แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2566-2570 แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และข้อเสนอแผนงานโครงการของส่วนราชการที่สอดคล้องกับร่างกรอบแผนพัฒนาภาค พ.ศ. 2566-2570 ที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Tuesday, 05 April 2022 21:00
- Hits: 6082
แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2566-2570 แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และข้อเสนอแผนงานโครงการของส่วนราชการที่สอดคล้องกับร่างกรอบแผนพัฒนาภาค พ.ศ. 2566-2570 ที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการบูรณาการนโยบายการพัฒนาภาค (ก.บ.ภ.) เสนอผลการประชุม ก.บ.ภ. ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 [เป็นการดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2560 ข้อ 5 (4) ที่กำหนดให้ ก.บ.ภ. มีหน้าที่และอำนาจให้ความเห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาภาค แผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด แผนปฏิบัติราชการประจำปีของกลุ่มจังหวัด คำของบประมาณของจังหวัด กลุ่มจังหวัด และงบประมาณของส่วนราชการที่จะดำเนินการตามแผนพัฒนาภาคตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. เห็นชอบแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2566-2570 จำนวน 76 จังหวัด และ 18 กลุ่มจังหวัด โดยมอบหมายให้จังหวัด กลุ่มจังหวัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำความเห็นและข้อสังเกตของที่ประชุม รวมทั้งข้อเสนอแนะของฝ่ายเลขานุการฯ ไปปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เช่น (1) ควรปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันและนำมาประกอบการวิเคราะห์เปรียบเทียบทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เห็นศักยภาพของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด รวมทั้งวิเคราะห์เหตุผลหรือปัจจัยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนเปรียบเทียบกับพื้นที่อื่นเพื่อให้การกำหนดเป้าหมายและประเด็นการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดมีความชัดเจนและสอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น (2) ควรกำหนดตัวชี้วัดที่สามารถวัดความสำเร็จได้ชัดเจน โดยคำนึงถึงการประเมินผลสัมฤทธิ์เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแผนพัฒนาและค่าเป้าหมายการพัฒนาที่เหมาะสม และ (3) ควรจัดทำแผนงานโครงการที่มีความเชื่อมโยงในลักษณะห่วงโซ่คุณค่าให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนา ปัญหา และความต้องการของพื้นที่
2. เห็นชอบแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จำนวน 76 จังหวัด และ 18 กลุ่มจังหวัด สรุปได้ ดังนี้
คำขอ งบประมาณปี พ.ศ. 2566 |
โครงการที่เห็นควรสนับสนุน ภายในกรอบวงเงิน |
โครงการที่เห็นควรสนับสนุน เกินกรอบวงเงิน |
รวมทั้งสิ้น | |||
จำนวน (โครงการ) |
งบประมาณ (ล้านบาท) |
จำนวน (โครงการ) |
งบประมาณ (ล้านบาท) |
จำนวน (โครงการ) |
งบประมาณ (ล้านบาท) |
|
76 จังหวัด |
1,182 |
20,544.99 |
386 |
9,322.40 |
1,568 |
29,867.39 |
18 กลุ่มจังหวัด |
227 |
8,739.24 |
59 |
2,215.97 |
286 |
10,955.21 |
รวมทั้งสิ้น |
1,409 |
29,284.23 |
445 |
11,538.37 |
1,854 |
40,822.60 |
โดยโครงการและงบประมาณของกลุ่มจังหวัดสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้
รายการ |
โครงการที่เห็นควรสนับสนุน ในกรอบวงเงิน |
โครงการที่เห็นควรสนับสนุน เกินกรอบวงเงิน |
||
จำนวน (โครงการ) |
งบประมาณ (ล้านบาท) |
จำนวน (โครงการ) |
งบประมาณ (ล้านบาท) |
|
ส่วนที่ 1 เพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดตามความต้องการรายพื้นที่ |
148 |
4,503.37 |
59 |
2,215.97 |
ส่วนที่ 2 เพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนากลุ่มจัหวัด ในลักษณะ Cluster หรือตอบสนองนโยบายสำคัญของรัฐบาลเชิงพื้นที่ระดับกลุ่มจังหวัด |
79 |
4,235.87 |
- |
- |
รวม |
227 |
8,739.24 |
59 |
2,215.97 |
ทั้งนี้ มีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการป้องกันปัญหาฝุ่นควันและไฟป่ากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมสร้างสรรค์ โครงการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โครงการเพิ่มช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรสร้างสรรค์ และโครงการยกระดับมันสำปะหลังไทยก้าวไกลสู่ตลาดโลก
3. เห็นชอบในหลักการข้อเสนอแผนงานโครงการของส่วนราชการที่สอดคล้องกับร่างกรอบแผนพัฒนาภาค พ.ศ. 2566-2570 ที่จะดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 937 โครงการ โดยมีกรอบการดำเนินงานของร่างกรอบแผนพัฒนาประกอบด้วย (1) ภาคเหนือ มุ่งเน้นให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ เช่น โครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยการออกแบบใหม่เมืองสร้างสรรค์และโครงการศึกษาออกแบบผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ และตราสินค้าในแหล่งท่องเที่ยวชุมชนภาคเหนือ (2) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งเน้นให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เช่น โครงการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านเการเกษตรพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและโครงการพัฒนาเทคโนโลยีที่ยั่งยืนสำหรับฟาร์มปศุสัตว์ (3) ภาคกลาง มุ่งเน้นให้เป็นฐานการผลิตและบริการมูลค่าสูง เช่น โครงการพัฒนาเกษตรกรโคนมสู่ SMART Farmers และโครงการพัฒนาเครือข่ายเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม (4) ภาคตะวันออก มุ่งเน้นให้เป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำของอาเซียน เช่น โครงการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกมหาวิทยาลัยบูรพาและโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมไม้เศรษฐกิจภูมิภาคอาเซียน (5) ภาคใต้ มุ่งเน้นให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวและบริการที่มีคุณภาพ แหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและมูลค่าสูงเชื่อมโยงเศรษฐกิจภูมิภาค เช่น โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการบริการข้อมูลนักท่องเที่ยวและโครงการศูนย์สุขภาพนานาชาติอันดามัน และ (6) ภาคใต้ชายแดน มุ่งเน้นให้เป็นฐานเศรษฐกิจชายแดนที่มั่นคงบนสังคมพหุวัฒนธรรม เช่น โครงการพัฒนาผู้ประกอบการอาหารฮาลาล 5 จังหวัดชายแดนใต้เพื่อการค้าระหว่างประเทศและโครงการขับเคลื่อนการศึกษาเพื่ออาชีพแห่งอนาคต
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 5 เมษายน 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A4202