WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานประจำครึ่งปี (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564) ของธนาคารแห่งประเทศไทย

GOV8

รายงานประจำครึ่งปี (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564) ของธนาคารแห่งประเทศไทย

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ รายงานประจำครึ่งปี (กรกฎาคม-ธันวาคม 2564) ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติ ธปท. .. 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 61 ซึ่งบัญญัติให้ทุกหกเดือนให้ ธปท. จัดทำรายงานสภาพเศรษฐกิจ นโยบายการเงิน นโยบายสถาบันการเงิน นโยบายระบบการชำระเงิน แนวทางการดำเนินงานและประเมินผล เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อรายงานคณะรัฐมนตรีทราบ) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. ภาวะเศรษฐกิจ

                 1.1 เศรษฐกิจประเทศไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 (กรกฎาคม-ธันวาคม) ขยายตัว ที่ร้อยละ 0.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ชะลอลงจากในช่วงครึ่งแรกของปี (มกราคม-มิถุนายน) ที่อยู่ที่ร้อยละ 2.3 ตามอุปสงค์ในประเทศที่แผ่วลง โดยการบริโภคภาคเอกชนปรับลดลงจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) สายพันธุ์เดลต้าที่รุนแรงและมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดในไตรมาสที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน) ส่วนการลงทุนภาคเอกชนปรับลดลงตามการลงทุนด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ซึ่งสอดคล้องกับอุปสงค์ในประเทศที่ยังอ่อนแอและความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจ ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐ (ไม่รวมเงินโอนยังขยายตัวจากการอุปโภคของภาครัฐ และการลงทุนของภาครัฐหดตัวตามการเบิกจ่ายลงทุนด้านคมนาคมและระบบชลประทานที่ลดลง ด้านการส่งออกสินค้ากลับมาฟื้นตัวได้ดีในไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม) ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและปัญหาการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน (Supply Disruption) ที่คลี่คลาย ส่วนการส่งออกบริการปรับตัวดีขึ้นหลังจากมีการทยอยเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

                 1.2 เสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินในประเทศยังเปราะบาง โดยในไตรมาสที่ 3ตลาดแรงงานได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่รุนแรง อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสที่ 4 ตลาดแรงงานมีสัญญาณฟื้นตัวตามกิจกรรมทางเศรษฐกิจแต่เป็นไปอย่างช้าๆ ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้และฐานะทางการเงินของครัวเรือนยังคงเปราะบาง ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ร้อยละ 1.56 เร่งขึ้นจากในช่วงครึ่งแรกของปีที่อยู่ที่ร้อยละ 0.89 โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 4 เนื่องจากราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศและราคาอาหารสดที่ปรับเพิ่มขึ้น

                 1.3 เสถียรภาพด้านต่างประเทศของไทยยังเข้มแข็ง สามารถรองรับความผันผวนของตลาดการเงินโลกได้ สะท้อนจากสัดส่วนหนี้ต่างประเทศต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่ต่ำและสัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศต่อหนี้ต่างประเทศระยะสั้นที่สูงเมื่อเทียบกับเกณฑ์สากลอย่างไรก็ตาม ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลมากกว่าช่วงครึ่งแรกของปีตามการขาดดุลบริการ รายได้และเงินโอนจากรายจ่ายบริการขนส่งที่เพิ่มขึ้น ส่วนดุลบัญชีเงินทุนเคลื่อนย้ายเกินดุลสุทธิจากที่มีการขาดดุลในช่วงครึ่งแรกของปี โดยเกิดจากหนี้สินตามการลงทุนประเภทอื่นๆ จากการจัดสรรสิทธิในการถอนเงินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศให้กับไทยเพื่อรับมือกับโควิด-19 ประกอบกับมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

 

AXA 720 x100

 

          2. การดำเนินงานของ ธปท. ประกอบด้วย

                 2.1 แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลนโยบายการเงิน ประกอบด้วย

                          2.1.1 การดำเนินนโยบายด้านอัตราดอกเบี้ย โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี และประเมินว่าเศรษฐกิจไทย มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจากการใช้จ่ายในประเทศและนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมามากขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อที่ปรับสูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีเป็นผลจากราคาพลังงานเป็นหลัก ทั้งนี้ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจมีความ ไม่แน่นอนสูงจากหลายปัจจัย เช่น การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่อาจส่งผลกระทบรุนแรงและยืดเยื้อความต่อเนื่องของมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐที่จะทยอยหมดลง และราคาพลังงานโลกที่สูงขึ้น ทั้งนี้ กนง. เห็นว่า มาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยมาตรการสาธารณสุขเพื่อควบคุมการระบาดยังมีความสำคัญ มาตรการการคลังควรสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างตรงจุด และนโยบายการเงินจะช่วยสนับสนุนให้ภาวะการเงินโดยรวมมีความผ่อนคลายต่อเนื่อง

                          2.2.2. การดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน โดยเงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสที่ 3 ปี 2564 ปรับอ่อนค่าจากไตรมาสที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน) มีสาเหตุจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ (1) เงินทุนไหลออกเนื่องจากความกังวลของการแพร่ระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า และ (2) การแข็งค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐภายหลังธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาส่งสัญญาณลดปริมาณการเข้าซื้อสินทรัพย์เนื่องจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ส่วนในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 เงินบาทต่อดอลลาร์สหรัฐเคลื่อนไหวผันผวน โดยในเดือนธันวาคม 2564 เงินบาทอ่อนค่าเร็วมีสาเหตุจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ (1) การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่กระทบต่อการฟื้นตัวของภาค การท่องเที่ยวและ (2) การลดการผ่อนคลายนโยบายการเงินของธนาคารกลางประเทศอุตสาหกรรมหลักที่เร็ว กว่าคาด ทั้งนี้ กนง. เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของตลาดการเงินโลกและไทยอย่างใกล้ชิด รวมทั้งควรผลักดัน การสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น

 

GC 720x100

 

                 2.2 แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลนโยบายสถาบันการเงินคณะกรรมการโยบายสถาบันการเงินให้ความสำคัญ ดังนี้ (1) การออกมาตรการในช่วงโควิด-19 โดยให้ความสำคัญต่อการให้ ความช่วยเหลือและติดตามความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถกำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไป (2) การดำเนินงานด้านนโยบายกำกับสถาบันการเงินและการดูแลความเสี่ยงและการรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินและเศรษฐกิจโดยรวม โดยให้ความสำคัญกับการติดตามและประเมินความเสี่ยงในประเด็นสำคัญ เช่น การประเมินธนาคารพาณิชย์ที่มีความสำคัญเชิงระบบในประเทศและการปรับปรุงกรอบ การประเมินความพร้อมในการรับมือภัยคุกคามทางไซเบอร์เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถรับมือต่อความเสี่ยงที่มีความซับซ้อนมากขึ้น (3) การดำเนินงานด้านการพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดย ธปท. อยู่ระหว่างจัดทำแนวนโยบายภูมิทัศน์ใหม่ภาคการเงินไทยเพื่อเศรษฐกิจดิจิทัลและการเติบโตอย่างยั่งยืนโดยให้ความสำคัญกับการเปิดโอกาสให้ภาคการเงินใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและข้อมูลต่างๆ การเปลี่ยนผ่านสู่โลกใหม่ได้อย่างยั่งยืนโดยประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมในการทำธุรกิจและการกำกับดูแลอย่างยืดหยุ่นและเท่าทันความเสี่ยงรูปแบบใหม่ และ (4) ผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (Specialized Financial Institutions: SFIs) ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ธนาคารพาณิชย์และ SFIs มีความมั่นคงและสภาพคล่อง ในระดับสูงสามารถรองรับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมทั้งให้ความช่วยเหลือลูกหนี้และสนับสนุนความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจและครัวเรือนในระยะต่อไปได้

                 2.3 แนวทางการดำเนินงานและประเมินผลนโยบายระบบการชำระเงินสรุปได้ ดังนี้ (1) แนวโน้มการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 การใช้บริการ e-Payment เพิ่มขึ้นในเชิงปริมาณร้อยละ 54.3 และเชิงมูลค่าร้อยละ 3.7 เมื่อเทียบกับปี 2563 ส่วนการใช้บริการผ่าน Mobile Banking /Internet Banking เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 67.5 (2) การดำเนินการตามกรอบการพัฒนา 5 ด้านของแผนกลยุทธ์ระบบการชำระเงินฉบับที่ 4 เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินและการชำระเงินสำหรับภาคธุรกิจเพื่อช่วยให้ภาคธุรกิจปรับตัวเข้าสู่ระบบดิจิทัลได้ดีขึ้น การเชื่อมระบบการชำระเงินระหว่างประเทศผ่าน QR Code และบริการโอนเงินระหว่างประเทศ และการขยายโครงการนำร่องการบูรณาการข้อมูลธุรกรรม การชำระเงินในระดับรายธุรกรรมเพื่อติดตามภาวะเศรษฐกิจและการวิเคราะห์พฤติกรรมการชำระเงิน

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 19 เมษายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A4575

 Click Donate Support Web 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

 

aia 720 x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!