WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขออนุมัติดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของการรถไฟแห่งประเทศไทย

GOV9

ขออนุมัติดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของการรถไฟแห่งประเทศไทย

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้

          1. อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมในกรอบวงเงิน 1,548.77 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7)

          2. เห็นชอบให้ รฟท. กู้ยืมเงินตามนัยมาตรา 39 (4) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย .. 2494 ภายในกรอบวงเงิน 1,548.77 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7) เพื่อดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม

          สาระสำคัญของเรื่อง

          กระทรวงคมนาคม (คค.) รายงานว่า

          โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมที่ รฟท. ขออนุมัติในครั้งนี้จะเลือกใช้อุปกรณ์โครงข่ายรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพและมีความทันสมัยตามเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปภายใต้กรอบวงเงินที่ได้รับการอนุมัติ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของเนื้องานตามที่ รฟท. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดการดำเนินงานและออกแบบระบบไว้ในปี .. 2555 ซึ่งสามารถรองรับกับภารกิจของ รฟท. ในปัจจุบันและอนาคต ประกอบกับ รฟท. ได้พิจารณาทบทวนโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโครงข่ายโทรคมนาคมร่วมกับโครงการอื่นๆ ของ รฟท. เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 เพื่อไม่ให้เกิดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน โดยโครงการดังกล่าวมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

          1. ขอบเขตของงาน

 

ขอบเขตของงาน

 

รายละเอียด

(1) งานจ้างติดตั้งระบบโครงข่าย

 

เช่น ติดตั้งอุปกรณ์โครงข่ายและระบบโทรศัพท์ควบคุมการเดินรถและระบบโทรศัพท์พื้นฐาน

(2) งานจ้างติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสง

 

ติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (48 แกน) แขวนบนเสาโทรเลขตามแนวรางทั่วประเทศ

(3) งานจ้างที่ปรึกษา

 

จ้างที่ปรึกษาควบคุมงาน

 

          2. แผนการดำเนินงาน

          การดำเนินงานติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมจะดำเนินการติดตั้งสถานีโทรคมนาคมให้ครอบคลุมสถานีรถไฟทั่วประเทศ จำนวน 443 สถานี และศูนย์โทรคมนาคม จำนวน 2 แห่ง โดยทำหน้าที่ควบคุมและเฝ้าระวังระบบสื่อสารโทรคมนาคมทั่วประเทศ ซึ่งทั้ง 2 แห่ง สามารถทำงานทดแทนกันได้และติดตั้งโครงข่ายเคเบิลสายใยแก้วนำแสงเพื่อเชื่อมโยงสัญญาณการสื่อสารระหว่างสถานีทั้งหมดตลอดแนวเส้นทางรถไฟทั่วประเทศ โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้

 

แผนการดำเนินการ

รายละเอียด

ระยะที่ 1

(โครงการระยะเร่งด่วน)

(วงเงิน 1,548.77 ล้านบาท)

[เสนอดำเนินการในครั้งนี้]

เป็นการก่อสร้างระบบโทรคมนาคมแกนหลักสำหรับติดต่อสื่อสารข้อมูลและเสียงให้ได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเน้นภารกิจในการเดินรถและการติดต่อสื่อสารระหว่างภาคพื้นดินทุกพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งจะดำเนินการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมในด้านต่างๆ ที่สำคัญ ได้แก่

- การติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพื่อเชื่อมสถานีรถไฟทั่วประเทศ

- ระบบโทรศัพท์ควบคุมการเดินรถ โทรศัพท์พื้นฐาน

- ระบบการรับส่งข้อมูล

ระยะที่ 2

(โครงการระยะกลาง)

(วงเงิน 5,500 ล้านบาท)

เป็นการขยายโครงข่ายระบบโทรคมนาคมให้สามารถรับส่งข้อมูลด้วยความเร็วที่สูงขึ้น โดยจะดำเนินการติดตั้งระบบโครงข่ายสื่อสัญญาณ DWDM (Dense Wavelength Division Multiplexing) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการส่งข้อมูลผ่าน Fiber Optic ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และติดตั้งส่วนขยายของโครงข่าย IP Backbone ซึ่งจะขยายพื้นที่ติดตั้งระบบให้เชื่อมต่อกับหน่วยงานต่างๆ ทุกอาคาร และหน่วยงาน เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลาย และจำนวนอุปกรณ์ปลายทางที่มากขึ้น รวมถึงการทำโครงข่ายสำรองเพื่อให้ระบบโครงข่ายโทรคมนาคมมีเสถียรภาพในการทำงานสูง

ระยะที่ 3

(วงเงิน 7,400 ล้านบาท)

เป็นการติดตั้งระบบสื่อสารไร้สาย GSM - R (Global System for Mobile Communications - Railway) โดยเชื่อมต่อเข้ากับระบบโครงข่ายโทรคมนาคมที่ติดตั้งเสร็จในระยะที่ 2 เพื่อการติดต่อระหว่างภาคพื้นดินกับขบวนรถไฟได้ทุกขบวน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานการเดินรถทั้งหมด ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวเป็นระบบที่สามารถรองรับการทำงานของระบบรถไฟความเร็วสูงและระบบการควบคุมการเดินรถมาตรฐานสากลได้

 

          3. ความเหมาะสมด้านเทคนิค

          โครงข่ายโทรคมนาคมของ รฟท. จะใช้สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ขนาด 48 แกน ซึ่งปัจจุบันนิยมนำสายใยแก้วนำแสงมาเป็นสายหลักของระบบต่างๆ เช่น ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและระบบโครงข่ายโทรศัพท์ มาเป็นสายสัญญาณหลัก โดยจะติดตั้งแบบแขวนตามแนวเส้นทางรถไฟตลอดเส้นทางทั่วประเทศ ทั้งนี้ โครงข่ายดังกล่าวจะใช้เทคโนโลยี Metro Ethernet ในการเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟทั่วประเทศเข้ากับศูนย์โทรคมนาคมซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่และสามารถรองรับการใช้งานอื่นๆ เช่น ระบบสื่อสารด้วยเสียง VoIP (Voice over Internet Protocol) ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ระบบบัญชีและระบบ e-Document รวมถึงรองรับการเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบควบคุมการเดินรถของโครงการรถไฟฟ้ารางคู่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง และโครงการอื่นๆ ในอนาคต นอกจากนี้โครงการดังกล่าวยังได้รับการออกแบบเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงโครงข่ายร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นโครงข่ายสำรองในอนาคตได้อีกด้วย โดยจะใช้เป็นการเชื่อมต่อสายใยแก้วนำแสงจากโครงข่ายระบบโทรคมนาคมของ รฟท. ไปยังโครงข่ายของผู้ให้บริการอื่นเพื่อทำหน้าที่สำรองระบบเพื่อให้ระบบโทรคมนาคมยังคงทำงานได้ต่อเนื่องในกรณีที่เกิดปัญหาสายใยแก้วนำแสงขาดเนื่องจากอุบัติเหตุ

 

QIC 720x100

 

          4. ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน

          รฟท. ได้วิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในกรณีที่ปรับลดกรอบวงเงินโครงการฯ จากเดิม 2,055.198 ล้านบาท คงเหลือ 1,548.77 ล้านบาท ซึ่งพบว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมเพิ่มขึ้น รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

                 4.1 ผลตอบแทนทางการเงิน

 

ผลตอบแทนทางการเงิน

กรณีการใช้/ร่วมพัฒนาโครงข่ายเดิม1

กรณีร่วมมือกับผู้ประกอบการ

ที่เป็นเจ้าของโครง

ข่ายในตลาดค้าส่งโทรคมนาคม2

วงเงิน (เดิม)

2,055.198

ล้านบาท

วงเงิน (ใหม่)

1,548.770

ล้านบาท

วงเงิน (เดิม)

2,055.198

ล้านบาท

วงเงิน (ใหม่)

1,548.770

ล้านบาท

(1) อัตราผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR)3

ร้อยละ 3.4

ร้อยละ 4.21

ร้อยละ 24.4

ร้อยละ 31.66

(2) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV)

อัตราคิดลด ร้อยละ 10

- 661.050 

ล้านบาท

- 461.346

ล้านบาท

1,628.559

ล้านบาท

1,828.722

ล้านบาท

 

                  4.2 ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ

 

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ

กรณีการใช้/ร่วมพัฒนาโครงข่ายเดิม

กรณีร่วมมือกับผู้ประกอบการ

ที่เป็นเจ้าของโครง

ข่ายในตลาดค้าส่งโทรคมนาคม

วงเงิน (เดิม)

2,055.198

ล้านบาท

วงเงิน (ใหม่)

1,548.770

ล้านบาท

วงเงิน (เดิม)

2,055.198 

ล้านบาท

วงเงิน (ใหม่)

1,548.770

ล้านบาท

(1) อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR)3

ร้อยละ 127

ร้อยละ 160.55

ร้อยละ 244.7

ร้อยละ 308.59

(2) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV)

อัตราคิดลด ร้อยละ 10

28,864.672

ล้านบาท

29,427.293

ล้านบาท

31,326.573

ล้านบาท

34,713.101 ล้านบาท

 

                  คค. ชี้แจงเพิ่มเติมว่า (1) รฟท. จำเป็นต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดังกล่าว เนื่องจากเป็นโครงข่ายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมของ รฟท. เพื่อความปลอดภัยในการเดินรถ เพื่อความคล่องตัวในการปรับปรุงและขยายโครงข่ายการดำเนินกิจการขนส่งทางรถไฟ และยังมีความเสี่ยงสูงหากนำโครงข่ายที่ใช้งานร่วมกับเอกชนที่ถูกนำไปหาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ไปบูรณาการโครงข่ายร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในด้านการใช้ประโยชน์สาธารณะและภารกิจของหน่วยงานของรัฐ เช่น ด้านความมั่นคงและด้านภัยพิบัติในฐานะโครงสร้างพื้นฐานของชาติตามมติคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 และ (2) เนื่องจากข้อเท็จจริงปรากฏว่า รฟท. ไม่สามารถดำเนินธุรกิจกิจการโทรคมนาคมได้ เนื่องจากไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักขององค์กรตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย .. 2494 ซึ่งหน่วยงานราชการ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เคยยื่นเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยตามเรื่องเสร็จที่ 340/2549 เรื่องการดำเนินธุรกรรมของ กฟผ. สรุปได้ว่าหน่วยงานอื่นๆ ของรัฐที่ไม่ได้มีบทบาทเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม ไม่สามารถดำเนินกิจการโทรคมนาคมได้ ดังนั้น รฟท. จึงไม่มีสิทธิในการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (Public Private Partnership: PPP) ได้

          5. ระยะเวลาดำเนินการ กรอบวงเงิน และแหล่งที่มา

          โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของ รฟท. มีระยะเวลาการดำเนินโครงการ 2 ปี ภายในกรอบวงเงินลงทุน 1,548.77 ล้านบาท แต่เนื่องจากไม่ใช่การดำเนินการในส่วนโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐสนับสนุนตามหลักการการอุดหนุนโครงการของ รฟท. และเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563 รฟท. จึงจะกู้เงินตามนัยมาตรา 39 (4) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย .. 2494 เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว โดย รฟท. จะเป็นผู้รับภาระเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน และให้ กค. เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ กำหนดวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่างๆ ในการกู้เงินต่อไป

 

ais 720x100

 

          6. ประโยชน์จากการดำเนินการ

                 6.1 ด้านการเดินรถ สามารถรองรับระบบงานที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพในการเดินรถ เช่น ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟสี ระบบควบคุมการเดินรถ ระบบวิทยุสื่อสาร ระบบติดตามการเดินรถ ระบบเครื่องกั้น ระบบกล้องวงจรปิด รวมถึงเทคโนโลยีการเดินรถสมัยใหม่และระบบรถไฟความเร็วสูง

                 6.2 ด้านการให้บริการ สามารถรองรับเทคโนโลยีไร้สายที่สนับสนุนการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและความบันเทิงบนขบวนรถแก่ผู้โดยสาร นอกจากนี้ยังรองรับโครงข่ายในลักษณะ VPN (Virtual Private Networks) และระบบข้อมูลข่าวสารที่ฉับไว ถูกต้อง ไม่คลาดเคลื่อน รวมถึงระบบการขายตั๋วโดยสารออนไลน์และทางอินเทอร์เน็ต

                 6.3 ด้านการสื่อสารภายใน จะช่วยสนับสนุนให้การสื่อสารข้อมูลในทุกรูปแบบระหว่างหน่วยงานภายในของ รฟท. ให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพทั้งในส่วนของระบบโทรศัพท์พื้นฐานและระบบการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เช่น ระบบจัดเก็บข้อมูล (Data Center) ระบบการประชุมทางไกล รวมถึงระบบงานที่ใช้วางแผนทรัพยากรขององค์กร หรือ ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)

                 6.4 ด้านการพัฒนาโครงข่ายในอนาคต สามารถรองรับการปรับปรุงและ/หรือขยายโครงข่ายตามเส้นทางรถไฟที่เพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงได้ อีกทั้งยังรองรับการเชื่อมโยงกับโครงข่ายผู้ให้บริการด้านรถไฟในประเทศเพื่อนบ้าน

                 6.5 ด้านสังคม สนับสนุนกิจกรรมทางสังคมทั้งในด้านการศึกษา การแพทย์ ภูมิศาสตร์และการเตือนภัยพิบัติต่างๆ นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีต่อการคมนาคมระบบรางของประเทศ และส่งเสริมกระจายความเจริญจากศูนย์กลางไปสู่ภูมิภาค

          7. ผลกระทบด้านต่างๆ 

                 7.1 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

                 โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของ รฟท. ไม่เข้าข่ายที่จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 24 เมษายน 2555 และไม่จัดอยู่ในประเภทโครงการ หรือกิจการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ตามมติคณะรัฐมนตรี

                 7.2 ผลกระทบจากการเวนคืนที่ดิน

                 โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของ รฟท. ไม่มีผลกระทบต่อประชาชนเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างโครงการ เนื่องจากดำเนินการอยู่ในเขตที่ดินของ รฟท. ทั้งหมด

 

EXIM One 720x90 C J

 

          คค. แจ้งเพิ่มเติมว่า

          1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง (กค.) สำนักงบประมาณ (สงป.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาแล้วเห็นชอบให้ รฟท. ดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม โดยมีความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติม

          2. รฟท. มีความพร้อมในการดำเนินโครงการ โดยได้จัดทำข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง (Term of Reference: TOR) โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม และจัดจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ขอรับจัดสรรเป็นรายเดือนไว้แล้ว สามารถดำเนินการได้ทันที นอกจากนี้ยังได้พิจารณาทบทวนการลงทุนในส่วนของการปรับปรุงระบบโทรคมนาคมภายใต้โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่อีกครั้ง และกำหนดขอบเขตงานไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับงานเดินสายเคเบิลใยแก้วนำแสงในงานแต่ละโครงการ เพื่อลดความซ้ำซ้อนและภาระการลงทุนของภาครัฐโดยรวมเรียบร้อยแล้ว

          3. คค. ได้พิจารณาแนวทางการใช้ประโยชน์โครงข่ายนอกเหนือจากกิจการเดินรถระบบขนส่งทางราง เพื่อใช้ในประโยชน์ของสาธารณะและภารกิจของหน่วยงานของรัฐตามความเห็นของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว โดยเห็นควรให้ใช้ในภารกิจของ คค. เพื่อใช้ประโยชน์ในการรับส่งข้อมูลสารสนเทศของระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการให้บริการประชาชนและสนับสนุนการปฏิบัติราชการกับหน่วยงานในสังกัดส่วนกลาง รวมถึงเชื่อมโยงการรับส่งข้อมูลสารสนเทศระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์และใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตผ่าน Internet Gateway ของ คค.

________________________

1 กรณีการใช้/ร่วมพัฒนาโครงข่ายเดิม หมายถึง การพัฒนาโครงข่ายของ รฟท. พร้อมกับการใช้/พัฒนาคู่ขนานร่วมกับโครงข่ายเดิมที่มีอยู่ (ผลการศึกษารายละเอียดแนวทางการดำเนินการภายหลังโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงตามเส้นทางรถไฟหมดสัญญาสัมปทานในปี .. 2554 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี .. 2552)

2 กรณีร่วมมือกับผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของโครงข่ายในตลาดค้าส่งโทรคมนาคม หมายถึง การพัฒนาโครงข่ายของ รฟท. พร้อมร่วมมือกับผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของโครงข่ายในตลาดค้าส่งโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ในการเป็นโครงข่ายสำรอง หรือพัฒนาร่วมกับโครงข่ายโทรคมนาคมของหน่วยงานอื่นที่มีโครงข่ายอยู่แล้วเพื่อใช้เป็นโครงข่ายสำรอง เช่น โครงข่ายทางถนนของ คค.

3 คู่มือแนวทางและหลักเกณฑ์การวิเคราะห์โครงการ .. 2555 (ฉบับปรับปรุง) ของ สศช. แนะนำว่า สำหรับการวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านการเงินของโครงการ อัตราผลตอบแทนด้านการเงินของโครงการ (Financial Internal Rate of Return: FIRR) ควรมากกว่าอัตราเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักต้นทุนเงินลงทุนของโครงการ (Weighted Cost of Capital: WACC) ในขณะที่การวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการ ที่ผ่านมา สศช. ได้กำหนดเกณฑ์อัตราผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการ (Economic Internal Rate of Return: EIRR) ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง ร้อยละ 9 - 12 แล้วแต่ลักษณะของโครงการ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 26 เมษายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A4836

 Click Donate Support Web 

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!