WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 เรื่อง ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรและผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Aquaculture Practice) และ CoC (Code of Conduct)

GOV3 copy copy

ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 เรื่อง ขอให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารพาณิชย์สนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรและผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good Aquaculture Practice) และ CoC (Code of Conduct)

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 เป็นดังนี้

          1. เห็นชอบให้การสนับสนุนด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด และแจ้งประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (จสค.) และเป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) หรือมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of Conduct: CoC) หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรจากกรมประมงหรือหน่วยรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)

          2. มอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน และแจ้งให้สถาบันการเงินรับทราบว่าสถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อกับผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัด และ แจ้งประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (จสค.) และเป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) หรือมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of Conduct: CoC) หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรจากกรมประมงหรือหน่วยรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจาก มกอช. ได้ ซึ่งเป็นการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่อยู่นอกเขตพื้นที่ป่าชายเลนและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามเจตนารมณ์เดิม

 

TU720x100

 

          สาระสำคัญของเรื่อง 

          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 ที่ได้เห็นชอบให้การสนับสนุนด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเล ตามเงื่อนไขสรุปได้ ดังนี้

 

มติคณะรัฐมนตรี (30 กันยายน 2546)

 

ข้อเสนอของ กษ. ในครั้งนี้

1. อยู่นอกพื้นที่ป่าชายเลน

 

1. ประกอบกิจการอยู่ในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดและแจ้งประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม (จสค.)

2. เป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP (Good 

 Aquaculture Practice) และ CoC (Code of Conduct) จากกรมประมง

 

2. เป็นฟาร์มที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) หรือมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of Conduct: CoC) หรือมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรจาก กรมประมงหรือหน่วยรับรองเอกชนที่ได้รับการรับรองระบบงานจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.)

3. มอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งให้สถาบันการเงินรับทราบว่าสถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อกับ ผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน (ตามข้อ 2) ซึ่งเป็นการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่อยู่นอกเขตพื้นที่ป่าชายเลนและไม่มีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม

 

3. มอบให้ธนาคารแห่งประเทศไทยปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน และแจ้งให้สถาบันการเงินรับทราบว่าสถาบันการเงินสามารถให้สินเชื่อกับผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ประกอบกิจการ (ตามข้อ 1) และผ่านการรับรองมาตรฐาน (ตามข้อ 2) ซึ่งเป็นการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่อยู่นอกเขตพื้นที่ป่าชายเลนและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามเจตนารมณ์เดิม

 

          โดย กษ. (กรมประมง) ยืนยันว่า ข้อเสนอขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้จะไม่เป็นการส่งเสริมให้มีการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลในพื้นที่ป่าชายเลนเพิ่มขึ้น และได้เสนอข้อมูลประกอบการพิจารณาทบทวน มติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สรุปได้ ดังนี้

          1. ในปัจจุบันได้มีกฎหมายที่กำกับการดูแลการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลไม่ให้อยู่ในเขตพื้นที่ป่าชายเลนและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามเจตนารมณ์ของมติคณะรัฐมนตรีเดิมแล้ว โดยเกษตรกรและผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลที่ขอรับการรับรองมาตรฐานต้องได้รับการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ (ทบ.1) กับ กรมประมงก่อน โดยต้องแสดงเอกสารหลักฐานข้อมูลที่ดินว่าสถานประกอบกิจการมิได้อยู่ในเขตพื้นที่ต้องห้าม ตามกฎหมาย เช่น เขตพื้นที่ป่าชายเลน เขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ เป็นต้น นอกจากนี้ การตรา พระราชกำหนดการประมง .. 2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และการประกาศใช้กฎหมายลำดับรองที่เกี่ยวข้อง ส่งผลให้การประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลเป็นกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคุม ซึ่งต้องดำเนินกิจการอยู่ภายในเขตพื้นที่เพาะเลี้ยงตามที่คณะกรรมการประมงประจำจังหวัดประกาศกำหนด และผู้ประกอบกิจการต้องแจ้งประกอบกิจการต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ดังนั้น การประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลจึงถูกควบคุมพื้นที่เพาะเลี้ยงตามประกาศคณะกรรมการประมงประจำจังหวัดก่อนขอรับการรับรองมาตรฐานอีกทางหนึ่งด้วย

 

sme 720x100

 

          2. มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลในปัจจุบันทั้ง 3 มาตรฐาน ได้รับการพัฒนาปรับปรุงตามแนวปฏิบัติขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO Guideline) ที่เป็นมาตรฐานสากล โดยมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) ของกรมประมง ซึ่งเป็นมาตรฐานระดับพื้นฐานมีพื้นฐานด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญตามความจำเป็น คือ มีข้อกำหนด ด้านคุณภาพน้ำทิ้งและดินเลน ซึ่งเป็นมาตรฐานพื้นฐานที่ผู้รับซื้อยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ส่วนมาตรฐาน ฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of Conduct: CoC) และมาตรฐานสินค้าเกษตรที่เกี่ยวกับ การเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลตามกฎหมายว่าด้วยมาตรฐานสินค้าเกษตรเป็นมาตรฐานที่สูงขึ้นไป

          3. ในปัจจุบัน เกษตรกรและผู้ประกอบกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งทะเลจะมีการเลือกขอรับการรับรองมาตรฐานเพียงมาตรฐานหนึ่งที่เหมาะสมเท่านั้น แต่เนื่องจากมติคณะรัฐมนตรี (30 กันยายน 2546) กำหนดเงื่อนไขให้ต้องได้รับการรับรองทั้งมาตรฐานการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดี (Good Aquaculture Practice: GAP) และมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยงกุ้ง โค้ด ออฟ คอนดัค (Code of Conduct: CoC) จึงส่งผลให้เกษตรกรไม่สามารถขอรับสินเชื่อจากสถาบันการเงินได้ในทางปฏิบัติ เนื่องจากสถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ของธนาคาร แห่งประเทศไทย ซึ่งการปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวจะเป็นการดำเนินการที่ขัดกับมติคณะรัฐมนตรี (30 กันยายน 2546) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาขอแก้ไขทบทวนมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว เพื่อธนาคารแห่งประเทศไทยจะได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อไป

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 12 เมษายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A4453

 Click Donate Support Web 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!