สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2565
- Details
- Category: มติ ครม.
- Published: Wednesday, 23 March 2022 15:25
- Hits: 6077
สรุปผลการประชุมคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2565
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปผลการประชุม กตน. ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล และให้ส่วนราชการรับประเด็นและมติของที่ประชุม กตน. ไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
ในการประชุม กตน. ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 โดยมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมฯ มีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
ประเด็น |
ความเห็น/ข้อสังเกต/มติที่ประชุม กตน. |
|
1) การขับเคลื่อนให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน 1.1) รายงานการดำเนินงานและแผนงานของหน่วยงาน 1.1.1) การแก้ไขปัญหาหนี้ภาคครัวเรือน โดยมีการรายงานความคืบหน้าการดำเนินงาน เช่น (1) แก้ไขปัญหาหนี้ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดย กยศ. ได้ดำเนินการให้เงินกู้ไปแล้ว 6.15 ล้านราย วงเงิน 6.75 แสนล้านบาท มีการกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้ เช่น ลดเบี้ยปรับร้อยละ 100 กรณีปิดบัญชีคราวเดียว 58,286 ราย และลดเบี้ยปรับร้อยละ 80 กรณีชำระหนี้ทันงวด 325,261 ราย และกระทรวงยุติธรรม (ยธ.) ได้บูรณาการความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สิน กยศ. อย่างเร่งด่วนและเป็นระบบ ทั้งก่อนศาลมีคำพิพากษา และภายหลังจากศาลมีคำพิพากษา และดำเนินโครงการเอื้ออาทร ไกล่เกลี่ยหนี้ กยศ. หลังศาลมีคำพิพากษา (2) กำหนดให้ การไกล่เกลี่ยและการปรับโครงสร้างหนี้เป็นวาระของประเทศ (เน้นสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ (Specialized Financial Institutions : SFIs) และวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises : SMEs) โดยกระทรวงการคลัง (กค.) ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) SFIs และธนาคารพาณิชย์ ดำเนินโครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน ซึ่งเป็นการพัฒนาเว็บไซต์ แชทบอท และไลน์ เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับแนวทางปรับธุรกิจและมาตรการต่างๆ ให้กับลูกหนี้เป็นรายกรณี และสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ดำเนินโครงการพักชำระหนี้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองตามความสมัครใจ โดยมีกองทุนฯ เข้าร่วม 413 กองทุน สมาชิก 32,055 ราย วงเงินกู้ที่พักชำระ 901 ล้านบาท (3) แก้ไขปัญหาหนี้เช่าซื้อรถยนต์และรถจักรยานยนต์ โดย กค. อยู่ระหว่างหารือร่วมกับ ธปท. เพื่อกำหนดแนวทางกำกับดูแลสินเชื่อและธุรกรรมที่มีลักษณะคล้ายสินเชื่อ และ ยธ. (กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ) ได้จัดมหกรรมไกล่เกลี่ยช่วยเหลือลูกหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้และพักชำระหนี้ รวมทั้งสิ้น 4,657 คัน (4) แก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการ โดยเฉพาะข้าราชการครูและข้าราชการตำรวจ โดยกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการ เช่น ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สวัสดิการตัดเงินเดือนให้เป็นสวัสดิการที่แท้จริง โดยสหกรณ์ออมทรัพย์ครูไม่น้อยกว่า 10 แห่ง ได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงมาเหลือไม่เกินร้อยละ 5 และขยายผลการแก้ไขหนี้ครูผ่านสหกรณ์ต้นแบบ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีข้าราชการตำรวจได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินแล้ว 3,025 ราย 1.1.2) การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ โดย กค. ดำเนินการ เช่น (1) จับกุมเจ้าหนี้นอกระบบที่กระทำผิดกฎหมายตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559-ธันวาคม 2564 จำนวน 10,375 คน และ (2) เพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อในระบบให้กับลูกหนี้นอกระบบและประชาชนทั่วไป เช่น สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ โดยมีผู้ที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว 1,029 ราย ใน 75 จังหวัด อนุมัติสินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ให้กับประชาชนรายย่อยแล้ว 1.24 ล้านบัญชี วงเงิน 1.69 หมื่นล้านบาท และ ยธ. ดำเนินการ เช่น (1) จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือลูกหนี้และประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 187 เรื่อง ทุนทรัพย์ 118.50 ล้านบาท และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564) จำนวน 32 เรื่อง ทุนทรัพย์ 7.06 ล้านบาท และ (2) แก้ไขปัญหาการฉ้อโกงหลอกลวงประชาชน โดยได้ดำเนินคดีที่มีความเกี่ยวพันกับฐานความผิดแชร์ลูกโซ่ ได้แก่ เรื่องสืบสวนที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 10 เรื่อง และคดีพิเศษที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 17 เรื่อง 1.2) ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขปัญหา เช่น 1.2.1) กค. เสนอว่า (1) ควรขยายระยะเวลามาตรการให้ความช่วยเหลือต่อเนื่องในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และมีมาตรการช่วยเหลือผู้กู้ยืมทุกกลุ่มที่ค้างชำระ และ (2) ควรเร่งแก้ไขร่างพระราชบัญญัติ กยศ. (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว 1.2.2) ยธ. เสนอว่า (1) ควรส่งเสริมการประชาสัมพันธ์การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทผ่านโปรแกรม Session Call และจัดให้ความรู้การใช้ระบบดังกล่าวเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท (2) ควรจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาอย่างสม่ำเสมอ (3) ควรแก้ไขปัญหาการฉ้อโกงประชาชนโดยประสานความร่วมมือกับตำรวจชาวจีนเพื่อร่วมมือในการสืบสวนสอบสวนกวาดล้างผู้กระทำผิดดังกล่าว โดยร่วมกันบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้ขายบัญชีธนาคารให้ผู้อื่นใช้งาน และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนไม่หลงเชื่อการกู้เงินผ่านแอปพลิเคชันเงินกู้ 1.2.3) สทบ. มีแนวทางแก้ไข โดย สทบ. ขับเคลื่อนโครงการเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน โดยความร่วมมือจากสถาบันการเงิน หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน ในการช่วยสมาชิกในการพัฒนาศักยภาพผลิตภัณฑ์และช่องทางจัดจำหน่าย การพัฒนาท่องเที่ยวชุมชน รวมทั้งกำหนดมาตรการสนับสนุนและสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนหมุนเวียนและปัจจัยการผลิตในการประกอบอาชีพ |
ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. : 1) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาคำนิยามของ “หนี้นอกระบบ” และดำเนินการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างจริงจัง เพื่อให้เกิดความยั่งยืน รวมทั้งควรมีหน่วยงานหลักในการแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบด้วย 2) การแก้ไขปัญหาหนี้สินในแต่ละมิติที่มีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องกลุ่มเป้าหมาย วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้สิน ขั้นตอน วิธีการ และกรอบระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาหนี้สินที่ชัดเจน และให้ กค. กำหนดรูปแบบของการติดตามการแก้ไขปัญหาหนี้สิน โดยบูรณาการการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผล ให้มีผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมและสามารถสร้างการรับรู้ต่อสาธารณชนได้อย่างต่อเนื่อง 3) การแก้ไขหนี้สินครัวเรือน คณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย ได้รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานให้คณะรัฐมนตรีทราบ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2564 ใน 8 ประเด็นเร่งด่วน ดังนั้น ในการจัดทำรายงานเรื่องดังกล่าว ขอให้ กตน. รายงานประเด็นที่มีความก้าวหน้าเพิ่มเติมจากที่ได้มีการรายงานมาให้คณะรัฐมนตรีทราบแล้ว โดยยึดประเด็นตามแนวทางของคณะกรรมการฯ ดังกล่าว มติที่ประชุม : รับทราบและเห็นควรให้สำนักงาน ก.พ.ร. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯ ร่วมกับ กค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณา |
|
2) การขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาความยากจน 2.1) รายงานการดำเนินงานและแผนงานในภาพรวม 2.1.1) การแก้ไขปัญหาความยากจนของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) โดย (1) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการแก้ไขปัญหาความยากจนระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP) ซึ่งเป็นระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เพื่อบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนตลอดทุกช่วงวัย และการแก้ไขปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำแบบชี้เป้า โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำข้อมูลจากระบบ TPMAP ไปดำเนินการร่วมกับภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ทำให้สามารถระบุคนจนเป้าหมายได้ เช่น จังหวัดสมุทรสงคราม นำข้อมูลจาก TPMAP ไปใช้ศึกษาปัญหาเชิงลึกในจังหวัดและใช้ระบบการบันทึกประวัติการปฏิบัติงาน (Logbook) ในการลงพื้นที่ช่วยเหลือได้อย่างตรงจุด โดยพบว่า จังหวัดสมุทรสงครามตกเกณฑ์ในด้านรายได้และการศึกษา ซึ่งหน่วยงานภาครัฐได้จัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาตามความต้องการของแต่ละพื้นที่แล้ว และ (2) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ดำเนินโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลของรัฐ กิจกรรมพัฒนาระบบคลาวด์กลางภาครัฐ (Government Data Center and Cloud service: GDCC) เพื่อรองรับการใช้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคอมพิวเตอร์และระบบประมวลผลของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการใช้ประโยชน์ Big data ของภาครัฐ เช่น ระบบเกี่ยวกับการเพาะปลูก ระบบตู้แดง (โครงการฝากบ้านไว้กับตำรวจ) และระบบระเบียนสุขภาพส่วนบุคคล และสนับสนุนการขยายโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยสื่อสัญญาณสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ไปยังหมู่บ้านห่างไกลและไม่มีศักยภาพเชิงพาณิชย์ 24,700 หมู่บ้าน ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2560 เป็นต้นมา ภายใต้ชื่อ “โครงการเน็ตประชารัฐ” ปัจจุบันมีผู้ลงทะเบียนเข้าใช้บริการ Wi-Fi เน็ตประชารัฐ กว่า 10.64 ล้านคน 2.2) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เช่น 2.2.1) สศช. เสนอว่า ควรประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจแก่ประชาชนให้ทราบถึงจุดประสงค์ในการดำเนินงานของ ศจพ. ซึ่งเน้นการพัฒนาคนอย่างยั่งยืนมากกว่าการให้ความช่วยเหลือ 2.2.2) ดศ. เสนอว่า 1) ทรัพยากรระบบ GDCC ที่มีตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรรไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งานของหน่วยงาน เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 มีหน่วยงานขอใช้บริการจำนวนมาก และ 2) ดศ. ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ ทำให้โครงการเน็ตประชารัฐมียอดค่าใช้จ่ายค้างชำระในการให้บริการการบำรุงรักษาโครงข่าย และการบริหารจัดการระบบ |
ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. : 1) เนื่องจากภาครัฐมีนโยบายช่วยเหลือกลุ่มคนยากจนที่มีกลุ่มเป้าหมายหรือเกณฑ์ให้ความช่วยเหลือที่ต่างกัน เช่น ข้อมูลคนยากจนจาก TPMAP ของ สศช. ข้อมูลคนยากจนจากการลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของ กค. ดังนั้น สศช. และ กค. ควรกำหนดคำนิยาม วัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย และวิธีการให้ความช่วยเหลือที่ชัดเจน เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับการช่วยเหลือกลุ่มคนยากจนในแต่ละนโยบายของภาครัฐ 2) รัฐบาลไทยได้หารือกับสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) เกี่ยวกับแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจนในหลายโอกาส และมีแนวคิดในการเดินทางไปศึกษาดูงานการแก้ไขปัญหาความยากจนของจีน ซึ่งผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ได้มีข้อแนะนำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึง กต. ร่วมกันวางแผนงานเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ เหตุผลและความจำเป็นและการนำผลการดูงานไปประยุกต์ใช้ต่อไป 3) ควรหาวิธีการเพื่อให้มีฐานข้อมูลคนเร่ร่อน กลุ่มคนเปราะบาง และกลุ่มคนอื่นๆ ที่ยังไม่อยู่ใน TPMAP มติที่ประชุม : รับทราบและให้ สศช. และ กค. รับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณา |
|
3) ประเด็นติดตามขับเคลื่อนของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี 3.1) การนำระบบตั๋วร่วมมาใช้ในการเชื่อมต่อการเดินทางของประชาชน 3.1.1) การดำเนินงานในปัจจุบันและแผนงานในอนาคต เช่น (1) การนำบัตร EMV (Europay Mastercard and Visa) มาใช้ในการพัฒนาระบบตั๋วร่วม ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีแบบไร้สัมผัส (Contactless) มาใช้ชำระค่าโดยสารในระบบขนส่งสาธารณะด้วยบัตรเพียงใบเดียว ทำให้ผู้โดยสารไม่ต้องพกบัตรหลายใบ ช่วยลดระยะเวลาในการซื้อตั๋วโดยสาร และช่วยลดต้นทุนในการบริหารจัดการระบบตั๋วของผู้ให้บริการ (2) แผนงานการนำบัตร EMV มาใช้กับระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ปี 2564 - 2565 ได้แก่ รถไฟฟ้า (สายสีม่วง สายสีน้ำเงิน และสายสีแดง) โดยกำหนดให้บริการ EMV เต็มรูปแบบได้ภายในเดือนมีนาคม 2565 (3) การจัดทำร่างพระราชบัญญัติการบริหารจัดการระบบตั๋วร่วม พ.ศ. .... เพื่อเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับกับทั้งภาคราชการและภาคเอกชน และให้มีการจัดทำโครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมและค่าธรรมเนียมต่างๆ ของระบบตั๋วร่วม ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติฯ อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น โดยคาดว่า จะเสนอต่อคณะรัฐมนตรีได้ภายในกลางปี 2565 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ภายในเดือนธันวาคม 2565 (4) การศึกษากำหนดอัตราค่าโดยสารร่วมของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเขตเมือง โครงสร้างอัตราค่าโดยสาร (ราคาเมื่อปี 2544) มีค่าแรกเข้า เริ่มต้นที่ 10 บาท และมีอัตราค่าโดยสาร 1.8 บาท/กิโลเมตร ส่วนโครงสร้างอัตราค่าโดยสาร ปี 2562 มีค่าแรกเข้าเริ่มต้น ที่ 11.87 บาท และมีอัตราค่าโดยสาร 2.14 บาท/กิโลเมตร 3.1.2) ข้อเสนอแนะ โดยกระทรวงคมนาคม (คค.) กรุงเทพมหานคร (กทม.) และ ธปท. เสนอว่า (1) ควรผลักดันแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมไทย เชื่อมโลก (เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคมไร้รอยต่อ) โดยส่งเสริมให้เกิดการใช้โครงสร้างอัตราค่าโดยสารร่วมและส่งเสริมให้เกิดการใช้บัตรโดยสารร่วมในระบบขนส่งสาธารณะ และ (2) ผลักดันร่างพระราชบัญญัติฯ ให้มีผลบังคับใช้ได้โดยเร็ว |
ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. : 1) ควรกำหนดแผนการดำเนินงาน/ช่วงระยะเวลาการดำเนินการนำระบบตั๋วร่วมมาใช้ว่าปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนใด สัดส่วนความสำเร็จคิดเป็นร้อยละเท่าไร เพื่อให้เกิดความสะดวกในการติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงาน และสามารถสื่อสารประชาสัมพันธ์ได้เป็นระยะ 2) การจัดทำร่างพระราชบัญญัติฯ มีความสำคัญและจำเป็น เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับอัตราค่าโดยสารร่วม จึงควรเร่งดำเนินการควบคู่ทั้งกระบวนการทางกฎหมายและทางเทคนิคในการใช้บัตร EMV ในการเดินทางเชื่อมต่อ รวมทั้งเร่งรัดเรื่องการจัดทำระบบตั๋วร่วมไปด้วย 3) ควรประชาสัมพันธ์การนำบัตร EMV มาใช้กับระบบขนส่งมวลชนสาธารณะซึ่งสามารถเปิดให้บริการเต็มรูปแบบแก่ประชาชนได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 มติที่ประชุม : รับทราบและให้ คค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณา |
|
3.2 การนำสายไฟ/สายสื่อสารลงดิน 3.2.1) ผลการดำเนินการ เช่น (1) การจัดระเบียบสายสื่อสาร โดยในปี 2564 โดยการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้ติดตั้งสายสื่อสารตามมาตรฐานไฟฟ้า 19 เส้นทาง ระยะทาง 108 กิโลเมตร และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้ติดตั้งฯ 3,891 เส้นทาง ระยะทาง 7,964.54 กิโลเมตร (2) การนำสายสื่อสารลงใต้ดิน โดยในปี 2559-2564 กทม. ปริมณฑล และส่วนภูมิภาค ได้มีการนำสายสื่อสารลงดิน รวม 62 เส้นทาง ระยะทาง 107.86 กิโลเมตร 3.2.2) แผนการดำเนินการ (1) แผนการนำสายสื่อสารลงดิน โดยในปี 2565 ดำเนินการในพื้นที่เขต กฟน. 6 โครงการ 32 เส้นทาง ระยะทางรวม 84.4 กิโลเมตร และในพื้นที่ กฟภ. 4 โครงการ 33 เส้นทาง ระยะทางรวม 51.31 กิโลเมตร (2) แผนการบูรณาการแผนการจัดระเบียบสายสื่อสาร โดยในปี 2565-2566 ดำเนินการจัดระเบียบสายกรณีเร่งด่วน ในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล ระยะทาง 450 กิโลเมตร และในปี 2565-2567 กำหนดแผนการจัดระเบียบฯ ทั่วประเทศ ในพื้นที่ระยะทางรวม 6,000 กิโลเมตร 3.2.3) ข้อเสนอแนะ โดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) และ กทม. เสนอว่า (1) ทุกหน่วยงานต้องประสานความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาในระหว่างการดำเนินงานให้งานสำเร็จร่วมกัน เพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์จากการดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารและการนำสายสื่อสารลงดิน (2) ผู้ประกอบกิจการขาดเงินทุนในการนำสายสื่อสารลงดิน และการจัดระเบียบสายสื่อสาร รัฐควรให้การสนับสนุนจัดทำมาตรการช่วยเหลือ และรับฟังความเห็นของผู้ประกอบกิจการ และ (3) มอบหมายสำนักงาน กสทช. เป็นหน่วยงานหลักในการวางหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบสายสื่อสารและการนำสายสื่อสารลงใต้ดิน เพื่อเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน |
ความเห็นและข้อสังเกตของ กตน. : 1) ให้สำนักงาน กสทช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนแม่บท หรือแผนระยะยาวในการกำหนดแนวทางการดำเนินงาน และกรอบระยะเวลาการดำเนินการจัดระเบียบสายไฟและสายสื่อสารลงดิน เพื่อให้มีความชัดเจนและเกิดผลเป็นรูปธรรม 2) ควรมีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับทราบถึงผลการดำเนินงานของรัฐบาล และสามารถใช้ประโยชน์จากการดำเนินการร่วมกัน 3) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการแก้ไขสายไฟและสายสื่อสารที่รกร้างและไม่เป็นระเบียบ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น มติที่ประชุม : รับทราบและให้สำนักงาน กสทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของที่ประชุมไปพิจารณา |
|
4) รายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และงบประมาณที่เกินกว่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป 4.1) ผลการใช้จ่ายงบประมาณ ณ วันที่ 21 มกราคม 2565 โดยในภาพรวมมีผลการใช้จ่ายงบประมาณ จำนวน 1,310,314.69 ล้านบาท (รายจ่ายประจำ 1,046,604.65 ล้านบาท และรายจ่างลงทุน 263,710.04 ล้านบาท) 4.2) สรุปรายการผูกพันใหม่ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่มีวงเงินทั้งสิ้นเกิน 1,000 ล้านบาท ภาพรวมรายการผูกพันใหม่ฯ 5 กระทรวง วงเงินภาระผูกพัน มาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 จำนวน 9 รายการ 19,999.15 ล้านบาท |
มติที่ประชุม : รับทราบ |
(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) 15 มีนาคม 2565
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
A3767