WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (พ.ศ. 2564 - 2580)

GOV5 copy copy

ร่างนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (.. 2564 - 2580)

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างนโยบายและเป้าหมายการดำเนินงานของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (.. 2564 – 2580) (ร่างนโยบายและเป้าหมายฯ) ตามที่กระทรวงกลาโหม (กห.) เสนอ

          สาระสำคัญของร่างนโยบายและเป้าหมายฯ สรุปได้ ดังนี้

          1. วิสัยทัศน์ของ สทป.

          เป็นหนึ่งในผู้ดำด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศของภูมิภาค รวมทั้งยกระดับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศสู่สากล

          2. เหตุผลและความจำเป็น

          เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงานของ สทป. และเป็นเครื่องมือหรือกลไกในการกำกับดูแล ติดตาม และประเมินผล ให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ และใช้เป็นกลไกหลักระดับนโยบายในการบูรณาการและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งระบบ

          3. วัตถุประสงค์

                1) เพื่อขับเคลื่อนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้มีความสามารถในการแข่งขัน ลดการพึ่งพาหรือนำเข้ายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศและสร้างรายได้ให้กับประเทศ

                2) ส่งเสริมให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การศึกษาวิจัย การพัฒนา การผลิต และการนำมาใช้ประโยชน์

                3) เพื่อปรับเปลี่ยนสถานะของประเทศไทยจากการเป็นผู้ซื้อมาเป็นผู้วิจัย ผู้พัฒนา และผู้ผลิต

 

QIC 720x100

 

          4. นโยบายและเป้าหมายที่สำคัญจำนวน 5 ด้าน ดังนี้

 

1. ด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีป้องกันประเทศและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องหรือต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

เป้าหมาย เช่น

 

- ยุทโธปกรณ์ที่เกิดจากการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีป้องกันประเทศของ สทป. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งาน

- ระบบการบริหารจัดการองค์กรในภาพรวมสามารถรองรับวัตถุประสงค์ หน้าที่ และอำนาจที่ได้รับเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ .. 2562 และรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลันของเทคโนโลยีหรือสถานการณ์ได้

 

ตัวชี้วัดที่ 1

 

สทป. มีการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ (โครงการฯ) ที่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้งานสามารถนำไปสู่การร่วมทุนหรือการประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและสามารถเพิ่มขีดความสามารถของ กห. ให้พร้อมเผชิญภัยคุกคามที่กระทบต่อความมั่นคงของชาติได้

ค่าเป้าหมาย

.. 2564 - 2565

 

.. 2566 - 2570

 

.. 2571 - 2575

 

.. 2576 - 2580

มีการริเริ่มโครงการหรือผลผลิตภายใต้โครงการฯ รวมสะสมไม่น้อยกว่า 2 โครงการ

 

 

มีการริเริ่มโครงการฯ หรือผลผลิตภายใต้โครงการฯ รวมสะสมไม่น้อยกว่า 10 โครงการ

 

มีการริเริ่มโครงการฯ หรือผลผลิตภายใต้โครงการฯ รวมสะสมไม่น้อยกว่า 15 โครงการ

 

มีการริเริ่มโครงการฯ หรือผลผลิตภายใต้โครงการฯ รวมสะสมไม่น้อยกว่า 20 โครงการ

ตัวชี้วัดที่ 2

 

การบริหารจัดการองค์กรในภาพรวมเป็นไปตามมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพหรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่สามารถรองรับวัตถุประสงค์ หน้าที่และอำนาจที่ได้รับเพิ่มเติมตามพระราชบัญญัติเทคโนโลยีป้องกันประเทศ .. 2562 และการเปลี่ยนแปลงที่ฉับพลันของเทคโนโลยีหรือสถานการณ์ได้

ค่าเป้าหมาย

.. 2564 - 2565

 

.. 2566 - 2570

 

.. 2571 - 2575

 

.. 2576 - 2580

สปท. ผ่านมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพหรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

 

สทป. ผ่านมาตรฐานระบบการบริหารงานคุณภาพ หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และมีการทบทวนหรือปรับปรุงระบบบริหารจัดการองค์กรให้สอดคล้องกับ PMQA 4.0 และมีการแก้ไขข้อบกพร่องที่ตรวจพบในรอบการประเมินที่ผ่านมา

 

ตัวอย่างโครงการสำคัญ

เช่น

 

1) โครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อการป้องกันประเทศ และ 2) การพัฒนาระบบการทดสอบ และรับรองผลการทดสอบในอุตสาหกรรมความมั่นคง

หน่วยงาน

รับผิดชอบหลัก

 

 

กห. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และ สทป.

2. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กห. หน่วยงานอื่นของรัฐ และภาคเอกชน

เป้าหมาย เช่น

 

- เกิดการร่วมลงทุนเพื่อสร้างฐานการผลิตในประเทศไทยระหว่าง สทป. กห. หน่วยงานของรัฐ หรือภาคเอกชน และนำไปสู่การพึ่งพาตนเองด้านยุทโธปกรณ์ได้

- มีการศึกษา พัฒนา ร่วมมือและประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) หรือพื้นที่ที่เหมาะสม

- สามารถให้บริการเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมสู่ประชาสังคมในรูปแบบของบริการทางวิชาการและเทคนิค

 

ตัวชี้วัดที่ 1

 

อุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศมีการขยายตัว

ค่าเป้าหมาย

.. 2564 - 2565

 

.. 2566 - 2570

 

.. 2571 - 2575

 

.. 2576 - 2580

นำมูลค่าการลงทุนของ สทป. มาคำนวณเป็นค่าพื้นฐาน (ค่าฐานสำหรับการคำนวณอัตราการขยายตัว) สิ้นปี งบประมาณ .. 2565

 

 

อุตสาหกรรมความมั่นคง

ที่ สทป. มีส่วนเกี่ยวข้องขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 สิ้นปีงบประมาณ .. 2570 เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ .. 2565

 

 

อุตสาหกรรมความมั่นคงที่ สทป. มีส่วนเกี่ยวข้องขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 สิ้นปีงบประมาณ .. 2575 และ .. 2580 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ .. 2565

ตัวชี้วัดที่ 2

 

มีการพัฒนาพื้นที่รองรับกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขต EEC หรือพื้นที่ที่เหมาะสม

ค่าเป้าหมาย

.. 2564 - 2565

 

.. 2566 - 2570

 

.. 2571 - 2575

 

.. 2576 - 2580

มีการรวบรวมข้อมูลเตรียมการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา ร่วมมือและประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขต EEC หรือพื้นทื่ที่เหมาะสม

 

 

มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนา ร่วมมือและประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขต EEC หรือพื้นที่ที่เหมาะสม

 

จัดทำแผนและรายงานผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนา ร่วมมือและประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขต EEC หรือพื้นที่ที่เหมาะสม

 

มีพื้นที่รองรับกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในเขต EEC หรือพื้นที่ที่เหมาะสม

ตัวชี้วัดที่ 3

 

มีการจัดตั้งศูนย์ให้บริการในด้านการประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

ค่าเป้าหมาย   

.. 2564 - 2565

 

.. 2566 - 2570

 

.. 2571 - 2575

 

.. 2576 - 2580

มีการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งศูนย์บริการและให้บริการข้อมูลในด้านการประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

 

 

กำหนดขอบเขตการให้บริการของศูนย์บริการฯ

 

บูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการของศูนย์บริการฯ

 

จัดตั้งศูนย์บริการฯ

ตัวอย่างโครงการสำคัญ

เช่น

 

1) โครงการต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 2) โครงการยานเกราะล้อยางแบบ 4X4 3) โครงการอากาศยานไร้คนขับ 4) โครงการปืนใหญ่และกระสุน 5) โครงการพัฒนาพื้นที่รองรับอุตสาหกรรมความมั่นคงของประเทศ และ 6) โครงการพัฒนานวัตกรรมการประยุกต์ใช้องค์ความรู้เทคโนโลยีป้องกันประเทศสู่ประชาสังคม

หน่วยงาน

รับผิดชอบหลัก

 

 

กห. กระทรวงการคลัง (กค.) อว. อก.สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และ สทป.

3. ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอบรม การค้นคว้าวิจัย การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ และการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

เป้าหมาย เช่น

 

- พัฒนาศักยภาพบุคลากรของ สทป. ให้สามารถนำความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ที่มี รวมถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะไปขับเคลื่อนให้เกิดผลและสามารถรองรับผลกระทบจากเทคโนโลยีของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างฉับพลัน (Technology Disruption)

- มีบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งช่วยให้เกิดการเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้

- องค์ความรู้ของ สทป. ได้รับการจัดเก็บในรูปแบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ทำให้ภาคประชาสังคมสามารถเข้าถึงได้ มีความคล่องตัวในการใช้งาน และสามารถนำองค์ความรู้มาต่อยอดในการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศได้ในระยะยาว

 

ตัวชี้วัดที่ 1

 

มีบุคลากรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศซึ่งเกิดจากการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศร่วมกับ สทป. เพิ่มขึ้น

ค่าเป้าหมาย

.. 2564 - 2565

 

.. 2566 - 2570

 

.. 2570 - 2575

 

.. 2575 - 2580

มีการรวบรวมข้อมูลบุคลากรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเกิดจากการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศร่วมกับ สทป. เพื่อเป็นข้อมูลฐาน

 

มีบุคลากรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเกิดจากการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศร่วมกับ สทป. สะสมเพิ่มขึ้น จากปี .. 2565 ร้อยละ 5 ในปี .. 2570

 

มีบุคลากรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเกิดจากการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศร่วมกับ สทป. สะสมเพิ่มขึ้นจากปี .. 2565 ร้อยละ 10 ในปี .. 2575

 

มีบุคลากรด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ซึ่งเกิดจากการพัฒนาบุคลากรทั้งภายในประเทศและต่างประเทศร่วมกับ สปท. สะสมเพิ่มขึ้นจากปี .. 2565 ร้อยละ 15 ในปี .. 2580

 

ตัวชี้วัดที่ 2

 

จำนวนองค์ประกอบความรู้ของ สทป. รวมถึงบทความทางวิชาการในด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของ สทป. ที่มีการแผยแพร่ในรูปแบบต่างๆ

ค่าเป้าหมาย

.. 2564 - 2565

 

.. 2566 - 2570

 

.. 2571 - 2575

 

.. 2576 - 2580

มีการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบบทความวิชาการรวมสะสมไม่น้อยกว่า 2 เรื่อง

 

มีการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบบทความวิชาการรวมสะสมไม่น้อยกว่า 20 เรื่อง

 

มีการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบบทความวิชาการรวมสะสมไม่น้อยกว่า 30 เรื่อง

 

มีการพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบบทความวิชาการรวมสะสมไม่น้อยกว่า 40 เรื่อง

 

ตัวอย่างโครงการสำคัญ

เช่น

 

1) โครงการพัฒนาบุคลากรในภาควิชาการ ภาคอุตสาหกรรม และภาคเอกชน และ 2) โครงการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและการพลังงานทหาร

หน่วยงาน

รับผิดชอบหลัก

 

 

กห. อว. กระทรวงแรงงาน และ สทป.

4. ด้านการประสานความร่วมมือด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ กับหน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

เป้าหมาย เช่น

 

- การประสานและสร้างความร่วมมือของ สทป. ช่วยเสริมสร้างให้เกิดความมั่นคงของประเทศ และเสถียรภาพของภูมิภาค พร้อมรับมือต่อความท้าทายด้านความมั่นคงจากภายนอก

- โครงการที่เกิดจากความร่วมมือของ สทป. มีกระบวนการดำเนินการที่เป็นมาตรฐาน สอดคล้องกับกฎหมาย กฎระเบียบระหว่างประเทศ มาตรฐานสากล และพันธกรณีของประเทศไทย

- เกิดเครือข่ายคลัสเตอร์หรือการเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมความมั่นคงในภูมิภาคหรือระดับโลก

 

ตัวชี้วัดที่ 1

 

มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา หรือภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ค่าเป้าหมาย

.. 2564 - 2565

 

.. 2566 - 2570

 

.. 2571 - 2575

 

.. 2576 - 2580

มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศรวมสะสมไม่น้อยกว่า 2 ฉบับ

 

มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศรวมสะสมไม่น้อยกว่า 20 ฉบับ

 

มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศรวมสะสมไม่น้อยกว่า 30 ฉบับ

 

มีการจัดทำบันทึกข้อตกลงหรือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศรวมสะสมไม่น้อยกว่า 40 ฉบับ

 

ตัวชี้วัดที่ 2

 

มีโครงการร่วมลงทุนกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษา หรือภาคเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ค่าเป้าหมาย

.. 2564 - 2565

 

.. 2566 - 2570

 

.. 2571 - 2575

 

.. 2576 - 2580

โครงการร่วมลงทุนกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาหรือภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศสะสมไม่น้อยกว่า 2 โครงการ

 

โครงการร่วมลงทุนกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาหรือภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศสะสมไม่น้อยกว่า 3 โครงการ

 

 

โครงการร่วมลงทุนกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาหรือภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศสะสมไม่น้อยกว่า 4 โครงการ

 

โครงการร่วมลงทุนกับหน่วยงานของ กห. หน่วยงานของรัฐ สถาบันการศึกษาหรือภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศสะสมไม่น้อยกว่า 5 โครงการ

 

ตัวชี้วัดที่ 3

 

จำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมเครือข่ายคลัสเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมความมั่นคงในภูมิภาคหรือระดับโลกได้

ค่าเป้าหมาย

.. 2564 - 2565

 

.. 2566 - 2570

 

.. 2570 - 2575

 

.. 2575 - 2580

มีการเตรียมการหรือการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการรวมเครือ ข่ายคลัสเตอร์ด้านอุตสาหกรรมความมั่นคง

 

มีจำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมเครือข่ายคลัสเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมความมั่นคงในภูมิภาคหรือระดับโลกได้ไม่น้อยกว่า 20 ราย

 

 

มีจำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมเครือข่ายคลัสเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมความมั่นคงในภูมิภาคหรือระดับโลกได้ไม่น้อยกว่า 30 ราย

 

มีจำนวนผู้ประกอบการที่เข้าร่วมเครือข่ายคลัสเตอร์ที่สามารถเชื่อมโยงกับห่วงโซ่มูลค่าของอุตสาหกรรมความมั่นคงในภูมิภาคหรือระดับโลกได้ไม่น้อยกว่า 40 ราย

 

ตัวอย่างโครงการสำคัญ

เช่น

 

1) โครงการพัฒนาความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนากับภาคส่วนต่างๆ 2) โครงการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเพื่อการป้องกันประเทศ และ 3) การพัฒนาเครือข่ายคลัสเตอร์ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมความมั่นคง

หน่วยงาน

รับผิดชอบหลัก

 

 

กห. กค. อว. อก. สศช. สกพอ. และ สทป.

5. ด้านการเป็นศูนย์ข้อมูลความรู้ด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้แก่ กห. และหน่วยงานของรัฐ เพื่อใช้ในการกำหนดนโยบายและแผนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ

เป้าหมายเช่น

 

มีระบบสารสนเทศในการจัดเก็บหรือทำฐานข้อมูล เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลกลางรองรับข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ

ตัวชี้วัด

 

มีระบบสารสนเทศที่สามารถจัดเก็บหรือทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศสามารถสนับสนุนข้อมูลแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ โดยมีการปรับปรุงฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เพื่อสนับสนุนข้อมูลแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเผยแพร่ความรู้ของ สทป. ผ่านสื่อเผยแพร่หรือระบบสารสนเทศต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการหรือประชาชนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ได้

ค่าเป้าหมาย

.. 2564 - 2565

 

.. 2566 - 2570

 

.. 2571 - 2575

 

.. 2576 - 2580

มีระบบสารสนเทศที่สามารถจัดเก็บหรือทำฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ สามารถสนับสนุนข้อมูลแก่บุคคล

หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเผยแพร่ความรู้ของ สทป. ผ่านสื่อเผยแพร่ หรือระบบสารสนเทศต่างๆ ให้ผู้ใช้บริการหรือประชาชนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ได้

 

มีการปรับปรุงฐานข้อมูลด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เพื่อสนับสนุนข้อมูลแก่บุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเผยแพร่ความรู้ของ สทป. ผ่านสื่อเผยแพร่หรือระบบสารสนเทศต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้บริการหรือประชาชนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์ได้

ตัวอย่างโครงการสำคัญ

เช่น

 

1) โครงการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์เทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ 2) การพัฒนาระบบสารสนเทศ

หน่วยงาน

รับผิดชอบหลัก

 

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) และ สทป.

 ais 720x100

 

          5. ประมาณการวงเงินงบประมาณปีงบประมาณ .. 2564 – 2580 รวมทั้งสิ้น 33,019.457 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

ปีงบประมาณ ..

วงเงิน (ล้านบาท)

วงเงินเพิ่มขึ้น/ลดลง

ร้อยละ

2564

846.02

-

-

2565

415.72

- 430.30

-50.86

2566

1,707.50

1,291.78

310.73

2567

1,758.73

51.23

3.00

2568

1,811.50

52.77

3.00

2569

1,865.84

54.34

3.00

2570

1,921.81

55.97

3.00

2571

1,979.47

57.66

3.00

2572

2,038.85

59.38

3.00

2573

2,100.02

61.17

3.00

2574

2,163.02

63.00

3.00

2575

2,227.90

64.88

3.00

2576

2,294.74

66.84

3.00

2577

2,363.58

68.84

3.00

2578

2,434.49

70.91

3.00

2579

2,507.52

73.03

3.00

2580

2,582.75

75.23

3.00

รวมทั้งสิ้น

33,019.46

-

-

 

          6. การติดตามประเมินผล

          สทป. จะรายงานความคืบหน้าของการดำเนินการตามร่างนโยบายและเป้าหมายฯ ต่อ (1) คณะกรรมการนโยบายเทคโนโลยีป้องกันประเทศ และ (2) คณะกรรมการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศทราบ ทั้งนี้ อาจรายงานให้หน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศหรืออุตสาหกรรมความมั่นคงตามความเหมาะสม หรือเมื่อได้รับการร้องขอ เช่น กห. สภาพัฒนาฯ สภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นต้น

 

EXIM One 720x90 C J

 

          7. ความเสี่ยงและการบริหารจัดการความเสี่ยง เช่น

 

ประเด็นความเสี่ยง

 

แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง

1) การบริหารโครงการสำคัญไม่สำเร็จตามแผนการดำเนินงาน เนื่องจากการจัดหาและการใช้งบประมาณในโครงการสำคัญและโครงการที่มีงบประมาณสูงล่าช้ากว่าแผนปฏิบัติงาน

 

สทป. ได้กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแล การดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนา เพื่อรายงานผลการดำเนินงาน ปัญหาข้อขัดข้อง เพื่อให้สามารถดำเนินการให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้ รวมทั้งให้ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำแผนและรายงานผลการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง

2) ไม่สามารถบูรณาการด้านการรับรองมาตรฐานในระดับประเทศได้ เนื่องจากต้องมีการแก้ไขกฎหมายเพื่อให้อำนาจและหน้าที่แก่ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง และโครงสร้างพื้นฐานในการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับอุตสาหกรรมด้านต่างๆ

 

สทป. อาจร่วมกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงจัดการประชุมร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางการรับรองมาตรฐานระดับประเทศ หรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมถึงจัดให้มีโครงการนำร่องเพื่อบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นตามลำดับความเร่งด่วนและจำเป็น

3) การแก้ไขกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นอุปสรรคในการประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศไม่สามารถแก้ไขหรือใช้เวลานานเนื่องจากการผลิตและขายยุทโธปกรณ์มีข้อจำกัดในการดำเนินการและเกี่ยวข้องกับกฎหมายหลายฉบับ รวมทั้งมีผู้รับผิดชอบหลักหลายกระทรวงทำให้การแก้ไขกฎหมายให้เกิดความคล่องตัวอาจใช้เวลานาน และต้องมีการหารือร่วมกับกระทรวงที่รับผิดชอบ

 

สทป. ควรมีการทบทวนปัญหาและอุปสรรคของกฎหมายต่างๆ

ที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูล และอาจใช้กลไกของคณะกรรมการฯ ในการเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง หรือใช้กลไกของคณะทำงานพัฒนาระเบียบและข้อบังคับของ สทป. เพื่อเสนอแก้ไขระเบียบหรือข้อบังคับภายใน สทป. ที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงาน

4) การประกอบกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศอาจขัดต่อพันธกรณีหรือกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากอาจมีข้อกฎหมายที่ สทป. ยังขาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในการพิจารณาร่างสัญญาหรือความตกลง และยังมีความเสี่ยงในกรณีที่เกิดการละเมิดพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยเข้าร่วมหรือรับรอง

 

สทป. อาจดำเนินการโดยการส่งร่างสัญญาหรือความตกลงกับต่างประเทศให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ หรือสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาก่อนมีการลงนามในสัญญา รวมถึงอาจจ้างที่ปรึกษาหรือสรรหาเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านกฎหมายระหว่างประเทศในการให้คำปรึกษากับ สทป.

 

          ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          ร่างนโยบายและเป้าหมายฯ จะส่งผลในภาพรวมให้เกิดการขับเคลื่อนกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้ก้าวไปสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศในอนาคตสามารถแข่งขัน รวมทั้งลดการพึ่งพาหรือนำเข้ายุทโธปกรณ์จากต่างประเทศและสร้างรายได้ให้กับประเทศในด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยการปรับปรุงสภาพแวดล้อมด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้เอื้ออำนวยต่อ สทป. และภาคเอกชนในการดำเนินกิจการอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีป้องกันประเทศอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การศึกษาวิจัย การพัฒนา การผลิต และการนำมาใช้ประโยชน์ และเพื่อปรับเปลี่ยนสถานะของประเทศไทยจากการเป็นผู้ซื้อมาเป็นผู้วิจัย ผู้พัฒนา และผู้ผลิต เพื่อการใช้งานภายในประเทศและการส่งออกต่อไป

          ร่างนโยบายและแผนฯ สอดคล้องกับแผนต่างๆ แล้ว เช่น ยุทธศาสตร์ชาติ (.. 2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (.. 2561 - 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (.. 2560 - 2564) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (.. 2562 – 2565) 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 3 พฤษภาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5078

 Click Donate Support Web 

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!