WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (13th IMT-GT Summit)

GOV 5

ผลการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (13th IMT-GT Summit)

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจ สามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย [13th IMT-GT (Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle) Summit] เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 และเห็นชอบการมอบหมายภารกิจหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยรับทราบผลการประชุมฯ แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป และพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปตามแผนการดำเนินงานในระยะต่อไปเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานแผนงาน IMT-GT ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          สศช. รายงานว่า

          1. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เข้าร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงาน IMT-GT เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับความก้าวหน้า ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และทิศทางการดำเนินงานในอนาคตของแผนงาน IMT-GT สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

                 1.1 ความก้าวหน้าของแผนงาน IMT-GT ภายใต้แผนการดำเนินงานระยะห้าปี .. 2560 - 2564 [Implementation Blueprint (IB) 2017-2021] ได้แก่

                          (1) โครงการความเชื่อมโยงทางกายภาพ (Physical Connectivity Projects: PCPs) ที่ประชุมฯ ได้รับทราบความคืบหน้าโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 14 โครงการจากทั้งหมด 47 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมประมาณ 39,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในส่วนของประเทศไทยดำเนินการแล้วเสร็จจำนวน 6 โครงการ ได้แก่ โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง โครงการขยายท่าอากาศยานนานาชาติหาดใหญ่ (การปรับปรุงระยะสั้น) โครงการปรับปรุงด่านศุลกากรปาตังเบซาร์ โครงการปรับปรุงด่านศุลกากรวังประจัน โครงการเมืองยางพารา และนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่พัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสงขลา

                          (2) การดำเนินงาน 3 สาขาหลัก และ 4 สาขาสนับสนุน ได้แก่

 

สาขา

 

โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ

3 สาขาหลัก

   

(1) การเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร มุ่งสู่การเป็นภาคการเกษตรที่มีความสามารถในการแข่งขันเพื่อความมั่นคงทางอาหารและความยั่งยืน

 

เช่น โครงการพัฒนาผลิตภาพการเพาะเลี้ยงปลากะพงขาว โครงการพัฒนาแพะสายพันธุ์แดงสุราษฎร์ และโครงการฝึกอบรมเกษตรกรรุ่นใหม่ ระยะที่ 1

(2) การท่องเที่ยว ส่งเสริมการท่องเที่ยวข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคอย่างยั่งยืน ครอบคลุม และมีขีดความสามารถในการแข่งขัน

 

เช่น การลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างอุทยานธรณีทะเลสาบโทบา [สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (อินโดนีเซีย)] อุทยานธรณีลังกาวี [ประเทศมาเลเซีย (มาเลเซีย)] และอุทยานธรณีสตูล (ไทย)

(3) ผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล สร้างฐานอุตสาหกรรมฮาลาลขั้นสูงและมีนวัตกรรม

 

เช่น การศึกษาความแตกต่างด้านมาตรฐานฮาลาลระหว่างประเทศสมาชิกและโครงการฝึกอบรม

ผู้เชี่ยวชาญฮาลาล

4 สาขาสนับสนุน

   

(1) การค้าและการลงทุน เพื่ออำนวยความสะดวก

การค้าและการลงทุนในอนุภูมิภาค

 

เช่น การจัดทำกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ด้านศุลกากร

การตรวจคนเข้าเมือง และการกักกัน ซึ่งมีกำหนดลงนามในปี 2565 และการศึกษาระยะเวลาตรวจปล่อยสินค้า

(2) การเชื่อมโยงด้านการขนส่งและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มุ่งเน้นการพัฒนาการเชื่อมโยงทางกายภาพและกฎระเบียบ

 

การดำเนินการที่ผ่านมา เช่น การเตรียมการจัดตั้งคณะทำงานสาขาเทคโนโลยีดิจิทัล และโครงการ

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีกำหนดเปิดตัวในปี 2565

(3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การศึกษา และวัฒนธรรม

 

เช่น โครงการเครือข่ายศูนย์พัฒนาทักษะระดับอาชีวะ แผนงาน IMT-GT และโครงการแลกเปลี่ยนอาจารย์

และนักศึกษาประจำปี

(4) สิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

 

เช่น การจัดการประชุมคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 1 และการจัดการประชุมเมืองสีเขียว

 

                          (3) ที่ประชุมฯ รับทราบการสนับสนุนของธนาคารพัฒนาเอเชียในการจัดทำรายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจและการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อนำข้อเสนอแนะ เชิงนโยบายไปปรับใช้กับการดำเนินงานของแผนงาน IMT-GT ในอนาคต

                          (4) การยกร่างแผนการดำเนินงานระยะห้าปี .. 2565 – 2569 (IB 2022-2026) ที่ประชุมฯ รับทราบการกำหนด 5 ยุทธศาสตร์สำคัญ ในการขับเคลื่อนแผนงาน IMT-GT ได้แก่ (1) การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเพื่อบุรณาการอนุภูมิภาค (2) การเจริญเติบโตด้วยการขับเคลื่อนของภาคเอกชน (3) การจัดตั้งกลไกเชิงสถาบันที่มีความตื่นตัวสูง (4) การเจริญเติบโตแบบมีส่วนร่วม และ (5) เศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจภาคทะเล และเศรษฐกิจหมุนเวียน นอกจากนี้ได้กำหนดให้มีการจัดตั้งคณะทำงานสาขาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเป็นคณะทำงานสาขาที่ 8 การยกระดับเครือข่ายมหาวิทยาลัย (UNIVERSITY NETWORK: UNINET) เป็นสถาบันคลังสมองของแผนงาน IMT-GT และการยกระดับสภาธุรกิจเป็นนิติบุคคล ทั้งนี้ มีกำหนดรับรอง และประกาศใช้ IB 2022-2026 อย่างเป็นทางการในช่วงต้นปี 2565

 

AXA 720 x100

 

                 1.2 ความเห็นและข้อเสนอแนะของผู้นำและผู้เข้าร่วมประชุมอื่นๆ

 

ผู้นำและผู้เข้าร่วมประชุม

ความเห็นและข้อเสนอแนะ

นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย

(1) ส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนตามกรอบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน (Sustainable Urban Development Framework: SUDF)

(2) เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลไกเชิงสถาบันโดยเฉพาะกลไกสภาธุรกิจและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของสภาธุรกิจในการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)

(3) กระชับความร่วมมือกับหุ้นส่วนการพัฒนา โดยขอให้ธนาคารพัฒนาเอเชียจัดตั้งกองทุนพัฒนาโครงการระดับอนุภูมิภาคและการส่งเสริมการลงทุนจากแหล่งทุนทวิภาคี รวมถึงสนับสนุนให้สำนักเลขาธิการอาเซียนเป็นสื่อกลางระหว่าง IMT-GT และประเทศคู่เจรจาของอาเซียน

ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย

พัฒนาความเชื่อมโยงของโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพและกฎระเบียบระหว่างกันในอนุภูมิภาค ส่งเสริมการพัฒนาสินค้าเกษตรมูลค่าสูง และห่วงโซ่อุปทานอาหาร เสริมสร้างความยั่งยืนทางพลังงาน และเร่งรัดการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

นายกรัฐมนตรีประเทศไทย

- ข้อเสนอแนะ 3 ประการ ได้แก่

(1) เร่งพัฒนาและต่อยอดโครงการเพื่อสนับสนุนด้านการท่องเที่ยว โดยใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

(2) ขยายผลโครงการที่เกี่ยวกับการเพิ่มผลิตภาพทางการเกษตรและการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูงที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของตลาด เช่น ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพาราแปรรูป

(3) พัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานฮาลาลให้มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก ควบคู่กับการเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันและการยกระดับแรงงานในอุตสาหกรรมฮาลาล

- การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ได้แก่

(1) เสริมสร้างความเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมไร้รอยต่อ โดยเร่งรัดโครงการ PCPs ที่ยังไม่แล้วเสร็จและพิจารณาบรรจุโครงการใหม่

(2) เร่งรัดการลงนามในกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ด้านศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการกักกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแคนของสินค้าและบุคคลตามแผนงาน IMT-GT

(3) เสริมสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม โดยพัฒนาโครงการภายใต้สาขาความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการดำเนินโครงการเมืองสีเขียว และโครงการตามแผนการลงทุนตามกรอบ SUDF ซึ่งมีความสอดคล้องกับโมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ของไทย

นอกจากนี้ ได้นำเสนอความสำเร็จของโครงการภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์และประกาศความพร้อมในการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากประเทศที่มีความเสี่ยงต่ำเข้าไทยโดยไม่ต้องกักตัว

เลขาธิการอาเซียน

(1) ส่งเสริมการบูรณาการแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน .. 2025 ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองที่ยั่งยืน และกลไกทางการเงินสีเขียวของอาเซียน ร่วมกับกรอบ SUDF และข้อริเริ่มเมืองสีเขียวของแผนงาน IMT-GT

(2) ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากข้อริเริ่มต่างๆ ภายใต้กรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน

(3) เสริมสร้างความเข้าใจเรื่องความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) แก่ภาคเอกชนในอนุภูมิภาคผ่านกลไกของสภาธุรกิจ

รองประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย

(1) สนับสนุนเงินจำนวน 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้แก่ไทยและอินโดนีเซีย เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) รวมทั้งให้การสนับสนุนไทยในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของระบบสาธารณสุข การปกป้องกลุ่มเปราะบาง การช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการกระตุ้นเศรษฐกิจ

(2) สนับสนุนการฟื้นตัวหลังโควิด-19 โดยจัดทำรายงานการศึกษาแนวทางการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจและการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ เช่น การขยายความเชื่อมโยงระหว่างกัน การดึงดูดการลงทุนในสินค้าและบริการมูลค่าสูง และการสร้างโอกาสการจ้างงาน

(3) ส่งเสริมการฟื้นตัวสีเขียวผ่านการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพและการเงินที่ยั่งยืนสำหรับแผนงาน IMT-GT

 

aia 720 x100

 

                  1.3 ที่ประชุมเห็นชอบแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 13 แผนงาน IMT-GT โดยไม่มีการปรับปรุงเพิ่มเติมจากร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564

                 1.4 แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป

                          (1) ยกร่าง IB 2022 - 2026 เพื่อเป็นแผนการดำเนินงานในระยะห้าปีข้างหน้า โดยมีกำหนดรับรองและประกาศใช้อย่างเป็นทางการในช่วงต้นปี 2565

                          (2) กำหนดการลงนามกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ด้านศุลกากร การตรวจคนเข้าเมือง และการกักกัน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายข้ามพรมแดนของสินค้าและบุคคลตามแผนงาน IMT-GT ในที่ประชุมระดับรัฐมนตรี ปี 2565

                          (3) เร่งผลักดันโครงการความเชื่อมโยงที่สำคัญ เช่น การก่อสร้างถนนเชื่อมโยงด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่กับด่านศุลกากรบูกิตกาบูฮิตัมของมาเลเซีย เร่งพัฒนาและต่อยอดโครงการเพื่อสนับสนุนการเป็นจุดหมายปลายทางเดียวด้านการท่องเที่ยว มุ่งเน้นการผลิตสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปมูลค่าสูงที่สอดคล้องกับศักยภาพของพื้นที่และความต้องการของตลาด และพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานฮาลาลให้มีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับของตลาดโลก

                          (4) ไทยมีกำหนดเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีแผนงาน IMT-GT ครั้งที่ 28 ในเดือนกันยายน 2565 หรือเดือนตุลาคม 2565 จังหวัดภูเก็ต

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 3 พฤษภาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A5060

,

 Click Donate Support Web 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

 

GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!