รายงานประจำปีคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 03 May 2022 22:42
- Hits: 6940
รายงานประจำปีคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ เสนอรายงานประจำปีคณะกรรมการพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ (กพยช.) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติพัฒนาการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ พ.ศ. 2549 มาตรา 16 (6) ที่บัญญัติให้สำนักงานกิจการยุติธรรม (สกธ.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กพยช. มีอำนาจหน้าที่จัดทำรายงานประจำปีเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของ กพยช. เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี] ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
เรื่อง |
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ |
|||||||||||||
1) ภาพรวมสถานการณ์กระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2563 |
1.1) สถิติจำนวนคดีที่รับแจ้งความ 2,054,098 คดี และจำนวนผู้ต้องหาที่จับกุมได้ ในปี 2562-2563 จำนวน 1,386,529 คน 1.2) สถิติจำนวนคดีอาญาที่เข้าสู่การพิจารณา 1,788,836 คดี และคดีเสร็จไปของศาลชั้นต้นทั่วราชอาณาจักร 1,673,379 คดี 1.3) สถิติจำนวนผู้อยู่ในการควบคุมของกรมราชทัณฑ์ทั่วประเทศ แบ่งเป็น นักโทษเด็ดขาด 896,580 คน ผู้ต้องขังระหว่าง (อุทธรณ์-ฎีกาไต่สวน-พิจารณา และสอบสวน) 177,598 คน และกระทำผิดซ้ำหลังจากได้รับการปล่อยตัวใน ปีแรก 88,399 คน 1.4) สถิติคดีรับเข้าของศาลปกครองชั้นต้น 24,195 คดี และคดีแล้วเสร็จ 21,648 คดี
|
|||||||||||||
2) ผลการดำเนินงาน ของ กพยช. และคณะอนุกรรมการภายใต้ กพยช. 8 คณะ |
|
|||||||||||||
3) การขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับ ที่ 3 (พ.ศ. 2562-2565) |
แบ่งเป็น 2 ประเด็น ประกอบด้วย 1) รายงานข้อมูลสถานการณ์ตามตัวชี้วัดแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2562-2565) เช่น ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อกระบวนการยุติธรรมเพิ่มขึ้น ค่าเฉลี่ย 3.35 และความหวาดกลัวภัยอาชญากรรมของประชาชนน้อยลง ร้อยละ 25.60 และ 2) รายงานผลการดำเนินการโครงการสำคัญ ภายใต้แผนแม่บทฯ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีการดำเนินโครงการทั้งสิ้น 184 โครงการ และใช้งบประมาณทั้งสิ้น 7,388.30 ล้านบาท |
|||||||||||||
4) ผลการดำเนินงานของฝ่ายเลขานุการ (สกธ.) เพื่อสนับสนุนภารกิจ ของ กพยช. |
4.1) พัฒนาข้อมูลและสถิติที่สำคัญต่อการพัฒนากระบวนการยุติธรรม โดยการจัดทำรายงานสถานการณ์อาชญากรรมและกระบวนการยุติธรรมประจำปี พ.ศ. 2563 4.2) จัดทำวารสารกระบวนการยุติธรรม เป็นการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานยุติธรรม ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 วารสารฯ ได้ผ่านการรับรองคุณภาพวาสารวิชาการของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) จัดให้เป็นวารสารกลุ่มที่ 1 ในฐานข้อมูล TCI 4.3) ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการบริหารงานยุติธรรม ตามแนวทางการเผยแพร่กฎหมาย เพื่อสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนและหน่วยงานภาครัฐ ในรูปแบบออนไลน์ ประกอบด้วย การจัดอบรมสื่อ ให้ความรู้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม “เกมจับคนผิด Justice Game” สื่อเสียง “กฎหมายง่ายจัง แค่ฟังก็เข้าใจ” เพื่อเสริมสร้างการรับรู้กฎหมายให้ประชาชนในพื้นที่ และในรูปแบบออฟไลน์ โดยจัดทำหนังสือและคู่มือกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สำหรับเด็กและเยาวชน และประชาชน 4.4) ขับเคลื่อนงานด้านกระบวนการยุติธรรมในมิติเชิงพื้นที่ ผ่านกรอบแนวทางการป้องกันอาชญากรรมที่มีประสิทธิภาพโดยจัดทำแนวทางในการป้องกันอาชญากรรมและจัดทำเครื่องมือที่เหมาะสมกับบริบทชุมชน การจัดทำโครงการโรงเรียนยุติธรรมอุปถัมภ์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคมสำหรับเด็กและเยาวชนในโรงเรียนไม่ให้ตกเป็นเหยื่ออาชญากรรม 4.5) พัฒนาบุคลากรในกระบวนการยุติธรรม ประกอบด้วย การฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับสูง (รุ่นที่ 12) การฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารงานยุติธรรมระดับกลาง (รุ่นที่ 16) การฝึกอบรมหลักสูตรการป้องกันอาชญากรรมกับการอำนวยความยุติธรรมในสังคม (Crime Prevention) รุ่นที่ 4 และการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยในกระบวนการยุติธรรม รุ่นที่ 5 |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 3 พฤษภาคม 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A5067