WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

GOV 5

ร่างพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง (ฉบับที่ ..) .. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการไฟฟ้านครหลวง (ฉบับที่ ..) .. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติฯ ที่กระทรวงมหาดไทยเสนอเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมวัตถุประสงค์ให้การไฟฟ้านครหลวงมีอำนาจในการผลิตพลังงานไฟฟ้า การนำเทคโนโลยี อุปกรณ์ ทรัพย์สิน หรือบุคลากรที่มีอยู่นำไปเสริมสร้างให้เกิดการพัฒนาประเทศ เพื่อเป็นการประหยัดงบประมาณของประเทศชาติ และสร้างมูลค่าเพิ่ม เพิ่มอำนาจการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ทั้งในและนอกประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการลงทุนและการประกอบการกิจการด้านพลังงานไฟฟ้าในต่างประเทศ ตลอดจนแก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำของพนักงานในการสร้างและบำรุงรักษา ระบบจำหน่ายไฟฟ้า ให้การไฟฟ้านครหลวงใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์เท่าที่ต้องเสียหายเพราะการนั้น รวมทั้งกำหนดท้องที่ที่ให้บริการให้ชัดเจนสอดคล้องกับปัจจุบัน และแก้ไขเพิ่มเติมวงเงินการกู้ยืมที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีโดยให้กู้ยืมเงินเป็นจำนวนเกินคราวละ 100 ล้านบาท (เดิม กำหนดไว้ 40 ล้านบาท) ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการของการไฟฟ้านครหลวงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยโดยรวมต่อไป

 

TU720x100

 

          สาระสำคัญของเรื่อง

          1. เพิ่มวัตถุประสงค์ ของ กฟน. ดังนี้

                 1.1 ผลิต จัดให้ได้มา จัดส่ง จำหน่ายพลังงานไฟฟ้า และประกอบกิจการระบบจำหน่ายไฟฟ้า (เดิม กำหนดเฉพาะจัดให้ได้มาและจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า) โดยการดำเนินการดังกล่าวต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน เพื่อให้ กฟน. สามารถมีอำนาจดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้

                          (1) ให้มีอำนาจผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ (เดิม ไม่สามารถดำเนินการได้) โดยเป็นการผลิตไฟฟ้า จุดใช้งานของผู้ใช้ไฟฟ้า หรือระบบไฟฟ้าในบริเวณพื้นที่เฉพาะเจาะจง (Distributed Generation : DG)จากพลังงานความร้อนและน้ำเย็นร่วมกัน (Combined Heat and Power : CHP) พลังงานหมุนเวียน และพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสภาวะแวดล้อม เช่น ขยะมูลฝอย แสงอาทิตย์ ลม และพลังงานนอกรูปแบบ ตามความเหมาะสมของเทคโนโลยีและสภาพพื้นที่ ทำให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์จากระบบไฟฟ้าที่มั่นคงและเชื่อถือได้มากขึ้น เป็นการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวทำให้เพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตและใช้พลังานไฟฟ้า ส่งผลให้ต้นทุนค่าไฟฟ้าของประเทศต่ำลง

                          (2) ให้มีอำนาจจัดส่ง ประกอบกิจการระบบจำหน่ายไฟฟ้าเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน .. 2550 และใบอนุญาตการประกอบกิจการไฟฟ้าประเภทระบบจำหน่ายไฟฟ้าและจำหน่ายไฟฟ้าที่ กฟน. ได้รับ

                 1.2 ดำเนินธุรกิจและกิจการอื่นใดโดยสามารถนำเทคโนโลยีอุปกรณ์ทรัพย์สิน หรือบุคลากรที่มีอยู่นำไปเสริมสร้างให้เกิดการพัฒนาประเทศเพื่อเป็นการประหยัดงบ ประมาณของประเทศชาติ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ กฟน. รวมถึงเปิดโอกาสให้ กฟน. ทำประโยชน์แก่ประเทศชาติ สังคม และประชาชนด้านอื่นๆ โดยไม่กระทบภารกิจหลักในการจำหน่ายพลังงานไฟฟ้า เช่น การทำแผนที่ภูมิศาสตร์สารสนเทศ (GIS) โครงข่ายใยแก้วนำแสง และโครงการธุรกิจจัดการพลังงาน (ESCO) เป็นต้น

          2. กำหนดเพิ่มเติมให้ กฟน. มีอำนาจดำเนินการตามวัตถุประสงค์ได้ทั้งในประเทศและนอกประเทศ ทำให้เกิดโอกาสทางเศรษฐกิจและทำให้สามารถพัฒนาศักยภาพการให้บริการด้านพลังงานไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

sme 720x100

 

          3. กำหนดท้องที่ที่ กฟน. เป็นผู้จำหน่ายสำหรับพลังงานไฟฟ้า และประกอบกิจการระบบจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าในประเทศให้สอดคล้องกับปัจจุบัน ได้แก่ ให้ดำเนินการได้ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรปราการ และพื้นที่ที่ดำเนินการอยู่แล้ว วันจัดตั้งการไฟฟ้านครหลวง รวมทั้งพื้นที่ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการพลังงาน หรือตามมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาในการตีความเกี่ยวกับท้องที่เขตจำหน่ายไฟฟ้าระหว่าง กฟน. และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)

          4. แก้ไขเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำของพนักงานในการสร้างและบำรุงรักษาระบบจำหน่ายไฟฟ้า ให้ กฟน. ใช้ค่าทดแทนให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองอสังหาริมทรัพย์เท่าที่ต้องเสียหายเพราะการนั้น (เดิม กำหนดให้มอบข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัย)

          5. แก้ไขเพิ่มเติมวงเงินการกู้ยืมเงินที่ กฟน. จะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีก่อนในการดำเนินการกู้ยืมเงินเพื่อการลงทุน จากจำนวนเงินเกินคราวละ 40 ล้านบาทเป็นจำนวนเงินเกินคราวละ 100 ล้านบาท

          6. แก้ไขเพิ่มเติมให้ กฟน. นำส่งรายได้ในปีหนึ่งๆ เมื่อได้หักรายจ่ายแล้ว เหลือเท่าใด ให้นำส่งเป็นรายได้ตามที่ กค. กำหนดโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี

          7. แก้ไขปรับปรุงถ้อยคำให้เป็นปัจจุบัน และสอดคล้องกับนิยามคำว่าระบบไฟฟ้าและระบบจำหน่ายไฟฟ้าตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน .. 2550

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 5 เมษายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A4219

 Click Donate Support Web 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!