ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 12 April 2022 22:49
- Hits: 3148
ผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนครั้งที่ 2 (The 2rd ASEAN Digital Ministers Meeting: The 2rd ADGMIN) และการประชุมอื่น ที่เกี่ยวข้อง ผ่านระบบการประชุมทางไกล ระหว่างวันที่ 27 – 28 มกราคม 2565 [คณะรัฐมนตรี ได้มีมติ (18 มกราคม 2565) เห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2และการประชุมที่เกี่ยวข้องรวม 5 ฉบับ* และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนาม รับรองและให้ความเห็นชอบร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารดังกล่าวในระหว่างการประชุมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ ดศ. ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว] โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีและผู้ที่ได้รับมอบหมายของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ (ประเทศไทยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเข้าร่วมการประชุมฯ) และประเทศคู่เจรจา [สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) และสาธารณรัฐอินเดีย (อินเดีย)] และเลขาธิการอาเซียนเข้าร่วมประชุมฯ โดยมีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น |
ผลการประชุมฯ |
|
การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2 (วันที่ 27 มกราคม 2565) |
||
1. พิธีเปิดการประชุมฯ |
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมขนส่งและการสื่อสารของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (มียนมา) เป็นประธานการประชุมฯ และนายกรัฐมนตรีของเมียนมาได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล การดำเนินการยกระดับการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนเพื่อเสริมสร้างการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคอย่างครอบคลุม รวมทั้งสามารถรับมือและเร่งฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) |
|
2. การร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและวิสัยทัศน์เกี่ยวกับความก้าวหน้าการพัฒนาสภาพแวดล้อมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีทีในภูมิภาค |
การแลกเปลี่ยนมุมมองและวิสัยทัศน์ภายใต้หัวข้อการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล:พลังขับเคลื่อนในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาคอาเซียนจากโรคโควิด-19 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมได้เน้นย้ำแนวทาง 4 มิติ ได้แก่ (1) การยกระดับการพัฒนาด้านข้อมูลสำหรับ digital platform (2) การสร้างโอกาสในการเสริมสร้างการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล (3) การสนับสนุนภาคเอกชนและผู้บริโภค และ (4) การส่งเสริมการอำนวยความสะดวกและการบริการข้ามพรมแดนไร้รอยต่อ นอกจากนี้ ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญในการผสานความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียนในเรื่องความมั่นคงปลอดภัย ไซเบอร์ |
|
3. รับทราบรายงานการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2 |
ผลการดำเนินงานสำคัญ ปี 2564 ได้แก่ (1) ยุทธศาสตร์ความร่วมมืออาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปี ค.ศ. 2021 – 2025 (2) โครงการ ASEAN Guideline for 5G Ecosystem Development (3) เอกสารแนวคิดการดำเนินงานของศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ (ASEAN Regional Computer Emergency Response Team) (4) โครงการ ASEAN Strategic Guidance for Artificial Intelligence and Digital Workforce และ (5) โครงการ ASEAN Policy Guideline for the use of Blockchain Technology for Digital Government |
|
4 .การอนุมัติงบประมาณ |
ในปี 2565 ได้อนุมัติงบประมาณจากกองทุน ASEAN ICT Fund 329,600 ดอลลาร์สหรัฐ เพื่อดำเนินงานโครงการภายใต้การทำงานของเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านดิจิทัลและการประชุมผู้นำสภาหน่วยงานกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมแห่งอาเซียน (ASEAN Telecommunication Regulator’s Council: ATRC) |
|
5. รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการประสานงานอาเซียนด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ครั้งที่ 2 |
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 คณะกรรมการประสานงานฯ ได้รับรองแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคในการปฏิบัติตามบรรทัดฐานของรัฐ เรื่อง ความรับผิดชอบบนโลกไซเบอร์ 11 ข้อ |
|
6. เอกสารผลลัพธ์สำคัญของการประชุมฯ |
6.1 รับรองแผนปฏิบัติการว่าด้วยการดำเนินงานหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างอาเซียน-จีน ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ปี ค.ศ. 2021 – 2025 6.2 เห็นชอบแถลงข่าวร่วมของการประชุม ADGMIN และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีการปรับแก้ไขร่างเอกสาร เช่น ข้อมูลของคู่เจรจาเฉพาะประเทศที่เข้าร่วมประชุมฯ (จีนและอินเดีย) และการปรับแก้ถ้อยคำของการดำเนินงานความร่วมมือระหว่างอาเซียนและจีน ภายใต้แผนปฏิบัติการว่าด้วยการดำเนินงานหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างอาเซียน – จีน ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ปี ค.ศ. 2021 - 2025 6.3 รับทราบร่างปฏิญญาเนปิดอว์ โดยมีการปรับแก้ถ้อยคำจาก “การรับรอง” เป็น “การรับทราบ” เนื่องจากมีบางประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ระหว่างดำเนินกระบวนการภายใน และได้ปรับแก้ไขเพิ่มเติมในส่วนของข้อมูลการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 38 และครั้งที่ 39 ซึ่งไม่ใช่การแก้ไขในสาระสำคัญ โดยจะมีการรับรองร่างปฏิญญาฯ ผ่านทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ในภายหลัง |
|
การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2 กับคู่เจรจา (จีนและอินเดีย) (วันที่ 28 มกราคม 2565) |
||
7. กิจกรรมความร่วมมือในปี 2564 |
7.1 จีน จัดทำแผนปฏิบัติการว่าด้วยการดำเนินงานหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างอาเซียน-จีน ด้านศรษฐกิจดิจิทัล ปี ค.ศ. 2021 - 2025 การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล 7.2 อินเดีย ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล และการสร้างความเชื่อมั่นในการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล การพัฒนาขีดความสามารถและการแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับนโยบายและกฎระเบียบ |
|
8. แผนการดำเนินงานในปี 2565 |
รับรองแผนงานความร่วมมือด้านดิจิทัลระหว่างอาเซียนกับจีนและอินเดีย ปี 2565 โดยให้ความสำคัญ เช่น การพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจดิจิทัล การสร้างความเชื่อมั่นด้านโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลและการพัฒนา 5G นวัตกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ |
|
9. เอกสารที่ยังไม่มีการลงนาม/เห็นชอบ |
9.1 แผนงานความร่วมมือด้านไอซีทีระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นและข้อเสนอโครงการศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น (เนื่องจากญี่ปุ่นไม่เข้าร่วมการประชุมฯ) (แต่ที่ประชุมฯ มีมติเห็นชอบแล้ว) 9.2 บันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนและสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศว่าด้วยสาขาความร่วมมือด้านดิจิทัล (เนื่องจากสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศไม่ได้เข้าร่วมการประชุมฯ) |
|
รางวัล ASEAN ICT Award 2021 |
||
10. พิธีมอบรางวัล |
ไทยได้รับ 4 รางวัล ได้แก่ (1) รางวัลชนะเลิศในหมวด Research and Development จำนวน 1 รางวัล (2) รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่งในหมวด Private Sector และหมวด Start-up Company จำนวน 2 รางวัล และ (3) รางวัลรองชนะเลิศอันดับสองในหมวด Digital Content จำนวน 1 รางวัล |
ด้านดิจิทัลของภูมิภาคอาเซียนที่สำคัญ เช่น การดำเนินงานของศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ โดยได้ยกระดับการดำเนินงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่ครอบคลุมถึงการสร้างบริการดิจิทัลที่น่าเชื่อถือผ่านข้อเสนอโครงการศูนย์ความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และบริการดิจิทัลที่น่าเชื่อถือ โดยรัฐบาลญี่ปุ่นจะให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการฯ ระหว่างปี ค.ศ. 2023 – 2026
__________________________
* 5 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ว่าด้วยสาขาความร่วมมือด้านดิจิทัล (2) ร่างปฏิญญาเนปิดอว์ (3) ร่างแผนปฏิบัติการว่าด้วยการดำเนินงานหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างอาเซียน-จีน ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล ปี ค.ศ. 2021 – 2025 (4) ร่างเอกสารแนวคิดข้อเสนอโครงการศูนย์ความร่วมมืออาเซียน - ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และบริการดิจิทัลที่น่าเชื่อถือ และ (5) ร่างแถลงข่าวร่วมของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 2 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 12 เมษายน 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A4442