WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

โครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ (อาชีวะอยู่ประจำเรียนฟรี มีอาชีพ)

GOV4 copy copy

โครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ (อาชีวะอยู่ประจำเรียนฟรี มีอาชีพ)

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตกำลังคนของประเทศ (อาชีวะอยู่ประจำ เรียนฟรี มีอาชีพ) (โครงการอาชีวะฯ) ในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ทั่วประเทศ (เฉพาะสถานศึกษาของรัฐ) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ในระยะแรก ส่วนระยะต่อๆ ไป ให้รายงานผลการดำเนินการระยะแรกต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อประกอบการพิจารณาเห็นชอบการดำเนินการในระยะต่อไป

        สาระสำคัญของเรื่อง

        ศธ. รายงานว่า ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (16 พฤศจิกายน 2564) มอบหมายให้ สอศ. ดำเนินโครงการอาชีวะสร้างโอกาสทางการศึกษาให้เยาวชน เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ ศธ. ได้กำหนดนโยบายการเพิ่มโอกาสและเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพของกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาและผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ1 สอศ. จึงได้จัดทำโครงการอาชีวะฯ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ .. 2565 เพื่อช่วยเหลือเยาวชนในกลุ่มที่ตกหล่นจากระบบการศึกษาและกลุ่มที่ขาดโอกาสทางการศึกษา มีฐานะยากจน ตลอดจนอยู่ในพื้นที่ห่างไกล ในลักษณะโรงเรียนอยู่ประจำที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกและมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ พร้อมทั้งมีอุปกรณ์การเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ และจะมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมวินัย คุณธรรม จริยธรรม ลดความเสี่ยงในการถูกชักจูงไปในทางที่ไม่สมควร สรุปสาระสำคัญของโครงการอาชีวะฯ ได้ ดังนี้

 

หัวข้อ

 

รายละเอียด

วัตถุประสงค์

 

1. เพื่อสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาทุกช่วงวัย และส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาศักยภาพกำลังคน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมทั้งปลูกฝังค่านิยมด้านคุณธรรมจริยธรรมให้แก่นักเรียนสายอาชีพที่มีฐานะยากจน ขาดโอกาสทางการศึกษา หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล ให้มีทักษะวิชาชีพ สามารถทำงานประกอบอาชีพได้ และเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ

2. เพื่อเพิ่มปริมาณผู้เรียน สร้างทางเลือกสำหรับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีความสนใจในการเรียนต่อสายอาชีพให้เข้าสู่การศึกษาระดับอาชีวศึกษา และเมื่อนักเรียนจบการศึกษาแล้วจะได้รับวุฒิการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และสามารถสร้างความมั่นคงในการประกอบวิชาชีพได้

3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา (หลังสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3) กลับเข้าสู่ระบบการศึกษาสายอาชีพที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

ระยะเวลา

การดำเนินโครงการ

 

ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ .. 2565 (ใช้งบประมาณของ สอศ.) มีสถานศึกษาเข้าร่วม จำนวน 88 แห่ง

สถานที่ดำเนินการ

 

สถานศึกษาในสังกัด สอศ. ทั่วประเทศ (เฉพาะสถานศึกษาของรัฐ) โดยในระยะที่ 1 จำแนกเป็น 1. วิทยาลัยเทคนิค 2 แห่ง 2. วิทยาลัยการอาชีพ 39 แห่ง 3. วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี 47 แห่ง รวม 88 แห่ง

กลุ่มเป้าหมาย

 

นักเรียนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา (หลังสำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3) และเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา/อยู่ในพื้นที่ห่างไกล โดยมีแผนการรับนักเรียนเข้าศึกษา รุ่นที่ 1 (ปีการศึกษา 1/2565) จำนวน 5,280 คน (สถานศึกษา 88 แห่ง แห่งละ 60 คน)

 

แผนการดำเนินงาน/การใช้จ่ายงบประมาณ

 

ปีงบประมาณ

..

งบประมาณ

(ล้านบาท)

กิจกรรม

2565

202.40

- สถานศึกษาปรับปรุงซ่อมแซมอาคารหอพักที่มีอยู่เดิมหรืออาคารเรียนเพื่อใช้เป็นอาคารหอพักชั่วคราวในสถานศึกษากลุ่มที่ 1 จำนวน 88 แห่ง

- รับนักเรียนเข้าศึกษารุ่นที่ 1 จำนวน 5,280 คน ในสถานศึกษา จำนวน 88 แห่ง

 

หมายเหตุ : ในปีงบประมาณ .. 2565 เจียดจ่ายจากงบประมาณของ ศธ.

 

ประโยชน์ที่จะได้รับ

 

 

1. เยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษา มีฐานะยากจน และอยู่ในพื้นที่ห่างไกล รวมถึงนักเรียนที่ตกหล่นจากระบบการศึกษาได้รับการสนับสนุนทางด้านการศึกษาสายอาชีพ พัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ สามารถประกอบอาชีพมีงานทำและมีรายได้

2. มีสถานศึกษาในสังกัด สอศ. ที่จะดำเนินโครงการอาชีวะฯ ทั่วประเทศ

3. ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม เน้นการสร้างโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้ด้อยโอกาสให้สามารถดำรงชีวิตได้อย่างเท่าเทียมกับผู้อื่น

ตัวชี้วัด

 

1. จำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการอาชีวะฯ และได้รับการศึกษาตามแผนการเรียนการสอนที่กำหนด

2. ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาภายใต้โครงการอาชีวะฯ ที่ผ่านการประเมินมาตรฐานอาชีพ

3. ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาภายใต้โครงการอาชีวะฯ มีงานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ

 

        ทั้งนี้ หากสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนที่มีศัยภาพและความพร้อมในการดำเนินการ จะสามารถดำเนินโครงการได้เอง และในกรณีที่สถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนจะเข้าร่วมโครงการฯ สอศ. จะมีหลักเกณฑ์ในการตรวจประเมินความพร้อม เช่น มีความพร้อมของหอพักและสิ่งอำนวยความสะดวกในสภาพที่ดี เป็นสถานศึกษาเอกชนที่มีประสบการณ์ในการดำเนินโครงการฯ และประสบความสำเร็จมาก่อน มีความพร้อมด้านบุคลากรที่จะรองรับการดำเนินโครงการฯ เป็นต้น และเมื่อสถานศึกษาเอกชนผ่านหลักเกณฑ์การตรวจประเมินดังกล่าวแล้ว จะสามารถเข้าร่วมโครงการอาชีวะฯ และได้รับค่าจัดการเรียนการสอน (เงินอุดหนุนรายหัวสำหรับค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาของนักเรียน) เหมือนของรัฐ ซึ่ง ศธ. (สอศ.) ได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมว่า ศธ. จะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในส่วนของสถานศึกษาเอกชนต่อไป

_______________________

1เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการเรียนการสอนตามปกติ ทั้งนี้ เนื่องจากสภาพความบกพร่องหรือความแตกต่างทางร่างกาย สติปัญญาและอารมณ์ รวมถึงเด็กที่มีความสามารถพิเศษด้วย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 7 มิถุนายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6207

 Click Donate Support Web

วิริยะ 720x100

EXIM One 720x90 C J

aia 720 x100PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!