WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานผลการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะปี 2564

GOV9

 

รายงานผลการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะปี 2564

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอผลการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะปี 2564 [เป็นการดำเนินการตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 296/2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ สั่ง วันที่ 10 ตุลาคม 2562 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตรฯ) เป็นประธานกรรมการ และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (สศด.) เป็นกรรมการและเลขานุการ ซึ่งข้อ 2.5 กำหนดให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะมีหน้าที่และอำนาจรายงานผลการดำเนินการขับเคลื่อนแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอัจฉริยะต่อคณะรัฐมนตรี] โดยการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะปี 2564 มีความก้าวหน้าและการดำเนินกิจกรรมที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้

 

 

กิจกรรม

 

ความก้าวหน้า/การดำเนินการ

1. การประกาศมอบตราสัญลักษณ์เพื่อรับรองการเป็นพื้นที่พัฒนาเมืองอัจฉริยะ

 

คณะกรรมการฯ มีมติเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 รับทราบการประกาศมอบตราสัญลักษณ์ฯ 15 เมือง แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

1.1 เมืองเดิมน่าอยู่ 13 เมือง เช่น ภูเก็ตเมืองอัจฉริยะ จังหวัดภูเก็ต สามย่านสมาร์ทซิตี้ กรุงเทพมหานคร และการพัฒนาเมืองเก่าอย่างชาญฉลาด เทศบาลนครเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

1.2 เมืองใหม่ทันสมัย 2 เมือง ได้แก่ เมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์ จังหวัดระยอง และเมืองอัจฉริยะมักกะสันเพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน กรุงเทพมหานคร

2. การประกาศเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะเพื่อขับเคลื่อนสู่การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

 

สศด. เปิดรับสมัครเมืองที่มีความประสงค์ที่จะเข้ารับการพิจารณาเป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ โดยมีข้อเสนอที่ได้รับการประกาศให้เป็นเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะ 54 ข้อเสนอ 31 จังหวัด แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ (1) เมืองเดิมน่าอยู่ 50 เมือง และ (2) เมืองใหม่ทันสมัย 4 เมือง (ดศ. แจ้งว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณา)

3. กิจกรรมสนับสนุนการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ

 

3.1 การจัดงาน Thailand Smart City Week 2020 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 16 - 22 ตุลาคม 2563 ในรูปแบบออนไลน์ร่วมกับการจัดแสดงสาธิตการประยุกต์ใช้ดิจิทัลเทคโนโลยีและนวัตกรรมในพื้นที่จริง โดยมีกิจกรรมที่สำคัญ เช่น การสัมมนาด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ การประกวดแข่งขัน Thailand Smart City Week 2020 Hackathon และการจัดแสดงนิทรรศการในรูปแบบ Virtual Exhibition

3.2 การจัดหลักสูตร The Fundamentals of smart city เป็นการอบรมออนไลน์สำหรับคนทั่วไปที่ต้องการเข้าใจความรู้พื้นฐานองค์ความรู้การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ มีผู้เรียนจบ และได้รับประกาศนียบัตร 651 คน

3.3 การพัฒนากำลังคนด้านการพัฒนาเมืองอัจฉริยะผ่านโครงการพัฒนานักดิจิทัลพัฒนาเมืองรุ่นใหม่ มีผู้ผ่านการคัดเลือกในรอบออดิชัน 30 คน เพื่อลงไปดำเนินการใน 30 พื้นที่ 25 จังหวัด ในฐานะ Smart City Ambassadors และจะมีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบ Bootcamp เพื่อให้นักพัฒนาเมืองระดับท้องถิ่นและ Ambassadors มีโอกาสเรียนรู้เชิงลึก และดำเนินกิจกรรมอย่างเข้มข้น

4. ความร่วมมือเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียน

 

ในการประชุมความร่วมมือเครือข่ายเมืองอัจฉริยะอาเซียนปี 2564 ไทยได้นำเสนอความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ ดังนี้

4.1 กรุงเทพมหานคร : การพัฒนาสถานีกลางบางซื่อและพื้นที่โดยรอบให้ใช้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งขับเคลื่อนการเติบโตของชุมชนเมือง ซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนาเมืองที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

4.2 ชลบุรี : การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานและการทำระบบไฟฟ้าแรงดันกลางและต่ำขนาดเล็ก นิคมอุตสาหกรรมอมตะ

4.3 ภูเก็ต : โครงการปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ข้อมูลภาพการจราจรจากกล้องวงจรปิดเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรโครงการออกแบบระบบการขนส่งที่ขับเคลื่อนด้วยการบูรณาการทางเลือกการขนส่งสาธารณะเพื่อให้บริการ โครงการท่าเรืออัจฉริยะ นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ มีการพิจารณากรอบความคิดของโครงการฯ การออกแบบชุดเครื่องมือเพื่อการวางแผนการเงินให้กับการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และการออกแบบเว็บไซต์เพื่อใช้ในการสื่อสารกันระหว่างพันธมิตร

5. การศึกษากลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

 

คณะกรรมการฯ มีมติเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 เห็นชอบหลักการ (ร่าง) แผนการบูรณาการเมืองอัจฉริยะประเทศไทย .. 2566 – 2570 โดยปรับชื่อเป็น (ร่าง) แนวทางบูรณาการพุ่งเป้าตามหมุดหมายที่ 8 ไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 3 เป้าหมาย ดังนี้

5.1 พัฒนาระบบนิเวศและสร้างความตระหนักการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

5.2 การพัฒนาระบบข้อมูลเมืองและโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเมืองอัจฉริยะ

5.3 ส่งเสริมการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเมือง

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 3 พฤษภาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5077

 Click Donate Support Web 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!