ แทนการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นหลักกฎหมายทั่วไปเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลที่อาจมีความเชื่อมโยงกับกฎหมายฉบับอื่นๆ ซึ่งจำเป็นต้องศึกษาอย่างรอบด้าน ส่วนการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์จะเป็นการแก้ไขบทบัญญัติเพื่อให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตฯ ทั้งนี้ การตรากฎหมายดังกล่าวจะเป็นการรองรับสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ที่ได้รับการรับรองในทางระหว่างประเทศ อันเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวที่ก่อตั้งขึ้นระหว่างบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพสังคมของโลกในปัจจุบัน

        สาระสำคัญ

        1. ร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิต .. .... มีสาระสำคัญ ประกอบด้วย 4 หมวด 46 มาตรา ดังนี้

             1.1 อารัมภบท (มาตรา 1 - 5) : กำหนดเงื่อนเวลาในการบังคับใช้กฎหมาย คำนิยามสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะ คำว่าคู่ชีวิตรวมทั้งกำหนดรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติฉบับนี้

             1.2 หมวด 1 การจดทะเบียนคู่ชีวิต (มาตรา 6 - 14) : กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการ จดทะเบียนคู่ชีวิต

 

aia 720 x100PTG 720x100

 

             1.3 หมวด 2 การเป็นคู่ชีวิต (มาตรา 15 - 38) : แบ่งเป็น 5 ส่วน ได้แก่

                    (1) ส่วนที่ 1 บททั่วไป (มาตรา 15 - 21) : กำหนดให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยครอบครัวมาใช้บังคับกับคู่ชีวิตหากไม่มีบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในหมวดนี้รวมถึงเรื่องอื่นๆ เช่น ภูมิลำเนาของคู่ชีวิต อำนาจในการจัดการแทนผู้เสียหายและอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายของคู่ชีวิต

                    (2) ส่วนที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างคู่ชีวิต (มาตรา 22 - 23) : กำหนดหน้าที่ของคู่ชีวิตต่อกัน และกรณีที่คู่ชีวิตไม่สามารถอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวโดยปกติสุขได้

                    (3) ส่วนที่ 3 ทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต (มาตรา 24 - 27) : กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการในการทำสัญญาเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนการจดทะเบียนคู่ชีวิต สินส่วนตัว ทรัพย์สินร่วมกันของคู่ชีวิต รวมทั้งการจัดการทรัพย์สินร่วมกันของคู่ชีวิต

                    (4) ส่วนที่ 4 ความเป็นโมฆะของการจดทะเบียนคู่ชีวิต (มาตรา 28 - 31) : กำหนดหลักเกณฑ์ที่ทำให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตเป็นโมฆะ และผลสืบเนื่องจากการที่การจดทะเบียนคู่ชีวิตนั้นเป็นโมฆะ

                    (5) ส่วนที่ 5 การสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิต (มาตรา 32 - 38) : กำหนดเหตุที่ทำให้ การเป็นคู่ชีวิตสิ้นสุดลง หลักเกณฑ์การสมัครใจเลิกกันจากการเป็นคู่ชีวิต การขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนคู่ชีวิต และเหตุแห่งการฟ้องเลิกการเป็นคู่ชีวิต ตลอดจนผลสืบเนื่องการสิ้นสุดการเป็นคู่ชีวิต

             1.4 หมวด 3 บุตรบุญธรรม (มาตรา 39 - 44) : กำหนดเงื่อนไขการรับบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิต และให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยบุตรบุญธรรมมาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตโดยอนุโลม

             1.5 หมวด 4 มรดก (มาตรา 45 - 46) : กำหนดสิทธิและหน้าที่ในการรับมรดกของคู่ชีวิตและให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในส่วนที่เกี่ยวกับคู่ชีวิตมาใช้บังคับกับคู่ชีวิตโดยอนุโลม

        2. ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) .. .... ประกอบด้วย 5 มาตรา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1452 (การจดทะเบียนสมรสซ้อน) 1516 (1) (เหตุฟ้องหย่า) และ 1528 (การสิ้นสุดสิทธิในการรับค่าเลี้ยงชีพ) เพื่อให้รองรับกรณีคู่ชีวิตด้วย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 7 มิถุนายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6218

 Click Donate Support Web

วิริยะ 720x100

EXIM One 720x90 C J

TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!