โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8 – 9 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 25 May 2022 16:39
- Hits: 5149
โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8 – 9 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอดังนี้
1. เห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งโรงไฟฟ้า แม่เมาะทดแทน เครื่องที่ 8 - 9 ขนาดกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัญญา 600 เมกะวัตต์ พร้อมระบบส่งไฟฟ้า ในวงเงินรวมทั้งสิ้น 47,470 ล้านบาท
2. อนุมัติงบประมาณประจำปี 2565 ตามแผนประมาณการเบิกจ่ายสำหรับโครงการโรงโฟฟ้า แม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8 - 9 (โครงการฯ) จำนวนเงินทั้งสิ้น 3,795 ล้านบาท
สาระสำคัญของเรื่อง
พน. รายงานว่า
1. ภาคเหนือมีอัตราการเติบโตของความต้องการใช้ไฟฟ้าเฉลี่ยร้อยละ 3.3 และมีความต้องการไฟฟ้าสูงสุด ณ วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 เท่ากับ 3,521.4 เมกะวัตต์ และคาดว่าในปี 2580 จะมีความต้องการไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 6,033 เมกะวัตต์ โดยปัจจุบันภาคเหนือมีกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัญญา 5,561.6 เมกะวัตต์ (ข้อมูล ณ พฤศจิกายน 2564) ซึ่งกำลังผลิตไฟฟ้าหลักมาจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะและรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าหงสาลิกไนต์ซึ่งตั้งอยู่ในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว1
2. โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 8 - 9 มีขนาดกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัญญา รวม 600 เมกะวัตต์ (2x300 เมกะวัตต์) และใช้ถ่านหินลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะเป็นเชื้อเพลิง โดยเริ่มเดินเครื่องผลิตไฟฟ้าเข้าระบบตั้งแต่ปี พ.ศ. 2532 และ พ.ศ. 2533 ตามลำดับ โดยปัจจุบัน โรงไฟฟ้าดังกล่าวมีอายุการใช้งานมากกว่า 30 ปี (อายุการใช้งานตามสัญญา 33 ปี และ 32 ปี) จึงมีประสิทธิภาพลดลง ประกอบกับถ่านหินลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะมีค่าแคลเซียมออกไซด์ในขี้เถ้าเฉลี่ยสูง ทำให้โรงไฟฟ้าแมเมาะที่ใช้งานอยู่ปัจจุบันไม่สามารถเดินเครื่องได้เต็มประสิทธิภาพ ประกอบกับแผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (ตามข้อ 2.2) ได้กำหนดให้ปลดโรงไฟฟ้าแม่เมาะที่ครบอายุการใช้งานออกจากระบบรวมทั้งสิ้น 1,620 เมกะวัตต์ ครอบคลุมโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 8 ซึ่งมีกำหนดปลดในปี 2565 และ เครื่องที่ 9 ในปี 2568 ส่งผลให้กำลังผลิตไฟฟ้าของภาคเหนือที่เหลืออยู่ไม่สามารถรองรับเหตุสุดวิสัย ในกรณีโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่สุดหยุดเดินเครื่องฉุกเฉิน (N-1) ได้ จึงจำเป็นต้องเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ในพื้นที่โดยการดำเนินโครงการฯ และได้พิจารณาระยะเวลาเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าทดแทนให้สอดคล้องตามปริมาณลิกไนต์สำรองที่มีอยู่ ในเหมืองแม่เมาะ เพื่อให้สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า
3. รายละเอียดและรายงานศึกษาความเหมาะสมของโครงการฯ
3.1 รายละเอียดทั่วไป
ประเด็น |
รายละเอียด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
วัตถุประสงค์ |
เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศและรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในพื้นที่ภาคเหนือ ลดการพึ่งพากำลังผลิตไฟฟ้าผ่านสายส่งจากภูมิภาคอื่น รวมถึงรักษาเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศไทย และเป็นการสนองนโยบายของรัฐบาลในด้านการใช้เชื้อเพลิงที่มีอยู่ภายในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
สถานที่ตั้ง |
ตั้งอยู่ภายในบริเวณโรงไฟฟ้าแม่เมาะ ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ทางด้านทิศใต้ของโรงไฟฟ้าปัจจุบัน ถัดจากพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 4 – 7 ใช้พื้นที่ก่อสร้างเฉพาะส่วนผลิตกระแสไฟฟ้าและระบบส่งประมาณ 145 ไร่ ซึ่งอยู่ในขอบเขตพื้นที่ของ กฟผ. ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากกรมป่าไม้ (ถึงวันที่ 31 มกราคม 2593) |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ชนิดและขนาด กำลังผลิตไฟฟ้า |
• โรงไฟฟ้าพลังความร้อนประเภทผลิตพลังงานไฟฟ้าฐานโดยใช้ถ่านหินลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง และใช้เทคโนโลยีแบบ Pulverized Coal (PC) ซึ่งเป็นวิธีการเผาไหม้ถ่านหินที่ใช้กัน อย่างแพร่หลาย • ขนาดกำลังผลิตไฟฟ้าตามสัญญา 600 เมกะวัตต์ • ประสิทธิภาพ (New and Clean) ประมาณร้อยละ 37.88 • ประสิทธิภาพเฉลี่ยตลอดอายุการเดินเครื่อง 25 ปี ประมาณร้อยละ 37.14 • กำหนดจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในปี 2569 |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เชื้อเพลิงและ ความต้องการ ใช้เชื้อเพลิง |
• มีอัตราความต้องการในการใช้ถ่านหินลิกไนต์จากเหมืองแม่เมาะของโครงการฯ สูงสุด ประมาณ 10,418 ตันต่อวัน หรือเฉลี่ยประมาณ 3.23 ล้านตันต่อปี โดยคำนวณที่ค่า ความร้อน (HHV) ของถ่านหินลิกไนต์ 3,200 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม และอัตราเดินเครื่องสูงสุดร้อยละ 85 ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 21.53 ของความต้องการรวมของโรงไฟฟ้าแม่เมาะ (ประมาณ 15 ล้านตันต่อปี) • ความต้องการใช้เชื้อเพลิงรวมประมาณ 81 ล้านตัน ตลอดอายุการเดินเครื่อง 25 ปี • เหมืองแม่เมาะมีปริมาณสำรองถ่านลิกไนต์ (Reserve) ประมาณ 237 ล้านตัน (มกราคม 2562) ซึ่งเพียงพอต่อการผลิตเพื่อจัดส่งให้โรงไฟฟ้าที่มีอยู่ [เครื่องที่ 8 - 13 (ทยอยปลดตามอายุการใช้งาน)] รวมทั้งโรงไฟฟ้าทดแทนเครื่องที่ 4 - 7 และเครื่องที่ 8 - 9 ในช่วงเดือนมกราคม 2562 ถึงธันวาคม 2593 คิดเป็นประมาณ 234 ล้านตัน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แหล่งน้ำและ ความต้องการใช้น้ำ |
• ใช้แหล่งน้ำเดียวกันกับโรงไฟฟ้าแม่เมาะปัจจุบัน ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่ขาม และแม่จาง • มีความต้องการใช้น้ำทั้งสิ้นประมาณ 44,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ได้แก่ (1) กิจกรรมภายในโรงไฟฟ้า 1,600 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน (2) ระบบหล่อเย็น 36,900 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน (3) ระบบกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ 5,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน และ (4) ขั้นตอนการเตรียมน้ำมันดิบ 500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน • ปริมาณน้ำทิ้งออกสู่ระบบบำบัดน้ำทิ้งสูงสุดประมาณ 10,251 ลูกบาศก์เมตรต่อวันโดยจะ ถูกหมุนเวียนกลับไปใช้ในระบบต่างๆ และนำไปผ่านกระบวนการบำบัดน้ำทิ้งให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานก่อนระบายลงสู่แม่น้ำจางในอัตราสูงสุดประมาณ 7,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ระบบส่งไฟฟ้า |
โรงไฟฟ้าแม่เมาะจ่ายไฟเข้าสู่ระบบไฟฟ้าของ กฟผ. ผ่านสถานีไฟฟ้าแรงสูงแม่เมาะ 3 ซึ่งมีการเชื่อมโยงกับสถานีไฟฟ้าแรงสูงแห่งอื่นๆ เพื่อส่งไฟฟ้าไปยังจังหวัดต่างๆ ด้วยสายส่งไฟฟ้าที่ระดับแรงดัน 115 230 และ 500 กิโลโวลต์ โดยโครงการฯ จะเชื่อมโยงเข้ากับระบบไฟฟ้าหลักที่สถานีไฟฟ้าแรงสูงแม่เมาะ 3 ซึ่งจะต้องก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าเพิ่มและปรับปรุงสถานีไฟฟ้าโดยใช้ระยะเวลาประมาณ 18 เดือน หรือจะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2568 ดังนี้ (1) งานก่อสร้างสายส่งไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ จากลานไกไฟฟ้า2 ของโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 8 - 9 ไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูง 230 กิโลโวลต์ แม่เมาะ 3 ระยะทางประมาณ 1,000 เมตร (2) งานขยายสถานีไฟฟ้าแรงสูง 230/115 กิโลโวลต์ แม่เมาะ 3 (3) งานระบบสื่อสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แผนการดำเนินงาน |
แผนงานโครงการ : กฟผ. จะออกหนังสือสนองรับราคาซื้ออุปกรณ์โรงไฟฟ้า (Letter of Intent;, LOI) ให้ผู้ชนะการประกวดราคา เพื่อดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาประมาณ 48 เดือน โดยมีกำหนดจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ในปี 2569 • แผนการนำส่งเงินเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า3 (กองทุนฯ) : โครงการฯ จัดอยู่ในกองทุนฯ ประเภท ก ตามระเบียบกองทุนพัฒนาไฟฟ้า เนื่องจากใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง และมีปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้ามากกว่า 5,000 ล้านกิโลวัตต์ - ชั่วโมงต่อปี หรือมีรายได้มากกว่า 50 ล้านบาทต่อปีขึ้นไป จึงต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนฯ ตลอดอายุการเดินเครื่อง ดังนี้
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ประมาณการ ค่าใช้จ่าย |
• ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 47,470 ล้านบาท ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท
• ประมาณการเบิกจ่ายรายปี ดังนี้ หน่วย : ล้านบาท
|
||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
แหล่งเงินทุน |
กฟผ. จะพิจารณาใช้เงินจากแหล่งใดแหล่งหนึ่งหรือหลายแหล่งรวมกัน ดังนี้
|
3.2 การพิจารณาความเหมาะสมของโครงการฯ
ด้าน |
รายละเอียด |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ด้านสิ่งแวดล้อม |
• มีประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าสูงกว่าโรงไฟฟ้าแม่เมาะเดิม ซึ่งจะช่วยลดปริมาณการใช้เชื้อเพลิง • มีการติดตั้งระบบควบคุมมลสารซึ่งใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อช่วยลดการปล่อยมลสารในภาพรวมมีมาตรการติดตาม ตรวจสอบ และป้องกัน เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด • ข้อมูลสมรรถนะทางเทคนิคเบื้องต้นของโครงการฯ (ปล่องระบายอากาศ)
• คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ในคราวประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564 มีมติ ดังนี้ (1) เห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมสำหรับโครงการ กิจกรรม หรือการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างร้ายแรง (Environmental Health Impact Assessment : EHIA) ของโครงการฯ ตามความเห็นของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อน ในการประชุมครั้งที่ 14/2564 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2564 โดยให้ กฟผ. ดำเนินการตามแผนลดการใช้ถ่านหินในการผลิตกระแสไฟฟ้าและใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น และให้เพิ่มเติมมาตรการเกี่ยวกับการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ตามแนวทางที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กำหนดและดำเนินการสรุปได้ ดังนี้ • ดำเนินการตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามที่กำหนดไว้ในรายงาน EHIA อย่างเคร่งครัด • ให้ตั้งงบประมาณเพื่อดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวตามที่กำหนดไว้ (2) มอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณากำหนดมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ไว้ในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้วย |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ด้านการรับฟังความคิดเห็น |
• คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 มีมติรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (รับฟังความคิดเห็นฯ) โครงการฯ ซึ่งได้ดำเนินกระบวนการทั้งในรูปแบบการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นฯ ในพื้นที่และช่องทางออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 30พฤศจิกายน 2564 ถึงวันที่ 17 ธันวาคม 2564 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้ (1) ผู้เข้าร่วม รวมทั้งสิ้นจำนวน 2,969 คน ได้แก่ - ประเภท : (1) ประชาชนในพื้นที่รอบโครงการ 1,593 ราย (ร้อยละ 53.7) (2) ประชาชนทั่วไปที่สนใจ 773 ราย (ร้อยละ 26.2) และหน่วยงานราชการในระดับต่างๆ 42 ราย (ร้อยละ 1.4) - พื้นที่ (ตำบล) : แม่เมาะ 671 ราย (ร้อยละ 22.6) สบป้าด 369 ราย (ร้อยละ 12.4) นาสัก 295 ราย (ร้อยละ 9.9) จางเหนือ 164 ราย (ร้อยละ 5.5) และบ้านดง 94 (ร้อยละ 3.3) (2) ความคิดเห็นฯ และข้อเสนอแนะของคณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นฯ ประชาชนส่วนใหญ่แสดงออกถึงความเชื่อมั่นกับเทคโนโลยีของโครงการฯ รวมทั้งมาตรการต่างๆ ที่ถูกจัดทำขึ้นตามรายงาน EHIA สามารถครอบคลุมและตอบปัญหาที่ประชาชนห่วงกังวล อย่างไรก็ตาม ยังคงมีประเด็นที่ประชาชนยังให้ความห่วงใยเป็นพิเศษ เช่น - กฟผ. ควรหาเทคโนโลยีในการดักจับและกักเก็บหรือเปลี่ยนให้เป็นเคมีภัณฑ์ชนิดอื่นหรือทำการปลูกป่าเพื่อส่งเสริมการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิที่เป็นศูนย์ (Net Zero) - กกพ. ควรให้ กฟผ. จัดทำแผนบูรณาการทางด้านน้ำอย่างเป็นรูปธรรมครอบคลุมระยะเวลาของอายุโรงไฟฟ้า โดยควรมีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามปริมาณการใช้น้ำและสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง รวมทั้งการจัดการปัญหาทางด้านกลิ่นจากแหล่งน้ำตามฤดูกาลด้วย - กฟผ. อาจพิจารณานำระบบวงจรตัดเสียงรบกวน (Noise Cancellation) มาติดตั้งตามบ้านเรือนที่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติม เพื่อแก้ปัญหาเสียงรบกวนในยามวิกาล - มาตรการด้านการจราจรยังมีความไม่สมบูรณ์ อาทิ ระบบสัญญาณไฟจราจรที่ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุเป็นระยะ ดังนั้น กฟผ. ควรร่วมมือกับกรมทางหลวงสำรวจและทำการแก้ไขจุดบกพร่อง โดยระหว่างก่อสร้างควรกำกับให้รถที่เข้าออกโครงการติดป้ายให้ชัดเจนบริเวณกระจกรถด้านข้างทั้ง 2 ข้าง และด้านท้าย ระบุชื่อโครงการ หน่วยงาน และเบอร์ติดต่อ - ประชาชนยังมีความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่อาจมีความรุนแรงขึ้น ดังนั้น กฟผ. ควรจัดทำแผนฉุกเฉินเพิ่มเติมเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 โดยยึดหลักป้องกันเป็นพื้นฐานสำคัญ - ควรคำนึงถึงมาตรการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศต่างๆ ในสภาวะภูมิอากาศทั่วไปไม่อำนวย เช่น ท้องฟ้าปิดในฤดูหนาวที่จะส่งผลให้เกิดหมอกควัน โดยควรดำเนินการเร่งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และช่วยเหลือประชาชนให้สวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างทั่วถึง - ควรเปิดโอกาสให้ผู้นำชุมชน ตัวแทนภาคประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมดำเนินงานติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมทุกครั้ง และในการใช้จ่ายเงินกองทุนพัฒนาไฟฟ้า กองทุนสนับสนุนจาก กฟผ. หรือกิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ควรเน้นสร้างพื้นฐานเศรษฐกิจชุมชนให้เข้มแข็ง และยกมาตรฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกทางสังคมเป็นหลัก |
||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ด้านเศรษฐศาสตร์ และการเงิน |
มีความคุ้มค่าในการลงทุนและให้ผลตอบแทนการลงทุน โดยมีอัตราผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) ร้อยละ 6.99 และคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์สุทธิทางด้านเศรษฐศาสตร์ จำนวน 5,928 ล้านบาท โดยราคาขายไฟฟ้าของโครงการฯ ไม่สูงกว่าผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ที่ใช้ถ่านลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิง โดยมีผลการวิเคราะห์สรุปได้ ดังนี้
|
_______________________
1กำลังผลิตไฟฟ้าหลักของภาคเหนือมาจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะเครื่องที่ 8 – 13 และโรงไฟฟ้าแม่เมาะทดแทนเครื่องที่ 4 – 7 กำลังผลิตตามสัญญารวม 2,220 เมกะวัตต์ และรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าหงสาลิกไนต์ เครื่องที่ 1 – 3 กำลังผลิต 1,473 เมกะวัตต์
2ลานไกไฟฟ้า (Switchyard) ทำหน้าที่ตัดต่อวงจงไฟฟ้าและระบบส่งไฟฟ้า
3กองทุนพัฒนาไฟฟ้า คือ กองทุนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทุนสนับสนุนให้มีการให้บริการไฟฟ้าไปยังท้องที่ต่างๆ อย่างทั่วถึง กระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่น พัฒนาชุมชนในท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานของโรงไฟฟ้า ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีในการประกอบกิจการไฟฟ้าที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย โดยคำนึงถึงความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ใช้ไฟฟ้า
4ค่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จะมีผลในการแผ่รังสี (radiative forcing) เท่ากันกับก๊าซเรือนกระจกต่างๆ โดยค่าคาร์บอนเทียบเท่านี้จะมีหน่วยเป็นส่วนในล้านส่วนโดยปริมาตร (ppmv)
5ค่าความพร้อมจ่ายพลังไฟฟ้า (Availability Payment: AP) ประกอบด้วย ประมาณการภาระเงินกู้ผลตอบแทนส่วนทุนค่าใช้จ่ายคงที่ในการเดินเครื่องและบำรุงรักษา และค่าใช้จ่ายด้านประกันภัย
6ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment: EP) ประกอบด้วย ค่าเชื้อเพลิง ค่าใช้จ่ายผันแปรในการเดินเครื่องบำรุงรักษา และเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า (ระหว่างดำเนินการผลิต)
7คู่มือแนวทางและหลักเกณฑ์การวิเคราะห์โครงการ พ.ศ. 2555 (ฉบับปรับปรุง) ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่า สำหรับการวิเคราะห์ความเหมาะสมทางการเงินของโครงการ อัตราผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Internal Rate of Return: FIRR) ควรมากกว่าอัตราเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักต้นทุนเงินลงทุนของโครงการ (Weighted Cost of Capital: WACC) ในขณะที่การวิเคราะห์ความเหมาะสมทางด้านเศรษฐกิจของโครงการ ที่ผ่านมา สศช. ได้กำหนดเกณฑ์อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return : EIRR) ที่เหมาะสมอยู่ระหว่างร้อยละ 9 – 12 แล้วแต่ลักษณะของโครงการ
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 24 พฤษภาคม 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A5841