WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030) ครั้งที่ 2

GOV4 copy

การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030) ครั้งที่ 2

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้

        1. เห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการเป็นเจ้าภาพร่วมกับสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ จัดการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030) ครั้งที่ 2 (Second Asia-Pacific Regional Education Minister’s Conference on SDG4-Education 2030 : APREMC-II) ระหว่างวันที่ 5 -7 มิถุนายน 2565 กรุงเทพมหานคร โดยใช้งบประมาณของกระทรวงศึกษาธิการ

        2. เห็นชอบร่างถ้อยแถลงของการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเซีย แปซิฟิกว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030) ครั้งที่ 2 พร้อมคำแปล

        3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ) เป็นผู้ให้การรับรองในร่างถ้อยแถลงของการประชุมดังกล่าว

        ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างถ้อยแถลงของการประชุม นอกเหนือจากสิ่งที่ปรากฏในสิ่งที่ส่งมาด้วย โดยไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงศึกษาธิการสามารถดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว

 

EXIM One 720x90 C J

 

        สาระสำคัญของเรื่อง

        1. สาระสำคัญที่จะมีการหารือในการประชุม APREMC-II ประกอบด้วย

             1) การทบทวนความก้าวหน้าเกี่ยวกับการดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (SDG4) ในระยะ 7 ปีที่ผ่านมาของประเทศแถบเอเชียและแปซิฟิก รวมถึงปัญหาท้าทายในการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDG4 ของภูมิภาค เน้นประเด็นปัญหาที่เป็นผลกระทบจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 และการรับมือ การแลกเปลี่ยนและเรียนรู้นโยบาย แนวปฏิบัติและนวัตกรรมที่จัดทำขึ้นเพื่อการฟื้นฟูและการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาภายหลังโควิด-19

             2) การอภิปรายและให้ข้อคิดเห็นต่อการดำเนินการภายใต้ 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ (1) การพื้นฟูการเรียนรู้และวิกฤตด้านการศึกษา เช่น การพัฒนาหลักสูตร แนวทางการเรียนการสอนและการประเมินผล การพัฒนาครู การศึกษาปฐมวัย การเรียนรู้และพัฒนาทักษะในผู้ใหญ่ และการอุดมศึกษา (2) การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา เช่น การศึกษาที่เท่าเทียมและครอบคลุมทุกกลุ่ม การเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล การศึกษาแบบองค์รวมที่มีความยืดหยุ่น และอนาคตทางการศึกษา และ (3) การเพิ่มการลงทุนด้านการศึกษาและพัฒนาการเปลี่ยนแปลง เช่น การจัดสรรงบประมาณ และฐานข้อมูลและการติดตามผล

             3) การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมซึ่งเป็นถ้อยแถลงของรัฐมนตรีศึกษา (Ministerial Statement) แสดงถึงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะเร่งผลักดันความก้าวหน้าด้านการศึกษาให้บรรลุเป้าหมาย SDG4 รวมถึงการดำเนินการตามแผนที่นำทาง (Roadmap) ระดับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย SDG4 โดยยูเนสโกจะจัดตั้งคณะทำงานเพื่อพิจารณาจัดทำร่างเอกสารดังกล่าว และเวียนให้ประเทศต่างๆ พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป (จะมีการรับรองเอกสารโดยไม่ลงนามในวันที่ 7 มิถุนายน 2565)

 

วิริยะ 720x100

 

        2. ขั้นตอนการดำเนินการ

        สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นหน่วยงานหลักในการจัดการจัดการประชุม APREMC-II ร่วมกับสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ โดยประสานความร่วมมือกับองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการด้านต่างๆ ดังนี้

             1) การหารือร่วมกับสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ เพื่อเตรียมการด้านสารัตถะการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และการประสานงานต่างๆ

             2) การประมาณการและจัดเตรียมงบประมาณ

             3) การหารือร่วมกับองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030) ครั้งที่ 2 ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน

             4) การประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ

        3. ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APREMC-II เป็นการแสดงศักยภาพและความพร้อมของประเทศไทยที่จะพัฒนาด้านการศึกษา ท่ามกลางบริบทของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและปัญหาท้าทายมากมาย โดยเฉพาะการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อการศึกษา ดังนั้น จึงเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทยที่จะได้มีบทบาทเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา รวมทั้งเสริมสร้างความเข้มแข็งความร่วมมือระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกในการบรรลุเป้าหมาย SDG4 ตลอดจนเป็นการสานต่อความต่อเนื่องวาระด้านการศึกษาระดับโลกที่สำคัญ และการกำหนดแผนงานการศึกษาในอนาคตระดับภูมิภาค

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 30 พฤษภาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A51070

 Click Donate Support Web 

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!