WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Economic Ministers: AEM Retreat) ครั้งที่ 28

GOV8

 

 

 

ผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Economic Ministers: AEM Retreat) ครั้งที่ 28

        คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (ASEAN Economic Ministers: AEM Retreat) ครั้งที่ 28 เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงพาณิชย์ (นายสรรเสริญ สมะลาภา) เข้าร่วมประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

 

 

        1. การประชุม AEM Retreat ครั้งที่ 28 มีผลการประชุมที่สำคัญ ดังนี้

 

ประเด็นการประชุม

 

ผลการประชุม

(1) ประเด็นสำคัญด้านเศรษฐกิจที่กัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนผลักดันให้บรรลุผลสำเร็จในปี 2565

 

เห็นชอบมาตรการสำคัญด้านเศรษฐกิจที่กัมพูชาผลักดันในฐานะประธานอาเซียนให้บรรลุผลสำเร็จในปีนี้ ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

1) ความเชื่อมโยงทางดิจิทัล วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี

2) การลดช่องว่างการพัฒนาเพื่อความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน

3) การส่งเสริมการบูรณาการการมีส่วนร่วม ความยืดหยุ่น และความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน

4) การเป็นส่วนสำคัญของประชาคมโลกเพื่อการเติบโตและการพัฒนา โดยเฉพาะประเด็นการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และการเร่งรัดให้ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) มีผลใช้บังคับกับทุกประเทศโดยเร็ว

(2) การประกาศเริ่มเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ASEAN Trade in Goods Agreement: ATIGA)

 

เห็นชอบในหลักการต่อเอกสารข้อเสนอแนวทางการเจรจายกระดับ ATIGA และขอบเขตการดำเนินงานของคณะเจรจายกระดับ ATIGA โดยเอกสารข้อเสนอแนวทางการเจรจายกระดับ ATIGA จะไม่เป็นการตัดสินผลลัพธ์ของการเจรจาล่วงหน้าซึ่งประเทศสมาชิกสามารถเพิ่มหรือลดประเด็นที่จะเจรจาในขั้นตอนการเจรจาได้ ทั้งนี้ การเจรจายกระดับ ATIGA จะต้องสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เอื้อต่อการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถของอาเซียนในการเผชิญความท้าทาย และประเด็นการค้าใหม่ ซึ่งไทยแจ้งว่าต้องใช้ระยะเวลาในการดำเนินการภายในประเทศและจะแจ้งยืนยันการให้การรับรองเอกสารดังกล่าวเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ

(3) การขยายอายุของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการดำเนินการมาตรการที่มิใช่ภาษีสำหรับสินค้าจำเป็นภายใต้แผนปฏิบัติการฮานอยว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานของอาเซียนให้เข้มแข็งในการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) (MoU) และการขยายบัญชีรายการสินค้า

จำเป็นภายใต้ MoU

 

• เห็นชอบในหลักการของการขยายอายุบันทึกความเข้าใจ (MOU) ที่ระบุว่าอาเซียนจะไม่ใช้หรือออกมาตรการที่มิใช่ภาษีที่ไม่สอดคล้องกับพันธกรณีความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียนและความตกลงภายใต้องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ออกไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน 2567

• เร่งรัดการพิจารณารายการสินค้าจำเป็นที่ขยายเพิ่มขึ้นเป็นครั้งที่ 3 อย่างน้อย 100 รายการ โดยไทยขอให้มีการประเมินผลกระทบต่อการค้าก่อนพิจารณาการขยายอายุ MoU ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 13 พฤศจิกายน 2565 และพิจารณาขยายรายการสินค้าจำเป็นเพิ่มเติมก่อนที่จะเสนอต่อที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 2 ในเดือนมิถุนายน 2565 และที่ประชุม AEM ครั้งที่ 54 ในเดือนกันยายน 2565 ต่อไป

(4) การทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน - อินเดีย (ASEAN-India Trade in Goods Agreement: AITIGA)

 

• รับทราบสถานะล่าสุดที่อาเซียนกับอินเดียสามารถสรุปขอบเขตของการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน-อินเดีย และขอให้ประเทศสมาชิกเร่งดำเนินกระบวนการภายในประเทศเพื่อเตรียมเสนอให้รัฐมนตรีพิจารณาให้การรับรองในลักษณะแบบเวียนโดยเร็ว

• มอบหมายเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนหารือกับฝ่ายอินเดียในการกำหนดเวลาประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-อินเดีย รอบพิเศษ เพื่อประกาศเริ่มการทบทวนความตกลง AITIGA ต่อไป

(5) ยุทธศาสตร์ด้านความ สัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับประเทศนอกอาเซียน และแนวทางเจรจาในประเด็นใหม่

 

สนับสนุนแนวทางการพัฒนาความสัมพันธ์ ได้แก่ การเพิ่มช่องทางการเจรจา การขยายความร่วมมือ และการยกระดับความเป็นหุ้นส่วน เพื่อประโยชน์ร่วมกันกับประเทศต่างๆ โดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลางเพื่อแสดงบทบาทเชิงรุกทั้งในเวทีภูมิภาคและเวทีโลก ทั้งนี้ อาจพิจารณาถึงบทบาทและการมีส่วนร่วมของแต่ละประเทศในการสนับสนุนให้บรรลุเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของอาเซียนในอนาคต รวมทั้งประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากการยกระดับความตกลงการค้าเสรีของอาเซียนกับคู่เจรจา เช่น 1) การพัฒนาอย่างยั่งยืน 2) การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล 3) แรงงาน 4) สิ่งแวดล้อม และ 5) การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ

(6) การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม

เอเปค (APEC 2022) ของประเทศไทย

 

ไทยแจ้งที่ประชุมเกี่ยวกับการเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค ภายใต้แนวคิด เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” (Open Connect Balance) ซึ่งเชื่อมโยงกับแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ที่ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการเติบโตที่ยั่งยืนและสอดคล้องกับประเด็นที่อาเซียนให้ความสำคัญในปีนี้

(7) สถานการณ์รัสเซียยูเครน

 

• หารือเกี่ยวกับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครนที่มีต่ออาเซียน ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงไม่มากเนื่องจากมูลค่าการค้าระหว่างอาเซียนและรัสเซียอยู่ในระดับต่ำ แต่อาจมีผลกระทบปานกลางกับประเทศอาเซียนที่มีการนำเข้าวัตถุดิบหลักจากรัสเซีย เช่น เชื้อเพลิง แร่และโลหะ เหล็กและเหล็กกล้า ที่อาจกระทบต่ออุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน นอกจากนี้ อาเซียนอาจได้รับผลกระทบทางอ้อมจากเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ความผันผวนของตลาดการเงิน และการขาดช่วงของห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจของอาเซียนฟื้นตัวได้ช้าลง

• ไทยเสนอให้อาเซียนดำเนินการร่วมกันทั้งในเรื่องการเปิดตลาดสินค้า การอำนวยความสะดวกทางการค้า และความร่วมมือทางด้านพลังงาน เพื่อลดผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นในภูมิภาค

 

        2. การหารือระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับสภาที่ปรึกษาธุรกิจอาเซียน (ASEAN Business Advisory Council: ASEAN-BAC) มีการแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นที่ภาคเอกชนให้ความสำคัญและได้ดำเนินการในปี 2565 โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนสนับสนุนการดำเนินงานของภาคธุรกิจในประเด็นสำคัญในปี 2565 เช่น (1) การอำนวยความสะดวกทางการค้า (2) ความยั่งยืนและเศรษฐกิจหมุนเวียน (3) การเตรียมความพร้อมอาเซียนเพื่อก้าวไปสู่สังคมดิจิทัล และ (4) การรับมือผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของ โควิด-19 โดยเฉพาะโครงการ Digital Trade Connect ที่เริ่มโดยภาคเอกชนไทย เมื่อปี 2562 ซึ่งอยู่ระหว่างการพัฒนาช่องทางเครือข่ายการค้าดิจิทัล และโครงการ Digital Travel Wallet ซึ่งมุ่งเน้นการนำดิจิทัลมาช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทางร่วมกันในอาเซียนในช่วงการฟื้นตัวจากโควิด-19

 

GC 720x100TU720x100

 

        3. พณ. มีความเห็น/ข้อสังเกต ดังนี้

             3.1 สมาชิกส่วนใหญ่ให้การสนับสนุนการขยายบัญชีรายการสินค้าจำเป็น ครั้งที่ 3 ภายใต้ MoU ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกจำนวน 8 ประเทศ ยื่นรายการสินค้าเบื้องต้นแล้ว ยกเว้นไทยและสาธารณรัฐฟิลิปปินส์* ทั้งนี้ พบว่าอาเซียนใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีกับสินค้าภายใต้ MoU ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 กับสินค้า 226 รายการ จากทั้งหมด 259 รายการ ซึ่งรวมถึงมาตรการของไทยในสินค้า 8 รายการ แสดงให้เห็นว่า MoU ดังกล่าวไม่ได้ตัดสิทธิ์สมาชิกอาเซียนในการใช้หรือออกมาตรการที่มิใช่ภาษี โดยเป็นเพียงการแสดงเจตนารมณ์ของอาเซียนที่จะร่วมมือกันในช่วงโควิด-19 และไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย สมาชิกยังสามารถใช้หรือออกมาตรการที่มิใช่ภาษีได้เช่นเดิมหากมาตรการดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งกับพันธกรณีความตกลง ATIGA และ WTO ซึ่งจะสามารถลดข้อกังวลของ บางหน่วยงานในการใช้มาตรการที่จำเป็นได้ ทั้งนี้ ไทยอาจพิจารณาขยายรายการสินค้าภายใต้ MoU เพิ่มเติมได้โดยพิจารณาจากเจตนาและผลในทางปฏิบัติที่เกิดจาก MoU เดิมและเน้นสินค้าที่มีความเกี่ยวข้องกับสถานการณ์โควิด-19 เช่น สินค้าเวชภัณฑ์ ยา และวัคซีน

             3.2 อาเซียนอยู่ระหว่างการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีหลายฉบับ โดยปัจจุบันสามารถสรุปเอกสารหลักการการเจรจายกระดับความตกลงแล้วเสร็จ 2 ฉบับ ได้แก่ (1) ความตกลง ATIGA และ (2) ความตกลง AITIGA และอยู่ระหว่างสรุปแผนการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ภายในเดือนกันยายน 2565 ซึ่งไทยอยู่ระหว่างจัดทำกรอบการเจรจาการค้าเสรีของไทยภายใต้การเจรจาอาเซียนและอาเซียนกับคู่เจรจาฉบับใหม่ เพื่อทดแทนกรอบการเจรจาอาเซียนกับประเทศนอกกลุ่มฉบับเดิมที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีตั้งแต่ปี 2552 โดยเพิ่มประเด็นเจรจาใหม่ๆ ให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากความตกลงแต่ละฉบับมีรูปแบบและองค์ประกอบประเด็นการเจรจาที่เกิดขึ้นใหม่และขอบเขตเกินกว่ากรอบการเจรจาที่มีอยู่ โดย พณ. จะเสนอคณะรัฐมนตรีก่อนที่ไทยจะเข้าร่วมในการเจรจาต่อไป

___________________

1ฟิลิปปินส์แจ้งว่าอยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานภายในและใกล้จะได้ข้อสรุปเพื่อส่งให้สำนักเลขาธิการอาเซียน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 30 พฤษภาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A51074

 Click Donate Support Web 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!