ขอปรับเพิ่มเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าและโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ระยะที่ 3
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 13 April 2022 13:21
- Hits: 7580
ขอปรับเพิ่มเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออกเพื่อเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าและโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ระยะที่ 3
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอดังนี้
1. เห็นชอบการปรับเพิ่มวงเงินลงทุนโครงการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าบริเวณภาคตะวันออก เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงระบบไฟฟ้า (Transmission System Improvement Project in Eastern Region to Enhance System Security : TIPE) (โครงการ TIPE) และโครงการระบบส่งไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ ระยะที่ 3 (Independent Power Producer 3 : IPP3) (โครงการ IPP3) ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
โครงการ |
วงเงินลงทุนที่คณะรัฐมนตรี อนุมัติไว้เดิม |
วงเงินลงทุน ที่ขอคณะรัฐมนตรี อนุมัติปรับเพิ่มขึ้น |
วงเงินลงทุน รวมใหม่ทั้งโครงการ |
โครงการ TIPE |
12,000 |
9,000 |
21,000 |
โครงการ IPP3 |
7,250 |
6,200 |
13,450 |
2. อนุมัติวงเงินงบประมาณลงทุนในปี พ.ศ. 2564 และ ปี พ.ศ. 2565 สำหรับโครงการ TIPE และโครงการ IPP3 ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
โครงการ |
วงเงินงบประมาณลงทุนในปี พ.ศ. 2564 |
วงเงินงบประมาณลงทุนในปี พ.ศ. 2565 |
||
งบดำเนินการ |
งบเบิกจ่าย |
งบดำเนินการ |
งบเบิกจ่าย |
|
โครงการ TIPE |
7,917.386 |
3,649.925 |
9,062.305 |
2,360.677 |
โครงการ IPP3 |
4,599.286 |
1,801.670 |
8,530.074 |
4,260.634 |
สาระสำคัญของเรื่อง
พน. รายงานว่า
1. เนื่องด้วยการดำเนินโครงการ TIPE และโครงการ IPP3 จะต้องมีการรอนสิทธิและจ่ายทดแทนกรรมสิทธิ์ที่ดินและทรัพย์สิน (ค่าทดแทนฯ) ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยองและจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งตามรายงานการศึกษาความเหมาะสมของแต่ละโครงการ กฟผ. ได้ประมาณการค่าทดแทนฯ โดยใช้ราคาประเมิน ทุนทรัพย์ที่ดินที่ใช้ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม (ราคาประเมินทุนทรัพย์ฯ) ปี พ.ศ. 2551 - 2555 ของ กรมธนารักษ์ มาเป็นฐานในการคำนวณ และมีสมมติฐานที่เกี่ยวข้องสรุปได้ ดังนี้
1.1 ค่าทดแทนกรรมสิทธิ์ที่ดิน กำหนดไว้ในอัตรา 2 เท่า1 ของราคาประเมินทุนทรัพย์ฯ ปี พ.ศ. 2551 - 2555
1.2 ค่าทดแทนทรัพย์สิน (อาคาร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง และต้นไม้) กำหนดไว้ในอัตรา ร้อยละ 20 ของค่าทดแทนกรรมสิทธิ์ที่ดิน
การประมาณการค่าทดแทนฯ ตามรายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ
หน่วย : ล้านบาท
โครงการ |
ค่าทดแทนกรรมสิทธิ์ที่ดิน |
ค่าทดแทนทรัพย์สิน |
รวมค่าทดแทนฯ |
โครงการ TIPE |
1,679.75 |
335.95 |
2,015.70 |
โครงการ IPP3 |
1,626.08 |
325.22 |
1,951.30 |
2. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติโครงการแล้ว กฟผ. ได้ดำเนินการเข้าพื้นที่เพื่อขอประกาศเขตสำรวจระบบโครงข่ายไฟฟ้า (เขตสำรวจฯ) ประกาศเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า และจ่ายค่าทดแทนฯ ให้แก่ผู้ครอบครองที่ดินและทรัพย์สินในพื้นที่ดังกล่าวต่อไป อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ กฟผ. อยู่ระหว่างดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 21/2563 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2563 ได้พิจารณากำหนดราคาที่ดินและทรัพย์สินสำหรับการคำนวณค่าทดแทนฯ เขตระบบโครงข่ายไฟฟ้าของโครงการ TIPE2 และโครงการ IPP3 และมีมติให้ กฟผ. นำราคาประเมินทุนทรัพย์ฯ ปี พ.ศ. 2559 - 2562 ที่ยังมีผลบังคับใช้อยู่ในปี พ.ศ. 2563 มาปรับในอัตรา 7.45 เท่า3 เพื่อเป็นเกณฑ์ในการคิดคำนวณค่าทดแทนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามหลักเกณฑ์ที่ กกพ. กำหนด ส่วนค่าทดแทนทรัพย์สินให้ใช้บัญชีราคากลางอาคาร โรงเรือน และสิ่งปลูกสร้างของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ปี 2562 และบัญชีราคากลางต้นไม้และพืชผลของสำนักงาน กกพ. ปี 2562 เป็นเกณฑ์ในการคิดคำนวณ4 จึงส่งผลให้ราคาที่ดินและทรัพย์สินที่นำมาใช้ในการ คิดคำนวณค่าทดแทนฯ เพิ่มสูงกว่าราคาที่ประมาณการไว้ในรายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการของ ทั้ง 2 โครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี โดยสามารถสรุปรายละเอียดวงเงินลงทุนของทั้ง 2 โครงการได้ ดังนี้
2.1 โครงการ TIPE
กฟผ. แจ้งขอปรับวงเงินลงทุนโครงการ TIPE เพิ่มขึ้นไม่เกิน 9,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะสามารถดำเนินโครงการก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าแรงสูง (สายส่ง) และสถานีไฟฟ้าแรงสูงทั้งหมดได้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2570 โดยในปัจจุบันมีสายส่งภายใต้โครงการ TIPE จำนวนทั้งสิ้น 7 แห่ง แบ่งเป็น (1) สายส่งที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างจำนวน 5 แห่ง และ (2) สายส่งที่ก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว จำนวน 2 แห่ง โดยรายละเอียดวงเงินของโครงการ TIPE สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ |
ราคาตามรายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ปี 2555 |
ราคาตามมติ กกพ. ในคราวประชุมครั้งที่ 21/2563 |
กรอบวงเงิน ที่ปรับเพิ่ม |
กรอบวงเงิน ที่ กฟผ. เสนอปรับเพิ่มเงินลงทุนในครั้งนี้ |
ค่าทดแทน กรรมสิทธิ์ที่ดิน |
1,679.750 |
8,650.573 |
6,970.823 |
ไม่เกิน 9,000 |
ค่าทดแทน ทรัพย์สิน |
335.950 |
2,250.000 |
1,914.050 |
|
รวม |
2,015.700 |
10,900.573 |
8,884.873 |
ทั้งนี้ หากไม่ได้รับอนุมัติวงเงินดังกล่าวจะไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้แล้วเสร็จ และจะส่ง ผลกระทบต่อระดับค่ากระแสลัดวงจรเกินพิกัดอุปกรณ์ป้องกันของระบบไฟฟ้าในภาคตะวันออก ซึ่งในกรณี เกิดเหตุขัดข้องจะทำให้ไฟฟ้าดับในบริเวณกว้าง
2.2 โครงการ IPP3
กฟผ. แจ้งขอปรับวงเงินลงทุนโครงการ IPP3 เพิ่มขึ้นไม่เกิน 6,200 ล้านบาท โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินโครงการก่อสร้างสายส่งและสถานีไฟฟ้าแรงสูงทั้งหมดได้แล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2566 เพื่อรองรับการจ่ายไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าของบริษัทที่ผ่านการคัดเลือกซึ่งมีกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ในวันที่ 31 มีนาคม 2566 โดยในปัจจุบันมีสายส่งภายใต้โครงการ IPP3 ที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง จำนวนทั้งสิ้น 3 แห่ง โดยรายละเอียดวงเงินของโครงการ IPP3 สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ |
ราคาตามรายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ปี 2555 |
ราคาตามมติ กกพ. ในคราวประชุมครั้งที่ 21/2563 |
กรอบวงเงิน ที่ปรับเพิ่ม |
กรอบวงเงิน ที่ กฟผ. เสนอปรับเพิ่มเงินลงทุนในครั้งนี้ |
ค่าทดแทน กรรมสิทธิ์ที่ดิน |
1,626.083 |
6,789.740 |
5,163.657 |
ไม่เกิน 6,200 |
ค่าทดแทน ทรัพย์สิน |
325.217 |
1,309.228 |
984.011 |
|
รวม |
1,951.300 |
8,098.968 |
6,147.668 |
ทั้งนี้ หากไม่ได้รับอนุมัติวงเงินดังกล่าว จะส่งผลให้ กฟผ. ไม่สามารถรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าของบริษัทที่ผ่านการคัดเลือกได้ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า เนื่องจากปัจจุบันศักยภาพของสถานีไฟฟ้าแรงสูงปลวกแดงสามารถรองรับโรงไฟฟ้าได้เพียงโครงการเดียว ดังนั้น กฟผ. จำเป็นต้องสร้างสายส่ง 500 กิโลโวลต์ ปลวกแดง - ฉะเชิงเทรา 2 ให้แล้วเสร็จทันกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ของโรงไฟฟ้าของบริษัทดังกล่าว เครื่องที่ 1 - 45 ซึ่งหาก กฟผ. ไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างได้แล้วเสร็จตามกำหนด จะต้องจ่ายค่าความพร้อมจ่าย (Available Payment : AP) ตามระยะเวลาที่ กฟผ. ก่อสร้างล่าช้าเกินกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ ไปจนกว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จ
3. พน. โดย กฟผ. ได้ชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม โดยเปรียบเทียบผลตอบแทนการลงทุนด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน และผลกระทบค่าไฟฟ้าของทั้ง 2 โครงการทั้งในช่วงก่อนและหลังการเปลี่ยนแปลงของวงเงินลงทุนที่เสนอในครั้งนี้ มีรายละเอียด ดังนี้
รายการ |
มติคณะรัฐมนตรีเดิม |
ข้อเสนอในครั้งนี้ |
3.1 โครงการ TIPE |
||
กรอบวงเงินลงทุน |
12,000 ล้านบาท |
21,000 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 9,000 ล้านบาท) |
อัตราผลตอบแทน ด้านเศรษฐศาสตร์6 (EIRR) |
ร้อยละ 20.62 |
ร้อยละ 16.02 |
อัตราผลตอบแทนด้านการเงิน6 (FIRR) |
ร้อยละ 18.39 |
ร้อยละ 14.28 |
ผลกระทบค่าไฟฟ้า7 |
0.25 สตางค์ต่อหน่วย |
เพิ่มขึ้น 0.19 สตางค์ต่อหน่วย |
3.2 โครงการ IPP3 |
||
กรอบวงเงินลงทุน |
7,250 ล้านบาท |
13,450 ล้านบาท (เพิ่มขึ้น 6,200 ล้านบาท) |
อัตราผลตอบแทน ด้านเศรษฐศาสตร์ (EIRR) |
ร้อยละ 10.68 |
ร้อยละ 9.28 |
อัตราผลตอบแทนด้านการเงิน (FIRR) |
ร้อยละ 10.27 |
ร้อยละ 8.95 |
ผลกระทบค่าไฟฟ้า7 |
0.19 สตางค์ต่อหน่วย |
เพิ่มขึ้น 0.12 สตางค์ต่อหน่วย |
___________________
1กฟผ. แจ้งเพิ่มเติมว่า การกำหนดอัตรา 2 เท่าของราคาประเมินทุนทรัพย์ฯ เป็นการประมาณการโดยอ้างอิง จากตัวเลขและสถิติจากการดำเนินงานที่ผ่านมาของ กฟผ. ในช่วงเวลานั้น ส่วนการกำหนดค่าทดแทนทรัพย์สินในอัตราร้อยละ 20 ของค่าทดแทนกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นการประมาณการเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงเวลาดังกล่าวที่มีการประกาศเขตสำรวจฯ ทับซ้อนกับพื้นที่ป่าโดยที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ รวมถึงการคัดค้านชาวบ้าน ในพื้นที่ดำเนินโครงการ
2ระหว่างปี 2560 - 2562 โครงการ TIPE ได้ประสบปัญหาความล่าช้าในการดำเนินการ เนื่องจากมีประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินโครงการ TIPE คัดค้านในการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ส่งผลให้ กฟผ. ไม่สามารถประกาศเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้าได้ครบทุกแนวสายส่งภายใต้โครงการ TIPE และทำให้การจ่ายค่า ทดแทนฯ เกิดความล่าช้า และเมื่อดำเนินการลงพื้นที่สำรวจหมุดฐานของแนวสายส่งของโครงการพบว่า มีแนวสายส่งจำนวน 2 สาย ได้แก่ สายส่ง 230 กิโลโวลต์ จุดเชื่อมบางละมุง 2 – บางละมุง 2 และสายส่ง 500 กิโลโวลต์ บางละมุง 2 - ปลวกแดง พาดผ่านพื้นที่ป่า C โดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ส่งผลให้ กฟผ. ต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (Initial Environmental Examination: IEE) (รายงาน IEE) เสนอสำนักงานนโยบายและ แผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) พิจารณาเพิ่มเติมก่อนดำเนินการ โดยเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2562 สผ. ได้ให้ความเห็นชอบรายงาน IEE แล้ว
3เนื่องจากเป็นโครงการที่มีพื้นที่โครงการพาดผ่านพื้นที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งรัฐบาลได้มีนโยบายพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นพื้นที่โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) (โครงการ EEC) ส่งผลให้ราคาที่ดินและทรัพย์สินที่ต้องนำมาใช้ในการคิดคำนวณค่าทดแทนฯ ปรับเพิ่มขึ้นมาก
4อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 108 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 และประกาศ กกพ. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข เกี่ยวกับการกำหนดและจ่ายค่าทดแทน พ.ศ. 2552 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
5วันที่ 31 มีนาคม 2566 วันที่ 1 ตุลาคม 2566 วันที่ 31 มีนาคม 2567 และวันที่ 1 ตุลาคม 2567 ตามลำดับ
6คู่มือแนวทางและหลักเกณฑ์การวิเคราะห์โครงการ พ.ศ. 2555 (ฉบับปรับปรุง) ของสำนักงานสภาพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แนะนำว่า สำหรับการวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านการเงินของโครงการ อัตราผลตอบแทนด้านการเงินของโครงการ (Internal Rate of Return: IRR) ควรมากกว่าอัตราเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักต้นทุนเงินลงทุนของโครงการ (Weighted Cost of Capital WACC) ในขณะที่การวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการ ที่ผ่านมา สศช. ได้กำหนดเกณฑ์อัตราผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการ (Economic Internal Rate of Return : EIRR) ที่เหมาะสมอยู่ระหว่างร้อยละ 9 - 12 แล้วแต่ลักษณะของโครงการ
7พน.ได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมในประเด็นข้อมูลผลกระทบค่าไฟฟ้าของทั้ง 2 โครงการ ดังนี้ 1) ผลกระทบค่าไฟฟ้า ก่อนเปลี่ยนแปลงวงเงินลงทุน ประเมินโดยใช้สมมติฐานตามโครงสร้างค่าไฟฟ้า ณ ปี 2554 ซึ่งสอดคล้องตามช่วงเวลาที่ได้มีการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ และ 2) ผลกระทบค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นหลังเปลี่ยนแปลงวงเงินลงทุน ประเมินโดยใช้สมมติฐานตามโครงสร้างค่าไฟฟ้า ณ ปี 2562 เพื่อให้สอดคล้องตามสถานการณ์ในปัจจุบัน
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 12 เมษายน 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A4452