WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. ....

GOV9

ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม .. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม .. .... (ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นระยะเวลา 3 เดือน) ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป

          ทั้งนี้ รง. เสนอว่า ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม .. .... มีหลักการสำคัญในการปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม เป็นระยะเวลา 3 เดือน โดยลดอัตราเงินสมทบฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จากเดิมฝ่ายละร้อยละ 5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เหลือฝ่ายละร้อยละ 1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับฝ่ายรัฐบาลส่งเงินสมทบอัตราเดิม ร้อยละ 2.75 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และสำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ให้ปรับลดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคมตามมาตรา 46 วรรคสาม เพื่อบรรเทาภาระของนายจ้างและผู้ประกันตนให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกที่ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้นของนายจ้างและผู้ประกันตน ประกอบกับสภาพการณ์ทางสังคมในปัจจุบันที่ยังคงได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กระทรวงแรงงานจึงเสนอร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม .. …. เพื่อให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ

          สาระสำคัญ

          ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม .. .... ซึ่งเป็นการปรับปรุงกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม .. 2564 เพื่อกำหนดอัตราเงินสมทบให้มีความเหมาะสม มีสาระสำคัญ ดังนี้

          (1) ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม .. 2564

          (2) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 2565 ให้รัฐบาล นายจ้างและผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร ฝ่ายละร้อยละ 0.9 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตนฝ่ายละร้อยละ 0.05 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลร้อยละ 1.6 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตนฝ่ายละร้อยละ 0.05 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลร้อยละ 0.25 ของค่าจ้างผู้ประกันตน ตามบัญชี .

 

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

 

          (3) ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป ให้รัฐบาล นายจ้าง และผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ออกเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย กรณีทุพพลภาพ กรณีตาย และกรณีคลอดบุตร ฝ่ายละร้อยละ 1.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีสงเคราะห์บุตร และกรณีชราภาพ ในส่วนของนายจ้างและผู้ประกันตน ฝ่ายละร้อยละ 3 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลร้อยละ 1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน สำหรับการจ่ายประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน ในส่วนของนายจ้าง และผู้ประกันตน ฝ่ายละร้อยละ 0.5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และรัฐบาลร้อยละ 0.25 ของค่าจ้างผู้ประกันตน ตามบัญชี .

          ทั้งนี้ การลดอัตราเงินสมทบของนายจ้างและผู้ประกันตนมีผลทำให้นายจ้างและผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมลดลงจากฝ่ายละร้อยละ 5 ของค่าจ้างผู้ประกันตน เหลือฝ่ายละร้อยละ 1 ของค่าจ้างผู้ประกันตน และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 จ่ายเงินสมทบลดลงจากในอัตราเดือนละ 432 บาท เหลือในอัตราเดือนละ 91 บาท ส่งผลให้กองทุนประกันสังคมจัดเก็บเงินสมทบได้ลดลง 34,023 ล้านบาท โดยผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบลดลง 18,085 ล้านบาท และนายจ้างจ่ายเงินสมทบลดลง 15,938 ล้านบาท ภาพรวมเมื่อลดอัตราเงินสมทบรวมกัน 18 เดือน (รวมกับการลดอัตราเงินสมทบครั้งที่ 1 ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึง พฤษภาคม 2563 ครั้งที่ 2 ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง พฤศจิกายน 2563 ครั้งที่ 3 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง มีนาคม 2564 ครั้งที่ 4 ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม 2564 และครั้งที่ 5 ตั้งแต่เดือนกันยายน ถึง พฤศจิกายน 2564) เงินสมทบทั้งหมดจะลดลงประมาณ 143,206 ล้านบาท โดยผู้ประกันตนจะจ่ายเงินสมทบลดลง 85,467 ล้านบาท ส่วนนายจ้างจะจ่ายเงินสมทบลดลง 57,739 ล้านบาท

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 5 เมษายน 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A4217

 Click Donate Support Web 

EXIM One 720x90 C J

aia 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!