ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2565
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 30 March 2022 13:02
- Hits: 8796
ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2565
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐเสนอผลการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในเรื่องเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ มีดังนี้
1.1 เป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 ของกรอบวงเงิน ที่ได้รับอนุมัติเบิกจ่ายลงทุนตามมติคณะรัฐมนตรี
1.2 ปรับปรุงงบลงทุนระหว่างปี 2565 ให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 1 (1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2564) และปรับแผนการลงทุนให้สามารถเบิกจ่ายได้เร็วขึ้นในช่วงไตรมาส 1 และ 2 (1 มกราคม - 31 มีนาคม 2565) ของปี รวมทั้งเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมาย
2. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
2.1 ภาพรวมการเบิกจ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 1,306,123 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ |
วงเงินงบประมาณ/ แผนการใช้จ่าย |
เบิกจ่ายแล้ว |
ร้อยละ เบิกจ่าย |
งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 |
3,100,000 |
983,614 |
31.73 |
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี |
237,241 |
75,530 |
31.84 |
เงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมเงินงบประมาณ) |
287,439 |
53,269 |
18.53 |
โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (กรอบวงเงิน 1 ล้านล้านบาท) (ณ วันที่ 4 มกราคม 2565) |
88,408 |
73,877 |
83.56 |
โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท) |
191,441 |
119,833 |
62.60 |
รวม |
3,304,529 |
1,306,123 |
33.45 |
(ข้อมูล ณ วันที่ 25 มกราคม 2565)
ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ มูลค่าโครงการตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป รวม 102 โครงการ มูลค่าโครงการทั้งหมด 2.51 ล้านล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 35,418 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 18.37 ของแผนการใช้จ่ายเงิน (1 ตุลาคม 2564 - 31 ธันวาคม 2564)
2.2 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุน
2.2.1 กระทรวงที่มีผลการเบิกจ่ายสูงสุด เช่น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงการคลัง (กค.) สำนักนายกรัฐมนตรี และกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ส่วนกระทรวงที่มีผลการเบิกจ่ายต่ำสุด เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงมหาดไทย
2.2.2 ผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนที่สำคัญ ได้แก่
รายการ |
จำนวน (รายการ) |
วงเงิน (ล้านบาท) |
เบิกจ่ายแล้ว (ล้านบาท) |
คิดเป็น (ร้อยละ) |
รายจ่ายลงทุนที่มีวงเงินต่อรายการเกิน 1,000 ล้านบาท |
18 |
30,061 |
11,035 |
36.71 |
รายจ่ายลงทุนรายการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณใหม่ที่มีวงเงินรวม 1,000 ล้านบาทขึ้นไป |
8 |
3,524 |
- |
- |
หน่วยงานที่ได้รับรายจ่ายลงทุนเกิน 1,000 ล้านบาท และมีผลการเบิกจ่ายรายจ่ายลงทุนต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 13 (ไม่รวมงบกลาง) |
26 |
165,864 |
6,430 |
3.88 |
2.2.3 ปัญหาและอุปสรรคที่ทำให้การดำเนินการและการเบิกจ่ายงบประมาณและล่าช้า เช่น (1) การเตรียมความพร้อมก่อนดำเนินโครงการ เช่น มีการปรับแบบรูปรายการหรือแบบแปลนงานก่อสร้างให้สอดคล้องกับพื้นที่จริงเนื่องจากไม่มีกรรมสิทธิ์ในพื้นที่หรืออยู่ระหว่างขออนุญาตเข้าใช้พื้นที่ (2) การดำเนินงาน เช่น หน่วยรับงบประมาณต้องหารือกับหน่วยงานต้นสังกัดหรือทบทวนราคากลางเพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณที่ได้รับ หรือกรณีมีผู้เสนอราคารายเดียวหรือไม่มีผู้เสนอราคา ทำให้ต้องยกเลิกการประกวดราคาและประกาศเชิญชวนใหม่ ดังนั้น คณะกรรมการฯ จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้ (1) หน่วยรับงบประมาณควรให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อมของโครงการก่อนดำเนินการ เช่น การกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะและเงื่อนไขในการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ทันทีหลังจากได้รับการจัดสรรงบประมาณ (2) กรณีมีผู้เสนอราคาเพียงรายเดียวหรือมีผู้ยื่นข้อเสนอหลายรายแต่ถูกต้องตามเงื่อนไขเพียงรายเดียว คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้ดุลยพินิจให้ดำเนินการต่อไปได้ และกรณีที่ไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอหรือมีแต่ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข หัวหน้าส่วนราชการสามารถใช้ดุลยพินิจให้ดำเนินการซื้อหรือจ้างโดยวิธีคัดเลือกหรือวิธีเฉพาะเจาะจง
2.3 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
2.3.1 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจประจำปี 2564 ทั้ง 43 แห่ง มีรายละเอียด ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รัฐวิสาหกิจ |
กรอบลงทุน ทั้งปี (1) |
เบิกจ่ายจริง สะสม (2) |
ร้อยละเบิกจ่ายจริงสะสม /กรอบลงทุน ทั้งปี (2)/(1) |
เบิกจ่ายจริง สะสม ปี 63 |
1. ปีงบประมาณ (ต.ค. 63 - ก.ย. 64) จำนวน 34 แห่ง (12 เดือน) |
174,009 |
145,461 |
84 |
100,783 |
2. ปีปฏิทิน (ม.ค. 64 - ธ.ค. 64) จำนวน 9 แห่ง (12 เดือน) |
176,465 |
161,724 |
92 |
153,039 |
3. รวม 43 แห่ง (1+2) |
350,474 |
307,185 |
88 |
253,822 |
(ข้อมูล ณ วันที่ 25 มกราคม 2565)
ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับการเบิกจ่ายงบลงทุนในปี 2563 ที่รัฐวิสาหกิจสามารถเบิกจ่ายได้ 253,822 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 81 ของกรอบลงทุนทั้งปี ทำให้ในปี 2564 มีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสูงกว่าปี 2563 จำนวน 53,363 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 21
2.3.2 รัฐวิสาหกิจมีกรอบลงทุนปี 2565 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 จำนวน 318,103 ล้านบาท มีผลการเบิกจ่ายสะสม 3 เดือน (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) จำนวน 14,263 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 95 ของแผนเบิกจ่ายสะสม (15,007 ล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 9 ของกรอบลงทุนทั้งปี ทั้งนี้ รัฐวิสาหกิจปีปฏิทินจะเริ่มมีผลการเบิกจ่ายประจำปี 2565 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2565 เป็นต้นไป
2.3.3 รัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาการเบิกจ่ายงบลงทุนล่าช้า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง และบริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด และรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณที่มีปัญหาการเบิกจ่ายงบลงทุน ได้แก่ การรถไฟแห่งประเทศไทย การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยและองค์การเภสัชกรรม
2.3.4 รัฐวิสาหกิจมีแผนการเบิกจ่ายงบลงทุนประจำปี 2565 กระจุกตัวในช่วง ครึ่งหลังของปี
2.3.5 ข้อเสนอแนะเพื่อให้กระทรวงเจ้าสังกัดกำกับให้รัฐวิสาหกิจพิจารณาดำเนินการดังนี้ (1) เร่งขออนุมัติปรับปรุงงบลงทุนระหว่างปี 2565 ให้แล้วเสร็จ โดยให้เสนอสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติภายในไตรมาสแรกของปีบัญชี รวมถึงให้เร่งรัดรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณที่ดำเนินการล่าช้ากว่าที่กรอบระยะเวลากำหนดด้วย ทั้งนี้ ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการลงทุนโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลให้กรอบวงเงินลงทุนลดลงควรเป็นผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยภายนอกหรือที่รัฐวิสาหกิจไม่สามารถควบคุมได้หรือเป็นการดำเนินการเชิงนโยบายเท่านั้น (2) ปรับแผนการลงทุนให้สามารถเบิกจ่ายได้เร็วขึ้นในช่วงไตรมาส 1 และ 2 ของปี 2565 และให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงในการดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายงบลงทุนโดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่มีกรอบงบลงทุนสูงและมีปัญหาการเบิกจ่ายล่าช้าในปี 2564
2.4 การลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป
2.4.1 โครงการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่มีจำนวน 102 โครงการ มูลค่ารวม 2.51 ล้านล้านบาท และมีมูลค่าการลงทุนในปี 2565 จำนวน 192,776 ล้านบาท (ไม่รวมโครงการที่ใช้เงินงบประมาณทั้งหมดของส่วนราชการ) โดยแหล่งเงินลงทุนของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
หน่วยงาน |
แหล่งเงิน |
||||||
การร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน |
เงินกู้ ต่างประเทศ |
เงินกู้ ในประเทศ |
เงินรายได้ |
งบประมาณ |
กองทุน |
รวม |
|
ส่วนราชการ |
29,178 |
14,048 |
- |
- |
24,416 |
- |
67,642 |
รัฐวิสาหกิจ |
296,031 |
84,282 |
1,505,266 |
355,100 |
142,791 |
43,537 |
2,427,007 |
รวม |
325,209 |
98,329 |
1,505,266 |
355,100 |
167,208 |
43,537 |
2,494,649 |
(ข้อมูล ณ วันที่ 21 มกราคม 2565)
2.4.2 สถานะการดำเนินการของโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป มีดังนี้
โครงการ |
จำนวน (โครงการ) |
มูลค่า (ล้านบาท) |
โครงการที่รัฐดำเนินการเอง |
81 |
2,090,000 |
- ลงนามในสัญญาแล้ว |
31 |
704,915 |
- ลงนามในสัญญายังไม่ครบหรือยังไม่ได้ลงนามในสัญญา |
50 |
1,380,000 |
โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน |
21 |
421,934 |
- ลงนามในสัญญาแล้ว |
4 |
125,390 |
- ยังไม่ได้ลงนามในสัญญา |
17 |
296,544 |
2.5 การเบิกจ่ายเงินกู้โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 (กรอบวงเงิน 1 ล้านล้านบาท) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 จำนวน 1,126 โครงการ วงเงิน 986,964 ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น วงเงิน 943,554 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96 ของวงเงินอนุมัติ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีแผนเบิกจ่ายวงเงินรวม 88,408 ล้านบาท และมีแผนการเบิกจ่ายสะสม (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) วงเงินรวม 85,633 ล้านบาท ทั้งนี้ หน่วยงานเจ้าของโครงการเบิกจ่ายสะสม (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) จำนวน 126 โครงการ วงเงินรวม 73,877 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 84 ของแผนการเบิกจ่ายปีงบประมาณ 2565 และร้อยละ 86 ของแผนการเบิกจ่ายสะสม โดยการดำเนินการดังกล่าวมีปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น
ประเด็น |
ปัญหา/อุปสรรค |
แนวทางแก้ไขปัญหา |
||
แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุขเพื่อแก้ไขปัญหาโควิด-19 |
- สานการณ์โควิด-19 ทำให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนของแผนงานเร่งรัดการเข้าถึงวัคซีนสำหรับคนไทยไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานได้ ประกอบกับครุภัณฑ์บางส่วนมีความจำเป็นต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ส่งผลให้โครงการมีผลการดำเนินการล่าช้า - การอุทธรณ์ผลการประกวดราคาในระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐสำหรับการจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการเบิกจ่ายค่าวัสดุทางการแพทย์ |
- หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาดำเนินโครงการให้สามารถรองรับการวิจัยและพัฒนาวัคซีนที่ต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนซึ่งรวมถึงรองรับความล่าช้าในการส่งมอบครุภัณฑ์ของโครงการ - คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐได้กำหนดแนวทางปฏิบัติดังนี้ (1) หากมีผู้ยื่นข้อเสนอเพียงรายเดียวหรือมีผู้ยื่นข้อเสนอหลายราย แต่เอกสารถูกต้องตามที่เงื่อนไขเพียงรายเดียว ให้สามารถดำเนินการใหม่โดยวิธีเฉพาะเจาะจงได้ (2) หากมีความจำเป็นจะต้องจ่ายเงินค่าพัสดุล่วงหน้าให้แก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างกำหนด และยกเว้นการวางหลักประกันการรับเงินล่วงหน้าตามระเบียบ กค. ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 91 วรรคสอง |
||
แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยาและชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 |
การโอนเงินให้ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษไม่สำเร็จ เนื่องจากเปลี่ยนบัญชีรับเงินหรือบัญชีถูกปิด รวมถึงบัญชีไม่มีการเคลื่อนไหวเกินระยะเวลาที่กำหนด |
กรมบัญชีกลางในฐานะหน่วยเบิกจ่ายแทนจะโอนเงินให้ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการอีกครั้ง รวมถึงมีหนังสือแจ้งไปยังธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อให้เร่งแจ้งร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการทราบถึงปัญหาและแก้ไขรายการที่โอนไม่สำเร็จ |
||
แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 |
- เกิดความล่าช้าในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนวิจารณ์การจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้งกรณีที่มีผู้ยื่นเพียงรายเดียว จึงต้องยกเลิกและการไม่มีผู้มายื่นข้อเสนอทำให้ต้องเริ่มกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างใหม่ - สถานการณ์อุทกภัยทำให้โครงการไม่สามารถดำเนินการในกิจกรรมได้ - นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการจ้างงานใหม่สำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ โดยภาครัฐและเอกชน มีความต้องการทำงานไม่ตรงกับตำแหน่งงานที่สถานประกอบการมีความต้องการจ้างงาน |
- หน่วยงานเจ้าของโครงการเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ - เร่งดำเนินโครงการโดยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมความพร้อมให้สามารถดำเนินการได้ทันทีหลังจากสถานการณ์กลับสู่สภาวะปกติ - จับคู่ความต้องการของผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ประกอบการที่มีความต้องการจ้างงานผ่านเว็บไซต์ |
2.6 การเบิกจ่ายเงินกู้โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท) ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2564 คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 จำนวน 43 โครงการ วงเงิน 342,317 ล้านบาท หน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น วงเงิน 229,653 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 67 ของวงเงินอนุมัติ โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีแผนการเบิกจ่ายวงเงินรวม 191,441 ล้านบาท และมีแผนเบิกจ่ายสะสม (ตุลาคม - ธันวาคม 2564) วงเงินรวม 138,503 ล้านบาท โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการมีการเบิกจ่าย จำนวน 30 โครงการ วงเงินรวม 119,833 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 63 ของแผนการเบิกจ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และร้อยละ 87 ของแผนเบิกจ่ายสะสมตามลำดับ โดยมีปัญหา/อุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น
ประเด็น |
ปัญหา/อุปสรรค |
แนวทางแก้ไขปัญหา |
||
แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 |
- สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานปลัด อว. และสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ซึ่งไม่ใช่ส่วนราชการไม่สามารถเบิกจ่ายแทนกันได้ - ผู้ประกันตนในโครงการเยียวยาผู้ประกันตนมาตรา 39 และ 40 ที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ไม่ผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประชาชน ทำให้ไม่สามารถโอนเงินเข้าบัญชีสำเร็จ |
- ทำความตกลงกับกรมบัญชีกลางเกี่ยวกับแนวทางการเบิกจ่ายแทนกัน ในกรณีที่สถาบันอุดมศึกษาในกำกับสำนักงานปลัด อว. และสถาบันอุดมศึกษาเอกชนต้องทำหน้าที่เบิกจ่าย - สำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินซ้ำให้กับผู้ประกันตนที่โอนเงินไม่สำเร็จทุกสัปดาห์ |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 29 มีนาคม 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A3980