WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานประจำปี 2564 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

GOV9

รายงานประจำปี 2564 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอ รายงานประจำปี 2564 ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี* (สสวท.) (เป็นการดำเนินการตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี .. 2541 ที่บัญญัติให้ สสวท. จัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยแสดงงบดุลบัญชีทำการและบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีรับรองว่าถูกต้องพร้อมกับรายงานของผู้สอบบัญชี รวมทั้งแสดงผลงานของ สสวท. ในปีที่ล่วงมาและแผนงานที่จะจัดทำในปีต่อไปภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชีและให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอรายงานประจำปีต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. ผลการดำเนินงานของ สสวท. ประจำปี 2564 ใน 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

                 1.1 การพัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นการปฏิบัติการและการสร้างความเข้าใจในระดับที่เหมาะสมกับนักเรียนแต่ละกลุ่มโดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น การพัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหาและกระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ผ่านสื่อประกอบหนังสือเรียนและคู่มือครู สื่อเสริมการเรียนรู้ที่เน้นรูปแบบดิจิทัล สามารถนำไปใช้ศึกษาต่อเป็นนักนวัตกรตามแนวทาง KOSEN** รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ และการวิจัย วัดผล และประเมินผลการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีระดับประเทศและระดับนานาชาติ และการวิจัยติดตามการใช้หลักสูตร สื่อ การเรียนรู้ และพัฒนาเกณฑ์การประเมินสื่อการเรียนรู้

                 1.2 การขับเคลื่อนการพัฒนาและยกระดับการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และสถานศึกษา ผ่านเครีอข่าย สสวท. ให้มีคุณภาพทั่วประเทศอย่างเป็นระบบ เช่น การพัฒนาระบบบริหารจัดการเครือข่ายเพื่อขยายการให้บริการหลักสูตร สื่อและกระบวนการจัดการเรียนรู้ของ สสวท. การปรับการเรียนเปลี่ยนการสอนของครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสะเต็มศึกษา *** ตามแนวทาง สสวท. โดยการจัดอบรมและพัฒนาครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีในรูปแบบออนไลน์ มีผู้เข้ารับการอบรม 44,939 คน และการสร้างเครื่อข่ายความร่วมมือนานาชาติ เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากนี้ ได้มีการส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) โดยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร สื่อ และกระบวนการเรียนรู้สาระเทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ)

 

ais 720x100

 

                 1.3 การขับเคลื่อนกระบวนการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้เน้นความเข้าใจ ลงมือปฏิบัติการ และสามารถนำไปใช้จริงทั้งในและนอกระบบตามแนวทาง สสวท. เช่น การพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ โดยการพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้แบบออนไลน์ My IPST และนำมาทดลองใช้กับครูในโรงเรียนนำร่อง 6 โรงเรียน โดยพบว่าครูมีความพึงพอใจระบบดังกล่าวในระดับดีมาก ร้อยละ 54 ระดับดี ร้อยละ 34 และปานกลาง ร้อยละ 12 รวมทั้งมีการพัฒนาระบบต่างๆ อีก 4 ระบบ เช่น ระบบการสอบออนไลน์ระบบอบรมครูออนไลน์ โดยในปี 2564 มีผู้ใช้งานในระบบต่างๆ รวม 23.2 ล้านราย นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาและส่งเสริมการใช้เครื่องมือในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยให้สอดคล้องกับกระบวนการจัดการเรียนการสอน ตามแนวทาง สสวท. เช่น จัดทำกรอบการสร้างข้อสอบ TCAS 65 จำนวน 6 ฉบับ ต้นร่างข้อสอบ TCAS 65 จำนวน 12 ฉบับ และรายงานผลการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบที่คัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2564

                 1.4 การเร่งรัดพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิดศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมตามนโยบายประเทศไทย 4.0 เช่น การบริหารการผลิตครูที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สควค.) โดยได้พัฒนาโปรแกรมเสริมให้ผู้รับทุนโครงการ สควค. ระยะที่ 4 ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท การบริหารการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) โดยคัดเลือกนักเรียนและนักศึกษาเข้าร่วมโครงการแบ่งเป็นระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 35 ทุน และระดับอุดมศึกษา จำนวน 64 ทุน นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนทุนการศึกษานักเรียน นักศึกษา และครูเพื่อพัฒนาให้เป็นผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และตอบสนองต่อความต้องการของประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทุน พสวท. จำนวน 1,605 ทุน ทุน สควค. จำนวน 13 ทุน และทุนโอลิมปิกวิชาการ จำนวน 186 ทุน

                 1.5 การส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพิ่มการยอมรับ สสวท. ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยีของเยาวชนให้ทันสมัย เช่น การพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ และสมรรถนะตามกลุ่มงานอย่างเป็นระบบ ผ่านการจัดทำแผนพัฒนาองค์กรและบุคลากรแบบก้าวกระโดดเพื่อไปสู่การเป็นองค์กร 4.0 มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการทำงานของ สสวท. และสร้างความตระหนักรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เช่น การเสริมสร้างศักยภาพด้านการสื่อสารภาพลักษณ์องค์กร โดยจัดทำเนื้อหาและสื่อส่งเสริมการเรียนรู้และเผยแพร่ผ่านช่องทางออนไลน์ จำนวน 628 ชิ้น การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์เชิงบวก โดยจัดทำข่าวสารเผยแพร่สื่อมวลชน จำนวน 213 ชิ้น นอกจากนี้ สสวท. ได้ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายจัดประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ในโรงเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 24 รูปแบบออนไลน์ในหัวข้อนวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อทักษะในศตวรรษที่ 21” โดยมีผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 19,508 คน

 

aia 720 x100

 

          2. รายงานของผู้สอบบัญชีและรายงานการเงินของ สสวท. สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

หน่วย:ล้านบาท

รายการ

ปี 2564

ปี 2563

เพิ่มขึ้น/(ลดลง)

1. งบแสดงฐานะการเงิน วันที่ 30 กันยายน 2564

     

    รวมสินทรัพย์

1,773.96

1,772.79

1.17

    รวมหนี้สิน

281.78

298.72

(16.94)

    รวมสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน

1,492.18

1,474.07

18.11

2. งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564

    รวมรายได้

1,800.12

1,781.56

18.56

    รวมค่าใช้จ่าย

1,782.00

1,893.54

(111.54)

    รายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ

18.12

(111.98)

130.10

 

หมายเหตุ : ปี 2564 ค่าใช้จ่ายที่ลดลงส่วนใหญ่ คือ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานร่วมกับส่วนราชการ ค่าตอบแทนและค่าใช้สอย

___________________________

*สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม ค้นคว้า และวิจัยหลักสูตร วิธีสอน และการประเมินผลการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลย์ในทุกระดับการศึกษา ส่งเสริม และดำเนินการฝึกอบรมครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา รวมทั้งดำเนินการค้นคว้า ปรับปรุง และจัดทำแบบเรียน เอกสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

**แนวทาง KOSEN เป็นแนวทางการศึกษาที่เน้นการปฏิบัติการและการวิจัยโดยใช้วิทยาศาสตร์เป็นฐาน มุ่งเน้น และส่งเสริมองค์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ วิศวกรรมศาสตร์ ปัจจุบันประเทศไทยได้ร่วมมือกับสถาบัน KOSEN ประเทศญี่ปุ่น พัฒนาหลักสูตรการศึกษาพิเศษตามแนวทาง KOSEN ที่สถาบันไทย KOSEN 2 แห่ง ได้แก่ สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

***สะเต็มศึกษา เป็นแนวทางการจัดการศึกษาที่ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ไปใช้ในการเชื่อมโยงและแก้ปัญหาในชีวิตจริง รวมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 เช่น ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม และทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 24 พฤษภาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5840

 Click Donate Support Web 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!