WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

1aaaD

สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ .. 2565

        คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ .. 2565 และแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคเพื่อขอความร่วมมือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน และการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ต่อไป [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (29 พฤศจิกายน 2548) ที่รับทราบแนวทางการจัดระเบียบของระบบกระบวนการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนของประชาชนและมอบหมายให้ทุกกระทรวงดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว โดยให้ สปน. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการติดตามผลการดำเนินการและสรุปรายงานผลความคืบหน้าในการดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบทุก 3 เดือน] สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

        1. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ .. 2565 (ตุลาคม-ธันวาคม 2564)

             1.1 สถิติการแจ้งเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นของประชาชนที่ยื่นเรื่องผ่านช่องทาง การร้องทุกข์ 1111 รวมทั้งสิ้น 17,687 เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ 15,585 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 88.12 และรอผลการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2,102 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 11.88

             1.2 หน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นมากที่สุด 5 ลำดับแรก ดังนี้

                    (1) ส่วนราชการ ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 930 เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข 734 เรื่อง กระทรวงแรงงาน 651 เรื่อง กระทรวงการคลัง 586 เรื่อง และกระทรวงคมนาคม 331 เรื่อง

                    (2) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 187 เรื่อง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 122 เรื่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 101 เรื่อง การประปาส่วนภูมิภาค 97 เรื่อง และการประปา นครหลวง 95 เรื่อง

                    (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 950 เรื่อง จังหวัดนนทบุรี 260 เรื่อง สมุทรปราการ 252 เรื่อง ปทุมธานี 202 เรื่อง และชลบุรี 189 เรื่อง

 

BANPU 720x100

 

        2. การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ .. 2565 สรุปได้ ดังนี้

             2.1 สถิติจำนวนเรื่องร้องทุกข์เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ ที่ผ่านมา โดยในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ .. 2565 มีเรื่องร้องทุกข์ 34,091 เรื่อง ซึ่งน้อยกว่าในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ .. 2564 จำนวน 2,069 เรื่อง (มีเรื่องราวร้องทุกข์ 36,160 เรื่อง)

             2.2 ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่

                    (1) การรักษาพยาบาล เช่น ขอให้มีการยกระดับมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้งให้มีมาตรการเข้มงวดในการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์เทศกาลวันปีใหม่และกิจกรรมที่เป็นการรวมตัวกันของผู้คนจำนวนมาก (1,736 เรื่อง)

                    (2) เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน โดยขอให้แก้ไขปัญหามลภาวะทางเสียงจาก สถานบันเทิง สถานประกอบการ ร้านอาหาร บ้านเรือน และวัยรุ่นมั่วสุมรวมกลุ่มแข่งขันรถจักรยานยนต์ส่งเสียงดังรบกวน (921 เรื่อง)

                    (3) ไฟฟ้า เช่น ขอให้แก้ไขปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องและซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่างริมทาง หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟฟ้า และเสาไฟฟ้า (734 เรื่อง)

                    (4) การเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายและโครงการของรัฐ เช่น การจ่ายเงินช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 และการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ (688 เรื่อง)

                    (5) ค่าครองชีพ เช่น ขอความช่วยเหลือในการพิจารณาสิทธิตามโครงการเยียวยานายจ้างและลูกจ้างในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดของผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 และมาตรการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประกอบอาชีพขับรถยนต์รับจ้างสาธารณะที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (686 เรื่อง)

                    (6) โทรศัพท์ เช่น ขอให้ปรับปรุงระบบการให้บริการทางโทรศัพท์หมายเลข สายด่วน 1422 ของกรมควบคุมโรค หมายเลขสายด่วน 1506 ของสำนักงานประกันสังคม ตลอดจนหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานของสำนักงานเขตและหน่วยงานอื่นๆ ในส่วนภูมิภาค และขอชมเชยศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชนหมายเลขสายด่วน 1111 กด 2 และกด 0 (673 เรื่อง)

                    (7) น้ำประปา เช่น ขอให้แก้ไขปัญหาน้ำประปาไม่ไหล ไหลอ่อนและไม่มีคุณภาพ และขอให้ขยายเขตการให้บริการน้ำประปา (572 เรื่อง)

                    (8) ถนน เช่น ให้ปรับปรุงซ่อมแซม/ก่อสร้างถนน พื้นผิวถนน สะพานกลับรถ บาทวิถี ตีเส้นแบ่งช่องการจราจร ขยายช่องทางจราจร ไฟฟ้าส่องสว่างริมทางและติดตั้งป้ายสัญลักษณ์จราจร รวมทั้งขอให้ปรับปรุงถนนลูกรังเป็นถนนลาดยางแอสฟัลต์หรือถนนคอนกรีต (519 เรื่อง)

                    (9) อุทกภัย เช่น ขอให้แก้ไขปัญหาน้ำทะเลหนุนสูงในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและพื้นที่จังหวัดที่อยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา และขอให้ระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมขังซ้ำซาก (514 เรื่อง)

                    (10) การเมือง เช่น ขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการชุมนุมทางการเมือง และ ขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนตำบลและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และขอให้กำลังใจนายกรัฐมนตรีในการบริหารประเทศ (478 เรื่อง

 

QIC 720x100

 

             2.3 รายงานสรุปการสอบถามข้อมูลและเสนอข้อคิดเห็น ร้องขอความช่วยเหลือและ แจ้งเหตุ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ .. 2565 ผ่านสายด่วน 1111 (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม -31 ธันวาคม 2564) สรุปได้ ดังนี้

หน่วย : เรื่อง

ลำดับที่

ประเภทเรื่อง

จำนวน

ดำเนินการ

จนได้ข้อยุติ

รอผลการพิจารณา

1

การสอบถามข้อมูลและเสนอข้อคิดเห็น

58,967

58,967

-

2

ขอความช่วยเหลือและแจ้งเหตุ

3,404

3,176

228

รวมทั้งสิ้น

62,371

62,143

228

 

              2.4 การแจ้งเบาะแสการกระทำผิดกฎหมายและการร้องเรียนซึ่งเป็นเหตุให้เกิด การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านสายด่วน 1111 (ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม -31 ธันวาคม 2564) สรุปได้ ดังนี้

หน่วย : เรื่อง

ลำดับที่

ประเภทเรื่อง

จำนวน

ดำเนินการ

จนได้ข้อยุติ

รอผลการพิจารณา

1

แจ้งเบาะแสการกระทำความผิดกรณีบ่อนการพนัน

1,026

840

186

2

แจ้งเบาะแสการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน .. 2548 และแจ้งเบาะแสแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมาย

697

472

225

รวมทั้งสิ้น

1,723

1,312

411

 

วิริยะ 720x100

 

        3. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์

        สปน. พบว่า ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในไตรมาสที่ 1 ของปีงบประมาณ .. 2565 ยังคงเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ปัญหาด้านเศรษฐกิจ และคุณภาพการให้บริการ โดยอาจมีสาเหตุมาจาก (1) ขาดการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับมาตรการด้านต่างๆ ที่เกี่ยวกับ โรคโควิด-19 ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนอยู่บ่อยครั้งทำให้การรับรู้ของประชาชนไม่ชัดเจนและสับสน (2) คุณภาพ การให้บริการผ่านช่องทางสายด่วนยังขาดการให้ข้อมูลเชิงลึกอย่างเบ็ดเสร็จ และมีปริมาณการรอสายและการโอนสายจำนวนมากและ (3) ขาดการแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจในลักษณะองค์รวม โดยหน่วยงานต่างๆ แก้ไขปัญหา ตามอำนาจหน้าที่ของตนโดยที่ขาดการทำงานในเชิงบูรณาการและครบวงจร

        4. แนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค โดย สปน. จะได้ประสานแจ้งและขอความร่วมมือให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้

             4.1 ขอให้หน่วยงานเจ้าของข้อมูลจัดทำเนื้อหาข้อมูลข่าวสารและประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง โดยครอบคลุมประชาชนทุกภาคส่วนให้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

                    4.2 ขอให้ทุกหน่วยงานที่มีสายด่วนปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการให้บริการทั้งด้านองค์ความรู้ของเจ้าหน้าที่ผู้รับสาย การบริหารจัดการคู่สายที่ต้องเพียงพอต่อความต้องการ นอกจากนี้ ควรต้องพัฒนาเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนที่หลากหลายโดยเฉพาะช่องทางออนไลน์เพื่อรองรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน

                    4.3 กรณีปัญหาด้านเศรษฐกิจและค่าครองชีพของประชาชนควรมีการประชุมหารือหน่วยงานเจ้าภาพเพื่อกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในแต่ละภาคส่วนให้มีความชัดเจน รวมถึงกระตุ้น ให้เกิดการลงทุนและการจ้างงานในทุกภาคการผลิตไปพร้อมกัน เช่น กำหนดรูปแบบการจำลองธุรกิจใหม่ๆ กับภาคธุรกิจภายหลังสถานการณ์โรคโควิด-19

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 7 มิถุนายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6217

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C J

aia 720 x100PTG 720x100TU720x100sme 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!