WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 26 การประชุมรัฐมนตรีว่า การกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 8 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

GOV8

ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน ครั้งที่ 26 การประชุมรัฐมนตรีว่า การกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 8 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

        คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีว่า การกระทรวงการคลังอาเซียน (ASEAN Finance Ministers’ Meeting: AFMM) ครั้งที่ 26 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance Ministers’ and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM) ครั้งที่ 8 และการประชุมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 7 - 8 เมบายน 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนและแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 8 โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการคลัง ราชอาณาจักรกัมพูชา เป็นประธานการประชุม [คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (5 เมษายน 2565) เห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรี AFMGM ครั้งที่ 8 และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 8 ตามที่ กค. เสนอ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 8 ที่จะรับรองดังกล่าวในส่วนที่ไมใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ กค. ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว] ซึ่งมีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้

 

การประชุม

 

ผลการประชุม

1. การประชุม AFMM

ครั้งที่ 26

 

- ที่ประชุมได้หารือร่วมกันในประเด็นเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น สถานการณ์เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนและข้อริเริ่มด้านโครงสร้างพื้นฐานและการเชื่อมโยงของอาเซียน รวมทั้งติดตามความคืบหน้าและร่วมพิจารณาให้การรับรองประเด็นสำคัญภายใต้ความร่วมมือทางด้านการเงินอาเซียน เช่น การจัดหาเงินทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐาน ความร่วมมือด้านการประกันภัย โครงการการบริหารการเงินและการประกันภัย ด้านภัยพิบัติสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียน และการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกร่วมมือกันในการเชื่อมโยงข้อมูลหนังสือรับรอง เช่น ใบขนสินค้าอาเซียนผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window.ASM) รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานตราสารหนี้ ส่งเสริมความยั่งยืนอาเซียนเพื่อความครอบคลุม ยั่งยืน และเชื่อมโยงรวมทั้งสนับสนุนให้มีความร่วมมือด้านสินทรัพย์ดิจิทัล นอกจากนี้ ได้ชื่นชมการดำเนินการของกองทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอาเซียน พร้อมทั้งสนับสนุนให้กองทุนดังกล่าวพิจารณาให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานสะอาดและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในภูมิภาค

2. การประชุม AFMGM ครั้งที่ 8

 

- ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะเชิงนโยบายกับผู้แทนภาคเอกชนเกี่ยวกับการยกระดับด้านการเงินที่ยั่งยืน เช่น การพัฒนาตลาดคาร์บอนในอาเซียน และการพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่อส่งเสริมด้านการค้าและการทำธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ได้หารือและติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน .. 2025 ความคืบหน้าของความร่วมมือภายใต้กรอบการประชุม AFMGM เช่น แผนงานการบูรณาการทางการเงินของอาเซียน และความร่วมมือด้านการเงินยั่งยืนของอาเซียน

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้สนับสนุนข้อเสนอแนะในประเด็นการผลักดันให้มีการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลในอาเซียน และได้กล่าวถึงการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของประเทศไทยในการดำเนินนโยบายการคลังเพื่อกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศ เช่น โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน รวมถึงได้ขอให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเร่งดำเนินกระบวนการภายในประเทศเพื่อให้สามารถมีการลงนามในร่างพิธีสารอนุวัติข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการด้านการเงินภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน ฉบับที่ 9 ได้สำเร็จภายในปี 2565 นอกจากนี้ ได้มีข้อเสนอแนะในการพัฒนามาตรฐานและเกณฑ์การจัดหมวดหมู่ด้านการเงินที่ยั่งยืนของอาเซียน (ASEAN Taxonomy) เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดหมวดหมู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสนับสนุนการลงทุนในภาคเศรษฐกิจจริงในกรอบอาเซียนเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน

- แถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM ครั้งที่ 8 โดยมีการปรับปรุงแถลงการณ์ร่วมฯ ซึ่งมีบางถ้อยคำแตกต่างจากฉบับร่างที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (5 เมษายน 2565) เห็นชอบร่างเถลงการณ์ฯ ไว้ โดยไม่กระทบสาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของไทย และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ทั้งนี้ ที่ประชุมได้รับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เป็นผลลัพธ์ของการประชุมฯ ด้วยแล้ว

3. การประชุมระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและ ผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนและสถาบันการเงินระหว่างประเทศ

 

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนได้หารือกับผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศในประเด็นสถานการณ์เศรษฐกิจโลกและภูมิภาคอาเซียน รวมถึงแนวทางการดำเนินนโยบายของภาครัฐเพื่อให้เศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียนฟื้นตัวได้อย่างเท่าเทียม ทั่วถึง และมีภูมิคุ้มกัน ประกอบด้วย 3 แนวทางหลัก ได้แก่ (1) เสริมสร้างความร่วมมือในภูมิภาคเพื่อการฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง (2) พัฒนาแนวทางในการระดมทรัพยากรภายในประเทศ เช่น การปฏิรูปภาษีเพื่อเป็นแหล่งงบประมาณให้รัฐบาลใช้ในการดำเนินการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และ (3) เพิ่มการลงทุนเพื่อการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและทั่วถึงและสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวถึงสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2565 ที่คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3 - 4 ต่อปี โดยมีแรงขับเคลื่อนสำคัญจากการฟื้นตัวของภาคการบริโภคภายในประเทศ สถานการณ์ภาคการท่องเที่ยวที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นและการส่งออกที่ขยายตัวได้ดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมถึงการกระตุ้นเศษฐกิจด้วยมาตรการของภาครัฐที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและยังต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่อาจยืดเยื้อปัญหาความเปราะบางด้านตลาดแรงงานและหนี้ครัวเรือน ความขัดแย้งระหว่างสหพันธรัฐรัสเซีย-ยูเครน และราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำความสำคัญของการระดมทรัพยากรในประเทศ เช่น การปฏิรูปภาษีและการผ่อนปรนกฎเกณฑ์ด้านการคลังบางประการ อีกทั้งสถาบันการเงินระหว่างประเทศต่างๆ ควรพิจารณาผ่อนปรนเงื่อนไขการให้กู้ยืมแก่ประเทศอาเซียน กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด เช่น การปรับลดอัตราดอกเบี้ย และผ่อนปรนเกณฑ์การพิจารณาเงื่อนไขการปล่อยกู้ต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์โลกในภาวะที่มีความผันผวนสูงและไม่ปกติ เพื่อให้รัฐบาลในประเทศต่างๆ สามารถมีพื้นที่การคลังเพียงพอในการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน

4. การเสวนาหัวข้อการเงินยั่งยืน : การระดมทรัพยากรทางการเงินเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจยุคหลังโควิด-19”

 

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เข้าร่วมการเสวนาข้างต้นร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศสมาชิกอาเซียน รวมทั้งผู้แทนจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ โดยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจและแนวทางในการระดมทรัพยากรภายในประเทศผ่านกลไกการเงินที่ยั่งยืนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจยุคหลังโควิด-19 นอกจากนี้ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์โดยได้กล่าวถึงความสำคัญในการปฏิรูปด้านการคลัง โดยเฉพาะการปฏิรูปภาษีเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจยุคหลังโควิด-19 โดยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสในการจัดเก็บภาษี และได้กล่าวถึงการดำเนินการของไทยในการส่งเสริมการเงินเพื่อความยั่งยืน เช่น การออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งในการระดมทุนเพื่อนำไปใช้ในโครงการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 7 มิถุนายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6204

 Click Donate Support Web

วิริยะ 720x100

EXIM One 720x90 C J

aia 720 x100PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!