WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2565

GOV5 copy copy

ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2565

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐเสนอผลการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ .. 2565 ในเรื่องเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้

                 1.1 เป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกรอบวงเงิน ที่ได้รับอนุมัติเบิกจ่ายลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรี

                 1.2 ปรับปรุงงบลงทุนระหว่างปี 2565 ให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 1 (1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2564) และปรับแผนการลงทุนให้สามารถเบิกจ่ายได้เร็วขึ้นในช่วงไตรมาส 1 และ 2 (1 มกราคม - 31 มีนาคม 2565) ของปี รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

          2. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ

                 2.1 ภาพรวมการเบิกจ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ .. 2565 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 1,306,123 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

รายการ

วงเงินงบประมาณ/

แผนการใช้จ่าย

เบิกจ่ายแล้ว

ร้อยละ

เบิกจ่าย

งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ .. 2565

3,100,000

983,614

31.73

เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี

237,241

75,530

31.84

เงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมเงินงบประมาณ)

287,439

53,269

18.53

โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 .. 2563 (กรอบวงเงิน 1 ล้านล้านบาท

( วันที่ 4 มกราคม 2565)

88,408

73,877

83.56

โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม .. 2564 

(กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท)

191,441

119,833

62.60

รวม

3,304,529

1,306,123

33.45

(ข้อมูล วันที่ 25 มกราคม 2565)

 

                  ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ .. 2565 มีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ มูลค่าโครงการตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป รวม 102 โครงการ มูลค่าโครงการทั้งหมด 2.51 ล้านล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 35,418 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.37 ของแผนการใช้จ่ายเงิน (1 ตุลาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564) 

 

QIC 720x100

 

                 2.2 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน

                          2.2.1 กระทรวงที่มีผลการเบิกจ่ายสูงสุด เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงการคลัง (กค.) สำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่วนกระทรวงที่มีผลการเบิกจ่ายต่ำสุด เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทย

                          2.2.2 ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่สำคัญ ได้แก่

 

รายการ

จำนวน

(รายการ)

วงเงิน

(ล้านบาท)

เบิกจ่ายแล้ว

(ล้านบาท)

คิดเป็น

(ร้อยละ)

รายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินต่อรายการเกิน 1,000 ล้านบาท

18

30,061

11,035

36.71

รายจ่ายลงทุนรายการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณใหม่ที่มีวงเงินรวม 1,000 ล้านบาทขึ้นไป

8

3,524

-

-

หน่วยงานที่ได้รับรายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท และมีผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 13 (ไม่รวมงบกลาง)

26

165,864

6,430

3.88

 

                          2.2.3 ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินการและการเบิกจ่ายงบประมาณและล่าช้า เช่น (1) การเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินโครงการ เช่น มีการปรับแบบรูปรายการหรือแบบแปลนงานก่อสร้างให้สอดคล้องกับพื้นที่จริงเนื่องจากไม่มีกรรมสิทธิ์ในพื้นที่หรืออยู่ระหว่างขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่ (2) การดำเนินงาน เช่น หน่วยรับงบประมาณต้องหารือกับหน่วยงานต้นสังกัดหรือทบทวนราคากลางเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ หรือกรณีมีผู้เสนอราคารายเดียวหรือไม่มีผู้เสนอราคา ทำให้ต้องยกเลิกการประกวดราคาและประกาศเชิญชวนใหม่ ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) หน่วยรับงบประมาณควรให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมของโครงการก่อนดำเนินการ เช่น การกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะและเงื่อนไขในการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ทันทีหลังจากได้รับการจัดสรรงบประมาณ (2) กรณีมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียวหรือมีผู้ยื่นข้อเสนอหลายรายแต่ถูกต้องตามเงื่อนไขเพียงรายเดียว คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ดุลยพินิจให้ดำเนินการต่อไปได้ และกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอหรือมีแต่ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข หัวหน้าส่วนราชการสามารถใช้ดุลยพินิจให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจง

 

ais 720x100

 

                  2.3 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ

                          2.3.1 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปี 2564 ทั้ง 43 แห่ง มีรายละเอียด ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

รัฐวิสาหกิจ

กรอบลงทุน

ทั้งปี

(1)

เบิกจ่ายจริง

สะสม

(2)

ร้อยละเบิกจ่ายจริงสะสม

/กรอบลงทุน

ทั้งปี

(2)/(1)

เบิกจ่ายจริง

สะสม

ปี 63

1. ปีงบประมาณ (.. 63 - .. 64)

    จำนวน 34 แห่ง (12 เดือน)

174,009

145,461

84

100,783

2. ปีปฏิทิน (.. 64 - .. 64)

    จำนวน 9 แห่ง (12 เดือน)

176,465

161,724

92

153,039

3. รวม 43 แห่ง (1+2)

350,474

307,185

88

253,822

(ข้อมูล วันที่ 25 มกราคม 2565)

 

                          ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการเบิกจ่ายงบลงทุนในปี 2563 ที่รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายได้ 253,822 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 81 ของกรอบลงทุนทั้งปี ทำให้ในปี 2564 มีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสูงกว่าปี 2563 จำนวน 53,363 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21 

                          2.3.2 รัฐวิสาหกิจมีกรอบลงทุนปี 2565 สิ้นเดือนธันวาคม 2564 จำนวน 318,103 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายสะสม 3 เดือน (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) จำนวน 14,263 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 95 ของแผนเบิกจ่ายสะสม (15,007 ล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 9 ของกรอบลงทุนทั้งปี ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจปีปฏิทินจะเริ่มมีผลการเบิกจ่ายประจำปี 2565 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 เป็นต้นไป

                          2.3.3 รัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาการเบิกจ่ายงบลงทุนล่าช้า สิ้นเดือนธันวาคม 2564 ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด และรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณที่มีปัญหาการเบิกจ่ายงบลงทุน ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยและองค์การเภสัชกรรม

                          2.3.4 รัฐวิสาหกิจมีแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนประจำปี 2565 กระจุกตัวในช่วง ครึ่งหลังของปี

 

เจนเนอราลี่

 

                          2.3.5 ข้อเสนอแนะเพื่อให้กระทรวงเจ้าสังกัดกำกับให้รัฐวิสาหกิจพิจารณาดำเนินการดังนี้ (1) เร่งขออนุมัติปรับปรุงงบลงทุนระหว่างปี 2565 ให้แล้วเสร็จ โดยให้เสนอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติภายในไตรมาสแรกของปีบัญชี รวมถึงให้เร่งรัดรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณที่ดำเนินการล่าช้ากว่าที่กรอบระยะเวลากำหนดด้วย ทั้งนี้ ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการลงทุนโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลให้กรอบวงเงินลงทุนลดลงควรเป็นผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยภายนอกหรือที่รัฐวิสาหกิจไม่สามารถควบคุมได้หรือเป็นการดำเนินการเชิงนโยบายเท่านั้น (2) ปรับแผนการลงทุนให้สามารถเบิกจ่ายได้เร็วขึ้นในช่วงไตรมาส 1 และ 2 ของปี 2565 และให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายงบลงทุนโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีกรอบงบลงทุนสูงและมีปัญหาการเบิกจ่ายล่าช้าในปี 2564

                 2.4 การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป

                          2.4.1 โครงการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่มีจำนวน 102 โครงการ มูลค่ารวม 2.51 ล้านล้านบาท และมีมูลค่าการลงทุนในปี 2565 จำนวน 192,776 ล้านบาท (ไม่รวมโครงการที่ใช้เงินงบประมาณทั้งหมดของส่วนราชการ) โดยแหล่งเงินลงทุนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป สรุปได้ ดังนี้

หน่วย : ล้านบาท

หน่วยงาน

แหล่งเงิน

การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน

เงินกู้

ต่างประเทศ

เงินกู้

ในประเทศ

เงินรายได้

งบประมาณ

กองทุน

รวม

ส่วนราชการ

29,178

14,048

-

-

24,416

-

67,642

รัฐวิสาหกิจ

296,031

84,282

1,505,266

355,100

142,791

43,537

2,427,007

รวม

325,209

98,329

1,505,266

355,100

167,208

43,537

2,494,649

(ข้อมูล วันที่ 21 มกราคม 2565)

 

                          2.4.2 สถานะการดำเนินการของโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป มีดังนี้

 

โครงการ

จำนวน

(โครงการ)

มูลค่า

(ล้านบาท)

โครงการที่รัฐดำเนินการเอง

81

2,090,000

     - ลงนามในสัญญาแล้ว

31

704,915

     - ลงนามในสัญญายังไม่ครบหรือยังไม่ได้ลงนามในสัญญา

50

1,380,000

โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน

21

421,934

     - ลงนามในสัญญาแล้ว

4

125,390

     - ยังไม่ได้ลงนามในสัญญา

17

296,544

 

วิริยะ 720x100

 

                  2.5 การเบิกจ่ายเงินกู้โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ .. 2563 (กรอบวงเงิน 1 ล้านล้านบาท) สิ้นเดือนธันวาคม 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ .. 2563 จำนวน 1,126 โครงการ วงเงิน 986,964 ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น วงเงิน 943,554 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96 ของวงเงินอนุมัติ โดยในปีงบประมาณ .. 2565 มีแผนเบิกจ่ายวงเงินรวม 88,408 ล้านบาท และมีแผนการเบิกจ่ายสะสม (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) วงเงินรวม 85,633 ล้านบาท ทั้งนี้ หน่วยงานเจ้าของโครงการเบิกจ่ายสะสม (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) จำนวน 126 โครงการ วงเงินรวม 73,877 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 84 ของแผนการเบิกจ่ายปีงบประมาณ 2565 และร้อยละ 86 ของแผนการเบิกจ่ายสะสม โดยการดำเนินการดังกล่าวมีปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น

 

ประเด็น

 

ปัญหา/อุปสรรค

 

แนวทางแก้ไขปัญหา

แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาโควิด-19

 

- สานการณ์โควิด-19 ทำให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนของแผนงานเร่งรัดการเข้าถึงวัคซีนสำหรับคนไทยไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานได้ ประกอบกับครุภัณฑ์บางส่วนมีความจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้โครงการมีผลการดำเนินการล่าช้า

- การอุทธรณ์ผลการประกวดราคาในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐสำหรับการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการเบิกจ่ายค่าวัสดุทางการแพทย์

 

- หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาดำเนินโครงการให้สามารถรองรับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนที่ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนซึ่งรวมถึงรองรับความล่าช้าในการส่งมอบครุภัณฑ์ของโครงการ

- คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐได้กำหนดแนวทางปฏิบัติดังนี้ (1) หากมีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวหรือมีผู้ยื่นข้อเสนอหลายราย แต่เอกสารถูกต้องตามที่เงื่อนไขเพียงรายเดียว ให้สามารถดำเนินการใหม่โดยวิธีเฉพาะเจาะจงได้ (2) หากมีความจำเป็นจะต้องจ่ายเงินค่าพัสดุล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างกำหนด และยกเว้นการวางหลักประกันการรับเงินล่วงหน้าตามระเบียบ กค. ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ .. 2560 ข้อ 91 วรรคสอง

แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยาและชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19

 

การโอนเงินให้ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษไม่สำเร็จ เนื่องจากเปลี่ยนบัญชีรับเงินหรือบัญชีถูกปิด รวมถึงบัญชีไม่มีการเคลื่อนไหวเกินระยะเวลาที่กำหนด

 

กรมบัญชีกลางในฐานะหน่วยเบิกจ่ายแทนจะโอนเงินให้ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการอีกครั้ง รวมถึงมีหนังสือแจ้งไปยังธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อให้เร่งแจ้งร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการทราบถึงปัญหาและแก้ไขรายการที่โอนไม่สำเร็จ

แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19

 

- เกิดความล่าช้าในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนวิจารณ์การจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้งกรณีที่มีผู้ยื่นเพียงรายเดียว จึงต้องยกเลิกและการไม่มีผู้มายื่นข้อเสนอทำให้ต้องเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างใหม่

- สถานการณ์อุทกภัยทำให้โครงการไม่สามารถดำเนินการในกิจกรรมได้

- นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ โดยภาครัฐและเอกชน มีความต้องการทำงานไม่ตรงกับตำแหน่งงานที่สถานประกอบการมีความต้องการจ้างงาน

 

- หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ

- เร่งดำเนินโครงการโดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมให้สามารถดำเนินการได้ทันทีหลังจากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ

- จับคู่ความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ประกอบการที่มีความต้องการจ้างงานผ่านเว็บไซต์

https://thaimengaantam.doe.go.th

 

NHA720x100

 

                   2.6 การเบิกจ่ายเงินกู้โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ เพิ่มเติม .. 2564 (กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท) สิ้นเดือนธันวาคม 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ เพิ่มเติม .. 2564 จำนวน 43 โครงการ วงเงิน 342,317 ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น วงเงิน 229,653 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 67 ของวงเงินอนุมัติ โดยปีงบประมาณ .. 2565 มีแผนการเบิกจ่ายวงเงินรวม 191,441 ล้านบาท และมีแผนเบิกจ่ายสะสม (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) วงเงินรวม 138,503 ล้านบาท โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการมีการเบิกจ่าย จำนวน 30 โครงการ วงเงินรวม 119,833 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63 ของแผนการเบิกจ่ายปีงบประมาณ .. 2565 และร้อยละ 87 ของแผนเบิกจ่ายสะสมตามลำดับ โดยมีปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น

 

ประเด็น

 

ปัญหา/อุปสรรค

 

แนวทางแก้ไขปัญหา

แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19

 

- สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานปลัด อว. และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการไม่สามารถเบิกจ่ายแทนกันได้

- ผู้ประกันตนในโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ไม่ผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประชาชน ทำให้ไม่สามารถโอนเงินเข้าบัญชีสำเร็จ

 

- ทำความตกลงกับกรมบัญชีกลางเกี่ยวกับแนวทางการเบิกจ่ายแทนกัน ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานปลัด อว. และสถาบันอุดมศึกษาเอกชนต้องทำหน้าที่เบิกจ่าย

- สำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินซ้ำให้กับผู้ประกันตนที่โอนเงินไม่สำเร็จทุกสัปดาห์

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 29 มีนาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A3980

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

hino2021

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!