WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส (Implementing Agreement to the Paris Agreement between the Kingdom of Thailand and the Swiss Confederation)

GOV 7

ข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส (Implementing Agreement to the Paris Agreement between the Kingdom of Thailand and the Swiss Confederation)

        คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้

        1. เห็นชอบต่อข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส (Implementing Agreement to the Paris Agreement between the Kingdom of Thailand and the Swiss Confederation) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขข้อตกลงฯ ที่มิใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก

        2. เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่การกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้มีอำนาจลงนามในข้อตกลงฯ

        3. มอบหมายกระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full powers) เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมลงนามในข้อตกลงฯ

        4. มอบหมายกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงานตามข้อตกลงนี้ และองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับมาตรฐานของกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกและระบบทะเบียน

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

 

        สาระสำคัญของเรื่อง 

        1. สาระสำคัญของข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส (Implementing Agreement to the Paris Agreement between the Kingdom of Thailand and the Swiss Confederation) มีวัตถุประสงค์ (Objective) เพื่อจัดทำกรอบความร่วมมือโดยความสมัครใจในการดำเนินงาน และ/หรือ การยอมรับการถ่ายโอนผลการลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศเพื่อใช้สำหรับการบรรลุ NDC หรือเพื่อความมุ่งประสงค์การลดก๊าซเรือนกระจกระหว่างประเทศอื่น โดยภาคีทั้งสองฝ่ายต้องส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืนและประกันความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมและความโปร่งใส รวมถึงในการกำกับดูแล และใช้การจัดทำบัญชีที่เข้มข้น รวมถึงการหลีกเลี่ยงการนับซ้ำ

        2. ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ

             1) การลงนามในข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส เปิดโอกาสให้ประเทศไทยสามารถใช้แนวทางความร่วมมือที่มีการใช้ผลการลดก๊าซเรือนกระจกที่ถ่ายโอนระหว่างประเทศตามข้อ 6.2 ของความตกลงปารีส เพื่อสนับสนุนการบรรลุ NDC ของประเทศ และขับเคลื่อนการมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero GHG emission)

             2) การลงนามในข้อตกลงการดำเนินงานภายใต้ความตกลงปารีสระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาพันธรัฐสวิส เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนในประเทศไทยสามารถยื่นเอกสารข้อเสนอกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อขอรับการอนุญาตให้สามารถใช้เป็นผลการลดก๊าซเรือนกระจกที่ถ่ายโอนระหว่างประเทศภายใต้ข้อ 6.2 ของความตกลงปารีส อันจะนำมาชึ่งการเข้าถึงเงินทุนระหว่างประเทศ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการขายผลการลดก๊าซเรือนกระจกที่ถ่ายโอนระหว่างประเทศที่ได้รับการอนุญาตดังกล่าว

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 17 พฤษภาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5589

 Click Donate Support Web 

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!