สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 12 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-31 มีนาคม 2565)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 31 May 2022 19:49
- Hits: 5175
สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 12 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-31 มีนาคม 2565)
คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 12 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 31 มีนาคม 2565) ตามที่คณะกรรมการติดตาม การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. นโยบายหลัก 9 ด้าน ประกอบด้วย
นโยบายหลัก |
มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ |
|
1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ |
1.1) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับศาสตร์พระราชาและเกษตรทฤษฎีใหม่ ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี รุ่นที่ 4 และรุ่นที่ 5 เพื่อนำองค์ความรู้ไปเป็นแนวปฏิบัติและขยายผลในโครงการและศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่รับผิดชอบ 1.2) ปลูกฝังจิตสำนึกต่อความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์และประวัติศาสตร์ชาติผ่านเว็บไซต์และสื่อสังคมออนไลน์ 462 ครั้ง และประชาสัมพันธ์ออนไลน์ทางเพจเฟซบุ๊ก “พิราบลายพราง” ประจำเดือนมีนาคม 2565 จำนวน 34 โพสต์ ยอดกดถูกใจ 11,322 คน และยอดกดติดตามเพจ 12,061 คน |
|
2) การสร้างความมั่นคงความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ |
2.1) จัดสรรทุนการศึกษาเพื่อพัฒนาคนด้านความปลอดภัยไซเบอร์แก่บุคลากรของกองทัพไทยให้มีศักยภาพสูงในการป้องกันและพัฒนาปฏิบัติการทางไซเบอร์หรือความมั่นคงภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมทั้งพัฒนากำลังพลให้มีความรู้ความสามารถเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 2.2) จับกุมผู้ลักลอบเข้าเมืองผิดกฎหมายผ่านชายแดนทางบก 424 ครั้ง ผู้ต้องหา จำนวน 5,526 คน 2.3) ปลุกจิตสำนึก เกียรติภูมิ และศักดิ์ศรีความเป็นชาติไทย โดยส่งเสริมให้เยาวชนได้แสดงออกถึงความกตัญญูต่อบุพการี ผู้มีพระคุณ ชาติและพิทักษ์เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้เครือข่าย “ชมรมกตัญญูคลับ” มีสมาชิกกว่า 4,500 คน |
|
3) การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม |
3.1) ผลักดันการใช้ “Soft Power” ความเป็นไทยและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ โดยจัดงาน “มหกรรมศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ครั้งที่ 3 Thailand Biennale,Chiang Rai 2023” เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565 มีผู้เข้าชมทั้งออฟไลน์และออนไลน์มากกว่า 340,000 คน สร้างรายได้การท่องเที่ยวและบริการในพื้นที่กว่า 272 ล้านบาท 3.2) จัดนิทรรศการสร้างองค์ความรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม เช่น นิทรรศการ “วิจิตราภรณ์และงานประณีตศิลป์แห่งโขน” สืบสานพระราชปณิธานของสมเด็จ พระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงและนิทรรศการศิลปะการออกแบบร่วมสมัยในโครงการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยเพื่อต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยจัดแสดงองค์ความรู้และผลงานการออกแบบที่แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น 28 ชุดผลงานจาก 28 อำเภอ ใน 3 จังหวัด (จังหวัดกระบี่ จันทบุรี และสุพรรณบุรี) |
|
4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก |
4.1) เข้าร่วมประชุมผู้นำธุรกิจอาเซียน เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565 นายกรัฐมนตรีได้กล่าวปาฐกถาร่วมกับผู้นำรัฐบาลและผู้บริหารภาคธุรกิจระดับโลกหัวข้อ “การนำความเติบโตกลับมาสู่ระดับก่อนโควิด” โดยให้ความสำคัญกับความยั่งยืนของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สมดุล ความเข้มแข็งจากการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และความครอบคลุมในการสร้างระบบนิเวศทางเศรษฐกิจที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ โดยเฉพาะเศรษฐกิจดิจิทัล เพื่อยกระดับศักยภาพเศรษฐกิจไทย 4.2) ขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาของสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 นางอามีนา เจ โมฮัมเหม็ด รองเลขาธิการสหประชาชาติ ได้เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีในโอกาสเยือนไทย โดยมีการหารือความร่วมมือในประเด็นต่างๆ เช่น ความมั่นคงทางอาหาร พลังงาน การเงิน การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ภายในปี ค.ศ. 2030 4.3) รับมอบตำแหน่งประธานผู้นำความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ (The Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation: BIMSTEC) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมพิธีรับตำแหน่งประธาน BIMSTEC เป็นเวลา 2 ปี โดยไทยมุ่งมั่นที่จะสานต่อและขับเคลื่อนการดำเนินงาน ได้แก่ (1) ความมั่งคั่งผ่านกรอบความร่วมมือพหุภาคีในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการระบาดของโรคโควิด-19 และสร้างความเชื่อมโยงและใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมและเทคโนโลยี (2) ความยั่งยืนให้ประเทศสมาชิกสนับสนุนซึ่งกันและกัน เพื่อต่อสู้กับความท้าทายต่างๆ โดยฟื้นฟูและนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาใช้ (3) เปิดกว้างให้ความสำคัญกับ “คน” สร้างความตระหนักรู้และมีส่วนร่วมอย่างสร้างสรรค์ในทุกภาคส่วน เพื่อร่วมขับเคลื่อน BIMSTEC ให้ก้าวไปข้างหน้าอย่าง “มั่งคั่ง ยั่งยืนและเปิดกว้างสู่โอกาส” |
|
5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย |
5.1) เศรษฐกิจมหภาค การเงินและการคลัง โดยกรมสรรพสามิตได้ออกกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 11 มีนาคม 2565 (ยกเว้นอัตราภาษีสินค้าน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันเพื่อนำไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม-15 กันยายน 2565 5.2) พัฒนาภาคเกษตร เช่น (1) การเปิดสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อการเกษตร A.M. ความถี่ 1386 KHz. เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารและพัฒนาเกษตรกรในพื้นที่ห่างไกล สามารถแข่งขันในตลาดได้ และ (2) จัดนิทรรศการ Digital for Agri-Dev ภายในงาน World Expo 2020 Dubai เพื่อส่งเสริมด้านการตลาดและเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าเกษตรไทย และเตรียมพร้อมขยายสินค้าไปยังตลาดที่มีศักยภาพรวมทั้งหมดกว่า 20 ชนิดสินค้า 5.3) การพัฒนาการค้าการลงทุนเพื่อมุ่งสู่การเป็นชาติการค้าการบริการและการลงทุนในภูมิภาค โดยการบุกตลาดส่งออกสินค้าไก่แปรรูปไปราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียเป็นครั้งแรกในรอบ 18 ปี คาดว่าภายในสิ้นปี 2565 จะสามารถส่งออกได้ประมาณ 6,000 ตัน เกิดมูลค่าการค้า 400-500 ล้านบาท 5.4) พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างงานโยธาโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) 6 สัญญา และลงนามข้อตกลงคุณธรรมโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ระยะทางรวม 23.6 กิโลเมตร ตามแผนงานจะก่อสร้างภายในปี 2565 และคาดว่าจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนได้ภายในปี 2570 5.5) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ เช่น จัดกิจกรรมการเรียนรู้และแข่งขันเชิงสร้างสรรค์ “Hackulture นวัต...วัฒนธรรม” เพื่อการกระตุ้นให้เยาวชนหรือคนรุ่นใหม่หันมาสนใจวัฒนธรรมไทยและร่วมกันถ่ายทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติในรูปแบบ Digital Content มีผู้ส่งผลงาน 66 ทีม และจัดทำแนวทางการชำระภาษีสำหรับคนขายของออนไลน์ 5.6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม โดยจัดกิจกรรม “ขับเคลื่อนโปรแกรมการยกระดับคุณภาพชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้” จังหวัด ศรีสะเกษ มุ่งเน้นให้ผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการของทุ่งกุลาร้องไห้มีอัตลักษณ์ที่โดดเด่นมากขึ้น และถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้กับเกษตรกรสามารถสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกรเฉลี่ย 2,600-3,300 บาท/ไร่ |
|
6) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย |
6.1) ลงนามบันทึกข้อตกลงการบูรณาการความร่วมมือ 7 กระทรวง : การพัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต (กลุ่มเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุ) พ.ศ. 2565-2569 มีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 24 มีนาคม 2565 เพื่อร่วมกันผลักดันในระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนสร้างกลไกการดำเนินงานให้เอื้อต่อการดูแลกลุ่มเป้าหมายในระดับพื้นที่ที่เชื่อมโยงสอดรับแนวนโยบายรัฐบาลและแผนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง 6.2) จัด “นิทรรศการตลาดนัดหลักสูตรระดับอุดมศึกษา สำหรับนักเรียนที่ศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และผู้พิการ” ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมกว่า 14 สถาบัน เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสเข้าถึงข้อมูลหลักสูตรระดับอุดมศึกษา แนะแนวการศึกษาและอาชีพ และเป็นการกระตุ้นให้นักเรียนเกิดกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนเพื่อพัฒนาตนเองในระดับที่สูงขึ้น |
|
7) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม |
7.1) โครงการพัฒนาเพิ่มคุณภาพการบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นการพัฒนาต้นแบบแพลตฟอร์มกลางการเชื่อมโยงฐานข้อมูลสุขภาพของประเทศ โดยการเชื่อมโยงข้อมูลด้านสุขภาพผ่านระบบ Health Link มีโรงพยาบาลนำร่องกว่า 100 แห่ง สามารถเชื่อมต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูลได้สำเร็จทำให้ไทยมีคลังข้อมูลด้านสาธารณสุขขนาดใหญ่ 7.2) พัฒนาระบบออกใบรับรองแพทย์ดิจิทัลผ่าน “หมอพร้อม” ให้เป็น Digital Health Platform ของไทย เพื่อให้บริการด้านสุขภาพแบบดิจิทัลแก่ประชาชน มีการทดสอบระบบและนำมาใช้งานจริงในโรงพยาบาล 1,028 แห่ง สามารถออกใบรับรองแพทย์ไปแล้วกว่า 125,000 ใบ 7.3) พัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิให้เข้มแข็ง มุ่งหวังให้ “คนไทยทุกครอบครัว มีหมอประจำตัว 3 คน” ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) หมอสาธารณสุข และหมอประจำครอบครัว ร่วมกันดูแลสุขภาพของประชาชนให้สามารถเข้าถึงระบบบริการสาธารณสุขที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม และมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ได้มีการมอบรางวัลเชิดชูเกียรติให้แก่ อสม. ดีเด่นระดับชาติ 1,050,000 คน |
|
8) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน |
8.1) ประกาศ “MISSION 2023” ผนึกกำลังลดก๊าซเรือนกระจก มุ่งเป้า 1 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในปี 2566 โดยได้ดำเนินการ เช่น ส่งเสริมให้ประชาชนใช้ระบบรางหรือรถไฟ และกำหนดให้การก่อสร้างต้องใช้ซีเมนต์ ไฮดรอลิกหรือซีเมนต์ที่ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 8.2) ลงนามความร่วมมือโครงการนำร่องการพัฒนาทางด้านพลังงานหมุนเวียนและคาร์บอนเครดิต เพื่อจัดทำฐานข้อมูลและการรับรองการผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนและคาร์บอนเครดิต โดยเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยผ่านโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการด้านพลังงาน (Energy Regulatory Commission Sandbox: ERC Sandbox) ระยะที่ 2 สู่การบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2065 |
|
9) การป้องกันปราบปรามทุจริตและประพฤติมิชอบและกระบวนการยุติธรรม |
จัดตั้งศูนย์คุมประพฤติภาคประชาชน เพื่อเป็นศูนย์กลางในการสนับสนุนภารกิจในการคุมความประพฤติในพื้นที่ เน้นการทำงานร่วมกับชุมชนอาสาสมัครคุมประพฤติและหน่วยงานภาคี ทั้งนี้ ได้เปิดศูนย์ต้นแบบแล้ว 12 แห่ง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระยอง อุดรธานี และสงขลา และคาดว่าเดือนสิงหาคม 2565 จะเปิดได้ครบทุกจังหวัด |
2. นโยบายเร่งด่วน 8 เรื่อง ประกอบด้วย
นโยบายเร่งด่วน |
มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน |
1.1) มาตรการลดค่าครองชีพประชาชนเป็นเวลา 3 เดือน (เดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม 2565) สรุปได้ ดังนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
1.2) บูรณาการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนจากมิจฉาชีพและอาชญากรรมออนไลน์ ตั้งแต่ปี 2564 ถึงวันที่ 28 มีนาคม 2565 สามารถจับกุมดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด 5,517 คดี ผู้ต้องหา 6,348 คน และจับกุมผู้ที่เปิดบัญชีธนาคารที่นำไปใช้ในการกระทำผิดผ่านทางออนไลน์ (บัญชีม้า) 344 ราย (บัญชี) มูลค่าความเสียหายกว่า 869 ล้านบาท และในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2565 ได้มีคำสั่งศาลปิดกั้นเว็บพนันออนไลน์แล้ว 742 URL 1.3) ให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ด้อยโอกาส เช่น ช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้เงินกู้เพื่อการเกษตรได้รับการลดดอกเบี้ย 976 แห่ง 353,274 ราย และการจัดที่ดินให้เกษตรกรได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน 7,177 ราย 1.4) ปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 ประจำปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-31 มีนาคม 2565 มีการกระทำผิด 13,828 คดี (ค่าปรับ 256.35 ล้านบาท) โดยมีของกลางแยกเป็นน้ำสุรา 99,654.420 ลิตร ยาสูบ 2,774,201 ซอง ไพ่ 15,277 สำรับ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน 564,340 ลิตร น้ำหอม 83,980 ขวด และรถจักรยานยนต์ 815 คัน 1.5) มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โรคโควิด-19 (ข้อมูล ณ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565) เช่น ลดเบี้ยปรับหรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระเงินคืน ร้อยละ 100 สำหรับผู้กู้ยืมทุกรายที่ชำระหนี้ปิดบัญชีในครั้งเดียว มีผู้กู้ยืมเงินใช้สิทธิ 6,589 ราย รวมเงินรับชำระหนี้ 355.71 ล้านบาท |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน |
2.1) จัดกิจกรรมทักษะชีวิตวิถีใหม่ เยาวชนไทย สร้างอาหารเป็นโดยส่งเสริมแหล่งเรียนรู้ในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เช่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 15,406 แห่ง โรงเรียน 19,857 แห่ง วัด 21,516 แห่ง มัสยิด 1,463 แห่ง โบสถ์ 1,924 แห่ง และอื่นๆ 2,769 แห่ง 2.2) โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ได้โอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-31 มีนาคม 2565 รวมทั้งสิ้น 24,414.60 ล้านบาท แบ่งเป็นสวัสดิการที่ให้เป็นวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 22,203.58 ล้านบาท และสวัสดิการที่ให้ผ่านกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (e-Money) 2,211.02 ล้านบาท 2.3) จ่ายเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่นผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-31 มีนาคม 2565 รวมทั้งสิ้น 69,010.22 ล้านบาท แบ่งเป็นประเภทเงินจ่ายต่อเนื่องรายเดือน (5 สวัสดิการ) 65,907.29 ล้านบาท และประเภทเงินจ่ายไม่ต่อเนื่อง (2 สวัสดิการ) 3,102.93 ล้านบาท |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
3) การให้ความช่วยเหลือเกษตรและพัฒนานวัตกรรม |
3.1) โครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565) เช่น ผลิตสินค้าเกษตรชนิดใหม่ที่เหมาะสมกับพื้นที่เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพ 23,739 ไร่ และส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมให้ปรับเปลี่ยนสู่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และส่งเสริมอาชีพทางเลือก 805 ราย 3.2) บูรณาการระบบข้อมูลทะเบียนเกษตรกรและจัดทำข้อมูลทางด้านการเกษตรแบบเปิดเชื่อมโยงกับศูนย์กลางข้อมูลเปิดภาครัฐ เช่น (1) พัฒนาชุดโครงสร้างมาตรฐานเพื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางด้านการเกษตรและเชื่อมโยงข้อมูลทะเบียนเกษตรกร และ (2) พัฒนา API Engine สำหรับเชื่อมโยงกับกรมที่ดินเพื่อตรวจสอบเอกสารสิทธิพื้นที่เกษตร (น.ส.4) และเชื่อมโยงกับกรมการปกครองเพื่อตรวจสอบข้อมูลบุคคลและครัวเรือน 3.3) ดำเนินโครงการประยุกต์เทคนิคทางรังสีเพื่อพัฒนาสายพันธุ์และคัดเลือกเพศของพืชกัญชงและกัญชา เพื่อศึกษากัญชาและกัญชงพันธุ์กลายที่ให้สารสำคัญสูงขึ้น ได้แก่ สาร Tetrahydrocannabinol (THC) และสาร Cannabidiol (CBD) โดยการฉายรังสีแกมมา คัดเลือกสายพันธุ์และทำนายการผลิตสารสำคัญที่พืชจะสามารถผลิตขึ้นในอนาคตได้อย่าง มีประสิทธิภาพรวมทั้งศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัด THC และ CBD เพื่อให้ได้สารสำคัญปริมาณสูงสุดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยมีผลการดำเนินงาน ร้อยละ 45 3.4) ส่งเสริมการใช้ยางพาราในงานถนน ได้นำยางพารามาใช้ในงานก่อสร้างและซ่อมบำรุงโดยการทำผิวทาง ปริมาณยางดิบ 28,934 ตัน และนำยางพารามาใช้ในการปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน โดยใช้แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีตและหลักนำทางยางธรรมชาติ รวม 35,028 ตัน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
4) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน |
4.1) มอบเงินช่วยเหลือแรงงานไทยกลับจากประเทศยูเครนตั้งแต่วันที่ 2-8 มีนาคม 2565 จำนวน 163 ราย รายละ 15,000 บาท 4.2) จัดทำและวิเคราะห์ข้อมูล Skill Mapping ด้านการผลิตบัณฑิตและพัฒนากำลังคนให้มีทักษะและสมรรถนะสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานนำร่องใน 4 สายงาน ได้แก่ เกษตรกร Smart SME วิทยาศาสตร์สุขภาพ และการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ 4.3) โครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศ เพื่อยกระดับทักษะฝีมือแรงงานให้มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน และพัฒนาหลักสูตรระยะสั้นสนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตและพัฒนาทักษะเพื่ออนาคต (Reskill/Upskill) โดยมีเป้าหมายในการพัฒนา 60 หลักสูตร |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
5) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต |
5.1) ปรับปรุงแอร์พอร์ต เรลลิงค์ ได้ปรับปรุงระบบตั๋วโดยสาร งานระบบข้อมูลและงานระบบโทรคมนาคม โดยได้ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อเปลี่ยนถ่ายคลื่นความถี่ จาก 470 MHz ไปยังความถี่ 380 MHz แล้วเสร็จ 5.2) โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ได้ปรับพื้นที่สำหรับก่อสร้างทางขับระยะที่ 1 และลานจอดของศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน มีความก้าวหน้าร้อยละ 75.92 5.3) จัดกิจกรรมชักจูงนักลงทุนเพื่อลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก โดยสาธารณรัฐประชาชนจีนให้ความสนใจอุตสาหกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว และจัดสัมมนาออนไลน์ หัวข้อ “Investment Opportunities in Advanced Agriculture and Future Food Industry in EEC for Singapore Companies” เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและโอกาสในการลงทุนระหว่างภาคเอกชนไทยและสาธารณรัฐสิงคโปร์ในอุตสาหกรรมเกษตรสมัยใหม่และอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต ตลอดจนเป็นเวทีในการจับคู่ทางธุรกิจของนักลงทุนทั้งสองฝ่าย 5.4) ขอรับการส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2565 จำนวน 107 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 60,362 ล้านบาท |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
6) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 |
6.1) โครงการ “Life Director ผู้กำกับชีวิต (มีออาชีพ)” มุ่งพัฒนาเยาวชนไทย ร่วมสร้างสรรค์สังคมอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างพื้นฐานที่แข็งแรงจากภายในจิตใจให้กับเยาวชนจากสภาเด็กและเยาวชนทั่วประเทศ 200 คน 6.2) โครงการการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อบ่มเพาะเยาวชนให้กับโรงเรียนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เช่น จัดอบรมความรู้ให้แก่ครู คัดเลือกครูแกนนำและโรงเรียนที่จะเป็นต้นแบบในการขยายผลกิจกรรม และสร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการภาคเอกชนในการเชื่อมโยงจัดกิจกรรมให้เห็นเส้นทางอาชีพในกลุ่มอุตสาหกรรมในพื้นที่ รวมทั้งพัฒนาความรู้และทักษะด้าน STEM Education ให้กับครูและนักเรียน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
7) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ |
สกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดบริเวณพื้นที่ชายแดน ในห้วงเดือนมีนาคม 2565 มีการจับกุมผู้กระทำผิด 114 ครั้ง ผู้ต้องหา 124 คน ยึดได้ของกลาง ได้แก่ ยาบ้า 8,229,270 เม็ด ยาอี 13,000 เม็ด ไอซ์ 4,335,376 กิโลกรัม คีตามีน 69 กิโลกรัม ฝิ่น 1.67 กิโลกรัม และกัญชาแห้ง 1,956.031 กิโลกรัม |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
8) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย |
8.1) จัดการน้ำท่วมอุทกภัย ได้ดำเนินโครงการบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ต่างๆ เช่น (1) โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช (ก่อสร้างคลองระบายน้ำสาย 3 พร้อมอาคารประกอบ) (2) โครงการคลองระบายน้ำหลาก บางบาล-บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ขุดคลองระบายน้ำหลาก พร้อมอาคารประกอบ) และ (3) โครงการประตูระบายน้ำลำน้ำพุง-น้ำก่ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร (ก่อสร้างประตูระบายน้ำหัวงาน และอาคารชลประทานตามแนวคลองผันน้ำ) 8.2) เปิดปฏิบัติการฝนหลวงสู้ภัยแล้ง ประจำปี 2565 โดยตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงประจำ 5 ภูมิภาค 10 หน่วยปฏิบัติการ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป 8.3) แจกจ่ายน้ำให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ประสบภัยแล้งใน 23 จังหวัด ตั้งแต่ปลายปี 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 จำนวน 3,676 ครัวเรือน คิดเป็นปริมาณน้ำสะสม 1,837,900 ลิตร 8.4) ให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบพิบัติภัย โดยจัดกำลังพลสำรวจและซ่อมแซมบ้านเรือนประชาชนที่ประสบวาตภัยในพื้นที่ 23 จังหวัด มีบ้านเรือนได้รับความเสียหาย 1,490 หลังคาเรือน ซ่อมแซมแล้ว 1,395 หลังคาเรือน |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 30 พฤษภาคม 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A51076