WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 11 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-28 กุมภาพันธ์ 2565)

GOV

 

 

สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 11 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-28 กุมภาพันธ์ 2565)

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอ สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 11 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-28 กุมภาพันธ์ 2565) สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. นโยบายหลัก 9 ด้าน

  

 

นโยบายหลัก

 

มาตรการ/การดำเนินการที่สำคัญ

1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์

 

1.1) กิจกรรมผู้นำต้นแบบตัวอย่างที่เห็นจริง/ผู้นำต้องทำก่อน ได้น้อมนำ แนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ปลูกผักสวนครัวเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างต่อเนื่อง โดยดำเนินการแล้ว 76 จังหวัด มีผู้นำที่เข้าร่วม 110,201 คน

1.2) พิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ ประชาสัมพันธ์ทางเพจเฟซบุ๊กพิราบลายพรางเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันฯ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มียอดถูกใจเพจ 11,361 คน และมียอดกดติดตามเพจ 12,104 คน

2) การสร้างความมั่นคงความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ

 

2.1) ป้องกันการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย สามารถจับกุมผู้ลักลอบ เข้าเมืองโดยผิดกฎหมายผ่านชายแดนทางบก 366 ครั้ง และผู้ต้องหา 5,508 คน

2.2) โครงการเฝ้าระวังเว็บไซต์ผิดกฎหมาย มีคำสั่งศาลให้ระงับการแพร่หลาย ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ผิดกฎหมาย 18 คำสั่งศาล รวม 341 URLs

3) การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม

 

3.1) เปิดพิพิธภัณฑ์สึนามิบ้านน้ำเค็ม ตำบลบางม่วง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา เพื่อเป็นสถานที่รำลึกถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 และเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก สร้างงาน และสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่

3.2) จัดงานแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์วัฒนธรรมชุมชนไทย CCPOT GRAND EXPOSITION ระหว่างวันที่ 16-20 กุมภาพันธ์ 2565 ศูนย์การค้าพารากอน และผ่านระบบออนไลน์ มีผู้เข้าเยี่ยมชมจาก 20 ประเทศ มีผู้ซื้อรายใหญ่เข้าร่วมเจรจา 70 ราย และสามารถจับคู่เจรจาธุรกิจ ได้ถึง 265 คู่ มียอดสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้ามูลค่ากว่า 2 ล้านบาท

3.3) จัดกิจกรรมทางพุทธศาสนา เนื่องในวันมาฆบูชา .. 2565 โดยมีกิจกรรมทำบุญตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา ในรูปแบบปกติ สถานที่ที่กำหนด และจัดกิจกรรมผ่านระบบออนไลน์

4) การสร้างบทบาทของไทย

ในเวทีโลก

 

4.1) สานต่อความร่วมมือรอบด้านการค้า การลงทุน การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เทคโนโลยีการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 นายแร็มโก โยฮันเนิส ฟัน ไวน์คาร์เดินเอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทยเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรีในโอกาสเข้ารับหน้าที่และหารือเกี่ยวกับความร่วมมือ เช่น การฟื้นการเจรจา FTA ไทย-EU

4.2) มุ่งสร้างความเป็นหุ้นส่วนไทย-สหภาพยุโรปทุกมิติ เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 นายเดวิด เดลี เอกอัครราชทูตสหภาพยุโรปประจำประเทศไทยเข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี เนื่องในโอกาสเข้ารับตำแหน่งใหม่และหารือในประเด็นความร่วมมือที่สำคัญ เช่น ด้านยุทธศาสตร์เพื่อความร่วมมือในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกของสหภาพยุโรป

 

5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย

 

เรื่อง

 

มาตรการ/การดำเนินการที่สำคัญ

(1) พัฒนาภาคอุตสาหกรรม

 

(1.1) กิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาสังคมในนิคมสร้างตนเอง (ขับเคลื่อนการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในนิคมสร้างตนเอง) โดยใช้โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว [Bio-Circular- Green (BCG) Economy] โดยส่งเสริมและสนับสนุนศักยภาพกลุ่มเป้าหมาย 203 คน

(1.2) ผลักดันจันทบุรีสู่นครอัญมณีของโลก โดยจัดงานเทศกาลนานาชาติพลอยและเครื่องประดับจันทบุรี 2021-2022” ภายใต้แนวคิด “Chanthaburi : City of Gems” ระหว่างวันที่ 3-7 กุมภาพันธ์ 2565 มีผู้เข้าร่วมงาน 11,480 คน สร้างเม็ดเงินเข้าสู่อุตสาหกรรมบริการและท่องเที่ยวในช่วงที่มีการจัดงาน มากกว่า 200 ล้านบาท

(2) พัฒนาภาคเกษตร

 

(2.1) นำโมเดล BCG ขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบองค์รวมในจังหวัดราชบุรี โดยนำผลงานวิจัยการบริหารจัดการน้ำระดับแปลงเกษตรกรด้วยระบบน้ำหยดสำหรับอ้อยโดยคาดว่าจะสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตอ้อยในพื้นที่ได้อย่างน้อย 1.5 เท่า และสร้างรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยมากกว่า 2,000 บาท ต่อไร่ ต่อปี

(2.2) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (วันที่ 1 ตุลาคม 2564-28 กุมภาพันธ์ 2565) เช่น ควบคุม ตรวจสอบ และรายงานผลการเข้าออกเรือประมงพาณิชย์ 78,061 ครั้ง และตรวจสอบการนำเข้าสินค้าประมงจากเรือประมงต่างประเทศ 10,488 ครั้ง

(3) พัฒนาภาคการ

ท่องเที่ยว

 

(3.1) นำคณะนักท่องเที่ยวชาวซาอุดีอาระเบีย 71 คน เดินทางเข้าราชอาณาจักรไทย โดยเที่ยวบินปฐมฤกษ์สายการบิน Saudia Airlines เที่ยวบิน SV 846 จากเมืองเจดดาห์-กรุงริยาด ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย-กรุงเทพมหานคร (กรุงเทพฯ) เที่ยวบินแรกในรอบ 32 ปี

(3.2) กระตุ้นและพลิกฟื้นเศรษฐกิจ โดยการจัดงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทยครั้งที่ 40 ประจำปี 2565 สวนลุมพินี เพื่อเป็นการเปิดมุมมองประสบการณ์ใหม่ของการท่องเที่ยวและกระตุ้นให้ผู้คนอยากเดินทางท่องเที่ยว

(4) พัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐาน

 

ดำเนินโครงการก่อสร้างงานโยธา โดยเดินหน้าก่อสร้างมอเตอร์เวย์ สาย 82 ทางยกระดับบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงเอกชัย-บ้านแพ้ว เพื่อเสริมศักยภาพระบบการขนส่งทางถนนพื้นที่กรุงเทพฯ เชื่อมต่อภาคใต้ มีระยะทางรวม 16.4 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้าง 18,759 ล้านบาท และมีแผนเปิดให้บริการในปี 2568

(5) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ

 

(5.1) จัดงานสัมมนา Thailand Digital Competitiveness 2022 ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อสื่อสารข้อมูลสถานะความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 500 คน

(5.2) ลงนามความร่วมมือเพื่อนำร่อง 10 บริการ ผ่านระบบคลาวด์กลางภาครัฐ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมลงนามบันทึกความเข้าใจกับบริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด (AWS) เพื่อนำบริการคลาวด์ของ AWS เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบคลาวด์กลางภาครัฐ เพื่อใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานระบบคลาวด์ทั่วโลกของ AWS

(6) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรม

 

(6.1) จัดงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2564-2565 ครั้งที่ 23 ภายใต้แนวคิดวิถีใหม่ ใส่ใจชีวิต สู่สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมโดยได้มีการเผยแพร่ความก้าวหน้าผลงานสิ่งประดิษฐ์ไทยสู่สาธารณชน และรวบรวมผลงานประดิษฐ์คิดค้นกว่า 1,000 ผลงาน

(6.2) ขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ BCG วิจัยและพัฒนาแมลงเป็นแหล่งโปรตีนเสริมอาหารสัตว์ ใช้ประโยชน์จากจิ้งหรีดมาเป็นสัตว์เศรษฐกิจ ซึ่งได้นำไปสู่การร่วมวิจัยกับหน่วยงานระดับนานาชาติ

 

6) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก

 

6.1) โครงการพัฒนาเยาวชนชนเผ่าเป็นผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและเป้าหมายชีวิตใหม่ให้แก่ชาวเขา 9 ชนเผ่า เช่น กะเหรี่ยง ม้งและลาหู่ รวมทั้งราษฎรที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพอยู่ในพื้นที่สูงไม่ต่ำกว่า 3 ปี โดยการฝึกอบรมให้ความรู้ เช่น ด้านออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับสินค้า และฝึกอบรมด้านอาชีพให้กับกลุ่มล่ามภาษามือ

6.2) ดำเนินโครงการ “SMART LOCAL by DBD” พาณิชย์ ช่วยเหลือผู้ประกอบการสินค้าชุมชน เพื่อยกระดับศักยภาพสินค้าชุมชนในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ โดยมีกิจกรรม เช่น SMART LOCAL SHOP ภายใต้แคมเปญช้อปฟิน ของเด่นพื้นที่ ของดีพื้นถิ่นและ SMART LOCAL BCG เปลี่ยนให้เกิดการรักชุมชน รักษ์โลก ภายใต้แนวคิด BCG-Economy Model คาดว่าจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้กว่า 50 ล้านบาท

7) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย

 

7.1) โครงการ “SAFE สถานศึกษาปลอดภัยกระทรวงศึกษาธิการได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ 8 กระทรวง 2 หน่วยงาน เพื่อจัดการปัญหาความปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับนักเรียนและเยาวชน เช่น ภัยจากการใช้ความรุนแรง อุบัติเหตุ โดยจัดตั้งศูนย์ MOE Safety Center เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันที่สามารถติดตามแก้ไขได้ถึงต้นตอของปัญหาเด็กและเยาวชนที่ได้รับผลกระทบสามารถแจ้งเหตุได้

7.2) จัดการศึกษาที่แตกต่างจากมาตรฐานการอุดมศึกษา จัดทำข้อเสนอแนวทางการจัดการศึกษาฯ ซึ่งเป็นแนคิดที่เกิดจากความตระหนักถึงความจำเป็นในการปรับเปลี่ยนการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทยให้ทันกับบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยออกข้อกำหนด เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการจัดการศึกษาฯ .. 2564 เพื่อเป็นหลักเกณฑ์และแนวทางสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในการเสนอขอจัดการศึกษาฯ

8) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม

 

โครงการนำร่องโรงพยาบาลอัจริยะ เพื่อวางรากฐานการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารไร้สายระบบ 5G โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ สนับสนุนงบประมาณดำเนินการในปีแรกของโครงการศิริราชต้นแบบโรงพยาบาลอัจฉริยะระดับโลกด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G” เช่น พัฒนาเชื่อมต่อระบบทำนายปริมาณ การใช้เพื่อการบริหารการจัดการสินค้าคงคลัง ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่ทางการแพทย์

9) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน

 

9.1) แก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วไหลจากการกู้ท่อน้ำมัน จังหวัดระยอง โดยหาสาเหตุป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำมันรั่วไหล พร้อมทั้งกำชับให้กรมควบคุมมลพิษพิจารณาการใช้สารช่วยกระจายตัว (Dispersant) อย่างละเอียดรอบคอบ รวมทั้งให้จังหวัดทำความเข้าใจและดูแลประชาชนให้ได้รับความพอใจในการเยียวยา ตลอดจนเร่งดำเนินคดีจากความเสียหายต่อประชาชน

9.2) การดำเนินงานการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน .. 2564 โดยเปรียบเทียบจุดความร้อน (Hotspot) ระบบชุดเครื่องวัดรังสีอินฟราเรดที่มองเห็นได้ ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทั่วประเทศ ระหว่างปี 2563 และปี 2564 โดยในภาพรวมทั่วประเทศมี Hotspot ที่ลดลงจาก 85,714 เหลือ 33,230

 

ais 720x100

EXIM One 720x90 C J

 

          2. นโยบายเร่งด่วน 9 เรื่อง 

 

นโยบายเร่งด่วน

 

มาตรการ/การดำเนินการที่สำคัญ

1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน

 

1.1) ลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน ลง 3 บาทต่อลิตร มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์-20 พฤษภาคม 2565

1.2) โครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนและเป็นค่าลงทุน อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปีแรก โดยตั้งแต่ปีที่ 4 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ยตามเกณฑ์ปกติของธนาคาร ผลการดำเนินงาน วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 อนุมัติสินเชื่อแล้ว 3,508 ราย เป็นเงิน 15,888 ล้านบาท

1.3) การบริหารจัดการที่ดินในรูปแบบสวัสดิการสังคม (สมาชิกนิคม) เพื่อช่วยเหลือราษฎรยากจนที่ขาดแคลนที่ดินทำกินและออกหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (นค.3) ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีสมาชิกได้รับบริการ 309 คน

2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน

 

2.1) โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยโอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-28 กุมภาพันธ์ จำนวน 20,343.85 ล้านบาท และจ่ายเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่นผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม 55,398.85 ล้านบาท

2.2) โครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด ด้วยการสนับสนุนให้กับครอบครัวที่มีรายได้น้อย เดือนละ 600 บาท ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี มีผู้ได้รับเงิน 2.34 ล้านคน

3) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม

 

3.1) โครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) เช่น พัฒนาที่ดินเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agri Map เป็นการผลิตสินค้าเกษตรชนิดใหม่ที่เหมาะสมกับพื้นที่ 8,223 ไร่ และส่งเสริมเกษตรเชิงรุก ด้านการประมง 441 ราย

3.2) ดำเนินโครงการสร้างหลักประกันทางรายได้ให้แก่เกษตรกรผ่านการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง (ระยะที่ 3) มีผู้ได้รับประโยชน์ ได้แก่ เจ้าของสวนยาง 1.23 ล้านราย และคนกรีดยาง 142,059 คน

3.3) โครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM2.5 ฤดูการผลิตปี 2564/2565 โดยจัดทำโครงการจัดซื้อเครื่องสางใบอ้อย 288 เครื่อง และสมาคมชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ 37 แห่ง และโรงงานน้ำตาล 21 แห่ง ได้ลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาการรับอ้อยสดคุณภาพดีและการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้

3.4) ดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี 3.59 ล้านราย และโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 96,626 ราย ในปีการผลิต 2564

4) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน

 

4.1) ขับเคลื่อนโครงการ Factory Sandbox ด้วยหลักการเศรษฐกิจศาสตร์คู่กับสาธารณสุขสามารถดำเนินการตรวจและรับการรักษาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ใน 12 จังหวัด ให้แก่สถานประกอบการ 730 แห่ง ลูกจ้าง 349,016 คน และฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้แก่ลูกจ้าง 112,746 คน สามารถรักษาระดับการจ้างงานในภาคการผลิตและส่งออกสำคัญ 3 ล้านตำแหน่ง

4.2) โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสำหรับช่วยเหลือผู้รับงานไปทำงานที่บ้าน โดยอนุมัติวงเงินกู้ยืม 5 ล้านบาท ลดอัตราดอกเบี้ยเหลือร้อยละ 0 ต่อปี (จากเดิมร้อยละ 3) ในงวดที่ 1-12 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 วงเงินกู้ไม่เกิน 50,000 บาท ระยะเวลาชำระคืน 2 ปี

5) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต

 

ดำเนินโครงการจัดให้มีโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อการประกอบกิจการและบริการโทรคมนาคมที่ครอบคลุมพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ (Eastern Economic Corridor: EEC) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่โดยจัดโครงข่ายโทรคมนาคมเพื่อให้บริการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากลย่านความถี่ 2600 MHz ของบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ครอบคลุมพื้นที่ในเขต EEC ร้อยละ 95.70 และบริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด มีความครอบคลุมพื้นที่ให้บริการ EEC ร้อยละ 94.46 ของพื้นที่

6) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษ ที่ 21

 

6.1) โครงการส่งเสริมเด็กทุนไทยสร้างชาติด้วยเทคโนโลยีบิ๊กดาต้า (Big Data) โดยประกาศรับสมัครนิติบุคคลเพื่อขอรับการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนการพัฒนาศักยภาพกำลังคน และบุคลากรด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ด้าน Data Science และ Data Engineering และประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางในการยกระดับทักษะบุคลากรด้าน Big Data

6.2) โครงการรัฐร่วมเอกชนสร้างทักษะดิจิทัลใหม่ เรียนจบ ไม่ตกงานยกระดับทักษะกำลังคนดิจิทัลที่ศึกษาในสาขาไอที ให้มีความรู้ความสามารถตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและรองรับอุตสาหกรรมของประเทศและเพิ่มเติมทักษะใหม่แก่กำลังคนดิจิทัลในสาขาที่ไม่ใช่ไอทีให้สามารถทำงานในสายดิจิทัลที่ขาดแคลนได้

7) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้

 

7.1) โครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้และส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการประมง โดยอบรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด สัตว์น้ำชายฝั่งและการทำประมงพื้นบ้าน 1,190 ราย และปล่อยสัตว์น้ำสู่ทะเล 800,000 ตัว

7.2) โครงการให้ความช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 โดยให้ความช่วยเหลือ 5,218 ราย 57.56 ล้านบาท

7.3) สกัดกั้นและปราบปรามการลักลอบค้ายาเสพติด ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีการจับกุมผู้กระทำผิดพระราชบัญญัติยาเสพติด 100 ครั้ง ผู้ต้องหา 108 คน ยึดได้ของกลางยาบ้า 17.06 ล้านเม็ด และกัญชาแห้ง 1,864.236กิโลกรัม

8) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน

 

8.1) การอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจแก่บุคลากรทักษะสูง/ผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน ผู้บริหาร และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานหรือลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศผ่าน SMART Visa มีผู้ผ่านการรับรองคุณสมบัติทั้งสิ้น 46 คำขอ

8.2) โครงการพัฒนาบริการโครงสร้างพื้นฐานและความมั่นคงปลอดภัยด้านดิจิทัล เช่น ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในระบบ e-Timestamp จำนวน 16.69 ล้านฉบับ e-Tax invoice by Email จำนวน 453,036 ฉบับ และ Web Validation จำนวน 43,592 ฉบับ

9) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย

 

9.1) การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย เช่น (1)โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยก่อสร้างคลองระบายน้ำสาย 3 พร้อมอาคารประกอบ และ (2) โครงการคลองระบายน้ำหลาก บางบาล-บางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยขุดคลองระบายน้ำหลาก พร้อมอาคารประกอบ

9.2) การเตรียมความพร้อมด้านภัยแล้งและอุทกภัย ในห้วงวันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ 2565 โดยดำเนินการด้านภัยแล้ง เช่น ใช้กลไกของคณะกรรมการ/คณะอนุกรรมการของจังหวัดกำหนดแนวทางการใช้น้ำในลักษณะต่างๆ เพื่อการอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศ การเกษตร และอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ และด้านอุทกภัย เช่น ในช่วงระหว่างวันที่ 25 กุมภาพันธ์-2 มีนาคม 2565 มีสถานการณ์อุทกภัย 1 ห้วง ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่งในพื้นที่ 7 จังหวัดภาคใต้ มีประชาชนได้รับผลกระทบ 20,730 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 1 ราย

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 10 พฤษภาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5279

 Click Donate Support Web 

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!