WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มสาขาอาชีพ 16 สาขา

GOV5 copy

การกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มสาขาอาชีพ 16 สาขา

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 11) ประกาศ วันที่ 11 กุมภาพันธ์ .. 2565 ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และให้ประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับต่อไป โดยให้ รง. รับความเห็นของกระทรวงพาณิชย์ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          สาระสำคัญของเรื่อง

          รง. รายงานว่า พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 79 (4) บัญญัติให้คณะกรรมการค่าจ้างมีอำนาจหน้าที่กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ1 และมาตรา 87 วรรคสี่ บัญญัติให้ในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ ให้คณะกรรมการค่าจ้างศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในแต่ละอาชีพตามมาตรฐานฝีมือที่กำหนดไว้ โดยวัดค่าทักษะฝีมือ ความรู้ และความสามารถ แต่ต้องไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนด [ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 10) ประกาศ วันที่ 6 ธันวาคม .. 2562 กำหนดให้อัตราค่าจ้างขั้นต่ำเท่ากับ 313 - 336 บาท/วัน ตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม .. 2563 เป็นต้นมา] และมาตรา 88 บัญญัติให้คณะกรรมการค่าจ้างประกาศกำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ โดยเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งในการจัดทำอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ คณะกรรมการค่าจ้างได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ (คณะอนุกรรมการฯ) จำนวน 3 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการฯ กลุ่มสาขาอาชีพช่างก่อสร้าง คณะอนุกรรมการฯ กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ และคณะอนุกรรมการฯ กลุ่มสาขาอาชีพภาคบริการ เพื่อศึกษาและจัดทำ (ร่าง) อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มสาขาอาชีพ จำนวน 16 สาขา (ร่างอัตราค่าจ้างฯ) เสนอคณะกรรมการค่าจ้างพิจารณา โดยได้พิจารณาข้อมูลผล การสำรวจความคิดเห็นสถานประกอบกิจการ ลูกจ้างและผู้ผ่านการทดสอบฝีมือแรงงานแห่งชาติ ลักษณะการทำงานในแต่ละสาขา การจ่ายค่าจ้างจริงในตลาดแรงงาน และความสามารถในการจ่ายของนายจ้าง รวมถึงความเห็นของผู้เข้าร่วมสัมมนา ทั้งนี้ คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 212 (รองปลัดกระทรวงแรงงานเป็นประธาน) ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2565 ได้พิจารณา (ร่าง) อัตราค่าจ้างฯ ตามที่คณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 3 คณะเสนอ โดยมีมติ ดังนี้

 

วิริยะ 720x100

 

          1. เห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ 3 กลุ่มสาขาอาชีพ (กลุ่มสาขาอาชีพเดิม 2 กลุ่ม และกำหนดเพิ่มเติมขึ้นใหม่ 1 กลุ่ม) จำนวน 16 สาขา (กำหนดขึ้นใหม่) ที่คณะอนุกรรมการฯ ทั้ง 3 คณะเสนอ ดังนี้

หน่วย : บาท/วัน

กลุ่มสาขาอาชีพ/สาขา

ระดับ 1

ระดับ 2

ระดับ 3

กลุ่มสาขาอาชีพช่างก่อสร้าง (กลุ่มสาขาอาชีพเดิม)

     

1. สาขาช่างติดตั้งยิปซัม

450

595

-

2. สาขาช่างเขียนแบบก่อสร้างด้วยคอมพิวเตอร์

645

-

-

3. สาขาช่างปูกระเบื้องผนังและพื้น

450

550

650

4. สาขาช่างสีอาคาร

465

600

-

5. สาขาช่างก่อและติดตั้งคอนกรีตมวลเบา

475

575

-

กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ (กลุ่มสาขาอาชีพที่กำหนดเพิ่มเติมในครั้งนี้)

1. สาขาช่างเครื่องประดับ (รูปพรรณ)

450

550

650

2. สาขาช่างประกอบติดตั้งเฟอร์นิเจอร์

430

550

-

3. สาขาช่างฝีมือเครื่องประดับแนวอนุรักษ์ (เทคนิคโบราณ)

525

-

-

4. สาขาช่างเครื่องถม

625

-

-

กลุ่มสาขาอาชีพภาคบริการ (กลุ่มสาขาอาชีพเดิม)

     

1. สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม ไทยสัปปายะ (หัตถบำบัด)

460

575

-

2. สาขาผู้ประกอบขนมอบ

400

505

-

3. สาขาพนักงานต้อนรับส่วนหน้า

440

565

-

4. สาขาพนักงานแผนกบริหารอาหารและเครื่องดื่มในธุรกิจโรงแรมและภัตตาคาร

440

-

-

5. สาขาช่างแต่งผมสตรี

440

510

650

6. สาขาช่างแต่งผมบุรุษ

430

500

630

7. สาขาการดูแลผู้สูงอายุ

500

-

-

 

หมายเหตุ : มาตรฐานฝีมือแรงงาน คือ ข้อกำหนดทางวิชาการที่ใช้เป็นเกณฑ์วัดระดับฝีมือ ความรู้ ความสามารถและทัศนคติในการทำงานของผู้ประกอบอาชีพสาขาต่างๆ ของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยแบ่งเกณฑ์วัดระดับฝีมือแรงงานเป็น 3 ระดับ และจะมีรายละเอียดของเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานที่แตกต่างกันในแต่ละสาขา ซึ่งผู้ที่ผ่านการทดสอบจะได้รับใบรับรองผ่านการทดสอบของกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

 

          2. เห็นชอบวันที่ประกาศอัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือมีผลใช้บังคับ คือ เก้าสิบวันหลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

___________________________

1 อัตราค่าจ้างตามมาตรฐานฝีมือ หมายความว่า อัตราค่าจ้างที่คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดขึ้นในแต่ละสาขาอาชีพตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน .. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อคุ้มครองลูกจ้างที่ผ่านการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในแต่ละสาขาอาชีพและแต่ละระดับให้ได้รับค่าจ้างที่เหมาะสมและเป็นธรรม อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้ลูกจ้างมีการพัฒนาฝีมือแรงงานและมีผลิตภาพแรงงานเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับการพัฒนาของประเทศและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมถึง เพิ่มศักยภาพแรงงานไทยให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ

2 คณะกรรมการค่าจ้างชุดปัจจุบัน คือ คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 21 โดยคณะกรรมการค่าจ้างแต่ละชุดจะได้รับ การแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งวาระละ 2 ปี

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 10 พฤษภาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5280

 Click Donate Support Web 

EXIM One 720x90 C J

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!