WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

รายงานการประเมินผลตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) ช่วงระยะปี 2561-2564 และรายงานประเมินผลตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ

GOV 7

รายงานการประเมินผลตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (.. 2561-2580) ช่วงระยะปี 2561-2564 และรายงานประเมินผลตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ

          คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการประเมินผลตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (.. 2561-2580) ช่วงระยะปี 2561-2564 และรายงานประเมินผลตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ โดยในการจัดทำรายงานการประเมินผลตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (.. 2561-2580) ในครั้งต่อๆ ไป ให้คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอคณะรัฐมนตรีตามกรอบระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 (4) และมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ .. 2561 อย่างเคร่งครัดด้วย

          สาระสำคัญของเรื่อง

          1. แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (.. 2561-2580) (แผนระดับ 1) และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนระดับ 2) ประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ โดยยึดหลักแนวทางตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และหลักการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน

          2. สทนช. ได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานและประเมินผลตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ ช่วงปี 2561-2564 รวมทั้งประเมินผลตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบและการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 6 (SDG 6) “การสร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขาภิบาลให้มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคนเพื่อให้ทราบผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินโครงการข้อจำกัดในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และข้อเสนอแนะ/แนวทางที่นำไปสู่การทบทวน ปรับปรุงการดำเนินงานของแผนในปีต่อไป ซึ่ง กนช. ในการประชุมครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ได้มีมติรับทราบและเห็นชอบผลการประเมินดังกล่าวและให้เสนอคณะรัฐมนตรี โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

                 2.1 ผลการประเมินตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ ช่วงปี 2561-2564 และแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินการ จำนวน 6 ด้าน สรุปได้ ดังนี้

 

ผลการประเมิน

 

แนวทางการขับเคลื่อน เช่น

ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค

   

- กลยุทธ์การพัฒนา ขยายเขต และเพิ่มประสิทธิภาพระบบประปาหมู่บ้านมีผลการดำเนินงานสูงสุด โดยแผนการก่อสร้างระบบประปาใหม่มีการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมา คือ แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพประปาหมู่บ้าน มีผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 85 

- กลยุทธ์/แผนงานที่ยังไม่มีผลการดำเนินงาน คือ แผนงานการปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้านให้ได้มาตรฐาน SDGs และแผนงานลดการใช้น้ำภาคครัวเรือน/บริการ ซึ่งต้องเร่งรัดดำเนินการต่อไป

 

- การประปานครหลวงและการประปาส่วนภูมิภาคจัดทำแผนหลักลดน้ำสูญเสียในระบบท่อจ่ายน้ำประปาในระยะปี 2566-2570 

- กำหนดค่าอัตราการใช้น้ำเฉลี่ยต่อคนต่อวันในภาคครัวเรือน ภาคบริการ และการท่องเที่ยว เพื่อใช้เป็นค่าตั้งต้นในการประหยัดน้ำ

- ตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานประปาหมู่บ้านขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ระดับจังหวัด

- จัดหาแหล่งน้ำสำรอง/น้ำต้นทุน โดยให้ประเมินความเสี่ยงที่จะสามารถผลิตและจ่ายน้ำได้อย่างเพียงพอหรือสม่ำเสมอ

ด้านที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต

   

- กลยุทธ์การจัดหาน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน มีผลการดำเนินงานสูงสุด โดยแผนงานพัฒนาแหล่งน้ำชุมชน มีความก้าวหน้าสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 91 รองลงมาคือ แผนงานน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำคิดเป็นร้อยละ 79 แผนงานสระน้ำในไร่คิดเป็นร้อยละ 76 และแผนงานพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรคิดเป็นร้อยละ 64

- กลยุทธ์/แผนงานที่ยังไม่มีผลการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรมและยังไม่มีการขับเคลื่อน คือ แผนงานลดการใช้น้ำภาคการเกษตรและนำน้ำกลับมาใช้ใหม่ในเขคพื้นที่ชลประทาน แผนงานการลดการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรม แผนงานพัฒนาแหล่งน้ำทางเลือก และกลยุทธ์การเพิ่มผลิตภาพมูลค่าภาคการผลิต

 

- ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) จัดทำแผนหลักการลดการใช้น้ำในพื้นที่ชลประทาน และจัดลำดับความสำคัญโดยพิจารณาความจำเป็นของแต่ละพื้นที่

- กำหนดแนวทาง แผนงาน และหน่วยงานรับผิดชอบในแต่ละแผนงานย่อยในการจัดหาน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝนให้ชัดเจน

- เร่งรัดการแก้ไขปัญหาโครงการที่อยู่ในขอบเขตการถ่ายโอนภารกิจให้แก่ อปท. ให้สามารถดำเนินการได้ ทั้งการพัฒนา ปรับปรุง และเพิ่มประสิทธิภาพให้สามารถใช้งานได้

- เร่งรัดการจัดทำแผนหลักการใช้และอนุรักษ์แหล่งน้ำบาดาลในพื้นที่ที่มีศักยภาพ และพิจารณาความเหมาะสมในกิจกรรมการใช้น้ำ

ด้านที่ 3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย

   

- แผนงานการพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ชะลอน้ำในกลยุทธ์จัดการพื้นที่น้ำท่วม/พื้นที่ชะลอน้ำ มีผลการดำเนินงานสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 100 รองลงมา คือ กลยุทธ์บรรเทาอุทกภัยในเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบในระดับลุ่มน้ำ/พื้นที่วิกฤต มีผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 58 และแผนงานการจัดผังน้ำในกลยุทธ์การป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมือง มีความคืบหน้าคิดเป็นร้อยละ 34

- กลยุทธ์/แผนงานที่ยังไม่มีผลการดำเนินงาน คือ กลยุทธ์สนับสนุนการปรับตัวและเผชิญเหตุ ซึ่งผลการประเมินไม่สามารถประเมินผลสัมฤทธิ์ได้อย่างชัดเจนรายแผนงาน/โครงการ ส่วนใหญ่มีเฉพาะผลผลิตโครงการเท่านั้น

 

- ให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) เร่งรัดการปรับปรุงผังเมือง โดยใช้ผังน้ำที่ประกาศใช้เป็นแนวทางเพื่อลดความรุนแรงของอุทกภัย

- เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและการป้องกันตลิ่ง โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำแผนหลักรวมถึงแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกัน

- กำหนดเป้าหมายพื้นที่ในการจัดทำแผนบรรเทาอุทกภัยในเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบในระดับลุ่มน้ำ/พื้นที่วิกฤต รวมทั้งเป้าหมายพื้นที่เสี่ยงจากอุทกภัยและเป้าหมายพื้นที่ได้รับการแก้ไขปัญหา เพื่อให้สามารถดำเนินการและเกิดผลสัมฤทธิ์ได้

ด้านที่ 4 การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ

   

- กลยุทธ์การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ มีผลการดำเนินงานสูงสุดคิดเป็นร้อยละ 220 (ดำเนินการ 11 ลุ่มน้ำ มากกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 5 ลุ่มน้ำ) และกลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดและควบคุมการระบายน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อมมีผลการดำเนินงานต่ำกว่าเป้าหมาย

 

- ให้มีการจัดทำแนวทางเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ (ข้อเสนอด้านกฎหมาย) โดยกรมควบคุมมลพิษ

- สนับสนุนการก่อสร้างและฟื้นฟูระบบรวบรวมและระบบบำบัดน้ำเสียตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่และศักยภาพของ อปท. โดยให้ครอบคลุมการจัดการน้ำเสียของชุมชนของ อปท. และกรุงเทพมหานคร

- กลยุทธ์/แผนงานที่ยังไม่มีการดำเนินการ คือ กลยุทธ์การป้องกันและลดการเกิดน้ำเสียที่ต้นทาง กลยุทธ์การอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศและแผนการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วกลับไปใช้ประโยชน์

 

- ปรับปรุงกรอบแนวทางการติดตามปริมาณน้ำเสียที่รับการบำบัดอย่างปลอดภัยได้ตามมาตรฐานจากทุกระบบก่อนปล่อยลงสู่สิ่งแวดล้อมหรือนำกลับมาใช้ใหม่ และรวบรวมปริมาณน้ำที่ได้รับการบำบัดถูกนำกลับมาใช้ประโยชน์จากแหล่งต่างๆ (ครัวเรือน บริการ อุตสาหกรรม และการเกษตร) ที่มีการบำบัดตามมาตรฐาน

ด้านที่ 5 การฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม และป้องกันการพังทลายของดิน

การดำเนินงานในแต่ละแผนงานต่ำกว่าเป้าหมาย โดยผลการดำเนินการในแผนงานการป้องกันและลดการชะล้างพังทลายของดิน (พื้นที่เกษตรนอกพื้นที่อนุรักษ์) มีผลการดำเนินงานสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 37 รองลงมา คือ แผนงานการป้องกันและลดการชะล้างพังทลายของดิน มีผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 34 และแผนงานฟื้นฟูป่าต้นน้ำมีผลการดำเนินงานต่ำสุดคิดเป็นร้อยละ 21 ของพื้นที่เป้าหมาย

 

- จัดทำแผนหลักการลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ต้นน้ำในเขตป่าอนุรักษ์ ป่าสงวน และพื้นที่เกษตรนอกพื้นที่อนุรักษ์

- หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานกลยุทธ์การอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ต้นน้ำที่ได้ดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย ทั้งในส่วนของการใช้จ่ายเงินงบประมาณ เงินนอกงบประมาณ หรืองบประมาณเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร (Corporate Social Responsibility: CSR)

ด้านที่ 6 การบริหารจัดการ

   

การดำเนินงานส่วนใหญ่แล้วเสร็จตามแผนและเป็นการดำเนินการตามพรระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ .. 2561 และตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงาน ทั้งนี้ ยกเว้นการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมที่ยังไม่มีผลการดำเนินการ โดยยังขาดหน่วยงานกลางในการรวบรวมข้อมูลจากทุกหน่วยงานภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ เพื่อให้เกิดการบูรณาการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องให้ประชาชนรับทราบ รวมถึงสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกระดับ ภาคประชาสังคม และภาคเอกชน

 

- เพื่อลดช่องว่าง ปัญหาอุปสรรค และข้อจำกัดของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ จึงต้องทบทวนและปรับปรุง กรอบแนวทางและค่าเป้าหมาย โดยการทบทวนยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ประเด็นช่องว่างการดำเนินงานที่ผ่านมา

- ปรับปรุงแนวทาง ค่าเป้าหมาย ตัวชี้วัดของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ และค่าตั้งต้นการประเมินให้สอดคล้องกับตัวชี้วัดของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและ SDGs 

- บูรณาการฐานข้อมูลการจัดการน้ำให้เชื่อมโยงทุกมิติ

- เร่งรัดการดำเนินงานตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ .. 2561 ให้สามารถบังคับใช้ได้ครบถ้วน

 

EXIM One 720x90 C J

 

                  2.2 ผลการประเมินดัชนีตัวชี้วัดแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ1 และข้อเสนอแนะ/การปรับปรุง จำนวน 3 ประเด็นย่อย สรุปได้ ดังนี้

 

ประเด็นย่อย

 

ผลการประเมิน

19.1 การพัฒนาการจัดการน้ำเชิงลุ่มน้ำทั้งระบบเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำของประเทศ

 

- ระดับความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคเพิ่มขึ้น วัดจากการเข้าถึงน้ำประปา การเข้าถึงสุขาภิบาล และสุขภาวะจากโรค

- ระดับความมั่นคงด้านน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น วัดจากสุขภาพแม่น้ำ การเปลี่ยนแปลงการไหล และดัชนีธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม

- ระดับการรับมือกับภัยพิบัติด้านน้ำเพิ่มขึ้น วัดจากดัชนีอุทกภัยและวาตภัย ดัชนีภัยแล้ง และดัชนีคลื่นพายุซัดฝั่งและน้ำท่วมชายฝั่ง

- ยกระดับธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการน้ำเพิ่มขึ้น โดยใช้ผลคะแนนจากตัวชี้วัด SDG 6.5.1 ระดับการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ มีคะแนนร้อยละ 53 เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยโลก อยู่ที่ร้อยละ 54

ข้อเสนอแนะ/การปรับปรุง เช่น (1) ส่งเสริมการบริการน้ำดื่มให้ได้มาตรฐานและราคาที่เหมาะสมและส่งเสริมบทบาทท้องถิ่น เพิ่มการลงทุนด้านน้ำในการจัดบริการด้านน้ำและสุขาภิบาลชุมชน (2) พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ/แหล่งน้ำสำรอง เพื่อลดความเสี่ยงจากน้ำท่วมและภัยแล้ง (3) การอนุรักษ์ฟื้นฟูระบบน้ำใต้ดิน ลดการใช้น้ำใต้ดิน โดยจัดทำแผนที่ชั้นน้ำใต้ดิน ชั้นหินอุ้มน้ำ ควบคุมการออกใบอนุญาต และส่งเสริมมาตรการจูงใจทางเศรษฐกิจในการอนุรักษ์น้ำผิวดินและน้ำใต้ดินอย่างเหมาะสม และ (4) นำน้ำเสียจากระบบครัวเรือนและอุตสาหกรรมกลับมาใช้ใหม่ และลดปริมาณน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดที่ปล่อยสู่ระบบธรรมชาติ

19.2 การเพิ่มผลิตภาพของน้ำ2 ทั้งระบบในการใช้น้ำอย่างประหยัด รู้คุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่ม

 

- ระดับความมั่นคงด้านน้ำในเขตเมืองเพิ่มขึ้น วัดจากการเข้าถึงน้ำประปาเมือง ประเด็นน้ำเสีย ประเด็นการระบายน้ำ และคุณภาพน้ำ

- ระดับความมั่นคงด้านน้ำเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น วัดจากค่าความเครียดน้ำ ผลิตภาพภาคเกษตร ผลิตภาพภาคอุตสาหกรรม และผลิตภาพภาคบริการ

- ผลิตภาพจากการใช้น้ำเพิ่มขึ้น วัดจากการเปลี่ยนแปลงของการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีผลการประเมินเท่ากับ 238 บาท/ลูกบาศก์เมตร

ข้อเสนอแนะ/การปรับปรุง (1) การจัดการน้ำฝนและการปรับปรุงระบบการระบายน้ำในเมืองเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (น้ำท่วมและน้ำแล้ง) ในเมือง ชุมชนแออัด และพื้นที่รอบนอก (2) พัฒนาพื้นที่เก็บกักน้ำและระบบชลประทานให้เต็มศักยภาพ (3) ปรับปรุงผลิตภาพการใช้น้ำ การส่งเสริมการเกษตรในพื้นที่ชลประทานที่มีผลิตภาพสูงขึ้น และการเปลี่ยนแปลงการจัดการพืช ดินและน้ำ เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีประหยัดน้ำชลประทานในการผลิตข้าว และ (4) ส่งเสริมการลงทุนที่เหมาะสมของท้องถิ่นในการใช้ประโยชน์โครงการขนาดเล็กในการสร้างรายได้ การจัดการที่เหมาะสมตั้งแต่การผลิต การกระจายสินค้า และการตลาด

19.3 การอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศ3

 

- ช่วงปี 2560-2564 คลองสายหลักในกรุงเทพมหานครได้รับการฟื้นฟู จำนวน 227 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 100

- สำหรับลำน้ำสายหลักทุกลุ่มน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่ชุมชน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงตัวชี้วัดให้เหมาะสมกับประเทศไทย และให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ .. 2561 และอนุสัญญาแรมซาร์4

ข้อเสนอแนะ/การปรับปรุง เช่น (1) ให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและดำเนินมาตรการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำให้ครอบคลุมทุกมิติ (2) ควรประเมินและจัดทำข้อมูลสำหรับการอนุรักษ์และจัดการแหล่งน้ำ เช่น การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ริมน้ำ คุณภาพน้ำ การเชื่อมต่อของเส้นทางน้ำ และ (3) ควรประเมินความก้าวหน้าในการฟื้นฟูระบบนิเวศทางน้ำและระบบน้ำใต้ดิน เพื่อนำไปกำหนดมาตรการปรับปรุงในอนาคต

 

GC 720x100

 

                  2.3 ผลการประเมินเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 (SDG 6)5 ของประเทศไทย เช่น

 

เป้าหมายย่อย

ตัวชี้วัด

 

ผลประเมิน

SDG 6.1

น้ำดื่ม

SDG 6.1.1 สัดส่วนประชากรที่ใช้บริการน้ำดื่มปลอดภัย/บริการน้ำดื่มขั้นพื้นฐาน (ประเมินจากการเข้าถึง ระยะเวลา ความสะดวกในการจัดหา คุณภาพน้ำที่ได้มาตรฐาน และเข้าถึงได้ในราคาที่เหมาะสม)

 

การเข้าถึงบริการน้ำดื่มขั้นพื้นฐานที่มีการจัดการบริหารอย่างปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 100 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก (ร้อยละ 74)

SDG 6.2

สุขภิบาลและสุขอนามัย

SDG 6.2.1a สัดส่วนของประชากรที่ใช้บริการสุขาภิบาลที่มีการจัดการอย่างปลอดภัย6

 

- การเข้าถึงการจัดการสุขาภิบาล คิดเป็นร้อยละ 99

- การจัดการน้ำเสียครัวเรือนที่เข้าสู่ระบบต่ำกว่าร้อยละ 26 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (ร้อยละ 54)

SDG 6.2.1b สัดส่วนของประชากรที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือด้วยสบู่และน้ำ

 

มีการจัดการสุขอนามัยร้อยละ 85 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยโลกที่มีค่าร้อยละ 71

SDG 6.3 

คุณภาพน้ำและน้ำเสีย

SDG 6.3.1 สัดส่วนของน้ำเสีย (ครัวเรือน และอุตสาหกรรม) ที่ได้รับการบำบัดอย่างปลอดภัย

 

ได้รับการบำบัดอย่างปลอดภัย คิดเป็นร้อยละ 24 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (ร้อยละ 56)

SDG 6.3.2 สัดส่วนของแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำโดยรอบดี (มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำ 4 ครั้ง/ปี)

 

มีการเฝ้าระวังอยู่ในระดับดีร้อยละ 36 ซึ่งต้ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก (ร้อยละ 72) (คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ดีมากร้อยละ 2 ดีร้อยละ 37 พอใช้ร้อยละ 43 และเสื่อมโทรม ร้อยละ 18 ตามลำดับ)

 

หมายเหตุ : ผลการประเมินข้างต้นจะปรากฏอยู่ในฐานข้อมูล SDG 6 Data Portal ของ United Nation Water (UN-Water)

 

          3. สทนช. ได้จัดทำระบบติดตามประเมินผลด้านน้ำของประเทศไทย (Thai Water Assessment : TWA) เพื่อใช้ในการติดตามประเมินผลด้านทรัพยากรน้ำ ระบบรองรับการรายงาน ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่เชื่อมโยงตัวชี้วัดแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ยุทธศาสตร์ 20 ปี (.. 2561-2580) SDG 6 และที่เกี่ยวข้อง โดยระบบดังกล่าวได้เริ่มใช้งานเมื่อเดือนธันวาคม 2564

          4. ข้อเสนอเชิงนโยบาย แนวทางการปรับปรุงการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ ให้มีประสิทธิภาพในภาพรวม เช่น

                 4.1 เพื่อให้การขับเคลื่อนกลยุทธ์/แผนงาน/โครงการภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ เป็นไปตามเป้าหมาย ควรเร่งรัดดำเนินการในกลยุทธ์/แผนงาน/โครงการที่มีผลการดำเนินงานต่ำกว่าแผนหรือยังไม่ได้ดำเนินการ โดยการวิเคราะห์กำหนดค่าเป้าหมายและตัวชี้วัดในแต่ละกลยุทธ์/แผนงาน และต้องประเมินหาค่าเริ่มต้นเพื่อเป็นฐานในการดำเนินงานและเชื่อมโยงเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติที่สามารถนำมาเปรียบเทียบผลการพัฒนาด้านน้ำในระยะต่อๆ ไปของแผนได้

                 4.2 ควรมีการทบทวนภารกิจของหน่วยงานที่จะสามารถถ่ายโอนภารกิจ7 เพิ่มเติมให้ อปท. ได้ โดยส่วนราชการปรับบทบาทหน้าที่ในการเป็นพี่เลี้ยงหน่วยงานท้องถิ่นให้สามารถทำงานตามโครงสร้างและส่งเสริมบทบาทท้องถิ่นให้ดำเนินการตามภารกิจให้มากขึ้น

                 4.3 ติดตามความก้าวหน้าและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ อย่างต่อเนื่อง

_____________________________

1 แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (.. 2561-2580) มีทั้งหมด 23 ประเด็น โดยประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ มีเป้าหมายที่สำคัญ คือ 1) ความมั่นคงด้านน้ำของประเทศเพิ่มขึ้น 2) ผลิตภาพของน้ำทั้งระบบเพิ่มขึ้นในการใช้น้ำอย่างประหยัดและสร้างมูลค่าเพิ่มจากการใช้น้ำ และ 3) แม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพให้มีระบบนิเวศที่ดี

2 ผลิตภาพของการใช้น้ำ หมายถึง ปริมาณน้ำหนึ่งหน่วยสามารถสร้างมูลค่าให้กับประเทศเป็นจำนวนเงินเท่าไร โดยวัดจากมูลค่าจากผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศหารด้วยประมาณการใช้น้ำของประเทศ

3 สทนช. แจ้งว่า ประเด็น 19.3 การอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศ ใช้ตัวชี้วัดเดียวกันกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ ด้านที่ 4 การจัดการคุณภาพน้ำและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ

4 อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention) หรืออนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำโดยเป็นการส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ มีการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างยั่งยืนโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความสำคัญต่อการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฯ ลำดับที่ 110 จากทั้งหมด 169 ประเทศ

5 เป้าหมายที่ 6 “การสร้างหลักประกันเรื่องน้ำและการสุขภิบาลให้มีการจัดการอย่างยั่งยืนและมีสภาพพร้อมใช้สำหรับทุกคนประกอบด้วยเป้าหมายย่อย 8 เป้าหมาย ได้แก่ 1) SDG 6.1 น้ำดื่ม 2) SDG 6.2 สุขาภิบาลและสุขอนามัย 3) SDG 6.3 คุณภาพน้ำและน้ำเสีย 4) SDG 6.4 ประสิทธิภาพการใช้น้ำและความขาดแคลนน้ำ 5) SDG 6.5 การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ 6) SDG 6.6 ระบบนิเวศเกี่ยวกับแหล่งน้ำ 7) SDG 6.a ความร่วมมือระหว่างประเทศและการเสริมสร้างศักยภาพ และ 8) SDG 6.b การมีส่วนร่วม (ชุมชน ท้องถิ่นในการบริหารจัดการน้ำและสุขาภิบาล)

6 สถานที่ขับถ่าย/ชำระล้าง รวมถึงมีระบบท่อประปาน้ำเสียรวม ถังบำบัดน้ำเสีย หรือส้วมหลุม

7 สทนช. แจ้งว่า การถ่ายโอนภารกิจให้ อปท. นั้นเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ อปท. .. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

 

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 มีนาคม 2565

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396

 

A3768

 Click Donate Support Web

TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!