ร่างนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (พ.ศ. 2564 - 2580)
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 04 May 2022 16:51
- Hits: 4232
ร่างนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (พ.ศ. 2564 - 2580)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (พ.ศ. 2564 – 2580) (ร่างนโยบายและเป้าหมายฯ) ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ
สาระสำคัญของร่างนโยบายและเป้าหมายฯ สรุปได้ ดังนี้
1. วิสัยทัศน์ของ สทป.
เป็นหนึ่งในผู้ดำด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศของภูมิภาค รวมทั้งยกระดับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศสู่สากล
2. เหตุผลและความจำเป็น
เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานของ สทป. และเป็นเครื่องมือหรือกลไกในการกำกับดูแล ติดตาม และประเมินผล ให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ และใช้เป็นกลไกหลักระดับนโยบายในการบูรณาการและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งระบบ
3. วัตถุประสงค์
1) เพื่อขับเคลื่อนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขัน ลดการพึ่งพาหรือนำเข้ายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศและสร้างรายได้ให้กับประเทศ
2) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การศึกษาวิจัย การพัฒนา การผลิต และการนำมาใช้ประโยชน์
3) เพื่อปรับเปลี่ยนสถานะของประเทศไทยจากการเป็น “ผู้ซื้อ” มาเป็น “ผู้วิจัย ผู้พัฒนา และผู้ผลิต”
4. นโยบายและเป้าหมายที่สำคัญจำนวน 5 ด้าน ดังนี้
1. ด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีป้องกันประเทศและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ |
||||||
เป้าหมาย เช่น |
- ยุทโธปกรณ์ที่เกิดจากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีป้องกันประเทศของ สทป. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน - ระบบการบริหารจัดการองค์กรในภาพรวมสามารถรองรับวัตถุประสงค์ หน้าที่ และอำนาจที่ได้รับเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 และรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลันของเทคโนโลยีหรือสถานการณ์ได้
|
|||||
ตัวชี้วัดที่ 1 |
สทป. มีการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ (โครงการฯ) ที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานสามารถนำไปสู่การร่วมทุนหรือการประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและสามารถเพิ่มขีดความสามารถของ กห. ให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติได้ |
|||||
ค่าเป้าหมาย |
||||||
พ.ศ. 2564 - 2565 |
พ.ศ. 2566 - 2570 |
พ.ศ. 2571 - 2575 |
พ.ศ. 2576 - 2580 |
|||
มีการริเริ่มโครงการหรือผลผลิตภายใต้โครงการฯ รวมสะสมไม่น้อยกว่า 2 โครงการ
|
มีการริเริ่มโครงการฯ หรือผลผลิตภายใต้โครงการฯ รวมสะสมไม่น้อยกว่า 10 โครงการ |
มีการริเริ่มโครงการฯ หรือผลผลิตภายใต้โครงการฯ รวมสะสมไม่น้อยกว่า 15 โครงการ |
มีการริเริ่มโครงการฯ หรือผลผลิตภายใต้โครงการฯ รวมสะสมไม่น้อยกว่า 20 โครงการ |
|||
ตัวชี้วัดที่ 2 |
การบริหารจัดการองค์กรในภาพรวมเป็นไปตามมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพหรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่สามารถรองรับวัตถุประสงค์ หน้าที่และอำนาจที่ได้รับเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ พ.ศ. 2562 และการเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลันของเทคโนโลยีหรือสถานการณ์ได้ |
|||||
ค่าเป้าหมาย |
||||||
พ.ศ. 2564 - 2565 |
พ.ศ. 2566 - 2570 |
พ.ศ. 2571 - 2575 |
พ.ศ. 2576 - 2580 |
|||
สปท. ผ่านมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพหรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
|
สทป. ผ่านมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีการทบทวนหรือปรับปรุงระบบบริหารจัดการองค์กรให้สอดคล้องกับ PMQA 4.0 และมีการแก้ไขข้อบกพร่องที่ตรวจพบในรอบการประเมินที่ผ่านมา
|
|||||
ตัวอย่างโครงการสำคัญ เช่น |
1) โครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อการป้องกันประเทศ และ 2) การพัฒนาระบบการทดสอบ และรับรองผลการทดสอบในอุตสาหกรรมความมั่นคง |
|||||
หน่วยงาน รับผิดชอบหลัก
|
กห. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และ สทป. |
|||||
2. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กห. หน่วยงานอื่นของรัฐ และภาคเอกชน |
||||||
เป้าหมาย เช่น |
- เกิดการร่วมลงทุนเพื่อสร้างฐานการผลิตในประเทศไทยระหว่าง สทป. กห. หน่วยงานของรัฐ หรือภาคเอกชน และนำไปสู่การพึ่งพาตนเองด้านยุทโธปกรณ์ได้ - มีการศึกษา พัฒนา ร่วมมือและประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) หรือพื้นที่ที่เหมาะสม - สามารถให้บริการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมสู่ประชาสังคมในรูปแบบของบริการทางวิชาการและเทคนิค
|
|||||
ตัวชี้วัดที่ 1 |
อุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศมีการขยายตัว |
|||||
ค่าเป้าหมาย |
||||||
พ.ศ. 2564 - 2565 |
พ.ศ. 2566 - 2570 |
พ.ศ. 2571 - 2575 |
พ.ศ. 2576 - 2580 |
|||
นำมูลค่าการลงทุนของ สทป. มาคำนวณเป็นค่าพื้นฐาน (ค่าฐานสำหรับการคำนวณอัตราการขยายตัว) ณ สิ้นปี งบประมาณ พ.ศ. 2565
|
อุตสาหกรรมความมั่นคง ที่ สทป. มีส่วนเกี่ยวข้องขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2570 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
|
อุตสาหกรรมความมั่นคงที่ สทป. มีส่วนเกี่ยวข้องขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ณ สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2575 และ พ.ศ. 2580 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 |
||||
ตัวชี้วัดที่ 2 |
มีการพัฒนาพื้นที่รองรับกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขต EEC หรือพื้นที่ที่เหมาะสม |
|||||
ค่าเป้าหมาย |
||||||
พ.ศ. 2564 - 2565 |
พ.ศ. 2566 - 2570 |
พ.ศ. 2571 - 2575 |
พ.ศ. 2576 - 2580 |
|||
มีการรวบรวมข้อมูลเตรียมการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา ร่วมมือและประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขต EEC หรือพื้นทื่ที่เหมาะสม
|
มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา ร่วมมือและประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขต EEC หรือพื้นที่ที่เหมาะสม |
จัดทำแผนและรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนา ร่วมมือและประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขต EEC หรือพื้นที่ที่เหมาะสม |
มีพื้นที่รองรับกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขต EEC หรือพื้นที่ที่เหมาะสม |
|||
ตัวชี้วัดที่ 3 |
มีการจัดตั้งศูนย์ให้บริการในด้านการประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ |
|||||
ค่าเป้าหมาย |
||||||
พ.ศ. 2564 - 2565 |
พ.ศ. 2566 - 2570 |
พ.ศ. 2571 - 2575 |
พ.ศ. 2576 - 2580 |
|||
มีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งศูนย์บริการและให้บริการข้อมูลในด้านการประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
|
กำหนดขอบเขตการให้บริการของศูนย์บริการฯ |
บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการของศูนย์บริการฯ |
จัดตั้งศูนย์บริการฯ |
|||
ตัวอย่างโครงการสำคัญ เช่น |
1) โครงการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 2) โครงการยานเกราะล้อยางแบบ 4X4 3) โครงการอากาศยานไร้คนขับ 4) โครงการปืนใหญ่และกระสุน 5) โครงการพัฒนาพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ และ 6) โครงการพัฒนานวัตกรรมการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เทคโนโลยีป้องกันประเทศสู่ประชาสังคม |
|||||
หน่วยงาน รับผิดชอบหลัก
|
กห. กระทรวงการคลัง (กค.) อว. อก.สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และ สทป. |
|||||
3. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอบรม การค้นคว้าวิจัย การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ และการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ |
||||||
เป้าหมาย เช่น |
- พัฒนาศักยภาพบุคลากรของ สทป. ให้สามารถนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่มี รวมถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะไปขับเคลื่อนให้เกิดผลและสามารถรองรับผลกระทบจากเทคโนโลยีของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลัน (Technology Disruption) - มีบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้ - องค์ความรู้ของ สทป. ได้รับการจัดเก็บในรูปแบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ทำให้ภาคประชาสังคมสามารถเข้าถึงได้ มีความคล่องตัวในการใช้งาน และสามารถนำองค์ความรู้มาต่อยอดในการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้ในระยะยาว
|
|||||
ตัวชี้วัดที่ 1 |
มีบุคลากรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศซึ่งเกิดจากการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศร่วมกับ สทป. เพิ่มขึ้น |
|||||
ค่าเป้าหมาย |
||||||
พ.ศ. 2564 - 2565 |
พ.ศ. 2566 - 2570 |
พ.ศ. 2570 - 2575 |
พ.ศ. 2575 - 2580 |
|||
มีการรวบรวมข้อมูลบุคลากรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเกิดจากการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศร่วมกับ สทป. เพื่อเป็นข้อมูลฐาน |
มีบุคลากรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเกิดจากการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศร่วมกับ สทป. สะสมเพิ่มขึ้น จากปี พ.ศ. 2565 ร้อยละ 5 ในปี พ.ศ. 2570 |
มีบุคลากรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเกิดจากการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศร่วมกับ สทป. สะสมเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2565 ร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2575 |
มีบุคลากรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเกิดจากการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศร่วมกับ สปท. สะสมเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2565 ร้อยละ 15 ในปี พ.ศ. 2580
|
|||
ตัวชี้วัดที่ 2 |
จำนวนองค์ประกอบความรู้ของ สทป. รวมถึงบทความทางวิชาการในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของ สทป. ที่มีการแผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ |
|||||
ค่าเป้าหมาย |
||||||
พ.ศ. 2564 - 2565 |
พ.ศ. 2566 - 2570 |
พ.ศ. 2571 - 2575 |
พ.ศ. 2576 - 2580 |
|||
มีการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบบทความวิชาการรวมสะสมไม่น้อยกว่า 2 เรื่อง |
มีการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบบทความวิชาการรวมสะสมไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง |
มีการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบบทความวิชาการรวมสะสมไม่น้อยกว่า 30 เรื่อง |
มีการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบบทความวิชาการรวมสะสมไม่น้อยกว่า 40 เรื่อง
|
|||
ตัวอย่างโครงการสำคัญ เช่น |
1) โครงการพัฒนาบุคลากรในภาควิชาการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคเอกชน และ 2) โครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและการพลังงานทหาร |
|||||
หน่วยงาน รับผิดชอบหลัก
|
กห. อว. กระทรวงแรงงาน และ สทป. |
|||||
4. ด้านการประสานความร่วมมือด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กับหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ |
||||||
เป้าหมาย เช่น |
- การประสานและสร้างความร่วมมือของ สทป. ช่วยเสริมสร้างให้เกิดความมั่นคงของประเทศ และเสถียรภาพของภูมิภาค พร้อมรับมือต่อความท้าทายด้านความมั่นคงจากภายนอก - โครงการที่เกิดจากความร่วมมือของ สทป. มีกระบวนการดำเนินการที่เป็นมาตรฐาน สอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบระหว่างประเทศ มาตรฐานสากล และพันธกรณีของประเทศไทย - เกิดเครือข่ายคลัสเตอร์หรือการเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมความมั่นคงในภูมิภาคหรือระดับโลก
|
|||||
ตัวชี้วัดที่ 1 |
มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา หรือภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ |
|||||
ค่าเป้าหมาย |
||||||
พ.ศ. 2564 - 2565 |
พ.ศ. 2566 - 2570 |
พ.ศ. 2571 - 2575 |
พ.ศ. 2576 - 2580 |
|||
มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศรวมสะสมไม่น้อยกว่า 2 ฉบับ |
มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศรวมสะสมไม่น้อยกว่า 20 ฉบับ |
มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศรวมสะสมไม่น้อยกว่า 30 ฉบับ |
มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศรวมสะสมไม่น้อยกว่า 40 ฉบับ
|
|||
ตัวชี้วัดที่ 2 |
มีโครงการร่วมลงทุนกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา หรือภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ |
|||||
ค่าเป้าหมาย |
||||||
พ.ศ. 2564 - 2565 |
พ.ศ. 2566 - 2570 |
พ.ศ. 2571 - 2575 |
พ.ศ. 2576 - 2580 |
|||
โครงการร่วมลงทุนกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาหรือภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศสะสมไม่น้อยกว่า 2 โครงการ |
โครงการร่วมลงทุนกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาหรือภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศสะสมไม่น้อยกว่า 3 โครงการ
|
โครงการร่วมลงทุนกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาหรือภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศสะสมไม่น้อยกว่า 4 โครงการ |
โครงการร่วมลงทุนกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาหรือภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศสะสมไม่น้อยกว่า 5 โครงการ
|
|||
ตัวชี้วัดที่ 3 |
จำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมเครือข่ายคลัสเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมความมั่นคงในภูมิภาคหรือระดับโลกได้ |
|||||
ค่าเป้าหมาย |
||||||
พ.ศ. 2564 - 2565 |
พ.ศ. 2566 - 2570 |
พ.ศ. 2570 - 2575 |
พ.ศ. 2575 - 2580 |
|||
มีการเตรียมการหรือการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการรวมเครือ ข่ายคลัสเตอร์ด้านอุตสาหกรรมความมั่นคง |
มีจำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมเครือข่ายคลัสเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมความมั่นคงในภูมิภาคหรือระดับโลกได้ไม่น้อยกว่า 20 ราย
|
มีจำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมเครือข่ายคลัสเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมความมั่นคงในภูมิภาคหรือระดับโลกได้ไม่น้อยกว่า 30 ราย |
มีจำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมเครือข่ายคลัสเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมความมั่นคงในภูมิภาคหรือระดับโลกได้ไม่น้อยกว่า 40 ราย
|
|||
ตัวอย่างโครงการสำคัญ เช่น |
1) โครงการพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนากับภาคส่วนต่างๆ 2) โครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อการป้องกันประเทศ และ 3) การพัฒนาเครือข่ายคลัสเตอร์ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมความมั่นคง |
|||||
หน่วยงาน รับผิดชอบหลัก
|
กห. กค. อว. อก. สศช. สกพอ. และ สทป. |
|||||
5. ด้านการเป็นศูนย์ข้อมูลความรู้ด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้แก่ กห. และหน่วยงานของรัฐ เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายและแผนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ |
||||||
เป้าหมายเช่น |
มีระบบสารสนเทศในการจัดเก็บหรือทำฐานข้อมูล เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลกลางรองรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ |
|||||
ตัวชี้วัด |
มีระบบสารสนเทศที่สามารถจัดเก็บหรือทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศสามารถสนับสนุนข้อมูลแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ โดยมีการปรับปรุงฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เพื่อสนับสนุนข้อมูลแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเผยแพร่ความรู้ของ สทป. ผ่านสื่อเผยแพร่หรือระบบสารสนเทศต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการหรือประชาชนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ได้ |
|||||
ค่าเป้าหมาย |
||||||
พ.ศ. 2564 - 2565 |
พ.ศ. 2566 - 2570 |
พ.ศ. 2571 - 2575 |
พ.ศ. 2576 - 2580 |
|||
มีระบบสารสนเทศที่สามารถจัดเก็บหรือทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ สามารถสนับสนุนข้อมูลแก่บุคคล หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเผยแพร่ความรู้ของ สทป. ผ่านสื่อเผยแพร่ หรือระบบสารสนเทศต่างๆ ให้ผู้ใช้บริการหรือประชาชนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ได้ |
มีการปรับปรุงฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เพื่อสนับสนุนข้อมูลแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเผยแพร่ความรู้ของ สทป. ผ่านสื่อเผยแพร่หรือระบบสารสนเทศต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการหรือประชาชนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ได้ |
|||||
ตัวอย่างโครงการสำคัญ เช่น |
1) โครงการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์เทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ 2) การพัฒนาระบบสารสนเทศ |
|||||
หน่วยงาน รับผิดชอบหลัก |
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) และ สทป. |
5. ประมาณการวงเงินงบประมาณปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 – 2580 รวมทั้งสิ้น 33,019.457 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ปีงบประมาณ พ.ศ. |
วงเงิน (ล้านบาท) |
วงเงินเพิ่มขึ้น/ลดลง |
ร้อยละ |
2564 |
846.02 |
- |
- |
2565 |
415.72 |
- 430.30 |
-50.86 |
2566 |
1,707.50 |
1,291.78 |
310.73 |
2567 |
1,758.73 |
51.23 |
3.00 |
2568 |
1,811.50 |
52.77 |
3.00 |
2569 |
1,865.84 |
54.34 |
3.00 |
2570 |
1,921.81 |
55.97 |
3.00 |
2571 |
1,979.47 |
57.66 |
3.00 |
2572 |
2,038.85 |
59.38 |
3.00 |
2573 |
2,100.02 |
61.17 |
3.00 |
2574 |
2,163.02 |
63.00 |
3.00 |
2575 |
2,227.90 |
64.88 |
3.00 |
2576 |
2,294.74 |
66.84 |
3.00 |
2577 |
2,363.58 |
68.84 |
3.00 |
2578 |
2,434.49 |
70.91 |
3.00 |
2579 |
2,507.52 |
73.03 |
3.00 |
2580 |
2,582.75 |
75.23 |
3.00 |
รวมทั้งสิ้น |
33,019.46 |
- |
- |
6. การติดตามประเมินผล
สทป. จะรายงานความคืบหน้าของการดำเนินการตามร่างนโยบายและเป้าหมายฯ ต่อ (1) คณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ (2) คณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศทราบ ทั้งนี้ อาจรายงานให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศหรืออุตสาหกรรมความมั่นคงตามความเหมาะสม หรือเมื่อได้รับการร้องขอ เช่น กห. สภาพัฒนาฯ สภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นต้น
7. ความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยง เช่น
ประเด็นความเสี่ยง |
แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง |
|
1) การบริหารโครงการสำคัญไม่สำเร็จตามแผนการดำเนินงาน เนื่องจากการจัดหาและการใช้งบประมาณในโครงการสำคัญและโครงการที่มีงบประมาณสูงล่าช้ากว่าแผนปฏิบัติงาน |
สทป. ได้กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแล การดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนา เพื่อรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาข้อขัดข้อง เพื่อให้สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ รวมทั้งให้ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำแผนและรายงานผลการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง |
|
2) ไม่สามารถบูรณาการด้านการรับรองมาตรฐานในระดับประเทศได้ เนื่องจากต้องมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้อำนาจและหน้าที่แก่ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง และโครงสร้างพื้นฐานในการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับอุตสาหกรรมด้านต่างๆ |
สทป. อาจร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงจัดการประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางการรับรองมาตรฐานระดับประเทศ หรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดให้มีโครงการนำร่องเพื่อบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นตามลำดับความเร่งด่วนและจำเป็น |
|
3) การแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นอุปสรรคในการประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศไม่สามารถแก้ไขหรือใช้เวลานานเนื่องจากการผลิตและขายยุทโธปกรณ์มีข้อจำกัดในการดำเนินการและเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ รวมทั้งมีผู้รับผิดชอบหลักหลายกระทรวงทำให้การแก้ไขกฎหมายให้เกิดความคล่องตัวอาจใช้เวลานาน และต้องมีการหารือร่วมกับกระทรวงที่รับผิดชอบ |
สทป. ควรมีการทบทวนปัญหาและอุปสรรคของกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูล และอาจใช้กลไกของคณะกรรมการฯ ในการเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือใช้กลไกของคณะทำงานพัฒนาระเบียบและข้อบังคับของ สทป. เพื่อเสนอแก้ไขระเบียบหรือข้อบังคับภายใน สทป. ที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน |
|
4) การประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศอาจขัดต่อพันธกรณีหรือกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากอาจมีข้อกฎหมายที่ สทป. ยังขาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการพิจารณาร่างสัญญาหรือความตกลง และยังมีความเสี่ยงในกรณีที่เกิดการละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าร่วมหรือรับรอง |
สทป. อาจดำเนินการโดยการส่งร่างสัญญาหรือความตกลงกับต่างประเทศให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ หรือสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อนมีการลงนามในสัญญา รวมถึงอาจจ้างที่ปรึกษาหรือสรรหาเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายระหว่างประเทศในการให้คำปรึกษากับ สทป. |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ร่างนโยบายและเป้าหมายฯ จะส่งผลในภาพรวมให้เกิดการขับเคลื่อนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้ก้าวไปสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศในอนาคตสามารถแข่งขัน รวมทั้งลดการพึ่งพาหรือนำเข้ายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศและสร้างรายได้ให้กับประเทศในด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้เอื้ออำนวยต่อ สทป. และภาคเอกชนในการดำเนินกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การศึกษาวิจัย การพัฒนา การผลิต และการนำมาใช้ประโยชน์ และเพื่อปรับเปลี่ยนสถานะของประเทศไทยจากการเป็นผู้ซื้อมาเป็นผู้วิจัย ผู้พัฒนา และผู้ผลิต เพื่อการใช้งานภายในประเทศและการส่งออกต่อไป
ร่างนโยบายและแผนฯ สอดคล้องกับแผนต่างๆ แล้ว เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2562 – 2565)
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 3 พฤษภาคม 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A5078