WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานการศึกษา เรื่อง แนวทางและรูปแบบการกำหนดความผิดของนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริตประพฤติมิชอบและผู้ร่วมกระทำความผิด

GOV4 copy copy

รายงานการศึกษา เรื่อง แนวทางและรูปแบบการกำหนดความผิดของนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริตประพฤติมิชอบและผู้ร่วมกระทำความผิด

          คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการศึกษา เรื่อง แนวทางและรูปแบบการกำหนดความผิดของนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริตประพฤติมิชอบและผู้ร่วมกระทำความผิด ตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ...) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติเสนอ

          สาระสำคัญของเรื่อง

          สำนักงาน ... ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ [รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน] รายงานว่า ในคราวประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2564 ได้พิจารณารายงานการศึกษา เรื่อง แนวทางและรูปแบบการกำหนดความผิดของนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริตประพฤติมิชอบและผู้ร่วมกระทำความผิด [ของคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ คณะที่ 2] เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีบทบัญญัติที่เป็นผลทั่วไปที่กำหนดหลักเกณฑ์ให้นิติบุคคลรับผิดทางอาญาทำนองเดียวกับที่กำหนดให้บุคคลธรรมดาต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 แต่กฎหมายไทยได้กำหนดโดยปริยายว่า หากเป็นกรณีที่ผู้กระทำผิดเป็นนิติบุคคลต้องมีความผิดในพระราชบัญญัติต่างๆ ซึ่งเป็นการบัญญัติตามกฎหมายเฉพาะและเห็นชอบให้นำผลการศึกษาเสนอคณะรัฐมนตรี สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

          1. การจัดทำกฎหมายและแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้รองรับกรณีนิติบุคคลและผู้ร่วมกระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริตประพฤติมิชอบ โดยปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภายในต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมถึงนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและกำหนดโทษปรับให้เป็นสองเท่าของมูลค่าความเสียหายหรือผลประโยชน์ที่ได้รับให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต .. 2003 ได้แก่

 

TU720x100

 

                 1.1 ปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้แก่

                          1) กำหนดให้นิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาเป็นการเฉพาะเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา ตามมาตรา 59 แห่งประมวลกฎหมายอาญา โดยเทียบเคียงกับประมวลกฎหมายอาญาของสาธารณรัฐฝรั่งเศสมาพิจารณาในการกำหนดโทษทางอาญาสำหรับนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคล

                          2) ปรับปรุงแก้ไขมาตรา 144 แห่งประมวลกฎหมายอาญาให้รวมถึงนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลด้วย และปรับเพิ่มโทษ ทั้งโทษจำคุกและโทษปรับให้สูงกว่าบุคคลธรรมดา โดยกำหนดให้เป็น 5 เท่าของอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับบุคคลธรรมดา

                          3) กำหนดให้ในกรณีนิติบุคคลหรือผู้แทนนิติบุคคลรายใดที่ไม่สามารถชำระค่าปรับได้โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เป็นการยึดทรัพย์สินตามมูลค่าของค่าปรับที่ได้รับ

                          4) เพิ่มเติมโทษอื่น นอกจากโทษจำคุกและโทษปรับสำหรับนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลสำคัญ เช่น การสั่งยุบกิจการ ในกรณีที่มีความผิดที่มีระวางโทษจำคุกสูงกว่า 5 ปี และการห้ามประกอบกิจการโดยไม่มีกำหนดหรือมีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปี

                          5) กำหนดโทษขั้นลหุโทษในประมวลกฎหมายอาญาให้บัญญัติให้นิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลต้องระวางโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 5 เท่าของอัตราโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับบุคคลธรรมดาและโทษอื่นๆ

                          6) การคำนวณค่าปรับ โดยกำหนดแนวทางในการลงโทษให้ถือมูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับของสหรัฐอเมริกา (สหรัฐฯ) สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย ซึ่งจะทำให้มีอัตราค่าปรับที่เป็นไปตามสถานการณ์ปัจจุบัน

                          7) ให้มีการจัดระดับชั้นความรุนแรงของการกระทำความผิดเพื่อกำหนดเป็นโทษปรับ โดยอาจเทียบเคียงหรือแปลงจากอัตราโทษจำคุก และกำหนดช่วงหน่วยวันปรับที่ศาลอาจกำหนดได้ในแต่ละระดับ

                          8) กรณีการกระทำความผิดอาญาของนิติบุคคลนั้นอาจมีบุคคลธรรมดา อื่นๆ นอกเหนือจากผู้แทนนิติบุคคลที่มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดกฎหมายจึงควรกำหนดให้บุคคลธรรมดาที่เป็นผู้มีส่วนในการรับผิดชอบกิจการต่างๆ ของนิติบุคคลร่วมรับผิดกับนิติบุคคลด้วย

                 1.2 ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต .. 2561 ได้แก่

                          1) ปรับปรุงแก้ไขมาตรา 175 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ ให้ครอบคลุมถึงนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคล หรือเพิ่มเติมสำหรับนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลเป็นการเฉพาะอย่างชัดเจน

                          2) ปรับเพิ่มโทษของนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลในมาตรา 175 และมาตรา 176 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ เป็น 5 เท่าของบุคคลธรรมดา หรือเป็นสองเท่าของมูลค่าความเสียหายหรือผลประโยชน์ที่ได้รับ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับของประเทศมาเลเซีย

                          3) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ...) ควรขยายขอบเขตการกำหนดให้บุคคลที่เป็นหัวหน้าหน่วยงานไปดำรงตำแหน่งกรรมการหรือที่ปรึกษาในนิติบุคคลในกำกับภายในระยะเวลา 2 ปี หลังจากพ้นตำแหน่งตามมาตรา 126 และมาตรา 127 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญฯ และควรกำหนดให้นิติบุคคลเปิดเผยรายชื่อบุคลากรภาครัฐที่เป็นพนักงานหรือที่ปรึกษาเพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนและกำหนดโทษสำหรับนิติบุคคลที่มีการจ้างบุคลากรภาครัฐที่ไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดด้วย

 

sme 720x100

 

                 1.3 ปรับปรุงกฎหมายภายในต่างๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่

                          1) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายภายในต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมถึงนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น พระราชบัญญัติกำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วน จดทะเบียนห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคม และมูลนิธิ .. 2499 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ .. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด .. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติมให้เป็นสองเท่าของมูลค่าความเสียหายหรือผลประโยชน์ที่ได้รับให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต .. 2003 ข้อ 21 การให้สินบนในภาคเอกชน และข้อ 23 การฟอกทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดอาญา และเพิ่มบทลงโทษค่าปรับของกฎหมายภายในต่างๆ ให้เป็นสองเท่าของมูลค่าความเสียหายหรือผลประโยชน์ที่ได้รับ

                          2) เพิ่มเติมโทษอื่นนอกจากโทษปรับสำหรับนิติบุคคลตามระดับความผิด เช่น (1) การสั่งยุบกิจการในกรณีที่มีความผิดที่มีระวางโทษจำคุกสูงกว่า 5 ปี (2) การห้ามประกอบกิจการโดยไม่มีกำหนดหรือมีกำหนดเวลาไม่เกิน 5 ปี และ (3) การปิดกิจการโดยไม่มีกำหนด หรือมีกำหนดไม่เกิน 5 ปี

                          3) ให้มีการจัดระดับชั้นความรุนแรงของความผิดเพื่อกำหนดโทษปรับโดยอาจเทียบเคียงหรือแปลงจากอัตราโทษจำคุก และกำหนดช่วงวันปรับที่ศาลอาจกำหนดได้ในแต่ละระดับชั้นความผิด

                          4) ให้มีกฎหมายเฉพาะในการให้อำนาจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กรณีบุคคลที่มีรายชื่อขึ้นบัญชีดำ (Black Lists) ตามกฎหมายให้ถือว่าผู้มีรายชื่อดังกล่าวไม่สามารถจดทะเบียนนิติบุคคลได้ หรือไม่สามารถเป็นผู้ก่อการ และไม่สามารถเป็นกรรมการบริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้

                          5) แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้อำนาจกรมพัฒนาธุรกิจการค้าในการตรวจสอบความเหมาะสมของนิติบุคคลจากประวัติการกระทำความผิดหรือประวัติอาชญากรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) และขึ้นทะเบียนนิติบุคคลที่เคยกระทำความผิดที่ขึ้นบัญชีดำไว้เพื่อแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ และเชื่อมโยงข้อมูลกับบัญชีกลางเพื่อตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงมีอำนาจในการปฏิเสธการจดทะเบียนนิติบุคคล การตรวจสอบสถานะทางการเงิน การถอนการจดทะเบียน การตรวจสอบประวัตินิติบุคคล การขึ้นบัญชีดำและประวัติอาชญากรรมจนถึงการลงโทษตามกฎหมาย

                          6) ปรับปรุงกฎหมายการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินให้มีอำนาจ และอำนวยความสะดวกเพื่อให้สามารถตรวจสอบเส้นทางการเงิน รวมถึงผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงทั้งกระบวนการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ หรืออกเป็นกฎกระทรวงเพื่อหาแนวทางแก้ไขการดำเนินการต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง

                          7) กำหนดเป็นนโยบายหรือแนวทางในการเปิดเผยข้อมูลการจดทะเบียนพาณิชย์ข้อมูล ผู้ถือหุ้นที่จดทะเบียนกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าทั้งหมด รวมถึงให้หน่วยงานรัฐและประชาชนสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ทั้งในระบบออนไลน์และระบบปกติที่เป็นรูปแบบเดียวกัน

 

BANPU 720x100

 

          2. แนวทางในการป้องกันและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิดของนิติบุคคล เช่น

                 2.1 กำหนดบทลงโทษและมาตรการในเรื่องการกระทำความผิดตามสัญญาคุณธรรมของผู้ประกอบการหรือนิติบุคคลที่ชัดเจน และรายละเอียดเกี่ยวกับข้อตกลงองค์กรคุณธรรม ให้สอดคล้องกับโทษที่กำหนดในประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

                 2.2 กำหนดแนวทางและวิธีพิจารณาข้อมูลมาตรฐานขั้นต่ำของนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างของผู้ประกอบการที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

                 2.3 นำแนวทางข้อตกลง อนุสัญญา และแนวทางการสร้างความร่วมมือในการแก้ไขปัญหามาปรับใช้ รวมทั้งแนวทางการตรวจสอบและการป้องกัน เช่น กฎหมายต่อต้านการคอร์รัปชันข้ามชาติ ข้อตกลงผัดผ่อนการฟ้องคดีอาญา และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต .. 2003

                 2.4 นำวิธีการต่อรองคำรับสารภาพ (Plea Bargaining) มาใช้กับนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับคดีทุจริตประพฤติมิชอบและผู้ร่วมกระทำความผิด โดยอาจกำหนดโทษปรับเป็นจำนวน 2 หรือ 3 เท่าของผลประโยชน์บริษัทที่กระทำความผิดได้รับ

                 2.5 นำแนวทางการดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำอันเป็นการคอร์รัปชันในต่างประเทศของสหรัฐฯ มาประยุกต์ใช้ในการจัดเก็บภาษีและดำเนินการกับนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลที่เลี่ยงการจัดเก็บภาษี และอื่นๆ

                 2.6 กำหนดให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (สำนักงาน ปปง.) เป็นเจ้าภาพในการจัดทำฐานข้อมูลกลาง (Big Data) และการเชื่อมโยงข้อมูลให้แก่หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดของนิติบุคคลและการตรวจสอบผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริงอย่างเป็นระบบทั้งฐานข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ตช. สำนักงาน ... กรมบัญชีกลาง กรมสรรพากร และอื่นๆ โดยขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดช่องให้เชื่อมโยงเข้าถึงตามสิทธิที่สมควรจะเข้าได้ เพื่อใช้ในกระบวนการตรวจสอบ การเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีระบบการแจ้งเตือนอัตโนมัติเป็นข้อความแจ้งให้แต่ละหน่วยงานทราบ และควรมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการใช้ฐานข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย

                 2.7 ในขั้นตอนการจดทะเบียนธุรกิจการค้า ควรเพิ่มหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือจาก ตช. เพื่อตรวจสอบประวัติการกระทำความผิด โดยต้องมีการปรับแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีอำนาจรองรับการดำเนินการดังกล่าว

                 2.8 จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ที่มีภารกิจและอำนาจหน้าที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงาน ... กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงาน ปปง. กรมบัญชีกลาง กรมสรรพากร ตช. สำนักงาน ... และหน่วยงานอื่นๆ เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกัน

                 2.9 ปรับปรุงกฎหมายที่จะต้องเชื่อมโยงกันในทางปฏิบัติของหน่วยงานต่างๆ ตามระบบสากล เพื่อสร้างระบบการแจ้งเตือนหรือการบริหารความเสี่ยงที่ดีขึ้น

 

QIC 720x100

 

          3. ข้อเสนอแนะในเชิงป้องกันและป้องปราม และแนวทางการหาผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง เช่น

                 3.1 ผลักดันการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ให้เชื่อมโยงฐานข้อมูลแต่ละหน่วยงานให้สามารถใช้ร่วมกันได้ทั้งระบบ

                 3.2 บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดในการตรวจสอบตั้งแต่ต้นทางของการดำเนินการของนิติบุคคลเริ่มตั้งแต่การจดทะเบียนนิติบุคคล

                 3.3 การทำ MOU หรืออื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดของนิติบุคคล และการติดตามทรัพย์สินคืนเมื่อมีการกระทำความผิดตั้งแต่ต้นทาง

                 3.4 ในการจดทะเบียนให้ลูกค้าระบุผู้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง และระบุแหล่งหรือเส้นทางการเงินของผู้รับผลประโยชน์

                 3.5 สนับสนุนให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่องกันมีการเปิดเผยข้อมูลและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกัน

                 3.6 อบรมให้ความรู้และพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะ

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 19 เมษายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A4568

 Click Donate Support Web 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!