WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น พ.ศ. ….

GOV5 copy

ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น .. ….

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น .. …. ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้

          ทั้งนี้ ดศ. เสนอว่า โดยที่กฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่นตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 .. 2547 และกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรสำหรับไปรษณียภัณฑ์ภายในประเทศที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด .. 2549 มีผลใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานแล้ว บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ไม่ได้ขอปรับอัตราราคาค่าบริการไปรษณีย์พื้นฐานในประเทศ ในขณะที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ และจากผลการศึกษาโครงการปรับปรุงอัตราค่าบริการไปรษณียากรของจดหมายและไปรษณียบัตรในประเทศของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เมื่ออิงกับดัชนีราคาผู้บริโภค และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปัจจุบันปรับสูงขึ้นร้อยละ 38.46 จากปี 2547 พบว่าในปี 2562 อัตราค่าบริการจดหมายในประเทศที่ควรจะเป็นคือ 4.13 บาทต่อฉบับ ในขณะที่ ปณท ได้พยายามบริหารจัดการต้นทุนให้อยู่ในกรอบอัตราเงินเฟ้อมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถบริการไปรษณีย์พื้นฐานในประเทศโดยทั่วถึงแก่ประชาชนในอัตราเริ่มต้นที่ 3 บาท มีผลให้ ปณท มีภาระเชิงสังคมต้นทุนของบริการพื้นฐานในประเทศเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลปี 2554 – 2563 เป็นจำนวนสูงถึง 18,380 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 1,838 ล้านบาทและมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี 2563 มีภาระการให้บริการเชิงสังคม 3,072 ล้านบาท) ประกอบกับ ปณท ต้องปรับมาตรฐานการฝากส่งให้เป็นไปตามสหภาพสากลไปรษณีย์ (The Universal Postal Union : UPU) จากมาตรฐานการฝากส่งรูปแบบเดียว เป็นมาตรฐานการฝากส่ง 2 รูปแบบ คือ ประเภทหีบห่อ (กล่อง) และประเภทซอง

          ดศ. พิจารณาแล้วเห็นว่า ปณท ได้ใช้อัตราค่าบริการไปรษณีย์พื้นฐานเดิมมาเป็นเวลานาน กิจการไปรษณีย์ในปัจจุบันมีแนวโน้มประสบปัญหาขาดทุน เห็นควรปรับอัตราไปรษณียากรสำหรับบริการไปรษณียภัณฑ์ในประเทศใหม่ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน ดศ. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น .. …. ขึ้น ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

 

EXIM One 720x90 C J

 

          การปรับอัตราไปรษณียากร จะทำให้กิจการไปรษณีย์ของ ปณท มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอสำหรับการให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชนทั่วไปได้ เพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาบริการได้บรรลุเป้าหมาย รวมทั้งเป็นการลดต้นทุนในการดำเนินกิจการของผู้ใช้บริการและเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้บริการไปรษณีย์ อันช่วยยกระดับมาตรฐานให้อยู่ระดับสากลตามมาตรฐานของ UPU อีกทั้งในระยะยาวภาครัฐสามารถนำเงินมาพัฒนาบริการการส่งไปรษณียภัณฑ์รูปแบบดั้งเดิมเป็นดิจิทัลด้วยการเป็นผู้ให้บริการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร (Total Document Handling : TDH) เพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการด้วยการพัฒนาระบบงานเพื่อให้บริการ Data Address Cleansing Tool (DAC) บริการไปรษณีย์ตอบรับในประเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Acknowledgement of Receipt : eAR) รวมทั้งพัฒนาระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล เพื่อให้ ปณท สามารถเป็น THP Digital Centre รองรับความต้องการใช้งานข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ได้มากขึ้น

          นอกจากนี้ ปณท ยืนยันว่า การปรับอัตราไปรษณียากรในระยะ 3 ปีแรก จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาคประชาชนแต่ประการใด เนื่องจากเป็นการปรับอัตราไปรษณียากรเฉพาะบริการประเภทจดหมายซึ่งภาคประชาชนส่วนใหญ่มาใช้บริการฝากส่งอยู่ในช่วงพิกัดน้ำหนัก 0 – 10 กรัม ซึ่งมีอัตราไปรษณียากร 3 บาท (เท่าเดิม) และแม้ว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจสำหรับกลุ่มการเงิน กลุ่ม e-Commerce และกลุ่มขนส่งและสื่อสารก็ตาม แต่เป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญจนอาจเกิดการผลักภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปยังผู้ใช้บริการแต่อย่างใด

          สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

          ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่นตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 .. 2547 และกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรสำหรับไปรษณียภัณฑ์ภายในประเทศที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด .. 2549 และปรับปรุงใหม่เป็นร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น .. ….” โดยปรับอัตราไปรษณียากรสำหรับบริการไปรษณียภัณฑ์ในประเทศใหม่ ดังนี้

          1. จดหมาย จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) จดหมาย ประเภทซอง และ 2) จดหมาย ประเภทหีบห่อ (กำหนดเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับ UPU) โดยมีอัตราค่าบริการให้แยกประเภทซอง/หีบห่อ เป็น 2 ระยะ

                  1.1 ระยะแรก (.. 2565 – 2567) 

                          (1) จดหมาย ประเภทซอง ยังคงอัตราค่าบริการพิกัดน้ำหนักแรกไว้ที่ 3 บาท สำหรับพิกัดน้ำหนักไม่เกิน 10 กรัม

                          (2) จดหมาย ประเภทหีบห่อ มีอัตราค่าบริการในพิกัดน้ำหนักแรก 30 บาท สำหรับพิกัดน้ำหนักไม่เกิน 500 กรัม และมีอัตราค่าบริการสูงสุด 55 บาท สำหรับพิกัดน้ำหนักเกิน 1,000 กรัม แต่ไม่เกิน 2,000 กรัม

                  1.2 ระยะที่สอง ตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป

                          (1) จดหมายประเภทซอง จะปรับอัตโนมัติโดยมีอัตราค่าบริการในพิกัดน้ำหนักแรก 4 บาท สำหรับพิกัดน้ำหนักไม่เกิน 10 กรัม และมีอัตราค่าบริการสูงสุด 62 บาท สำหรับพิกัดน้ำหนักเกิน 1,000 กรัม แต่ไม่เกิน 2,000 กรัม

                          (2) จดหมายประเภทหีบห่อ จะปรับอัตโนมัติโดยมีอัตราค่าบริการในพิกัดน้ำหนักแรก 34 บาท สำหรับพิกัดน้ำหนักไม่เกิน 500 กรัม และมีอัตราค่าบริการสูงสุด 62 บาท สำหรับพิกัดน้ำหนักเกิน 1,000 กรัม แต่ไม่เกิน 2,000 กรัม

          2. ไปรษณียบัตร ของตีพิมพ์ และพัสดุไปรษณีย์ ไม่เปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการในระยะแรก (.. 2565 – 2567) เป็นระยะเวลา 3 ปี และระยะที่สองจะปรับอัตโนมัติตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป

 

วิริยะ 720x100

 

          3. กำหนดอัตราไปรษณียากรพิเศษสำหรับไปรษณียภัณฑ์ภายในประเทศที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยมีส่วนลดสูงสุดไม่เกินร้อยละ 44 จากอัตราที่ขอปรับขึ้นใหม่ โดยกำหนดเงื่อนไขในการใช้บริการ เช่น ฝากส่งเป็นประจำต่อเนื่อง ฝากส่งต่อเดือนตั้งแต่ 500,000 ฉบับต่อเดือนขึ้นไป มีการคัดแยกเพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งต่อในระบบงานไปรษณีย์ ฝากส่งและนำจ่ายในเขตพื้นที่เดียวกัน เป็นต้น

          รายละเอียดดังนี้

          ปรับอัตราไปรษณียากรสำหรับบริการไปรษณียภัณฑ์ในประเทศใหม่ ดังนี้ 

          1) อัตราไปรษณียากรสำหรับจดหมาย ประเภทซอง จดหมาย ประเภทหีบห่อ ไปรษณียบัตร ของตีพิมพ์ เครื่องอ่านสำหรับคนเสียจักษุ และพัสดุไปรษณีย์

 

ประเภท

พิกัดน้ำหนัก

อัตราปัจจุบัน (กฎกระทรวงฯ

ปี 47)

(บาท/ฉบับ)

อัตราที่ปรับใหม่

.. 2565 – 2567 อัตรา

(บาท/ฉบับ)

อัตราร้อยละ

(%)

.. 2568 เป็นต้นไป อัตรา

(บาท/ฉบับ)

อัตราร้อยละ (%)

จดหมายประเภทซอง

ไม่เกิน 10 กรัม

ไม่เกิน 20 กรัม

มีอัตรา 3 บาท

3

-

4

33.33

เกิน 10 กรัม

แต่ไม่เกิน 20 กรัม

ไม่เกิน 20 กรัม

มีอัตรา 3 บาท

5 67.00 6 20.00

เกิน 20 กรัม

แต่ไม่เกิน 100 กรัม

5 10 100 11 10.00

เกิน 100 กรัม

แต่ไม่เกิน 250 กรัม

9 15 67.00 17 13.33

เกิน 250 กรัม

แต่ไม่เกิน 500 กรัม

15 20 33.00 23 15.00

เกิน 500 กรัม

แต่ไม่เกิน 1,000 กรัม

25 35 40.00 40 14.29

เกิน 1,000 กรัม

แต่ไม่เกิน 2,000 กรัม

45 55 22.00 62 12.73

จดหมาย

ประเภทหีบห่อ

ไม่เกิน 500 กรัม

-

30

 

34

13.33

เกิน 500 กรัม

แต่ไม่เกิน 1,000 กรัม

  40   45 12.50

เกิน 1,000 กรัม

แต่ไม่เกิน 2,000 กรัม

  55   62 12.73

ไปรษณียบัตร

-

2

คงเดิม

 

3

 

ของตีพิมพ์

ไม่เกิน 50 กรัม

3

คงเดิม

 

4

33.33

 

เกิน 50 กรัม

แต่ไม่เกิน 100 กรัม

4 คงเดิม   5 25.00
 

เกิน 100 กรัม

แต่ไม่เกิน 250 กรัม

6 คงเดิม   8 33.33
 

เกิน 250 กรัม

แต่ไม่เกิน 500 กรัม

8 คงเดิม   11 37.50
 

เกิน 500 กรัม

แต่ไม่เกิน 1,000 กรัม

13 คงเดิม   17 30.77
 

เกิน 1,000 กรัม

แต่ไม่เกิน 2,000 กรัม

25 คงเดิม   33 32.00
  ส่วนที่เกิน 2,000 กรัม คิด 1,000 กรัมละ (เศษของ 1,000 กรัม ให้นับเป็น 1,000 กรัม) 12 คงเดิม   16 33.33

เครื่องอ่านสำหรับคนเสียจักษุ

ไม่เกิน 7,000 กรัม

ไม่ต้องชำระ

ไม่ต้องชำระ

 

ไม่ต้องชำระ

 

พัสดุไปรษณีย์

ไม่เกิน 1,000 กรัม

ส่วนที่เกิน 1,000 กรัม

คิด 1,000 กรัมละ

(เศษของ 1,000 กรัม

ให้นับ 1,000 กรัม)

20

15

คงเดิม

 

25

20

25.00

33.33

 

AXA 720 x100

 

          2) อัตราไปรษณียากรต่ำกว่าอัตราไปรษณียากรทั่วไป สำหรับ (1) ลูกค้าฝากส่งอย่างเป็นประจำต่อเนื่อง (2) เป็นจดหมาย ประเภทซอง ที่มีปริมาณงานฝากส่งต่อเดือนตั้งแต่ 500,000 ฉบับขึ้นไป (3) มีการดำเนินการคัดแยกตามรหัสไปรษณีย์ หรือดำเนินการอื่นใดเพื่ออำนวยความสะดวก ในการคัดแยกและส่งต่อในระบบงานไปรษณีย์ (4) ฝากส่ง ศูนย์รับฝากไปรษณีย์จำนวนมาก หรือที่ทำการไปรษณีย์รับจ่ายเท่านั้น (5) ฝากส่งและนำจ่ายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือฝากส่งและนำจ่ายในพื้นที่จังหวัดเดียวกันสำหรับภูมิภาค และ (6) ฝากส่งภายในเวลา 15.00 . ของวันจันทร์ - ศุกร์ หรือภายใน 10.00 . ของวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการประจำปี

 

ประเภท

พิกัดน้ำหนัก

อัตราปัจจุบัน

(กฎกระทรวงฯ ปี 49)

อัตราส่วนลดจากอัตราไปรษณียากร

ทั่วไป (ปรับใหม่)

.. 2565 – 2567 

ไม่เกิน 

(บาท/ฉบับ)

.. 2568 เป็นต้นไป

ไม่เกิน (บาท/ฉบับ)

จดหมาย

ประเภทซอง

ไม่เกิน 20 กรัม

จดหมายและของตีพิมพ์ที่ได้รับส่วนลดสำหรับผู้ใช้บริการที่มีปริมาณการฝากส่งจดหมายหรือของตีพิมพ์อื่น จำนวน 1,000,000 ฉบับขึ้นไป เงื่อนไขการชำระเงินสด/เงินเชื่อ โดยมีอัตราต่อฉบับขึ้นอยู่กับจำนวนฉบับกับพิกัดน้ำหนักต่อฉบับ

2.20

2.50

เกิน 20 กรัม

แต่ไม่เกิน 100 กรัม

1.50 2.25

เกิน 100 กรัม

แต่ไม่เกิน 250 กรัม

1.50 3.75

เกิน 250 กรัม

แต่ไม่เกิน 500 กรัม

1.50 4.25

เกิน 500 กรัม

แต่ไม่เกิน 1,000 กรัม

5.00 9.75

เกิน 1,000 กรัม

แต่ไม่เกิน 2,000 กรัม

20.00 26.75

 

          3) อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับบริการการเงินในประเทศให้กำหนด ดังนี้

 

ประเภท

วงเงิน

อัตราปัจจุบัน

(กฎกระทรวงฯ ปี 47)

(บาท)

อัตราตามร่างฯ ที่เสนอ

.. 2565 – 2567 อัตรา (บาท)

.. 2568 เป็นต้นไป

อัตรา (บาท)

ธนาณัติ

ในประเทศ

1,000 บาทแรก

ส่วนที่เกิน 1,000 บาท คิด 1,000 บาทละ (เศษของ 1,000 บาท ให้นับเป็น 1,000 บาท)

10

2

คงเดิม

คงเดิม

คงเดิม

คงเดิม

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 26 เมษายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A4846

 Click Donate Support Web 

aia 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!