WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association : EFTA)

GOV5 copy

การเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association : EFTA)

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้

        1. เห็นชอบการเข้าร่วมเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association: EFTA) ของประเทศไทย

        2. เห็นชอบกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับ EFTA

        3. เห็นชอบร่างเอกสารขอบเขต (TOR) สำหรับการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับ EFTA ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าว ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ พณ. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก

        4. ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมประกาศหรือออกแถลงการณ์เปิดการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับ EFTA และร่วมให้ความเห็นชอบเอกสารขอบเขต (TOR) สำหรับการเจรจาฯ

        สาระสำคัญของเรื่อง

        1. ปัจจุบันประเทศไทยมีความตกลงการค้าเสรี 14 ฉบับ กับ 18 ประเทศ [ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) เป็นความตกลงฉบับล่าสุดที่มีผลใช้บังคับเมื่อต้นปี 2565] ส่งผลให้ประเทศไทยมีมูลค่าการค้ากับ 18 ประเทศที่มีการทำความตกลงด้วย โดยครอบคลุมร้อยละ 64 ของการค้าของประเทศไทยกับทั่วโลก อีกทั้งประเทศไทยยังมีแผนที่จะจัดทำความตกลงกับคู่ค้าสำคัญอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ .. 2561 - 2580 ที่จะทำให้ประเทศไทยมีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ รักษาและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ขณะเดียวกัน พณ. มีนโยบายให้ขยายการจัดทำความตกลงเพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนของประเทศไทย ซึ่ง EFTA (ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และลิกเตนสไตน์) เป็นหนึ่งในตลาดที่มีศักยภาพและได้แสดงความสนใจที่จะจัดทำความตกลงการค้าเสรีกับประเทศไทย โดยมีการหารือถึงความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง

 

aia 720 x100PTG 720x100

 

        2. พณ. ได้จัดทำร่างกรอบการเจรจาความตกลงการค้าเสรีไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรปและร่างเอกสารขอบเขต (TOR) สำหรับการเจรจาฯ โดยได้มีการสอบถามความเห็นและหารือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ [รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเซาว์) เป็นประธาน] ด้วยแล้ว มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

             1) ร่างเอกสารขอบเขต (TOR) สำหรับการเจรจาฯ มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายการเจรจาในภาพรวม ได้แก่ (1) ร่างเอกสารฯ เป็นการวางแนวทางข้อเสนอขอบเขตและหลักการสำคัญ รวมถึงขั้นตอนต่อไปสำหรับการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับ EFTA (2) ภาคีทั้งสองฝ่ายมุ่งหวังให้เกิดความตกลงการค้าเสรีที่มีความครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ ครอบคลุม 16 หัวข้อ (3) ความตกลงจะต้องมีความสอดคล้องกับความตกลงขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) โดยเฉพาะข้อ 24 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade: GATT) และข้อ 5 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยการค้าบริการ (General Agreement on Trade in Services (GATS) (4) การเจรจาจะถูกดำเนินการบนพื้นฐานของการเสนอร่างถ้อยคำที่จะถูกส่งให้กันล่วงหน้าโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย

             2) ร่างกรอบการเจรจาฯ มีวัตถุประสงค์และเป้าหมายการเจรจาในภาพรวม ได้แก่ (1) เพื่อขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุน (2) เพื่อส่งเสริมและดึงดูดการลงทุนให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจและ การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย (3) เจรจาให้ได้ประโยชน์ในภาพรวมสูงสุด โดยคำนึงถึงความพร้อม ระดับการพัฒนา และภูมิคุ้มกันของประเทศ ตลอดจนการมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDG) และ (4) ให้ความสำคัญกับทุกภาคส่วนที่อาจได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า โดยให้มีระยะเวลาในการปรับตัวและมาตรการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

        ทั้งนี้ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ อาทิ ประเทศไทยจะสามารถส่งออกสินค้าต่างๆ ไปยังกลุ่มประเทศ EFTA ได้มากขึ้น เช่น สินค้าเกษตร (ข้าว ข้าวโพดหวาน เนื้อสุกร) เครื่องแต่งกาย ยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น และนำเข้าสินค้าจากกลุ่มประเทศ EFTA ได้เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เช่น ปุ๋ยเคมี อัญมณี เครื่องประดับ เครื่องสำอาง เป็นต้น

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 7 มิถุนายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A6202

 Click Donate Support Web

วิริยะ 720x100

EXIM One 720x90 C J

TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!