WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. ....

GOV3 copy

ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี .. ....

          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี .. .... ที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

          ทั้งนี้ อว. เสนอว่า

          1. ได้มีกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี .. 2564 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 มีสาระสำคัญกำหนดและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี เกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ทั้งนี้ ไม่รวมผู้ขอรับใบอนุญาตที่เป็นหน่วยงานของรัฐ เนื่องจากได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามกฎหมาย ดังนี้

                 1.1 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี อาทิ

                          - ใบอนุญาตผลิตวัสดุกัมมันตรังสี ฉบับละ 10,000 บาท

                          - ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุกัมมันตรังสีให้คิดตามค่ากัมมันตภาพของวัสดุกัมมันตรังสี ดังนี้ ค่ากัมมันตภาพไม่เกิน 37 เทระเบ็กเคอเรล (TBq) ฉบับละ 10,000 บาท ค่ากัมมันตภาพเกิน 37 แต่ไม่เกิน 370 เทระเบ็กเคอเรล (TBq) ฉบับละ 25,000 บาท

                          - ใบอนุญาตนำเข้าวัสดุกัมมันตรังสี ดังนี้ ค่ากัมมันตภาพไม่เกิน 37 เทระเบ็กเคอเรล (TBq) ฉบับละ 1,000 บาท ค่ากัมมันตภาพเกิน 37 แต่ไม่เกิน 370 เทระเบ็กเคอเรล (TBq) ฉบับละ 2,500 บาท

                 1.2 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดรังสี อาทิ

                          - ใบอนุญาตทำเครื่องกำเนิดรังสี ฉบับละ 50,000 บาท

                          - ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสี ดังนี้ เครื่องกำเนิดรังสีประเภทที่ 1 ฉบับละ 2,000 บาท ประเภทที่ 2 ฉบับละ 1,000 บาท

                          - ใบอนุญาตเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ใช้ประกอบเป็นเครื่องกำเนิดรังสี ดังนี้ ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้ ใบอนุญาตนำเข้า ใบอนุญาตส่งออก ฉบับละ 200 บาท

                 1.3 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ อาทิ

                          - ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุนิวเคลียร์ ดังนี้ วัสดุต้นกำลังไม่เกิน 10 ตัน ฉบับละ 5,000 บาท

                          - ใบอนุญาตนำเข้าวัสดุนิวเคลียร์ ฉบับละ 5,000 บาท

                          - ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 500 บาท

 

EXIM One 720x90 C J

GC 720x100

 

                 1.4 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ อาทิ

                          - สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ที่ไม่มีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ดังนี้ ใบอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อตั้งสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ ฉบับละ 10,000,000 บาท ใบอนุญาตก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ ฉบับละ 10,000,000 บาท

                          - สถานประกอบการทางนิวเคลียร์ที่มีเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ดังนี้ ใบอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อตั้งสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ ใบอนุญาตก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ ฉบับละ 10,000,000 บาท

                 1.5 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ทางนิวเคลียร์และรังสี ใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ฉบับละ 500 บาท ใบแทนใบอนุญาต ฉบับละ 200 บาท การต่ออายุใบอนุญาต ครั้งละเท่ากับค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตแต่ละประเภท และการแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายการในใบอนุญาต ฉบับละ 100 บาท

                 1.6 ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับการจัดการกากกัมมันตรังสี อาทิ

                          - ใบอนุญาตให้ใช้พื้นที่เพื่อตั้งสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี ใบอนุญาตก่อสร้างสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี ฉบับละ 1,000,000 บาท

          2. เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อภาวะทางเศรษฐกิจ อว. จึงเห็นควรให้มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสีเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ รวมทั้งใบอนุญาตและที่เกี่ยวกับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ในข้อ 1.1 - 1.3 และข้อ 1.5 ของกฎกระทรวงตามข้อ 1 ที่ปัจจุบันได้มีการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับกิจการดังกล่าว เพื่อเป็นการลดภาระและบรรเทาผลกระทบแก่ผู้ที่ใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสีที่เป็นภาคเอกชน ทั้งด้านการแพทย์ การอุตสาหกรรม การเกษตร การศึกษาวิจัย หรือการรักษาความมั่นคงปลอดภัย รวมถึงเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี อว. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี .. .... เพื่อยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565

          3. การยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสีตามร่างกฎกระทรวงฉบับนี้ ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ .. 2561 แล้ว โดยคาดว่าจะทำรัฐสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บค่าธรรมเนียมตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี .. 2564 ในปี .. 2565 ประมาณ 3,529,250 บาท แต่อย่างไรก็ตาม การออกกฎกระทรวงดังกล่าวจะเกิดผลดีต่อผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม การเกษตร การแพทย์ การศึกษาวิจัย และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ใช้ประโยชน์จากพลังงานนิวเคลียร์และรังสี รวมถึงเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสีมากกว่ารายได้ที่รัฐต้องสูญเสีย เนื่องจากเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับการประกอบกิจการดังกล่าว และจะเป็นการช่วยเหลือเยียวยาและลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการอันเป็นการส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจต่อไป

          สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง 

          เป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ รวมทั้งใบอนุญาตและที่เกี่ยวกับใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยทางรังสี ตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตทางนิวเคลียร์และรังสี .. 2564 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 22 มีนาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A3775

 Click Donate Support Web

TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!