WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

การเพิ่มสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

GOV 6

การเพิ่มสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอดังนี้

          1. อนุมัติในหลักการให้จ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุ เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจในปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายนกันยายน 2565 ในอัตรา ดังนี้ (1) กลุ่มผู้สูงอายุ 60 – 69 ปี ให้ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ จำนวน 100 บาทต่อคนต่อเดือน (2) กลุ่มผู้สูงอายุ 70 – 79 ปี ให้ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ จำนวน 150 บาทต่อคนต่อเดือน (3) กลุ่มผู้สูงอายุ 80 – 89 ปี ให้ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ จำนวน 200 บาทต่อคนต่อเดือน และ (4) กลุ่มผู้สูงอายุ 90 ปีขึ้นไป ให้ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ จำนวน 250 บาทต่อคนต่อเดือน

          2. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณ รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุตามอัตรา ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น .. 2562 ต่อไป

          3. ในกรณีผู้สูงอายุที่ถูกระงับสิทธิเนื่องจากได้รับสวัสดิการอื่นซ้ำซ้อนจากรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น1 (อปท.) ให้ได้รับสิทธิตามข้อ 1 ด้วย โดยจะได้รับเมื่อมีการออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใหม่ ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ)2

          สาระสำคัญของเรื่อง

          พม. รายงานว่า

          1. ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย (Ageing Society) มาตั้งแต่ปี 2548 โดยมีผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ และคาดว่าในปี 2565 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) คือ มีผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ อีกทั้งในปี 2576 คาดว่าจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) คือ มีผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 66,171,440 คน เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 11,906,511 คน3 (คิดเป็นร้อยละ 17.90 ของประชากรทั้งประเทศ) โดยปีงบประมาณ .. 2565 มีผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 10,896,444 ราย

 

GC 720x100TU720x100

 

          2. จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ยังคงส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ผู้สูงอายุได้รับผลกระทบทางรายได้คิดเป็นร้อยละ 50.7 ของผู้สูงอายุทั้งหมด และรายได้ของผู้สูงอายุที่มาจากการทำงานมีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ 40 เหลือเพียงร้อยละ 22 นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังได้รับเงินจากบุตรหลานน้อยลง เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจึงกลายเป็นแหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุ ดังนั้น เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากของกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม และยังเป็นการคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมและพึ่งพาตนเองได้ต่อไป พม. จึงเสนอมาตรการการเพิ่มสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุฯ (เพิ่มตามช่วงอายุ) เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน 2565 โดยคาดว่าจะต้องจ่ายเงินให้กับผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพจำนวน 10,896,444 คน (ตามจำนวนผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนไว้ในปีงบประมาณ .. 2565) เป็นเงินจำนวน 8,348,160,000 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

 

ช่วงอายุ (ปี)

จำนวนผู้สูงอายุ

(คน)

(1)

อัตราเดิม

(บาท)

(2)

อัตราเพิ่ม

(บาท)

(3)

อัตราใหม่

6 เดือน (บาท)

(4) = (2) + (3)

งบประมาณที่คาดว่า

จะเพิ่มขึ้น 6 เดือน (บาท)

(1) x (3) x 6 เดือน

60 - 69

6,471,205

600

100

700

3,882,723,000

70 - 79

3,012,407

700

150

850

2,711,166,300

80 - 89

1,216,591

800

200

1,000

1,459,909,200

90 ปีขึ้นไป

196,241

1,000

250

1,250

294,361,500

รวม

10,896,444

-

-

-

8,348,160,000

 

                  ซึ่งมีหน่วยงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 4 หน่วยงาน ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดหน่วยงานผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองการส่งเสริม การสนับสนุนผู้สูงอายุในด้านต่างๆ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ .. 2546 (ฉบับที่ 2) .. 2561 ดังนี้

                  1) มท. โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีหน่วยงานอยู่ในความรับผิดชอบรวมจำนวนทั้งสิ้น 7,772 แห่ง โดยรับการจัดสรรงบประมาณเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 7,547 แห่ง และเป็นหน่วยงานรับงบประมาณตรงจากสำนักงบประมาณ (สงป.) จำนวน 225 แห่ง

                  2) กรุงเทพมหานคร 50 เขต

                  3) เมืองพัทยา

                  4) กระทรวงการคลัง (กค.) โดยกรมบัญชีกลาง อำนวยความสะดวกด้านการจ่ายตรงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตามโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Payment)

___________________________

1 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น .. 2552 ข้อ 6 (4) กำหนดให้ผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะต้องไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ อปท. เช่น บำนาญ บำนาญพิเศษ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ ในลักษณะเดียวกัน หรือได้รับเป็นประจำ

2 บันทึกความเห็นสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การจ่ายเงินเบี้ยสูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ .. 2546 (เรื่องเสร็จที่ 611/2564) คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) มีคำวินิจฉัยว่า เงื่อนไขที่กำหนดว่าผู้สูงอายุที่จะได้รับเงินเบี้ยยังชีพต้องไม่เป็นผู้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ อปท. เป็นเงื่อนไขที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ .. 2546 เงื่อนไขนั้นจึงใช้บังคับไม่ได้ และมีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบควรรีบดำเนินการแก้ไขระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น .. 2552 โดยเงื่อนไขในการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ จะต้องจ่ายให้แก่ผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ เพื่อให้การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุสอดคล้องกับมาตรา 48 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 11 (11) และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ .. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

3 ข้อมูลกรมการปกครอง วันที่ 30 สิงหาคม 2564

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 26 เมษายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A4834

 Click Donate Support Web 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!