WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2565

GOV 5

ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2565

          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการยุทธศาสตร์และคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอ ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

          1. ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

                 1.1 การดำเนินการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ มีมติเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เห็นชอบหลักการ แนวทางและการดำเนินการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยให้มีการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (Ways) ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกหรือบริบทของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งยังคงเป้าหมาย” (End) ตามยุทธศาสตร์ชาติไว้เช่นเดิมโดยมีแนวทางการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติเฉพาะเป้าหมายระดับแผนแม่บทย่อยที่อาจไม่ส่งผลต่อเป้าหมายระดับประเด็น ปรับปรุงตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาให้มีความเหมาะสมและสะท้อนการบรรลุเป้าหมายได้อย่างแท้จริง โดย สศช. จะเสนอคณะรัฐมนตรีก่อนดำเนินการปรับปรุงแผนแม่บทฯ ตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ คาดว่าจะบังคับใช้แผนแม่บทฯ ฉบับปรับปรุงภายในเดือนกันยายน 2565

                 1.2 การจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (.. 2566-2570) คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีมติเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เห็นชอบ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (.. 2566-2570) ซึ่งเป็นแผนระดับที่ 2 ที่ระบุทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาประเทศที่ครอบคลุมเฉพาะประเด็นการพัฒนาประเทศที่มีลำดับความสำคัญสูง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืนประกอบด้วย 13 หมุดหมาย ภายใต้ 4 มิติการพัฒนา ดังนี้ (1) มิติภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย (6 หมุดหมาย) (2) มิติโอกาสและความเสมอภาคทางเศรษฐกิจและสังคม (3) หมุดหมาย) (3) มิติความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (2 หมุดหมาย) และ (4) มิติปัจจัยผลักดันการพลิกโฉมประเทศ (2 หมุดหมาย) ทั้งนี้ สศช. จะเสนอ (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ตามขั้นตอนต่อไปและคาดว่าจะประกาศใช้ในเดือนตุลาคม 2565

 

EXIM One 720x90 C J

 

                  1.3 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) คณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (คจพ.) มีมติเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ดังนี้

                          1.3.1 รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานตามแนวทางการขับเคลื่อน การขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยปี 2565 มีกลุ่มคนเป้าหมายของระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) จำนวน 1,025,782 คน เพิ่มขึ้นจำนวน 42,466 คน จากปี 2562 ที่มีจำนวน 983,316 คน ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2565

                          1.3.2 เห็นชอบเมนูแก้จน ที่จำแนกตาม 3 ขั้นการพัฒนา ได้แก่ อยู่รอด พอเพียง และยั่งยืน และ 5 มิติความขัดสน ประกอบด้วย (1) ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (2) การศึกษาและทักษะที่จำเป็น (3) สถานะทางสุขภาพ (4) คุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ และ (5) การเข้าถึงบริการ ความช่วยเหลือ และการมีส่วนร่วมในสังคม ซึ่งเมนูแก้จนจะมีข้อมูลแนวทาง มาตรการ และการดำเนินการ ให้ ศจพ. ทุกระดับนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยแบบพุ่งเป้าในระดับพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                          1.3.3 มอบหมายหน่วยงานเจ้าภาพหลัก 5 มิติ ได้แก่ (1) มิติสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) (2) มิติความเป็นอยู่ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.) (3) มิติการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) (4) มิติรายได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงแรงงาน มท. ศธ. กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงการคลัง (5) มิติการเข้าถึงบริการภาครัฐ พม. ทั้งนี้ หน่วยงานเจ้าภาพหลักจะต้องดำเนินการร่วมกับ ศจพ. ทุกระดับและทีมปฏิบัติการจัดทำโครงการ/การดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัย โดยใช้ข้อมูลจากระบบ TPMAP และเมนูแก้จนเป็นข้อมูลประกอบการจัดทำโครงการฯ

 

GC 720x100

 

          2. ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ

          การรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สศช. อยู่ระหว่างจัดทำรายงานความคืบหน้าฯ รอบเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2564 เพื่อรายงานการดำเนินงานของกิจกรรมปฏิรูปประเทศที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่าง มีนัยสำคัญ (Big Rock) จำนวน 62 กิจกรรม และสถานะการจัดทำ/ปรับปรุงกฎหมายภายใต้แผนการปฏิรูปประเทศ (ฉบับปรับปรุง) จำนวน 45 ฉบับ เพื่อแสดงความก้าวหน้าในการดำเนินงานและประเด็นปัญหา รวมทั้ง ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลในการกำกับ ติดตาม เร่งรัดการดำเนินการได้อย่างทันการณ์และแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด โดยมีตัวอย่าง เช่น ความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข ในกิจกรรมปฏิรูปที่ 1 การปฏิรูปการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขรวมถึงโรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่ เพื่อความมั่นคงแห่งชาติด้านสุขภาพ ดำเนินการแล้วเสร็จในเป้าหมายย่อยที่ 1 โดย สธ. ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขและมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจครบทั้ง 76 จังหวัด เพื่อเป็นกลไกบริหารสถานการณ์แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ ส่วนเป้าหมายย่อยที่ 2 ที่มีการดำเนินการล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ สธ. และหน่วยงานร่วมดำเนินการจำเป็นต้องเร่งจัดทำร่างแผนบูรณาการเพื่อยกระดับศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานและแผนปรับปรุงโครงสร้างความมั่นคงด้านสุขภาพและการจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข .. 2564-2565 ให้แล้วเสร็จ เพื่อเสนอคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและคณะรัฐมนตรีภายในเดือนกันยายน 2565 ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้

          3. การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและ แผนการปฏิรูปประเทศ

          คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 รับทราบรายงานสรุปผลการดำเนินการ ตามยุทธศาสตร์ชาติและรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2564* และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติมีมติเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 รับทราบรายงานดังกล่าวด้วยแล้ว โดยนายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับประเด็นท้าทายที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนการดำเนินการสู่การบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องกฎหมายและกระบวนงานที่มีความล้าสมัย ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญและเร่งรัดดำเนินการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายให้มีความทันสมัย

 sme 720x100

 

          4. การสร้างการตระหนักรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆ ต่อการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ สศช. ได้เผยแพร่คู่มือการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติและคู่มือการจัดทำแผนระดับที่ 3 ผ่านทางเว็บไซต์ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถจัดทำโครงการ/การดำเนินงานบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์และยกระดับการพัฒนาเพื่อนำไปสู่การบรรลุผลลัพธ์ของเป้าหมายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ

          5. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติในการประชุม คจพ. เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายนโยบายการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและการพัฒนาคน ทุกช่วงวัย โดยให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้ข้อมูลจากระบบ TPMAP เป็นเครื่องมือในการชี้เป้าการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบพุ่งเป้า และเร่งศึกษาทำความเข้าใจวิธีการใช้งานระบบ TPMAP เมนูแก้จน และหลักการจัดทำโครงการในการแก้ไขปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการดำเนินการที่มีอยู่ให้สอดคล้องกันตาม 3 ขั้นตอน การพัฒนา มิติความขัดสน และภูมิสังคมในพื้นที่ รวมทั้งให้หน่วยงานเร่งปรับปรุงข้อจำกัดเรื่องกฎหมายและกฎระเบียบและดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับระบบ TPMAP เพื่อให้เป็นระบบหลักในการแก้ปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแบบพุ่งเป้า

          6. นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้ สศช. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จของการดำเนินการ ตามยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศที่เป็นรูปธรรมให้ประชาชนทราบโดยทั่วกันต่อไป

 

* คณะรัฐมนตรีมีมติ (22 กุมภาพันธ์ 2565) รับทราบความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมกราคม 2565 ซึ่งมีรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2564 รวมอยู่ด้วย 

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 29 มีนาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A3979

 Click Donate Support Web

TU720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

วิริยะ 720x100

hino2021

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!